สัมภาษณ์งาน จะรู้ได้ไงว่าได้

หากคุณยื่นเรซูเม่สมัครงานไป แล้วถูกเรียกไปสัมภาษณ์งาน แปลว่าโปรไฟล์ของคุณพาคุณมาได้ถึงครึ่งทางแล้ว แต่การสัมภาษณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นนี่แหละที่เป็นสิ่งตัดสินว่าคุณจะได้ไปต่อหรือไม่

เมื่อการสัมภาษณ์สิ้นสุดลง คุณรู้สึกว่ามีสัญญาณที่ดีแท้ ๆ ว่าคุณจะได้งานนี้ ทั้งความรู้สึกสบายใจ หรือการที่ทางบริษัทพูดคุยกับคุณเป็นเวลานานประหนึ่งว่ารู้จักกันมาก่อน หรือถูกพาไปแนะนำตัวกับคนอื่น ๆ ในองค์กร แต่ท้ายที่สุดคุณกลับถูกปฏิเสธ หรือไม่ได้รับการติดต่อกลับไปเลยดื้อ ๆ ซึ่งก็คงทำให้คุณข้องใจไม่น้อยว่าฉันพลาดอะไร ดังนั้น มาดูกันดีกว่าว่าทำไมคุณถึงไม่ได้งานที่นี่

1. ความประทับใจแรกไม่มี

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าบุคลิกภายนอกเป็นด่านแรกที่ทำให้คุณดูโดดเด่นจากคนอื่น แต่ถ้าหากว่าการพบกันครั้งแรกระหว่างคุณกับบริษัทที่เป็นคนแปลกหน้ากัน ฝ่ายหนึ่งจะจ้างงาน และอีกฝ่ายอยากได้งาน เท่านี้ก็เห็นแล้วว่าใครมีอำนาจในการตัดสินใจมากกว่ากัน ซึ่งถ้าคุณแต่งตัวไม่เหมาะสม เนื้อตัวมอมแมม ผมเผ้ากระเซอะกระเซิง คะแนนความประทับใจก็หายไปแล้วกว่าครึ่ง ยิ่งถ้าคุณไปสายอีกก็ยิ่งแล้วใหญ่ เพราะคุณสมบัติเรื่องการตรงต่อเวลาเป็นเรื่องที่สำคัญมากนะสำหรับการทำงาน

2. เขาทำดีกับทุกคน

ข้อนี้อาจจะทำให้คุณรู้สึกแย่สักนิด แต่คุณต้องยอมรับความจริง บริษัทที่อยู่ในสถานะเจ้าบ้านเรียกคุณที่อยู่ในสถานะแขกเข้าไปสัมภาษณ์งาน ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่เจ้าบ้านจะต้อนรับแขกเป็นอย่างดี และการปฏิบัติต่อแขกทุกคนก็ไม่ได้ต่างกัน ดังนั้น การที่เขาแสดงสัญญาณบวกกับคุณก็ไม่ได้แปลว่าเขาจะไม่แสดงกับคนอื่น เขาอาจจะพยายามเป็นกันเองเพื่อลดอาการประหม่าของคุณ และคุณต้องแยกให้ออกเพราะบางคำถามก็เป็นคำถามพื้น ๆ ในการสัมภาษณ์งาน เช่น เงินเดือน วันที่เริ่มงาน ซึ่งไม่ได้แปลว่าเขาจะจีบคุณมาเป็นส่วนหนึ่งของทีมอย่างแน่นอนก็เป็นได้

3. เขาได้ตัวเลือกที่ดีกว่า

การที่บริษัทเรียกคนเข้ามาสัมภาษณ์งานนั้น เขามีตัวเลือกมากกว่าหนึ่งอยู่แล้ว โดยหน้าที่ของเขาก็คือหาคนที่เหมาะสมที่สุดมาทำงาน ตรงนี้คุณอาจจะมั่นใจว่าคุณมีโปรไฟล์ดี สัมภาษณ์ได้ดี แถมสัญญาณหลังสัมภาษณ์ก็ไม่เลว แต่คุณไม่มีทางรู้หรอกว่าคนที่นั่งรอสัมภาษณ์อยู่ข้าง ๆ หรือตรงข้ามคุณนั้นเขามีของแค่ไหน ซึ่งคุณสมบัติของเขาอาจจะโดดเด่นกว่าคุณก็ได้ ฉะนั้นก็ไม่ใช่เรื่องน่าสงสัยเลยว่าทำไมบริษัทถึงไม่เลือกคุณ แต่ก็อย่าเพิ่งน้อยใจว่าคุณไม่เก่งหรือแย่อะไรแบบนั้น เพียงแค่คุณยังไม่ใช่สำหรับที่นี่เท่านั้นเอง

