ถ้า ต้องการ บังคับ ให้ โปรแกรม Microsoft Excel คํา น วณ ตาม ลํา ดับ เครื่องหมาย คณิตศาสตร์

รูปแบบการคำนวณด้วย Excel

เรื่องที่ 1.การคำนวณด้วย Microsoft Excel

 เราสามารถใช้โปรแกรม Excel สร้างตารางคำนวณได้หลายรูปแบบ  ตัวที่จะช่วยเราคงหนีไม่พ้นการนำสูตรและฟังก์ชันมาใช้  ดังนั้นเราควรรู้ความสามารถในการคำนวณของ Excel  สามารถทำอะไรได้บ้าง  เกี่ยวกับการคำนวณอัตโนมัติ  การสร้างสูตร  การใช้ฟังก์ชัน  หรือการแก้ปัญหาในกรณีที่เกิดความผิดพลาดในการเขียนสูตร ซึ่งถ้าเราเข้าใจหลักการต่าง ๆ แล้ว  Excel  จะช่วยให้เราทำงานได้สะดวกขึ้น และการใช้สูตรไม่ยากอีกต่อไป

1. การคำนวณอัตโนมัติ

          บางขณะที่เราป้อนตัวเลขในตาราง เราอาจจำป็นที่จะต้องตรวจสอบตัวเลขหรือดูผลลัพธ์ว่าถูกต้องหรือไม่ โดยไม่ต้องการให้แสดงผลลัพธ์ในตารางนั้น ๆ เราสามารถใช้การคำนวณอัตโนมัติ ซึ่งจะทำให้สามารถทราบผลลัพธ์ได้ทันที โดยที่ไม่ต้องป้อนสูตรหรือฟังก์ชันใด ๆ ด้วยการดูผลลัพธ์ที่ Status Bar (แถบสถานะ) ซึ่งมีวิธีการใช้ดังนี้

1.1 แดรกเมาส์เลือกช่วงเซลล์ที่ต้องการให้คำนวณ

ถ้า ต้องการ บังคับ ให้ โปรแกรม Microsoft Excel คํา น วณ ตาม ลํา ดับ เครื่องหมาย คณิตศาสตร์

1.2 คลิกขวาที่ แถบสถานะ จะปรากฎกล่องแสดงคำสั่ง 
1.3 เลือกคำสั่งที่ต้องการ (ในที่นี่เลือกคำสั่ง ผลรวม)

๑.๔ จะปรากฎผลลัพธ์ที่แถบสถานะ

จากวิธีการดังกล่าวจะเห็นว่าเราสามารถเปลี่ยนคำสั่งในการคำนวณได้ตามที่ต้องการดังรูป

ถ้า ต้องการ บังคับ ให้ โปรแกรม Microsoft Excel คํา น วณ ตาม ลํา ดับ เครื่องหมาย คณิตศาสตร์

2. การคำนวณโดยใช้สูตร
          การใช้สูตรเป็นวิธีที่ใช้ในการคำนวณที่นิยมมากที่สุด เพราะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็ว และสูตรบางอย่างยังสามารถช่วยคำนวณข้อมูลตัวเลขที่ซับซ้อนได้อีก แต่ละสูตรมีรูปแบบการใช้ที่แตกต่างกันออกไป

2.1 การใช้งานสูตรรูปแบบปกติ (Formula)
          สูตรรูปแบบปกติจะเป็นสูตรที่เป็นสมการที่ใช้ดำเนินการกับข้อมูลในชีทด้วยการ
ใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ เช่น เครื่องหมายบวก ลบ คูณ หาร การอ้างอิงเซลล์อื่น 
หรือสูตรที่ใช้รวมข้อความ เป็นต้น

ตัวอย่าง

=5-1
=9*8 
=B5-A7


2.2 การใช้งานสูตรแบบฟังก์ชัน (Function)
           เราสามารถใช้สูตรแบบฟังก์ชันช่วยคำนวณข้อมูลที่ซับซ้อนหรือมดีปริมาณมากได้  ซึ่งฟังก์ชันใน Excel  เป็นสูตรที่กำหนดไว้ล่วงหน้าและถูกสร้างให้เหมาะกับงานเฉพาะอย่าง 

ตัวอย่าง

=SUM(B1:B9)
=AVERAGE(A9:A20)
=COUNT(A1:A5)

2.3 การใช้งานสูตรแบบอาร์เรย์ (Array)
           การใช้สูตรแบบอาร์เรย์สามารถทำหลาย ๆ การคำนวณให้คืนค่าเป็นผลลัพธ์เดียวหรือหลายผลลัพธ์ โดยสูตรอาร์เรย์ตั้งแต่ 2 ชุดขึ้นไป

