ในชั้นหนังแท้ มีส่วนหนึ่ง ที่ทำหน้าที่ นำเลือดมาหล่อเลี้ยงผิวหนัง ส่วนนั้นคือ

ผิวหนังเป็๋นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดของร่างกายและปกคลุมร่างกายของมนุษย์ไว้ทั้งหมด ป้องกันอวัยวะภายในจากเชื้อโรค และป้องกันไม่ให้สูญเสียน้ำ

ผิวหนัง ( Skin )

ผิวหนัง ( Skin ) เป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย มีน้ำหนักรวมกันประมาณ 6 ปอนด์ ( 7 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว ) มีความหนาโดยเฉลี่ย 2 มิลลิเมตร ส่วนที่บางที่สุดคือ บริเวณหนังตาประมาณ 0.5 มิลลิเมตร เท่านั้น และส่วนหนาที่สุดของร่างกาย คือ ตรงฝ่าเท้า วัดได้ 4.5 มิลลิเมตร [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]

ผิวหนังมาจากคำว่า Skin ทางวิชาการเรียก Cutaneous Membrane ถ้าเอาผิวหนังทั้งตัว ( ผู้ใหญ่ ) มาแผ่ออกจะได้พื้นที่ราว 1.75 ตารางเมตร

ผิวหนังประกอบด้วยเซลล์ ( Cell ) ซึ่งส่วนใหญ่จะมีลักษณะแบน ซึ่งมีจำนวนถึง 52,000 ล้านเซลล์ โดยเฉลี่ยบน ผิวหนัง ( Skin ) 1 ตารางเซนติเมตรจะมีเซลล์อยู่ 3 ล้านเซลล์และเส้นผม 10 เส้น โดยเซลล์ที่หลุดลอกออกมาคือเซลล์ที่ตายแล้วเป็นขี้ไคลประมาณวันละ 300 ล้านเซลล์ และจะมีเซลล์ใหม่ขึ้นมาแทนที่

ผิวหนัง ( Skin ) จึงเป็นอวัยวะที่เจริญเร็วที่สุด ( Dynamic Organ ) สามารถสร้างเซลล์ของมันเองขึ้นมาทดแทนเซลล์ที่ตายไปได้ตลอดชีวิต เซลล์เกิดใหม่จะสีขาวปนชมพู เรียบเนียน สวยงาม ยิ่งมีมากยิ่งดี ความเร็วของการแบ่งตัวจะช้าลง เมื่อมีอายุมากขึ้นจึงทำให้ผิวหนังดูไม่สดใส

ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำความสะอาดผิวควรมีค่า PH อยู่ระหว่าง 7-8 (คือเป็นด่างอ่อนๆ) สำหรับผิวปกติทั่วไป
ค่าความเป็นกรดด่างของผิวหนังอยู่ที่ PH 5.5 ( คือเป็นกรดอ่อน ๆ ) ซึ่งเป็นกระบวนการป้องกันของร่างกายที่จะไม่ยอมให้เชื้อแบคทีเรียอันตรายเจริญเติบโตบนผิวหนังได้ง่ายเกินไป ความเป็นกรดอ่อนๆของ ผิวหนัง ( Skin ) นี้มีความสำคัญในการดูแลและรักษาผิว ส่วนผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวควรมีความเป็นด่างอ่อนๆเพื่อการทำความสะอาดที่ได้ผลดีและไม่ทำให้ผิวเป็นอันตราย ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวที่มีความเป็นด่างสูงๆ เพราะจะทำให้ผิวหนังแห้งและเกิดริ้วรอยก่อนวัย

ถ้าไม่มีผิวหนังปกคลุม มนุษย์คือซากศพเดินได้
ผิวหนังจะคลุมร่างกายของมนุษย์ไว้ทั้งหมด กั้นตัวเราจากโลกภายนอก ป้องกันอวัยวะภายในจากเชื้อโรค ความร้อนและความเย็น สิ่งแวดล้อมที่มีพิษ จากการกระทบกระแทกรวมทั้งป้องกันไม่ให้สูญเสียน้ำออกไปจากตัวเราอีกด้วย

ผิวหนังทำให้ร่างกายสวยงามและที่สำคัญคือทำหน้าที่รับรู้สัมผัสทั้งหนักและเบา ส่งข้อมูลเป็นสื่อไฟฟ้าให้ระบบประสาทของร่างกายซึ่งสามารถแปลรหัสให้ตัวเราเข้าใจความหมายได้  [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]

ถ้ามนุษย์ไม่มีผิวหนัง ก็เหมือนซากศพที่ยังหายใจ
กายภาพของผิวหนัง ( The Anatomy of Skin ) ผิวหนังมี 2 ชั้น
เรามักเรียกผิวหนังว่า Skin แต่ทางการแพทย์จะเรียกว่า Cutaneous Membrane ผิวหนังปกคลุมภายนอกของร่างกาย ป้องกันภยันตรายจากการบาดเจ็บ ( Injury ) จากการติดเชื้อ ( lnfection ) ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายโดยถ้าอากาศข้างนอกร้อนเกินไปก็จะปล่อยน้ำออกมาเป็นเหงื่อ ( Sweat ) เมื่อระเหยเป็นไอจึงทำให้ร่างกายเย็นลง แต่ถ้าอุณหภูมิรอบตัวเย็นเกินไป ผิวหนังก็จะเก็บความร้อนเอาไว้ภายในทำให้เกิดความอบอุ่น เพื่อประโยชน์ดังกล่าว ธรรมชาติจึงสร้างให้ผิวหนังมีโครงสร้างเป็น 2 ชั้นที่สำคัญด้วยกัน

ผิวหนังของคนเรามีกี่ชั้น?