4. คุณพลาด (อย่างแรง) โดยไม่รู้ตัว

เมื่อถูกเรียกสัมภาษณ์งาน ใคร ๆ ก็ต้องเตรียมตัวล่วงหน้ากันทั้งนั้น แต่ด้วยความกดดันความตื่นเต้น ก็อาจทำให้เกิดอาการประหม่าจนเผลอทำอะไรไปโดยไม่รู้ตัว เช่น ชื่ออีเมลที่ดูไม่มืออาชีพ หลุดคำหยาบ (มาก ๆ) ตอนคุยโทรศัพท์กับเพื่อนระหว่างที่นั่งรอ กรรมการสักคนอาจเดินมาเจอเข้าก็ได้ หรือขณะที่กำลังสัมภาษณ์คุณก็เผลอทำกิริยาที่เขาไม่ปลื้มออกมา คุณอาจมองว่าเป็นเรื่องเล็ก แต่บริษัทเขามองไกลกว่านั้น ว่าถ้าตอนเผลอคุณยังขนาดนี้ ถ้าเข้ามาทำงานแล้วสนิทชิดเชื้อกับคนอื่นและคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมแล้ว คุณอาจจะหนักกว่านั้นก็ได้

5. คุณสมบัติบางอย่างของคุณทำให้เขาลังเล

ย้อนกลับไปที่ “ตัวเลือกที่ดีกว่า” และ “พลาดโดยไม่รู้ตัว” บริษัทเรียกคุณไปสัมภาษณ์ ก็เพื่อดูการแสดงออก การพูดคุย ความสามารถในการสื่อสาร ทัศนคติ เป็นต้น แต่ถ้าคุณเกิดมีคุณสมบัติบางอย่างที่ทำให้บริษัทลังเลว่าจะเอายังไง จะจ้างหรือไม่จ้างดี หรือมีคนที่มีคุณสมบัติพร้อมกว่า เช่น คุณอาจจะบอกว่าคุณพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่ถนัด แต่ถ้าคู่แข่งของคุณดันพร้อมในสิ่งที่คุณไม่พร้อม บริษัทก็ต้องเลือกคนที่มีคุณสมบัติพร้อมกว่าอยู่แล้ว เพราะสามารถทำงานได้เลย ไม่ต้องเสียเวลาเทรนเยอะ

6. งบประมาณในการจ้างงานมีจำกัด

ทุกวันนี้มีบริษัทเล็ก ๆ อยู่มากมายไปหมด ซึ่งบางที่งบประมาณในการจ้างงานเขาก็ไม่ได้มากขนาดนั้น ทำให้แม้ว่าโปรไฟล์ของคุณจะเข้าตา คุณสมบัติดีพร้อม แต่ถ้าเงินเดือนที่คุณเรียกสูงเกินที่บริษัทตั้งไว้ (ปกติเปลี่ยนงานก็มักจะเรียกเงินสูงกว่าที่เกาอยู่แล้ว) ถ้าบริษัทสู้ราคาไม่ไหว เขาอาจจะพยายามต่อรองก่อน แต่ถ้าเขามีตัวเลือกที่ใกล้เคียงกับคุณ แต่เซฟเงินกว่า เขาก็คงเลือกของดีราคาประหยัดอยู่แล้ว อย่าลืมว่าธุรกิจเป็นองค์กรที่แสวงหาผลกำไร ไม่ใช่องค์กรการกุศล ถ้าจ้างแล้วไม่คุ้ม บริษัทก็มีสิทธิเลือกและปฏิเสธอยู่แล้วต่อให้คุณจะเพียบพร้อมแค่ไหนก็ตาม

7. ตัวตนจริง ๆ ของคุณอันตรายเกินไป

สังเกตหรือไม่ว่าใบสมัครที่คุณต้องกรอกก่อนเข้าสัมภาษณ์นั้น จะมีช่องที่คุณต้องกรอกโซเชียลมีเดียของคุณด้วย แล้วมีหรือที่บริษัทจะขอคุณไปเฉย ๆ โดยไม่ทำอะไร โดยเฉพาะการรู้จักคุณให้มากขึ้นผ่านโซเชียลมีเดีย เขาจะเข้าไป “ส่องตัวตน” ของคุณ เพราะหลายคนมีความคิดว่านี่เป็นพื้นที่ส่วนตัว ฉันจะทำอะไรก็ได้ แต่คุณคงลืมว่าที่ของคุณนั้นมันเผยแพร่สู่สายตาคนทั่วโลก ถ้าทัศนคติที่คุณแสดงออกผ่านโซเชียลมีเดียมันไม่ไหว บริษัทก็จะมองว่าคุณเป็นคนที่อันตรายเกินไปก็ได้ ฉะนั้น ถ้าเป็นไปได้ก็อย่าแสดงอะไรแย่ ๆ ผ่านโซเชียลมีเดียเลย