ตัวอย่าง

{=SUM((B1:B9)/(A1:A5))}

          สูตรแบบต่าง ๆ จะมีความยากง่ายแตกต่างกันออกไป ซึ่งการสร้างสูตรนั้น  เราจะต้องทราบหลักการทำงานของเครื่องหมายและสัญลักษณ์ในสูตร รวมถึงลำดับการคำนวณ  เพราะสิ่งเหล่านี้มีผลต่อการแสดงผลลัพธ์ทั้งสิ้น

3. การสร้างสูตรคำนวณใช้เอง

          การสร้างสูตรใช้เองนั้นจำเป็นจะต้องทราบถึงหลักการและองค์ประกอบสำคัญต่าง ๆ ที่ประกอบอยู่ในสูตรรวมถึงลำดับที่เราจะใช้ในการสร้างสูตรด้วย

หลักการสร้างสูตร
          โครงสร้างหรือลำดับขององค์ประกอบต่าง ๆ ในสูตร จะเป็นตัวกำหนดผลลัพธ์ขั้นสุดท้ายซึ่ง Excel จะคำนวณสูตรจากซ้ายไปขวา แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลำดับของตัวดำเนินการที่มีลำดับเหนือกว่า โดยที่เราสามารถควบคุมลำดับของการคำนวณได้โดยใช้เครื่องหมายวงเล็บเพื่อจัดกลุ่ม ในการคำนวณที่ควรจะเริ่มทำก่อน

ตัวอย่าง

=9+3/2

ผลลัพธ์เท่ากับ 10.5 เนื่องจาก Excel จะคำนวณ 3 หาร ด้วย 2 ก่อน ซึ่งจะได้ผลลัพธ์เท่ากับ 1.5 แล้วสุดท้ายนำมาบวกด้วย แต่ถ้าเราใช้วงเล็บเพื่อควบคุมการคำนวณโดยใส่วงเล็บให้ 9 บวกกับ 3 ก่อนแล้วจึงหารด้วย 2 ก็จะต้องใช้สูตร =(9+3)/2 ผลลัพธ์เท่ากับ 6

องค์ประกอบสำคัญในการสร้างสูตร
           ในการสร้างสูตรใช้งานต่าง ๆ ส่วนประกอบสำคัญต่อไปนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญซึ่งจะเป็นตัวกำหนดผลลัพธ์ ประกอบด้วย

เครื่องหมายเท่ากับ (=) จะเป็นตัวขึ้นต้นเสมอในการสร้างสูตร เพื่อเป็นการระบุให้ Excel รู้ว่าอักขระตัวถัดไปเป็นสูตร 
อาร์กิวเมนต์ หรือองค์ประกอบที่จะถูกนำมาคำนวณได้แก่ อาร์กิวเมนต์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขหรือการอ้างอิงเซลล์หรือช่วง ป้ายชื่อ ชื่อ หรือฟังก์ชันแผ่นงาน 
ตัวดำเนินการ ในการคำนวณ เช่น เครื่องหมาย ( + ) เครื่องหมายหาร ( / ) 
ลำดับการคำนวณ โดยปกติแล้ว Excel จะลำดับการคำนวณเครื่องหมายดังดต่อไปนี้ ตามลำดับ 
          1. วงเล็บ ( ) 
          2. คูณ ( * ) หาร ( / ) 
          3. บวก ( + ) ลบ ( - ) 
หมายเหตุ ลำดับความสำคัญเท่ากันให้คำนวณจากซ้ายไปขวา 

ลำดับที่ Excel ใช้ดำเนินการในสูตร
           หากใช้ตัวดำเนินการหลาย ๆ ตัวในสูตรเดียวกันใน Excel  จะมีลำดับการดำเนินการตามลำดับดังนี้

ลำดับที่

ตัวดำเนินการ

คำอธิบาย

1

: (เครื่องหมายจุดคู่)

ตัวดำเนินการอ้างอิง

2

(ที่ว่างเดียว)

ตัวดำเนินการอ้างอิง

3

, (เครื่องหมายจุลภาค)

ตัวดำเนินการอ้างอิง

4

-

เครื่องหมายลบ (เช่น -5)

5

%

เปอร์เซ็นต์

6

^

เลขชี้กำลัง

7

* และ /

การคูณและการหาร

8

+ และ -

การบวกและการลบ

9

&

เชื่อมสายอักขระของข้อความ

10

= <> <=> = <>

การเปรียบเทียบ

ตัวดำเนินการที่ใช้ในสูตร (Operator) 
           เครื่องหมายหรือตัวดำเนินการคือ  องค์ประกอบหนึ่งในสูตรโดยจะระบุชนิดของการคำนวณที่ต้องการ ซึ่ง Excel  จะแบ่งตัวดำเนินการออกเป็น  4  ประเภท  คือ  คณิตศาสตร์  การเปรียบเทียบ  ข้อความ  และการอ้างอิง

ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ (Arithmetic Operator) 
           ตัวดำเนินการทางคณิตสาสตร์  ใช้คำนวณด้วยวิธีทางคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐาน  เช่น  การบวก  ลบ คูณ หาร การรวมตัวเลข  การหาผลลัพธ์ต่าง ๆ

เครื่องหมาย

ความหมาย

ตัวอย่าง

+

การบวก

5+3

-

การลบ

9-4 หรือ -1

*

การคูณ

5*6

/

การหาร

10/3

%

เปอร์เซ็นต์

2%

^

เลขชี้กำลัง

2^2 (หรือ 2*2)

ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ (Comparison Operator) 
          เราสามารถใช้ตัวดำเนินการเปรียบเทียบเพื่อการเปรียบค่าสองค่า โดยผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นค่าทางตรรกศาสตร์คือ True หรือ False

เครื่องหมาย

ความหมาย

ตัวอย่าง

=

เท่ากับ

C5=D5

มากกว่า

C5>D5

น้อยกว่า

C5<D5

>=

มากกว่าหรือเท่ากับ

C5>=D5

<=

น้อยกว่าหรือเท่ากับ

C5<=D5

<> 

ไม่เท่ากับ

C5<>D5

ตัวดำเนินการข้อความ (Text Concatenation Operator)
           ตัวดำเนินการข้อความจะใช้เครื่องหมาย (&) ในการรวมข้อความหรือคำ 2 คำขึ้นไป เพื่อให้เป็นข้อความเดียวกัน

เครื่องหมาย

ความหมาย

ตัวอย่าง

&

เชื่อมหรือนำคำ 2 คำมาต่อกัน
ทำ ให้เกิดค่าข้อความ
ต่อเนื่องที่เป็นค่าเดียวกัน

"Lampamg"&"Kanlayanee"
ผลลัพธ์เป็น
LampangKanlayanee

ตัวดำเนินการสำหรับอ้างอิง (Reference Operator)
              ตัวดำเนินการอ้างอิงถูกนำมาใช้เพื่อรวมช่วงของเซลล์สำหรับการคำนวณ

เครื่องหมาย

ความหมาย

ตัวอย่าง

: (จุดคู่)

ตัวดำเนินการช่วง 
โดยจะอ้างอิงเป็นช่วง ระหว่าง
จุดอ้างอิง ที่หนึ่งกับจุดอ้างอิงที่สอง

B1:B9

, (จุลภาค)

ตัวดำเนินการส่วนรวม ซึ่งเป็นตัวรวมการอ้างอิงหลาย ๆ ชุดเช้าด้วยกันเป็นการอ้างอิงหนึ่งชุด

SUM(A5:a12,C1:C5)

โปรแกรม Excel มีลําดับการคํานวณสูตรอย่างไร

สูตรคํานวณค่าตามลําดับที่ระบุ สูตรในExcelเริ่มต้นด้วยเครื่องหมายเท่ากับ (= )เสมอ Excelจะแปลอักขระที่ตามหลังเครื่องหมายเท่ากับเป็นสูตร หลังจากเครื่องหมายเท่ากับคือองค์ประกอบที่จะคํานวณ (ตัวถูกดําเนินการ) เช่น ค่าคงที่หรือการอ้างอิงเซลล์ สิ่งเหล่านี้ถูกคั่นด้วยตัวดําเนินการการคํานวณ Excelคํานวณสูตรจากซ้ายไปขวาตามลําดับ ...

ข้อใดเป็นเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์การหารที่ใช้ใน Microsoft Excel

การใช้ตัวดำเนินการการคำนวณในสูตร Excel.

ข้อใดเรียงลำดับการคำนวณได้ถูกต้อง

ดำเนินการในวงเล็บก่อน จากซ้ายไปขวา เลขยกกำลัง และ กรณฑ์ จากซ้ายไปขวา การคูณ และ หาร จากซ้ายไปขวา การบวก และ การลบ จากซ้ายไปขวา

การสร้างสูตรในการคํานวณ Excel ต้องเริ่มต้นด้วยเครื่องหมายใด

คุณสามารถสร้างสูตรอย่างง่ายเพื่อบวก ลบ คูณ หรือหารค่าในเวิร์กชีตของคุณได้ สูตรอย่างง่ายจะเริ่มต้นด้วยเครื่องหมายเท่ากับ (=), เสมอ แล้วตามด้วยค่าคงที่ที่เป็นค่าตัวเลขและตัวดำเนินการการคำนวณ เช่น เครื่องหมายบวก (+), เครื่องหมายลบ (-), เครื่องหมายดอกจัน (*) หรือเครื่องหมายทับ (/)