ชั้นหนังกำพร้า ( Epidermis ) อยู่ชั้นนอกสุด
ชั้นหนังแท้ ( Dermis หรือ Cutis ) อยู่ชั้นใน ใต้ Epidermis เข้ามา

1. หนังกำพร้า (Epidermis)

หนังกำพร้าอยู่ชั้นนอกสุดของ ผิวหนัง ( Skin ) คือเลยชั้นหนังแท้ออกมาและเซลล์บริเวณผิวนอกสุดนี้ก็จะลอกคราบเป็นขี้ไคลตลอดเวลา ส่วนหนังแท้ ( Dermis ) จะไม่ลอกออก จึงเปรียบเหมือนหนังแท้เป็นลูกที่มีพ่อแม่คอยดูแลให้อยู่กับตัว ส่วนหนังกำพร้า คือผิวหนังที่ขาดพ่อแม่จึงต้องเร่ร่อนหรือหลุดลอกออกไป

หนังกำพร้ามีลักษณะที่บางมาก หนาประมาณแผ่นกระดาษ ( 0.4 มม. ) เท่านั้น โดยชั้นผิวสุดของหนังกำพร้าประกอบด้วย เซลล์รูป 4 เหลี่ยมแบน ๆ ซ้อนกันหลายๆ ขั้นเหมือนสะเก็ด ( Stratified Squamous Epithelium ) แต่ชั้นล่างสุดของหนังกำพร้า ซึ่งเป็นฐานของหนังกำพร้ามีรูปร่างกลม ( Round Cell ) เรียกทางด้านวิชาการว่าเป็น เซลล์ฐาน ( Basal Cell ) มีหน้าที่แบ่งตัวเพื่อสร้างเซลล์ใหม่ทดแทนโดยกลายเป็นขี้ไคลที่หลุดลอกออกไป

1.1 ในชั้นหนังกำพร้าไม่มีหลอดเลือด ( No Blood Vessel )

หนังกำพร้า ( Epidermis ) ต้องอาศัยชั้นหนังแท้ ( Dermis ) ที่อยู่ใต้ลงไปในการส่งสารอาหารขึ้นมาให้และรับของเสียกลับออกไป (Nutrient Delivery and Waste Cisposal) เซลล์ของหนังกำพร้าระยะเริ่มต้นมีรูปร่างกลมอยู่ตอนล่างสุด จะเบียดกันขึ้นมาจากการแบ่งตัว จนถึงชั้นนอกของร่างกายหรือผิวชั้นสุดท้ายจึงทำให้แบนเพราะการอัดกันแน่น ชั้นที่ผลิตเซลล์หนังกำพร้าดังกล่าวเรียก Basal Cell Layer ( หรือชื่อทางวิชาการเรียก Stratum Germinativum ) ส่วนชั้นผิวบนสุดของหนังกำพร้า ( Epidermis ) ที่พร้อมเป็นเซลล์ขี้ไคล เรียกชั้น Stratum Corneum หรือ ชื่อทั่ว ๆ ไปคือ Horny Cell Layer  [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]

เซลล์ทั่วไปในร่างกายมีมากกว่า 60 ล้านล้านเซลล์ประกอบกันเป็นอวัยวะต่าง ๆ อาทิ เป็นกล้ามเนื้อ เลือด ฯลฯ ทำหน้าที่ต่างกัน มีแกนกลางอยู่ภายในตัวเซลล์ ทำหน้าที่เหมือนหัวใจของเซลล์ ซึ่งเรียกว่า Nucleus ( นิวเคลียส ) แต่เซลล์ของหนังกำพร้าชั้นผิวนอกสุด ( Horny Cell Layer ) ซึ่งเบียดกันขึ้นมาจากขั้นล่างที่ผลิตเซลล์ผิวหนังใหม่ทดแทนอยู่ตลอดเวลา ( ผิวหนังจึงนับว่าเป็น Dynamic Organ ) พบว่าความอัดกันแน่นของมัน ทำให้กลายเป็นเซลล์ที่ไม่มีนิวเคลียส เมื่อใกล้ผิวนอกสุดและพร้อมจะหลุดลอกออกไปตามธรรมชาติของผิวหนังเพราะเซลล์ตายสนิท จึงไม่มีความรู้สึกเจ็บหรือปวดแต่อย่างใด

เซลล์ของผิวหนังกำพร้าขั้นล่าง ( Basal Cell ) มีการแบ่งตัวตลอดชีวิตของมัน ซึ่งมีผู้ประมาณว่า อาจได้นานถึง 120 ปี โดยเฉลี่ยและแบ่งตัวทุก ๆ สัปดาห์แต่เมื่ออายุมากขึ้น การแบ่งตัวจะช้าลง อาจเป็นทุก 6 สัปดาห์ ทำให้ผิวหนังขาดความสดใส ถ้าเครื่องสำอางช่วยให้การแบ่งตัวได้เร็วขึ้น ใกล้เคียงกับระยะหนุ่มสาวผิวหนังก็จะไม่แก่ ( Antiaging ) ในปัจจุบันจึงมีความพยายามที่จะค้นหา Growth Factor ( สิ่งที่กระตุ้นการเจริญเติบโต ) มาใช้ในการดูแล ผิวหนัง ( Skin )

1.2 เมลานิน ( Melanin ) คือเม็ดสี ( Pigment ) ที่ทำให้ผิวหนังเป็นสีดำเหลืองหรือขาว

มีเซลล์ชนิดหนึ่งซึ่งผลิตเม็ดสีเมลานิน เราเรียกเซลล์ชนิดนี้ว่า เมลาโนไซท์ ( Melanocyte หรือ Melanin Cell ) อยู่ในหนังกำพร้าชั้นล่างสุด ( Basal Cell Layer ) เซลล์เมลาโนไซท์ เมื่อถูกแสงแดดรบกวนจะทำเอนไซม์ชื่อไทโรซิเนส ( Tyrosinase ) ถูกกระตุ้นให้ทำหน้าที่ย่อยสารตั้งต้น ( Substrate ) เป็น กรดอะมิโน ชื่อไทโรซิน ( Tyrosine ) ให้เกิดเป็นเม็ดสีเมลานิน ( Melanin Granule ) ซึ่งเป็นการป้องกันตัวจากแสงแดดของ ผิวหนัง ( Skin ) ที่จะไม่ให้แสงแดดผ่านเม็ดสีเข้ามาทำอันตรายกับร่างกายที่อยู่ลึกลงไปได้ เครื่องสำอางที่มีตัวยาห้ามการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส ( Tyrosinase ) จะทำให้หยุดสร้างเม็ดสีเมลานิน จึงทำให้ผิวขาวขึ้น

