ห้องสมุดเฉพาะคือห้องสมุดในลักษณะใด

บริการ ติดโพย (PopThai) เป็นบริการเปิดพจนานุกรมอัตโนมัติ โดยผู้ใช้สามารถป้อนข้อความ ทีละประโยค หรือ เป็นหน้าเลยก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทีละคำสองคำ ระบบจะทำการแนบความหมายของคำหรือวลีภาษาต่างประเทศ (ปัจจุบันสนับสนุน ภาษาอังกฤษ, ญี่ปุ่นและเยอรมัน) ติดกับเนื้อหานั้นๆ และจะแสดงผลความหมายเมื่อเอาเมาส์ไปวางเหนือคำหนึ่งๆ ช่วยให้สามารถเข้าใจเนื้อหาของเวบภาษาต่างประเทศได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น

Show

ความหมายของคำจะปรากฏขึ้นมาเมื่อท่านเอาเมาส์ไปวางบนคำหรือวลีที่มีอยู่ในพจนานุกรม โดยไม่จำเป็นต้องกดปุ่มใดๆ ดังตัวอย่างในรูปข้างล่างนี้

ห้องสมุดเฉพาะคือห้องสมุดในลักษณะใด

คุณสมบัติ / Features

  • แสดงความหมายของคำโดยอัตโนมัติ เพียงวางเมาส์ไว้บนคำที่ต้องการทราบความหมาย
  • สนับสนุนเวบหลากภาษา (ปัจจุบัน ภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น และเยอรมัน)
  • ค้นหาความหมายจากพจนานุกรมหลายชุดพร้อมๆกัน ในฐานข้อมูลของ Longdo ได้แก่ Lexitron2, Hope, Nontri, Longdo อังกฤษ-ไทย, Longdo เยอรมัน-ไทย เป็นต้น
  • แสดงได้ทั้งความหมายของคำเดี่ยว และคำผสม ได้อย่างถูกต้อง เช่น Secretary of State=รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ (ในภาพตัวอย่าง), High school=โรงเรียนมัธยมปลาย
  • แสดงความหมายของคำที่แปรรูปจากคำในพจนานุกรมได้ เช่น เมื่อวางเมาส์ไว้บนคำว่า executed/abusing ซึ่งไม่มีในพจนานุกรม เครื่องจะแสดงความหมายของคำว่า execute/abuse ให้โดยอัตโนมัติ
  • เรียกใช้งานได้ง่ายเพียงกดปุ่ม PopThai บน Longdo Toolbar เพื่อแนบความหมายหน้าจอที่เปิดชมอยู่ในขณะนั้น
  • แก้ไข Link ในหน้าที่แสดง เพื่อให้สามารถเปิดชม Link เหล่านั้นผ่านบริการ PopThai ได้ทันทีเช่นเดียวกัน
  • สนับสนุนบราวเซอร์ชั้นนำทั่วไป เช่น Internet Explorer, Firefox, Chrome, Safari, Konqueror, etc.
  • แสดง Link ให้ผู้ใช้ช่วยป้อนความหมายสำหรับคำที่ยังไม่มีอยู่ในพจนานุกรม
  • ใหม่: บริการ Vocabulary แสดงสรุปรายการคำศัพท์พร้อมความหมาย สำหรับพิมพ์ออกมาอ่านได้สะดวก วิธีใช้งาน ให้เลือกตรงตัวเลือกบริการด้านบน ให้เป็น Vocabulary แทน PopThai. (PopThai ในโหมดปกติ จะเหมาะกับการใช้งาน on-line หน้าจอคอมพิวเตอร็ ส่วนบริการ Vocabulary เหมาะสำหรับท่านที่ต้องการพิมพ์รายการคำศัพท์และความหมายออกมาบนกระดาษไว้อ่าน off-line)
  • ใหม่: บริการ Pronunciation Guide แสดงคำอ่านของคำใน เว็บ หรือ text ที่ป้อนให้ ข้างบนคำนั้นๆ, นอกเหนือไป จากการแสดง pop-up ความหมาย. วิธีใช้งาน ให้เลือกตรงตัวเลือกบริการด้านบน ให้เป็น Pronunciation. ขณะนี้ใช้ได้กับภาษาอังกฤษ (แสดงคำอ่านภาษาอังกฤษ) และภาษาญี่ปุ่น (แสดง hiragana เหนือคันจิ). บริการนี้ ใช้ extension ของ browser ที่ชื่อ Ruby ปัจจุบันมีแค่ IE browser ที่สนับสนุน ถ้าเป็น browser อื่นๆ จะเห็นคำอ่านปรากฎในวงเล็บแทน

