พระบรมราโชวาทมีเนื้อความสั่งสอนในด้านใดบ้าง

เมื่อก้าวเข้าสู่โลกของการทำงาน แพ็กเกจเสริมที่มาพร้อมหน้าที่และความรับผิดชอบนั่นก็คือ ปัญหาและอุปสรรค ทั้งที่เกี่ยวกับ “งาน” และ “คน”

เรื่อง “งาน” บางครั้งคุณอาจจะกังวล กลัวงานออกมาไม่ดี กลัวหัวหน้าตำหนิ กลัวลูกค้าไม่ปลื้ม จนกลายเป็นความกดดันทั้งต่อตัวเองและเพื่อนร่วมงาน หรือบางครั้งคุณคิดว่างานโอเคแล้ว แต่กลับโดนแก้แล้วแก้อีก ติแล้วติอีก จนทำให้รู้สึกท้อถอยหมดกำลังใจ

ส่วนเรื่อง “คน” ถ้าคุณโชคร้ายไปเจอเจ้านายขี้เหวี่ยง ลูกค้าขี้วีน เพื่อนร่วมงานที่จ้องจะเอาเปรียบ เล่นพรรคเล่นพวก แทงข้างหลังทะลุถึงหัวใจ ก็จะทำให้เหนื่อยทั้งกายทั้งใจ ไม่มีความสุข หมดแรงในการต่อสู้ รู้สึกสิ้นหวัง ถ้าเจอเหตุการณ์แย่ ๆ ซ้ำ ๆ คุณอาจจะฟิวส์ขาดน็อตหลุดไปเลยก็เป็นได้

ยามใดที่คุณต้องเผชิญปัญหาและอุปสรรคพัดกระหน่ำถาโถมเข้ามาพร้อม ๆ กันจนถึงขีดสุด ถ้าคุณขาด “สติ” ตั้งรับไม่ทันทุกอย่างอาจจะพังไปในพริบตา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระบรมราโชวาทเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า

"...ความบังคับตนเองนั้นเกิดขึ้นได้จากความรู้สึกระลึกได้ว่าอะไรเป็นอะไร หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "สติ" กล่าวคือ ก่อนที่บุคคลจะทำจะพูด หรือแม้แต่จะคิดเรื่องต่าง ๆ สติหรือความรู้สึกระลึกได้นั้นจะทำให้หยุดคิด ว่าสิ่งที่จะทำนั้นผิดชอบชั่วดีอย่างไร จะมีผลเสียหายหรือจะเป็นประโยชน์อย่างไรในระยะยาว เมื่อบุคคลคิดได้ ก็จะสามารถตัดสินการกระทำของตนได้ถูกต้อง แล้วก็จะกระทำแต่เฉพาะสิ่งที่สุจริตที่มีประโยชน์อันยั่งยืน ไม่กระทำสิ่งที่จะเป็นความผิดเสียหายทั้งแก่ตนและส่วนรวม ความมีสตินั้น จะช่วยให้สามารถศึกษาทุกสิ่งทุกอย่างได้อย่างละเอียดประณีต คือเมื่อจะศึกษาสิ่งใด ก็จะพิจารณากลั่นกรองสิ่งที่มิใช่ความถูกต้องแท้จริงออกเสียก่อน เพื่อให้ได้มาแต่เนื้อแท้ที่ปราศจากโทษ บัณฑิตทั้งปวงผู้หวังความมั่นคงปลอดภัยทั้งของตนและของชาติบ้านเมือง เมื่อจะทำการงานใด ๆ ที่สำคัญ ควรอย่างยิ่งที่จะหยุดคิดสักหน่อยก่อนทุกครั้ง แล้วท่านจะไม่ต้องประสบกับความผิดหวังและผิดพลาดในชีวิต…"

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร วันพฤหัสบดี ที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๒๐

จากพระบรมราโชวาทด้านบนนี้ พ่อหลวงของเราทรงชี้ให้เห็นว่าเวลาจะพูด จะคิด และจะกระทำสิ่งใด เราทุกคนต้องระลึกเตือนตัวเองไว้เสมอว่าให้มี "สติ" นึกถึงความผิดชอบชั่วดีและผลที่จะตามมา ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคุณเจอปัญหาในการทำงาน ทำให้คุณไม่พอใจ หงุดหงิดใจ เสียใจ หรือของขึ้นโมโหจนฟิวส์ขาด เสี้ยววินาทีนั้นถ้าคุณไม่มี “สติ” เพื่อจะหยุดคิดสักครั้งก่อนที่จะกระทำการใด ๆ ตามที่พระองค์สอน คุณอาจจะใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผลเป็นตัวตั้งในการตัดสินใจ สุดท้ายกว่าจะรู้ตัวว่าทำอะไรลงไป ผลของการกระทำโดยขาดสติไตร่ตรองก็จะกระทบกับทั้งตัวงานและตัวคุณเองให้ต้องมานั่งเสียใจภายหลังได้

และเมื่อใดที่คุณเจอปัญหาและอุปสรรคในการทำงานที่บั่นทอนให้คุณหมดแรงกายแรงใจ จนไม่อยากจะสู้ต่อ ขอยกธงขาวยอมแพ้ พ่อหลวงก็ทรงมีพระบรมราโชวาทไว้ว่า

“...ในการดำเนินชีวิตและการประกอบกิจการงาน ย่อมจะต้องมีปัญหาต่าง ๆ เป็นอุปสรรคขัดขวางความสำเร็จอยู่เสมอ ยากที่ผู้ใดหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดจะหลีกเลี่ยงพ้นได้ คนก็มีปัญหาของคน สังคมก็มีปัญหาของสังคม ประเทศก็มีปัญหาของประเทศ แม้กระทั่งโลกก็มีปัญหาของโลก ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตและกิจการงานจึงเป็นเรื่องธรรมดา ข้อสำคัญเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น จะต้องแก้ไขให้ลุล่วงไปโดยไม่ชักช้า ผู้ใดมีสติปัญญาคิดได้ดี ปฏิบัติได้ถูก ผู้นั้นก็มีหวังบรรลุถึงเป้าหมาย มีความสำเร็จสูง ถ้าเป็นตรงกันข้าม ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จสมหวังได้...”