1.3 ไม่มีแสงแดด ก็ไม่สร้างเม็ดสีเมลานิน

ถ้าผิวหน้าถูกแสงแดดเข้มข้น เม็ดสีเมลานินก็จะเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ จนผิวดูออกเป็นสีน้ำตาลเกรียม แต่จะค่อย ๆ จางลงถ้าไม่พาตัวเองให้ถูกแสงแดดบ่อย ๆ การใช้ตัวยาสำคัญซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวห้ามการทำงานของเอนไซม์ ( Enzyme lnhibitor ) โดยใช้ในเครื่องสำอางเพื่อไม่ยอมให้เอนไซม์ Tyrosinase ทำงาน ก็จะทำให้ไม่เกิดเม็ดสีเมลานิน สำหรับตัวเร่งการทำงานของเอนไซม์ Tyrosinase นั่นก็คือ แสงแดด ดังนั้น ถ้าอยากมีผิวสวยก็ต้องไม่โดนแสงแดด แต่ถ้าจำเป็นต้องออกแดดก็ต้องทาครีมกันแดดเพื่อช่วยป้องกัน หรือจะใช้เครื่องสำอางที่มีตัวห้ามการทำงานของเอนไซม์ ทาผิวก็จะไม่เกิดเม็ดสีเมลานินได้เช่นเดียวกัน  [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]

1.4 เซลล์ต่างๆ ที่ควรรู้จักในชั้นหนังกำพร้า

A. เมลาโนไซท์ ( Melanocyte ) เป็นเซลล์ที่มีหน้าที่ผลิตเม็ดสี เมลานิน ( Melanin ) จึงทำให้ผิวหนังมีสีน้ำตาลเข้ม หรือ ดำ ถ้าเม็ดสีเมลานินมีน้อยก็เป็นสีเหลืองหรือถ้าน้อยมากก็เป็นสีขาว เมื่อมนุษย์เกิดมาแล้ว จำนวนเซลล์เมลาโนไซท์จะไม่เปลี่ยนแปลง คือ เซลล์ที่ผลิตเม็ดสีเมลานินนี้ ( ทั่ว ๆ ไปเรียก Melanin Cell ) ไม่มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลง การมีจำนวนเซลล์มากน้อยขึ้นอยู่กับเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ ถ้าคนผิวดำก็จะมีเมลาโนไซท์ ( Melanocyte ) ผลิตเม็ดสีเมลานินชนิด Eumelanin ซึ่งมีสีดำและน้ำตาลหนาแน่น ผลิตเม็ดสีได้มาก ผิวเหลืองก็มีเซลล์เมลาโนไซท์ ชนิด Pheomelanin เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีสีแดง ส่วนคนผิวขาวจะมีเซลล์ผลิตเม็ดสีน้อยมาก

เมลานิน (Melanin) มีข้อดี คือช่วยกรองแสงแดด ไม่ให้รังสียูวีทะลุผ่านเข้ามาทำลายผิวหนังและเนื้อเยื่อได้ คนผิวเข้มที่มีเม็ดสีเมลานินมากจึงไม่ค่อยเป็นโรคเนื้องอกผิวหนัง (Skin Cancer) ส่วนคนผิวขาวไม่มีเม็ดสีเมลานินมากพอไว้ช่วยกรองแสงแดด จึงมีโอกาสเกิดเนื้องอกผิวหนังสูงกว่า

B. Keratinocyte ( คีราติโนไซท์ ) เป็นเซลล์ที่อยู่บริเวณตอนล่างของผิวหนังกำพร้า เป็นเซลล์ที่ผลิตสาร คีราติน ( Keratin ) ซึ่งมีลักษณะเป็นโปรตีนแข็ง ( Fibrous Protein ) ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่มีแร่กำมะถันเป็นส่วนประกอบ ( Sulfured Amino Acid ) ช่วยทำให้เซลล์หนังกำพร้าแข็งและหนาขึ้น สามารถต้านทานการบาดเจ็บ เช่น จากการถลอก การเสียดสีได้ดี เมื่อคีราตินอยู่บนผิวนอกของผมและเล็บจึงทำให้เส้นผมและเล็บแข็งแรง

คีราติโนไซท์ (Keratinocyte) ได้รับเม็ดสีเมลานินผ่านมาทางฝอย ( Dendrite ) ที่ยื่นเป็นแขนออกมารอบตัวของเซลล์ Melanocyte ซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียง

คีราติน (Keratin) จะมีอยู่หนาแน่นที่เซลล์ชั้นผิวบนสุดของหนังกำพร้าที่เรียกชั้น Stratum Corneum หรือ Horny Cell Layer เซลล์ชั้นนี้จึงแข็งแรงและเหนียว ( คำว่า Keratin มาจากภาษากรีกโบราณว่า Keras แปลว่าเขาสัตว์หรือ Horn เซลล์ที่มี Keratin จึงเรียก Horny Cell )

อัตราส่วนของเซลล์เมลาโนไซท์ ( Melanocyte ) ผู้ผลิตสีเมลานิน ( Melanin ) กับเซลล์ คีราติโนไซท์ ( Keratinocyte ) ผู้ผลิตโปรตีนแข็ง ( Keratin ) ของหนังกำพร้าเท่ากับ 1 ต่อ 4 ในประเทศที่มีแสงแดดจัด แต่ถ้าอยู่ในภูมิภาคที่มีอากาศมืดครึ้ม จะมีสัดส่วนถึง 1 ต่อ 30 เลยทีเดียว คือมี Melanocyte ต่ำมาก เมื่อเทียบกับ Keratinocyte  [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]

เซลล์เมลาโนไซท์นี้จะไม่มีการขยายจำนวนเพิ่มขึ้น ( Since Melanocytes are of Neural Crest Origin, They have no ability to reproduce ) มีเพียงแต่เม็ดสีเมลานิน ( Melanin Pigment ) เท่านั้นที่เพิ่มจำนวนขึ้น ซึ่งได้จากการผลิตของเซลล์เมลาโนไซท์ เมื่อถูกกระตุ้นโดยแสงแดด

C. เม็ดโลหิตขาวขนาดใหญ่ ( Macrophage มีชื่อเฉพาะถ้าอยู่ที่ผิวหนังว่า Langerhans Cell ) มีอยู่ในหนังกำพร้า ( Epidermis ) ตั้งแต่ชั้นล่างสุด ( Basal Cell Layer ) ขึ้นมา มันมีความสามารถที่จะกินและย่อยสิ่งแปลกปลอมรวมทั้งผลิตสารเคมี ( Cytokine ) เพื่อสร้างภูมิต้านทาน