วิธีใช้

ท่านสามารถป้อนเนื้อหาหรือ URL ของเว็บไซต์ที่ต้องการให้แนบความหมายนี้ ในช่องใส่ข้อความค้นหาปกติ

หลังจากนั้นเลือกบริการที่ต้องการ (เช่น ถ้าป้อนข้อความ ให้เลือก PopThai (text) ถ้าป้อน URL ให้เลือก PopThai (URL)) ถ้าท่านไม่เลือกบริการ ระบบจะเดาบริการที่ท่านต้องการ จากข้อความที่ท่านใส่เข้ามา (ว่าเป็นข้อความหรือเป็น URL) โดยอัตโนมัติ, จากนั้นกด Submit เป็นอันเสร็จ

ในกรณีที่ท่านใส่ URL ระบบจะไปทำการดาวน์โหลดเนื้อหาของหน้านั้นๆ มาและแนบความหมาย พร้อมแก้ไขลิงค์ต่างๆ ให้เป็นผ่านบริการ PopThai เ พื่อที่ว่าเมื่อท่านกดที่ลิงค์ใดๆ ต่อไปจากเพจนั้นๆ ก็จะมีการแนบความหมายมาให้ด้วยในทันที

เพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้ท่านสามารถใช้ PopThai ผ่าน Longdo Toolbar โดยเมื่อท่านเปิดดูเว็บไซต์ใดๆ อยู่ตามปกติ และต้องการใช้บริการ PopThai สำหรับ หน้านั้นๆ สามารถทำได้ทันที โดยคลิกที่ปุ่ม PopThai บน Toolbar รายละเอียดเพิ่มเติมโปรดอ่านที่ Longdo Toolbar

คำเตือน ในกรณีของ URL นี้ ถึงแม้ทางผู้ดูแลระบบลองดูจะได้ทำการทดสอบกับหลายเว็บไซต์ แล้วก็ตาม ยังมีบางเว็บไซต์ที่ข้อมูลเวลาที่ระบบไปโหลดมาจะแตกต่างจากที่ท่านเปิดดูโดยใช้ browser โดยตรง โปรดระวังด้วย และไม่ควรใช้กับหน้าเว็บไซต์ที่ ต้องการความถูกต้องสูง)

ประเภทของห้องสมุดห้องสมุดที่ให้บริการในประเทศไทย โดยทั่วไปแบ่งตามลักษณะหน้าที่และวัตถุประสงค์ให้บริการได้ 5 ประเภท1. ห้องสมุดแห่งชาติ (National Library) เป็นแหล่งรวบรวมและเก็บรักษาหนังสือพิมพ์ที่พิมพ์ภายในประเทศ ตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ ทำหน้าที่รวบรวมและรักษาวรรณกรรมของชาติ โดยเฉพาะสารสนเทศเกี่ยวกับประเทศไทย ศิลปวัฒนธรรมที่แสดงเอกลักษณ์ของประเทศ รวมทั้งจัดทำบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศแห่งชาติ กำหนดเลขมาตรฐานสารกลประจำหนังสือ (International Standard Number-ISBN) และเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (International Standard Serials Number-ISSN) โดยจัดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย หอสมุดแห่งชาติใหญ่ๆ ในต่างประเทศที่ควรรู้จัก เช่น หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress) หอสมุดแห่งชาติฝรั่งเศส ส่วนหอสมุดแห่งชาติของไทย ตั้งอยู่ที่ท่าวาสุกรี กรุงเทพมหานคร และมีหอสมุดสาขากระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ นครศรีธรรมราช ลำพูน ชลบุรี บุรีรัมย์ นครราชสีมา จันทบุรี เพื่อให้บริการอย่างทั่วถึงในส่วนภูมิภาค


2. ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย เป็นศูนย์สารสนเทศในระดับอุดมศึกษาครอบคลุมหลักศูนย์กลางศึกษา และการวิจัยพัฒนาให้เกิดความรู้ใหม่ๆ ปัจจุบันสถาบันอุดมศึษาได้พัฒนาสถานภาพของห้องสมุดให้เป็นสถาบันวิทยาการ สำนักวิทยาบริการ เพื่อให้มีสักยาภาพสูงในการดำเนินงาน สามารถจัดบริการสารสนเทศได้อย่างขว้างกว้างและลึกซึ้ง โดยการจัดหาเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดสร้างฐานข้อมูลต่างๆ สร้างระบบเครือข่าย ข่ายงาน การบริการสารสนเทศทั้งออฟไลน์และออนไลน์ และมีหลายแห่งได้มีการพัฒนาไปสู่ระบบห้องสมุดดิจิทัล และห้องสมุดเสมือน ในสถานศึกษาระดับวิทยาลัย มีการจัดตั้งศูนย์โดยรวมศูนย์สื่อการศึกษา ศูนย์โสตทัศนศึกษา และศูนย์การเรียนเข้าร่วมกัน โดยมีชื่อเรียกว่า ศูนย์วิทยาบริการหรือศูนย์การเรียนรู้ มีหน้าที่ส่งเสริมการเรียนการสอน และการวิจัยให้บรรลุผลตามสถานศึกษา ดำเนินการทั้การจัดหาจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์ที่ตรงการความต้องการของผู้ใช้ และจัดระบบการให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกทั้งนี้เพื่อสร้างฐานการเรียนรู้ตามความถนัดของผู้เรียน โดยรวมแล้วศูนย์ลักษณะนี้ทำหน้าที่คล้ายห้องสมุด แต่เพิ่มเติมพิเศษ คือนอกจากจะเป็นที่รวบรวมหนังสือต่างๆยังมีสื่อการสอนประเภทต่างๆไว้ให้บริการ ได้แก่ เทปตลับ เทปภาพ รวมทั้งเป็นศูนย์สื่อการศึกษา ช่วยครูผู้สอนในด้านการเตรียมวัสดุอุปกรณ์สื่อการสอนต่าง ๆ ที่พร้อมให้ครูยืมใช้ได้ทันที รวมทั้งมีอุปกรณ์ผลิตสื่อการสอน เช่น คอมพิวเตอร์อุปกรณ์ถ่ายภาพ ซึ่งจะเห็นว่าศูนย์มีความสัมพันธ์กับสถานศึกษาอย่างมาก ผู้บริหาร อาจารย์ และบรรณารักษ์ที่ให้บริการ จะต้องให้ความร่วมมือกันเพื่อการมุ่งสู่การเรียนรู้อย่างแท้จริง

3. ห้องสมุดโรงเรียน เป็นที่จัดตั้งขึ้นในโรงเรียน เพื่อการศึกษาค้นคว้าของนักเรียนและครูโรงเรียน ใช้ประกอบการเรียนการสอนตามหลักสูตร ทั้งในระบบประถมศึกษาและมัธยมศึกษารวมทั้งเป็นศูนย์รวมวัสดุศึกษาทุกชนิด ที่ครอบคลุมเนื้อหาที่มีในสูตร ครู นักเรียนสามารถเลือกใช้ตามความต้องการ ความสนใจ และความสามารถของแต่ละบุคคล ห้องสมุดโรงเรียนบางแห่งมีลักษณะเป็นศูนย์กลางศึกษา หรือศูนย์สื่อการเรียนการสอน เช่นเดียวกับห้องสมุดวิทยาลัย
4. ห้องสมุดประชาชน เป็นศูนย์กลางบริการสารสนเทศโดยตรงแก่ประชาชนทั่วไปในชุมชนมีทรัพยากรสารสนเทศประเภท เพื่อสนองความต้องการความสนใจของผู้ใช้โดยเปิดให้ประชาชนเข้าใช้และขอยืมหนังสือออกนอกห้องสมุดได้ปัจจุบันห้องสมุดประชาชนมีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการจัดการศึกษานอกระบบ และ การศึกษาตามอัธยาศัย โดยทำหน้าที่ให้บริการสื่อการเรียนการสอน เป็นสถานที่ค้นคว้าสำหรับศึกษา ในระบบการศึกษานอกระบบ (กศน.) และกลุ่มผู้สนใจ เพื่อทำกิจกรรมการศึกษาเป็นศูนย์กลางแนะแนวและศูนย์การเรียนไกลไทยคม การศึกษาตามอัธยาศัยที่มีสื่อประเภทต่างๆ คอยให้บริการ และจัดนิทรรศการ รวมทั้งบทบาทในการเป็นศูนย์ข้อมูลชุมชนให้บริการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและแลกเปลี่ยนสารสนเทศประเภทต่างๆ เป็นต้น
5. ห้องสมุดเฉพาะ เป็นแหล่งรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศทุกรูปแบบ ที่มีเนื้อหาเฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ซึ่งเป็นผู้ที่ทำงานหรือศึกษาในสาขาวิชานั้นๆ โดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยงานต้นสังกัด ตัวอ่างเช่น ห้องสมุดคณะวิชาต่างๆ ในมหาวิทยาลัย ห้องสมุดส่วนราชการ บริษัทสมาคมโรงงาน เช่น ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร ห้องสมุดสวนบริภัณฑ์เพื่อการศึกษา