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันพุธ ที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๓๙

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงสอนให้เราเห็นถึงสัจธรรมที่ว่า ทุกคนบนโลกใบนี้ย่อมมีปัญหาทั้งเรื่องส่วนตัวและหน้าที่การงานด้วยกันทั้งนั้น ไม่มีใครหรือสังคมไหนหลีกหนีไปได้ แต่แทนที่คุณจะนั่งจมอยู่กับปัญหา ตีโพยตีพาย โทษโชคชะตา คุณควรเรียนรู้ที่จะยอมรับความจริงว่าปัญหาและอุปสรรคเป็นเรื่องธรรมดาที่จะเข้ามาในชีวิตเมื่อไรก็ได้ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ต้องตั้ง “สติ” แล้วรีบ “แก้ไข” จนกว่าปัญหานั้น ๆ จะลุล่วง ถ้าใครทำตามคำสอนของพ่อหลวงได้ คุณจะเป็นคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในโลกแห่งความจริงอย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จ

จะเห็นได้ว่าคำสอนของพ่อหลวงทุกคำล้วนแต่เป็นเรื่องที่จับต้องได้ ทรงชี้ให้เห็นเหตุและผล เป็นทั้งข้อคิดในการดำเนินชีวิตและกำลังใจให้พสกนิกรชาวไทยทุกคน หากตอนนี้ใครกำลังเจอปัญหาและอุปสรรคทั้งในหน้าที่การงานและชีวิตส่วนตัวแล้วล่ะก็ อย่าลืมน้อมนำพระบรมราโชวาทของพระองค์ท่านไปเตือนสติและปฏิบัติตามกันนะคะ นอกจากจะทำให้คุณสามารถผ่านพ้นวิกฤตในชีวิตไปได้ด้วยดีแล้ว คำสอนของพ่อหลวงยังเป็นสิริมงคลยิ่งนัก

รหัสข้อมูล

TLD-001-138

ชื่อเรื่องหลัก

พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอ 4 พระองค์

ยุคสมัย

วันที่แต่ง

พ.ศ.2428

ผู้แต่ง

คำประพันธ์

ร้อยแก้ว 

ฉันทลักษณ์

ความเรียง 

เนื้อเรื่องย่อ

สาระสำคัญของพระบรมราโชวาทเน้นให้ปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดในการวางพระองค์ให้เหมาะสมเมื่อไปศึกษาต่างประเทศ เช่น ไม่ไว้ยศว่าเป็นเจ้าเพราะจะต้องรักษายศศักดิ์  ระวังพระองค์มาก นอกจากนั้นยังให้เป็นผู้อ่อนน้อมว่าง่ายสอนง่าย ความในพระบรมราโชวาทที่ทรงย้ำอย่างยิ่ง คือมิให้ถือพระองค์ว่าเป็นพระราชโอรสพระเจ้าแผ่นดินแล้วใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายเกินไปจนเป็นหนี้ ทรงเน้นในเรื่องการประหยัดค่าใช้สอยทุกด้าน และทรงย้ำให้ตระหนักว่า ค่าใช้จ่ายที่โปรดเกล้าฯ  พระราชทานให้ไปทรงศึกษานั้นแม้จะเป็นพระราชทรัพย์ในส่วนที่เป็นเงินพระคลังข้างที่  แต่ก็เป็นเงินส่วนแผ่นดินที่ราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายให้ทรงใช้สอยด้วยทรงเป็นผู้ทำนุบำรุงรักษาบ้านเมือง 

วัตถุประสงค์

ผู้เรียบเรียง

เอกสารอ้างอิง

พระบรมราโชวาทและโคลงสุภาษิตพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ธนบุรี : โรงพิมพ์สุทธิสารการพิมพ์, 2505. (พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ  พระผจงธนสาร (สิง  ยุวชิต) วันจันทร์ที่  30  เมษายน  พ.ศ.2505)

คำสำคัญ

หมายเหตุ

พระบรมราโชวาทนี้แม้จะทรงพระราชนิพนธ์พระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอเป็นการส่วนพระองค์ แต่เนื้อความเป็นคำสอนที่มีความลึกซึ้งกินใจเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทั่วไปด้วย จึงได้รับความนิยมอัญเชิญมาพิมพ์เป็นแบบเรียนบ้าง เป็นหนังสืออ่านประกอบวิชาภาษาไทยบ้าง รวมทั้งพิมพ์เผยแพร่แก่ผู้อ่านทั่วไปอยู่เป็นนิจ เนื่องจากอ่านเมื่อใดก็ประทับใจเพราะเป็นคำสอนที่เหมาะแก่สังคมทุกยุคทุกสมัย