โดยปกติเม็ดโลหิตขาวขนาดใหญ่นี้ ( Macrophage : คำว่า Phage แปลว่าผู้กิน Macro แปลว่า ใหญ่ ) จะไม่ทำงาน ( Inactive ) จนกว่าจะถูกกระตุ้น ( ธรรมชาติเป็นผู้กำหนดให้มีการควบคุมเป็นทอด ๆ ) ตัวกระตุ้นจะเป็นกลุ่มแป้งชนิดเชิงซ้อน (Polysaccharide) เช่น Beta 1,3 Glucan ซึ่งพบมากในผนังเซลล์ของสาหร่ายหรือ ส่า (Brewer, s Yeast) ทำให้มันปล่อยสารเคมี ชื่อ Cytokine ออกมา ซึ่งสำคัญมากต่อภูมิต้านทานของร่างกายโดยเฉพาะที่ ผิวหนัง ( Skin ) ( อันเกิดจากคุณสมบัติ Transforming Growth Factor ของ Cytokine )

แป้งเชิงซ้อนชื่อ Beta 1, 3 Glucan นี้ถ้าทำเป็นชนิด Cosmetics grade ( มาตรฐานเครื่องสำอาง ) ซึ่งมีความบริสุทธิ์สูง จะมีราคาแพงมาก ครีมทาหน้าที่มีส่วนผสมเบต้ากลูแคนใน 1 กระปุก ขนาด 2 ออนซ์เพียง 1 เปอร์เซ็นต์ ก็ถือว่าเป็นเครื่องสำอางชั้นสูงราคาอาจถึง 6,000 บาท ต่อกระปุกขนาดโตกว่าหัวแม่มือนิดเดียว ที่มีประสิทธิผลก็เพราะไปกระตุ้น Langerhans Cell ซึ่งเป็นเม็ดโลหิตขาวขนาดใหญ่ หรือ Macrophage ให้ทำงานผลิตสารไซโตคิน ( Cytokine ) ออกมา

D. เซลล์ประสาทรับสัมผัส ( Merkel Cell ) จะไวมากกับการสัมผัสที่ค่อนข้างแผ่วเบา ( Merkel Cells are specialized in the perception of light touch ) จึงพบได้มากที่ปลายนิ้ว ริมฝีปากและบริเวณอวัยวะสืบพันธ์ของผู้หญิง ( Genitalia )

E. หนังกำพร้าเป็นผู้กำหนดความสวยงามของผิวหนัง ( Surface Texture of Skin ) ลักษณะที่ดีของหนังกำพร้าคือต้องหนา ( Thick Epidermis ) หนังกำพร้าถ้ายิ่งหนา รูขุมขน (Hair Follicle) ก็จะยิ่งกระชับเล็กลง ทำให้ผิวเนียนและแผลเป็นก็จะดูเรียบ เครื่องสำอางที่ดีจึงต้องทำหน้าที่คล้ายกาวธรรมชาติ ( เป็นพวก Ceramide ทำให้สารเคมีที่ยึดเซลล์หนังกำพร้าสมบูรณ์ กระชับรูขุมขนให้แคบ )
อย่างไรก็ดี ถ้าเซลล์ของหนังกำพร้า ( Epidermis ) งอกงามเกินไปจนผิดปกติหรือแห้งมาก เพราะขาดความชุ่มชื้นจากน้ำมันของต่อมไขมัน ( Sebaceous Gland ) ผิวหนัง ( Skin ) ก็จะแลดูหยาบเป็นเกล็ด ( Scaly ) ไม่น่ามอง และไม่น่าสัมผัส  [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]

F. ซีราไมด์ ( Ceramide ) เป็นไขมันชนิดหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เหมือนปูนซีเมนต์ ( Cement ) ใช้ในการก่อสร้าง คอยยึดก้อนอิฐคือเซลล์ต่าง ๆ ในชั้นหนังกำพร้าให้ติดกันเป็นชั้น ๆ ไม่หลุดลุ่ยหรือแยกออกจากกันโดยง่าย ผลที่เกิดจากการประสานกันของ ซีราไมด์ ( Ceramide ) อย่างเหนียวแน่นนี้ ทำให้มันสามารถป้องกันน้ำในร่างกายไม่ให้รั่วหรือระเหยออกมาข้างนอก จึงรักษาความชุ่มชื้น ( Hydration ) ของผิวหนังไว้ได้ วงการธุรกิจเครื่องสำอางให้ความสนใจ ซีราไมค์ ( Ceramide ) เป็นอย่างมากในปัจจุบัน

2. หนังแท้ ( Dermis หรือ Cutis )

เป็นชั้นของผิวหนังที่อยู่ใต้หนังกำพร้า ( Epidermis ) ลงมา หนาประมาณ 25 เท่า ของหนังกำพร้า มีปลายประสาท ( Nerve Ending ) ต่อมเหงื่อ ( Sweat Gland ), ต่อมไขมัน ( Sebaceous Gland หรือ ชื่อทั่ว ๆ ไปก็คือ Oil Gland ), ขุมขน ( Hair Follicle ) , หลอดโลหิต ( Blood Vessel ) ฯลฯ

องค์ประกอบสำคัญของหนังแท้ ( Dermis ) ซึ่งนักเคมีให้ความสนใจ คือ โปรตีนชื่อ คอลลาเจน ( Collagen ) และอีลาสติน ( Elastin ) สานกันอยู่เป็นใยโดยมีกรดไฮยารูโลนิก ( Hyarulonic Acid ) เป็นตัวเชื่อมที่สำคัญ กรดไฮยารูโลนิกนี้ในปัจจุบันพบว่า สามารถดูดน้ำได้อย่างดีเยี่ยม ( Hydrophilic ) โดย 1 โมเลกุลของกรดนี้จะจับน้ำไว้ถึง 214 โมเลกุล เป็นสารชุ่มชื้นธรรมชาติ ( Natural Moisturizer Factor ) ซึ่งพบใน ผิวหนัง ( Skin ) ราคาค่อนข้างแพง ทำเป็นครีมหน้าเด้ง ( Face Lift ) ช่วยลบริ้วรอยบนใบหน้า ส่วนโปรตีนคอลลาเจนเป็นตัวทำให้ผิวหนังเหนียว แข็งแรงและมีความยืดหยุ่น

ปริมาณของคอลลาเจนจะมีมากกว่าอีลาสติน 70 เท่า อีลาสตินช่วยทำให้ผิวหนังดีดกลับมาอยู่สภาพเดิมคล้ายกับยางยืดหรือหนังสะติ๊กที่หดกลับเหมือนสปริง ( Elasticity ) ตลอดเวลา