พูดถึงการไปสัมภาษณ์งาน แน่นอนว่าไม่มีใครอยากรออยู่เฉยๆ เป็นเวลานาน โดยที่ไม่รู้อะไรเลย นี่คือ 11 สัญญาณที่คุณสามารถสังเกตได้ตั้งแต่ตอนกำลังถูกสัมภาษณ์ และมันสามารถบ่งบอกได้ว่า คุณมีสิทธิ์ได้รับการคัดเลือกให้เข้าทำงานมากน้อยแค่ไหน จากคำแนะนำของ Lynn Taylor ผู้เขียนหนังสือเรื่องTame Your Terrible Office Tyrant: How to Manage Childish Boss Behavior and Thrive in Your Job หรือ วิธีการจัดการกับพฤติกรรมของหัวหน้าเอาแต่ใจและหนทางการเจริญเติบโตในงานของคุณ

สัมภาษณ์งาน จะรู้ได้ไงว่าได้

1.ผู้สัมภาษณ์เปิดเผยให้คุณเห็นถึงภาษากายเชิงบวก
เช่น การสบตา ไม่หลบตา หรือการโน้มตัวมาหาผู้ถูกสัมภาษณ์ รวมไปถึงการยิ้ม การพูดคุยที่ดูกระตือรือร้น กระทั่งการหัวเราะ เหล่านี้ถือเป็นภาษากายเชิงบวกที่บ่งบอกว่า ผู้สัมภาษณ์มีความพึงพอใจ ส่วนหากอยากรู้ว่า อะไรคือสัญญาณที่บอกว่าเขาไม่พอใจกับเรา ก็คือการกระทำตรงกันข้ามกับสิ่งเหล่านี้ ทั้งการพยายามไม่สบตา ดูไม่สบายตัว อาจดูเกร็งในส่วนของปากเล็กน้อย หรือกระทั่งหากปลายเท้าของผู้สัมภาษณ์พุ่งออกไปทางอื่น ถึงแม้ว่าตัวของเขาจะปะทะกับผู้ถูกสัมภาษณ์ก็ตาม นั่นไม่ใช่สัญญาณที่ดีสักเท่าไรนัก

สัมภาษณ์งาน จะรู้ได้ไงว่าได้

2.หัวข้อการสัมภาษณ์และเรื่องราวของการสนทนาถูกขยายออกไปมากกว่าที่คุณคาดการณ์ไว้
หากผู้สัมภาษณ์ใช้เวลาในการพูดคุยกับคุณนานกว่า 30-60 นาที นั่นคือสัญญาณที่ดี เพราะเวลาเป็นสิ่งมีค่าและมีอยู่อย่างจำกัด การที่ผู้สัมภาษณ์จะยอมใช้เวลากับใครคนนึงมากกว่ามาตรฐานปกติ คือสัญญาณที่บ่งบอกว่า การสนทนากับคุณมีค่ามากกว่าอีกหลายๆ สิ่งที่เขาต้องทำ

 

สัมภาษณ์งาน จะรู้ได้ไงว่าได้

3.การสนทนานั้นเต็มเป็นด้วยความสนุก ไม่รู้จบ
เช่น ผู้สัมภาษณ์อาจหยิบยกเรื่องราวแง่มุมต่างๆ ของบริษัทมาบอกเล่าให้คุณฟังอย่างไม่รู้จบ นั่นคือสัญญาณที่ดีว่าเขาสนใจในตัวคุณค่อนข้างมาก

 

สัมภาษณ์งาน จะรู้ได้ไงว่าได้

4.ผู้สัมภาษณ์ไม่วอกแวกไปไหนเลยขณะทำการสัมภาษณ์คุณไม่ว่าจะเป็นการอาจเสียสมาธิจากผู้คนที่เดินผ่านหน้าห้องไปมา หรือเสียงโทรศัพท์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเขาดูตั้งใจฟังในสิ่งที่คุณพูดแล้วยังถามคำถามต่างๆ เพิ่มเติมอีก นั่นคือสัญญาณแง่บวกแบบสุดๆ