ถ้าผิวหนังถูกแสงแดดมากขึ้น หรืออายุมากขึ้น โปรตีนคอลลาเจนและอีลาสตินจะถูกทำลายหรือเสื่อมสภาพตามกาลเวลา ทำให้ผิวหนังหมดความนุ่มนวลคอลลาเจนพร่องลง ทำให้เกิดรอยย่น (Wrinkle) บนใบหน้า ผิวจะเหี่ยวเพราะขาดความยืดหยุ่น แลดูเป็นผิวของคนแก่

หน้าที่สำคัญของหนังแท้ ( Dermis หรือ Cutis ) คือคอยประคับประคองและสนับสนุนหนังกำพร้า ( Sustain and Support Epidermis )  [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]

2.1 เซลล์ที่สร้างโปรตีนคอลลาเจน ( Fibroblast )

เซลล์ไฟโบรบลาสท์ ( Fibroblast ) ของร่างกายมีจำนวนมากที่สุดอยู่ในชั้นหนังแท้ มันจะทำหน้าที่ผลิตสารคอลลาเจนและอีสาสติน ( Collagen ) และ Elastin คอลลาเจนมีน้ำหนักประมาณร้อยละ 70 ของหนังแท้ เพื่อสร้างความเหนียวและแน่น ส่วนอีลาสตินจะหนักเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น แต่มีบทบาทที่สำคัญในการดึงผิวหนังให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิมตลอดเวลา ( Returning the skin to its resting shape )

ไฟโบรบลาสท์จึงเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่สำคัญเฉพาะกับหนังแท้ ( Dermis ) ในการสร้างคอลลาเจนเพื่อมาเป็นโครงสร้าง ( Structure ) ของหนังแท้โดยสานกันเป็นมัด แน่นเหมือนเชือกควั่น ทำให้ผิวหนังแข็งแรงและดูสวยงามน่าจับต้อง
เมื่ออายุมากขึ้น เซลล์ไฟโบรบลาสท์จะผลิตคอลลาเจนน้อยลงและคอลลาเจนที่มีอยู่แล้วก็เสื่อมสภาพ ถ้าเราทำให้ผิวหนังสามารถผลิตคอลลาเจนได้อย่างเดิม และคอลลาเจนที่มีไม่เสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ เราก็สามารถชะลอความแก่ ( Aging ) ของผิวหนังลงได้ และนี่เป็นหัวใจของธุรกิจเครื่องสำอาง

คำว่า Collagen ( คอลลาเจน ) มีรากศัพท์มาจากภาษา Greek ( กรีก ) แปลว่า กาว ( Glue )

2.2 ต่อมไขมัน ( Sebaceous Gland )

พบได้ทั่วไปใน ผิวหนัง ( Skin ) ตรงชั้นหนังแท้ ( Dermis ) ยกเว้นบริเวณที่ไม่มีต่อมไขมัน คือ ฝ่ามือและหลังเท้า ผิวหนังส่วนที่มีความหนาแน่นของต่อมไขมันมากที่สุดคือ ใบหน้า หนังศรีษะ ( Scalp )

ต่อมไขมัน ( Sebaceous Gland หรือ เรียกทั่ว ๆ ไปว่า Oil Gland คือต้นเหตุของการเกิดสิว ) ( Acne )
ต่อมไขมันมีหน้าที่โดยปกติคือ ผลิตและขับ ( Produce and Secrete ) น้ำมัน ( มีชื่อเฉพาะว่า Sebum ) Sebum นี้เป็นสารประกอบชนิดหนึ่งโดยมีไขมันไตรกลีเซอไรด์ ( Triglyceride ) 30 % ผสมกับกรดไขมัน ( Fatty Acid ) 30% ไขมันโคเลสเตอรอล ( Cholesterol ) 5 % Squalene 12 % ฯลฯ น้ำมันซีบัม ( Sebum ) ที่ขับออกมานี้ ทำให้ผิวหนังเป็นมัน นุ่มไม่แตกแห้ง ลดความฝืด และช่วยสร้างความชุ่มชื้น เพราะความหนืดของน้ำมัน จึงไม่ยอมให้น้ำในร่างกายระเหยผ่านออกไปได้ แต่ถ้าน้ำมันซีบัมไม่สามารถขับออกมาได้เพราะปากท่อต่อมน้ำมัน Sebaceous Gland มีการอุดตันจะโดยสาเหตุใดก็ตาม ทำให้เกิดมีตุ่มสิวขึ้นและเชื้อแบคทีเรียที่ชอบทำให้เกิดการอักเสบที่สิวมากที่สุดชื่อ Propionibacterium ( Corynebacterium ) Acnes เรียกย่อ ๆ ว่า P.Acnes ถือโอกาสเข้ามาปนเปื้อน สิวธรรมดาก็จะกลายเป็นหัวหนองได้โดยง่ายท่อของต่อมไขมันจะอาศัยเปิดร่วมกับท่อขุมขน ( Hair Follicle ) โดยมาเชื่อมต่อบริเวณใกล้จะถึงหนังกำพร้า  [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]

2.3 ต่อมเหงื่อ ( Sweat Gland ) ทางวิชาการเรียกชื่อ Eccrine Gland

ต่อมเหงื่อพบได้ทั่วร่างกายเช่นเดียวกัน ยกเว้นที่ริมฝีฝาก ( Lips ) ช่องหูส่วนนอก ( External Ear Canal ) และบริเวณแคมเล็ก หรือแคมในของอวัยวะเพศสตรี ( Labia Minora ) ต่อมเหงื่อจะมีมากที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และหน้าผาก เวลามีเรื่องตื่นเต้นจะพบว่าเหงื่อออกมากในบริเวณดังกล่าว

หน้าที่ของต่อมเหงื่อ คือ ผลิตเหงื่อ ( Sweat ) ซึ่งเป็นน้ำและเกลือโซเดียมละลายอยู่ค่อนข้างสูง โดยเหงื่อจะช่วยให้ร่างกายเย็นลง เมื่อน้ำเหงื่อระเหยเป็นไอน้ำก็จะดึงความร้อนแฝงออกไป กรณีอากาศร้อนทำให้ต่อมเหงื่อที่ผิวหนังผลิตเหงื่อออกมามาก ก็เพราะศูนย์ควบคุมอุณหภูมิ ( Thermoregulatory Center ) ที่อยู่บริเวณมันสมองส่วนล่าง ( Hypothalamus ) เป็นผู้สั่งการให้ต่อมเหงื่อทำงานเพิ่มขึ้นนั่นเอง

ต่อมกลิ่นตัว สำหรับต่อมกลิ่นตัว ( Apocrine Gland ) มีลักษณะโครงสร้างคล้ายต่อมเหงื่อ ( Sweat Gland ) แต่มีหน้าที่หลักคือ ผลิตกลิ่นเฉพาะที่ค่อนข้างฉุนเพื่อประโยชน์ทางเพศแต่ใช้มากกับสัตว์ มนุษย์มีบ้างแต่น้อยมากที่จะชอบกลิ่นฉุนแล้วเกิดอารมณ์ทางเพศ ต่อมดังกล่าวจะมีหนาแน่นบริเวณรักแร้ ( Axilla ) ผิวหนังรอบทวารหนักและอวัยวะเพศ ( Anogeital Region )

เหงื่อที่ออกมากเกินไปอย่าง เช่น กรณีเล่นกีฬาหนัก ๆ จะขับแมกนีเซียมออกมามาก พร้อมกับเหงื่อจนทำให้ร่างกายขาดแมกนีเซียม จนถึงหัวใจวายได้เหงื่อ ตามปกติจะมีกลิ่นอ่อนมา ( Only a slight Odor )

2.4 ขุมขน ( Hair Follicle ) ผมหรือขนจะงอกออกมาจากรากผม ( Hair Root ) ซึ่งมีเยื่อหุ้มถึง 2 ชั้น เป็นรูปกระเปาะ ( Bulb ) และเรียกทั้งหมดว่า ขุมขน ( Hair Follicle หรือ Hair Bulb ) ท่อขน ( Follicle ) ซึ่งมีขนหรือผมงอกผ่านมาด้วย โดยจะมาเปิดที่ชั้นหนังกำพร้า ( Epidermis ) ออกมาภายนอกร่างกาย ท่อขนแต่ละท่อจะมีปากท่อของต่อมไขมัน ( Oil Gland ) หลายท่อจากหลายต่อมไขมันมาอาศัยเปิดร่วมด้วย ทำให้น้ำมัน ( Sebum ) ไหลออกมาร่วมกับท่อขน จึงช่วยให้ขนหรือผมไม่แตกเปราะ เป็นเงาแวววาว และผมมีน้ำหนักเพราะน้ำมันจะจับชั้นนอกของผม ( Cuticle ) ผมจะแลดูสวย

การที่ผมหวีง่าย มีน้ำหนัก ไม่แตกปลาย ก็เพราะน้ำมันจับเข้าไปในชั้น Cuticle ( เปลือกนอก ) ของผมดังกล่าว เครื่องสำอางสำหรับเส้นผมจึงหาสารที่ให้หลักการเดียวกันนี้เพื่อดูแลเส้นผม  [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]

2.5 ตุ่มประสาทพาซิเนียน (Pacinian Corpuscle)

Pacinian Corpuscle อยู่ในชั้นหนังแท้ Dermis เป็นตุ่มประสาทที่รับรู้ความรู้สึกสัมผัสทางผิวหนังประเภทค่อนข้างแรง หรือหนัก ( Pressure ) เช่น ถูกบีบหรือกด โดยในหนังกำพร้า ( Epidermis ) จะมีปลายประสาทของ Merkel Cell รับสัมผัสที่เบา ( Light Touch ) ระบบประสาทสัมผัสทั้งหนักและเบานี้ จะมีมากที่ปลายนิ้วมือ ( Fingertips ) เราจึงใช้นิ้วมือในการลูบคลำสิ่งต่าง ๆ มากกว่าอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกาย

เพื่อประกอบความรู้ ความเจ็บ ( Pain ) จะรับรู้โดยปลายประสาท Merkel Cell ที่ฐานของหนังกำพร้า ( Basal Cell Layer ) กระเปาะเคร้าส ( Krause Bulb ) รับสัมผัสความเย็น ( Cold ) ต่อมราฟฟินิ ( Raffini Corpuscle ) รับรู้ความร้อน ( Heat ) ต่อมไมสเนอร์ ( Meissner Corpuscle ) รับสัมผัสชนิดแผ่วเบา ฯลฯ

3. ชั้นไขมันใต้ ผิวหนัง ( Subcataneous Fatty Layer )

ชั้นไขมันใต้ผิวหนังเปรียบเหมือนเป็นชั้นที่ 3 ของ ผิวหนัง ( Skin ) คือผิวนอกสุดเป็นชั้น Epidermis หรือหนังกำพร้า ชั้นกลาง คือ หนังแท้ หรือชั้น Dermis ( หรือ Cutis ) ชั้นในสุดคือใต้ Dermis เข้ามา จึงเรียกชั้น Hypodermis ( Hypo แปลว่าใต้, Dermis คือหนังแท้, ชั้นนี้จึงเป็นชั้นที่อยู่ลึกกว่าหนังแท้ แปลว่า Hypodermis ) ชื่อทางการแพทย์เรียกว่าชั้น Subcutaneous Layer ( Sub แปลว่าใต้, Cutaneous Membrane แปลว่า ผิวหนัง ( Skin ) ; จึงเรียก Subcutaneous หมายถึงใต้ผิวหนัง )

ถ้าเรียงลำดับจะเป็นดังนี้
1. ชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) อยู่นอกสุด
2. ชั้นหนังแท้ (Dermis หรือ Cutis) อยู่กลางเป็นชั้นหลักของผิวหนัง
3. ชั้นไขมัน (Hypodermis หรือ Subcutaneous หรือ Fatty Layer) อยู่ในสุดคือใต้หนังแท้

ชั้นไขมันนี้จะประกอบด้วยไขมัน ( Fat ) โดยมีหลอดเลือดมาหล่อเลี้ยงในบริเวณนี้จำนวนมาก ( Blood vessel ) ไขมันจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางยึดหนังแท้ ( Dermis ) ด้านนอก กับกล้ามเนื้อ ( Muscle ) หรือกระดูก ( Bone ) อยู่ด้านในให้ติดกันและช่วยเป็นเบาะกันกระแทกให้กับอวัยวะต่าง ๆ อีกด้วย
หลอดเลือดบริเวณใบหน้า ถ้าฉีกขาดโลหิตจะไหลออกมาทั้ง 2 ข้างของรอยตัดขาดของ ผิวหนัง ( Skin ) การห้ามเลือดจึงต้องหยุดโดยการกด หรือใช้ปากคีบจับหลอดเลือดทั้งสองข้างของแผล (ถ้าอวัยวะบริเวณอื่น เลือดจะไหลออกมาจากหลอดโลหิตที่ฉีกขาดทางใดก็ทางหนึ่งเท่านั้น เหมือนถนนรถวิ่งทางเดียว – one way) จะเห็นได้ว่าผิวหนังที่ใบหน้ามีเลือดมาหล่อเลี้ยงสมบูรณ์กว่าผิวหนังบริเวณอื่นทั้งหมดทำให้เวลาเกิดการบาดเจ็บที่ใบหน้า จะหายง่ายเร็วกว่าที่อื่น  [adinserter name=”ความงามและผิวพรรณ”]