 

สัมภาษณ์งาน จะรู้ได้ไงว่าได้

5.ผู้สัมภาษณ์เริ่มมีคำถามเกี่ยวกับแผนชีวิตของคุณในระยะยาว
เช่น แนวทางการเติบโตในสายงานของคุณเป็นอย่างไร หรือการให้คำแนะนำที่มากขึ้นเกี่ยวกับสายงานของคุณ เหล่านี้ล้วนบ่งบอกว่า ผู้สัมภาษณ์มีความสนใจในตัวผู้ถูกสัมภาษณ์

สัมภาษณ์งาน จะรู้ได้ไงว่าได้

6.ผู้สัมภาษณ์ถามคำถามเกี่ยวกับไปสัมภาษณ์งานของคุณกับบริษัทอื่นๆ หรือถามเกี่ยวกับกำหนดการในชีวิตของคุณ
ทั้งคำถามจำพวกว่า คุณจะสามารถเริ่มงานได้จริงจังเมื่อไร หรือถามเกี่ยวกับการไปสัมภาษณ์งานที่อื่นว่าเป็นอย่างไรบ้าง

สัมภาษณ์งาน จะรู้ได้ไงว่าได้

7.ผู้สัมภาษณ์เริ่มพูดถึงประเด็นอื่นที่น่าสนใจนอกเหนือจากเนื้อหาของงานเช่น เงินเดือน หรือสวัสดิการอื่นๆ ที่พึงได้รับ นี่คืออีกหนึ่งจุดสำคัญที่บ่งบอกค่อนข้างชัดเจนว่า คุณน่าจะได้งานนี้แน่ๆ เพราะเป็นคำถามที่บ่งบอกถึงข้อตกลงที่มากขึ้นไปอีกขั้น

สัมภาษณ์งาน จะรู้ได้ไงว่าได้

8.ผู้สัมภาษณ์เริ่มหยิบยกข้อดี ข้อเด่น โอกาสที่น่าสนใจต่างๆ ของบริษัทนั้นๆ มาบอกกับคุณสิ่งเหล่านี้ก็เพื่อให้คุณมีความรู้สึกอยากร่วมงานกับบริษัทนั้นๆ ด้วยมากยิ่งขึ้นไปอีก และนั่นก็บ่งบอกชัดเจนว่า เขาหรือเธอ อยากให้คุณมาร่วมงานด้วย

สัมภาษณ์งาน จะรู้ได้ไงว่าได้

9.ผู้สัมภาษณ์ตอบคำถามและข้อสงสัยของคุณอย่างตรงไปตรงมานอกจากการตอบอย่างตรงไปตรงมาแล้ว คำตอบที่ได้จะไม่ใช่คำตอบแบบส่งๆ ไป นั่นหมายถึงเขาสนใจ และรับฟังในสิ่งที่คุณกำลังพูด หรือให้ความสำคัญกับข้อสงสัยของคุณอย่างแท้จริง

 

สัมภาษณ์งาน จะรู้ได้ไงว่าได้

10.หลังจบการสัมภาษณ์ คุณรู้ทันทีว่า อะไรคือขั้นตอนต่อไปที่คุณต้องทำ หากผู้สัมภาษณ์มีความสนใจในตัวคุณจริงๆ คุณจะได้รับรู้จากคำพูดหรือการกระทำที่ชัดเจน ทั้งคำพูดที่ว่า แล้วพบกัน หรือกระทั่งการนัดสัมภาษณ์รอบสองทันที (หากมี)

 

สัมภาษณ์งาน จะรู้ได้ไงว่าได้

11.รอยยิ้มของผู้สัมภาษณ์ที่มีให้กับคุณ  
รอยยิ้มที่ดูจริงใจบ่งบอกสิ่งที่อยู่ในใจได้ดีเสมอ และหากเป็นบริษัทต่างชาติ การจับมือหรือเชคแฮนด์อย่างมั่นคงมีนัยสำคัญ เพราะนั่นบ่งบอกว่าเขาหรือเธอสนใจในการร่วมงานกับคุณจริงๆ

  แปลและเรียบเรียงจาก https://www.businessinsider.com/signs-your-interviewer-loves-you-2015-2?utm_content=buffer57b47&utm_medium=social&utm_source=facebook.com&utm_campaign=buffer-bi#at-the-end-of-the-interview-the-hiring-manager-offers-positive-information-about-the-next-step-12