Lipocyte (เซลล์สร้างไขมัน) อยู่ในชั้นใต้ผิวหนัง ( Hypodermis ) เซลล์ไลโปไซท์ Lipocyte จะผลิตไขมันให้กับชั้นใต้ผิวหนัง ( Fatty Layer หรือชั้น Subcutaneous ) ไขมันที่ผลิตออกมานี้ จะช่วยเป็นเบาะกันชน ( Cushion ) และฉนวน ( lnsulator ) ให้กับอวัยวะภายใน, กระดูก, กล้ามเนื้อ ฯลฯ และยังทำตัวเป็นแหล่งสะสมพลังงานให้กับร่างกาย เพราะไขมัน 1 กรัม จะให้ความร้อนถึง 9 แคลอรี่ ในขณะที่โปรตีนและน้ำตาลให้เพียง 4 แคลอรี่ต่อ 1 กรัมเท่านั้น

เซลล์ไขมัน ( Fat Cell ) ถ้าครั้งหนึ่งผลิตไขมันออกมาและสะสมไว้จำนวนมาก จะทำให้เซลล์ไขมันตัวมันเอง อ้วนพอง ใหญ่กว่าปกติและมีจำนวนมากเมื่อต่อมาเกิดพยายามลดน้ำหนักเพื่อต้องการให้รูปร่างผอมบาง ไขมันเหล่านี้จะหายไปวันละเล็กละน้อยอย่างแสนลำบาก ใช้เวลาเป็นเดือน แต่ทันทีที่เริ่มกินอาหารไขมันจากอาหารจะไหลกลับมาเข้าเซลล์ไขมันอย่างรวดเร็วเต็มที่ว่างและกลับมาอ้วนอย่างเดิมอีกครั้งภายในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ บางคนอาจอ้วนมากกว่าที่ผ่านมาเพราะ Hunger Center ( ศูนย์ความหิว ) ในสมองสั่งให้ร่างกายกักตุนไขมันไว้และเร่งเก็บสำรองให้มากยิ่งขึ้นกว่าเก่าเพราะกลัวจะขาดแคลนอีก เป็นการป้องกันตัวของร่างกายตามระบบสัญชาติญาณของการอยู่รอด

การที่ให้เด็กเล็ก ๆ กินอาหารจนอ้วนโดยเห็นเป็นของน่ารักน่าเอ็นดูนั้น ท่านกำลังทำผิดอย่างมหันต์ให้กับเด็กคนนี้ เพราะเมื่อโตขึ้น จะเป็นผู้ใหญ่ที่มีปัญหาเรื่องโรคอ้วน ( Obesity ) ตามมา ขอให้พยายามแก้เสียก่อนที่จะช้าเกินไป

Fatty Layer ( ชั้นไขมัน ) นี้จะเก็บกักความร้อนในร่างกายไม่ให้กระจายออกไปทาง ผิวหนัง ( Skin ) ได้ ถ้า Fatty Layer หรือชั้น Hypodermis หนามาก ๆ เช่น คนอ้วน จะรู้สึกร้อนง่ายเพราะฉนวนกันความร้อนแน่นมาก คนอ้วนจึงมีลักษณะขี้ร้อน เพราะอุณหภูมิที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารในร่างกาย ถูกเก็บอยู่ในตัวไม่สามารถระบายไปไหนได้เหมือนคนห่มผ้านวมหนา ๆ ไว้ตลอดเวลา

หน้าที่ของ ผิวหนัง ( Skin ) คือ

เมื่อวิเคราะห์ลักษณะทางกายวิภาคแล้ว ( Anatomy ) สรุปได้ว่า ผิวหนัง ( Skin ) มีหน้าที่สำคัญดังต่อไปนี้
1. ควบคุมระดับความร้อนของร่างกาย ( Body Temperature ) ให้เหมาะกับการดำรงชีวิต โดยไขมันในชั้นใต้ผิวหนัง ( Fatty Layer ) จะกั้นไม่ให้ความร้อนในตัวไหลออกเมื่ออากาศภายนอกเย็น และหลั่งเหงื่อออกมาโดยต่อมเหงื่อ ( Sweat Gland ) เพื่อให้น้ำระเหยเป็นไอ ทำให้ร่างกายเย็นลงเมื่ออากาศภายนอกร้อน อุณหภูมิของร่างกายผู้ใหญ่ปกติ ( วัดทางปาก ) จะอยู่ที่ 98.6๐ F ( 98.6 องศาฟาเรนไฮท์ ) เพราะผิวหนังจึงค่อนข้างคงที่ตลอดเวลา [adinserter name=”navtra”]

2. ป้องกันแสงแดดและรังสี ยูวี ( UV – Ultraviolet ) ไม่ให้ส่องทะลุเข้าไปทำอันตรายอวัยวะภายในและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้ รังสียูวีที่มากับแสงแดดทำให้เกิดอนุมูลอิสระ ( Free Radical ) ซึ่งเป็นอันตราย ก่อมะเร็งและทำให้เกิดโรคความเสื่อม ต่าง ๆ เม็ดสีเมลานีน ( Melanin ) ในชั้นหนังกำพร้ามีบทบาทสำคัญในการป้องกัน โดยดูดซึมรังสียูวีนี้ไว้

3. ป้องกันไม่ให้ร่างกายเสียน้ำภายในตัวออกมา เพราะในชั้นผิวหนังมีสารประเภท Mucopolysaccharide เช่น Ceramide (ซีราไมด์) ทำตัวเหมือนปูนซีเมนต์ยึดเซลล์ต่างๆ ให้ติดกัน กั้นน้ำส่วนใหญ่ไม่ให้รั่วหรือระเหยออกมาและยังมีน้ำมัน ( Sebum ) จากต่อมไขมันจะช่วยเคลือบผิวหนังด้านนอกช่วยเก็บความชุ่มชื้นไว้

น้ำในร่างกายมีสูงถึงร้อยละ 70 ของน้ำหนักตัว ถ้าขาดน้ำไปเพียงร้อยละ 2 ร่างกายจะรู้สึกไม่สบาย อ่อนเพลียและถ้าขาดน้ำถึง 5 เปอร์เซ็นต์ สมองจะเริ่มสับสนในเลือดต้องมีน้ำมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ มิฉะนั้นเลือดข้น ( Viscosity ) มากไปหล่อเลี้ยงสมองลำบาก ฯลฯ ในกรณีเช่นนี้ต้องกินน้ำให้มาก อย่างน้อย 8 แก้ว ( แก้วละ 8 ออนซ์ ) ต่อวัน

4. ผิวหนัง ( Skin ) จะห่อหุ้มร่างกายทั้งตัว มีความหนาบางในบริเวณต่างๆ ไม่เท่ากันตามความจำเป็น ทำให้สามารถป้องกันอวัยวะภายในจากอันตรายซึ่งอยู่ภายนอกเบื้องต้นได้อย่างเหมาะสม เช่น จากของแข็ง เชื้อโรค ฝุ่นละออง ฯลฯ โดยป้องกันการรบกวนไม่ให้รุกล้ำเข้ามาได้ รวมทั้งชั้น Fatty Layer ( อยู่ใต้หนังแท้ ) จะทำหน้าที่เป็นเบาะกันซน ( Cushion ) รองรับแรงกดและแรงกระแทกต่าง ๆ

5. สามารถรับรู้ความรู้สึกทั้งหนักและเบา ผิวหนัง ( Skin ) สร้างระบบสื่อสารที่สำคัญ ( Organ of Commumication ) การที่มีคุณสมบัติสามารถรับสัมผัสทำให้ร่างกายสามารถสร้างกระบวนการป้องกันตนเองได้ เช่น การตอบสนอง ( Condition Reflex ) เมื่อรับความรู้สึกเจ็บ โดยอาจจะกระโดดถอยออกไปทันทีเพื่อหนีภัยโดยอัตโนมัติ เป็นต้น ก่อนที่จะเกิดอันตรายกับร่างกายมากไปกว่านี้

6. ผิวหนังที่แข็งแรงสดใส เปล่งประกายสุขภาพดี เหมือนคืนกลับสู่ความเยาว์วัย ทั้งชุ่มชื้นและยืดหยุ่น ปราศจากริ้วรอย ย่อมเป็นเครื่องจูงใจ ทำให้ดึงดูดความรู้สึกทางอารมณ์ของเพศตรงข้าม กระตุ้นให้เกิดการสืบพันธุ์ขึ้น มนุษย์จึงยังคงดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ตลอดไป

มีเผ่าพันธุ์ของลิงชนิดมีหาง ( Monkey ) และลิงใหญ่ไม่มีหาง ( Ape ) รวม 193 ตระกูล ( Species ) บนโลกของเราใบนี้ โดย 192 ตระกูลมีขนดกและหนาทั่วทั้งร่างกาย ตั้งแต่หัวจรดหาง มีเพียงตระกูลที่ 193 อยู่ตระกูลเดียวที่ไม่มีขนบนลำตัว และพวกมันขนานนามตัวมันเองว่า มนุษย์ หรือ Homo Sapiens นั่นเอง

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมตามลิ้งค์ด้านล่าง

เอกสารอ้างอิง

ศ.ดร.น.พ. สมศักดิ์ วรคามิน. ผิวสวย (BEAUTY SECRET THE UNTOLD STORY) กรุงเทพ: 2539 – 2560 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) © Copy Right 1996, 2017.

ริตา, เกรียร์. อาหารขจัดอนุมูลอิสระ. กรุงเทพ: หมอชาวบ้าน,2551. 176 หน้า : 1.อาหาร-แง่สุขภาพ. 2.อนุมูลอิสระ. I.วูดเวิร์ด,โรเบิร์ต, II.พิสิฐ วงศ์วัฒนะ,ผู้แปล. III.ชื่อเรื่อง. 613.2 ISBN 978-974-04-5522-6.

Papanelopoulou, Faidra (2013). “Louis Paul Cailletet: The liquefaction of oxygen and the emergence of low-temperature research”. Notes and Records, Royal Society of London. 67 (4): 355–73. doi:10.1098/rsnr.2013.0047.Emsley 2001, p.303.

หนังแท้มีหน้าที่อะไรบ้าง

ผิวชั้นหนังแท้มีความสำคัญต่อโครงสร้างของผิวหนัง เพราะประกอบด้วยคอลลาเจน (Collagen) ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ช่วยให้ความแข็งแรงแก่ผิวหนัง อีลาสติน (Elastin) ซึ่งสร้างความยืดหยุ่นให้กับผิวหนัง ต่อมเหงื่อที่ผลิตเหงื่อเพื่อปรับอุณหภูมิของร่างกาย และต่อมไขมันที่รักษาความผิวชุ่มชื้นของผิวหนัง

ส่วนประกอบใดอยู่ในชั้นหนังแท้

องค์ประกอบหลักที่พบในชั้นหนังแท้คือ คอลลาเจน และ อิลาสติน, เนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งให้ความแข็งแรง และความยืดหยุ่น ช่วยให้ผิวมีสุภาพดี ดูอ่อนเยาว์ เส้นใยเหล่านี้จะถูกตรึงไว้ด้วยสารที่ลักษณะคล้ายเจล หรือสาร hyaluronic acid ซึ่งมีความสามารถในการจับน้ำได้ดี และช่วยรักษาปริมาตรของผิวเอาไว้อีกด้วย

ข้อใดเป็นหน้าที่ของผิวหนัง

ผิวหนังเป็นสิ่งสำคัญในการปกป้องร่างกายของเรา ผิวทำหน้าที่สำคัญที่สุดในการปกป้องผิวเราจากปัจจัยทำร้ายผิวภายนอกโดย คงสมดุลความชุ่มชื่นในร่างกาย และป้องกันไม่ให้ความชุ่มชื่นออกจากร่างกาย ปรับอุณหภูมิของร่างกาย

ต่อมเหงื่ออยู่ในชั้นผิวหนังชั้นใด

1.Thick skin คือ ผิวหนังที่มีชั้น epidermis หนา โดยเฉพาะชั้น stratum corneum พบบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า (palms and soles) ซึ่ง thick skin นี้จะไม่มี ขน รูขุมขน และกล้ามเนื้อ Arrector pili muscles. (Pilosebaceous unit) อยู่ในบริเวณเหล่านี้ แต่จะมีต่อมเหงื่อ eccrine.