สํานวนที่เกิดจากนิทาน ตํานาน วรรณคดี

ชักแม่น้ำทั้งห้า หมายถึงการเจรจาหว่านล้อมหรือขอร้องอะไรก็ตามที่จะไม่พูดตรงๆ แต่จะพูดอ้อมๆหว่านล้อมก่อนจะเข้าจุดประสงค์นั้นเอง     

สำนวนนี้มาจาก เรื่อง ”มหาเวสสันดรชาดก ตอน กัณฑ์กุมาร“ตอนที่ชูชกจะขอสองกุมารกับพระเวสสันดร ซึ่งไม่ทูลขอตรงๆ แต่จะนำแม่น้ำทั้ง 5 มาเปรียบว่าไหลแผ่สาขาเป็นประโยชน์กับประชาชนอย่างไร ก็เหมือนกับน้ำพระทัยของพระเวสสันดร พูดชักจูงไปชักจูงมาเพื่อพระเวสสันดรจะได้ยกสองกุมารให้

แม่น้ำทั้ง 5 มีดังนี้ 1.คงคา , 2. ยมุมา , 3.อจิรวดี , 4. สรภู และมหิ ซึ่งเป็นแม่น้ำ 5 สายหลักในอินเดีย

ตัดหางปล่อยวัด 

สํานวนที่เกิดจากนิทาน ตํานาน วรรณคดี
 ตัดหางปล่อยวัด เป็นสำนวนหมายถึง ตัดขาดไม่เกี่ยวข้อง ไม่เอาเป็นธุระอีกต่อไป เช่น เด็กคนนี้ถูกพ่อแม่ตัดหางปล่อยวัดเพราะประพฤติตัวเกกมะเหรกเกเรไม่เชื่อฟังคำสั่งสอนของผู้ใหญ่

สำนวนนี้มีที่มาจากการตัดหางไก่แล้วนำไปปล่อยเพื่อสะเดาะเคราะห์หรือแก้เคราะห์ในสมัยโบราณ มีหลักฐานในกฎมนเทียรบาลว่า เมื่อเกิดสิ่งที่เป็นอัปมงคล เช่นมีวิวาทตบตีกันถึงเลือดตกใน พระราชวังต้องทำพิธีสะเดาะเคราะห์ โดยเอาไก่ไปปล่อยนอกเมือง เพื่อให้พาเสนียดจัญไรไปให้พ้น ในสมัยรัชกาลที่ 4 มีประกาศกล่าวถึงการนำไก่ไปปล่อยที่วัดเพื่อสะเดาะเคราะห์ สันนิษฐานว่า ไก่ที่จะนำไปปล่อยที่วัดจะตัดหางเพื่อเป็นเครื่องหมายว่าเป็นไก่ที่ปล่อย เพื่อการสะเดาะเคราะห์ด้วย

ที่มา : บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย” ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.

ตีปลาหน้าไซ 

สํานวนที่เกิดจากนิทาน ตํานาน วรรณคดี
มีความหมายไปในทางว่า วางไซดักปลาไว้ปลากินมาอยู่หน้าไซ แล้วมาชิงช้อนเอาไปเสียก่อน เท่ากับว่าฉวยโอกาส เอาแต่ประโยชน์ของตนเป็นหลัก ทำอะไรเสียหายไม่คำนึงถึง เปรียบเหมือนอย่างจะจับปลา ก็ต้องลงทุนลงแรงทำไซ แต่ตนไม่ทำแล้วยังไปชิงช้อนปลาหน้าไซของคนอื่นที่เขาทำไซ
    ความเป็นมา ตีปลาหน้าไซมีปรากฏอยู่ในหนังสือมหาชาติ หรือ เวสสันดรชาดก ที่มีมาตั้งแต่ แผ่นดินพระบรมไตรโลกนาถ แต่น่าแปลกที่ในตัวบาลี ที่ตรงกับตีปลาหน้าไซซึ่งไม่ทราบแน่ว่าจะเป็นสำนวนของชาติไทย หรือชาติอินเดีย สำนวนนี้มีในกัณฑ์กุมารตอนพระเวสสันดร ให้ทานสองกุมาร แล้วชูชกตีสองกุมาร” เช่นกาพย์กุมารบรรพครั้งกรุงศรีอยุธยาว่า “โอ้แสนสงสารพระลูกเอย กระไรเลยอนาถา ทั้งพราหมณ์เฒ่าก็ไม่เมตตา ตีกระหน่ำ นี่เนื้อแกล้งให้เราชอกช้ำแตกฉานในมกุฎทานบารมี เหมือนรายชาติเสื่อมศรีฤษยา มาตีกั้นสกัดปลาที่หน้าไซ บรรดาจะได้พระโพธิญาณ”  (https://iruksthai.wordpress.com)

เผอเรอกระเชอก้นรั่ว

สํานวนที่เกิดจากนิทาน ตํานาน วรรณคดี
 ความหมาย เลินเล่อ ไม่เอาใจใส่ระวังดูแลให้รอบคอบ

  ความเป็นมา มูลของสำนวนมาจากนิทานโบราณ ใน นนทุกปกรณัม เรื่องมีว่ามีพรานไปซุ่มช้อนปลากับภรรยา ภรรยานั้นเป็นกาลกิณีกระเดียดกระเชอก้นรั่วตามสามี สามีช้อนได้ปลามาใส่กระเชอ ภรรยาก็ไม่พิจารณา ปลาก็ลอดลงน้ำไป สามีไม่รู่ช้อนได้หลงใส่กระเชอไปเรื่อย ๆ ปลาก็ลอดไปหมดไม่เหลือ ระหว่างนั้นมีภรรยานายสำเภา เป็นหญิงดีมีสิรินั่งอยู่ท้ายเรือ เห็นปลาลอดลงน้ำก็ยิ้ม นายสำเภาเป็นกาลกิณี เห็นนางดูนายพรานแล้วยิ้มเข้าใจว่านางพอใจ พรานก็โกรธ จะให้นางไปเป็นเมียพราน ในที่สุดนายสำเภากับนายพรานก็ตกลงแลกเมียกัน เมียนายพรานมาอยู่กับนายสำเภา ทำให้พรานเจริญขึ้นเป็นเสนาบดีของพระเจ้าแผ่นดิน แล้วต่อมาได้เป็นเจ้าพระยาแผ่นดิน นั่นคือใครที่ทำอะไรเผอเรอเลินเล่อทำอะไรไม่รอบคอบก็พูดกันว่า “เผอเรอกระเชอก้นรั่ว”  (https://iruksthai.wordpress.com)

สิบแปดมงกุฎ

สํานวนที่เกิดจากนิทาน ตํานาน วรรณคดี
 เหล่าเสนาวานรของกองทัพพระรามในเรื่องรามเกียรติ์ มี 18 ตน; โดยปริยายหมายถึงพวกมิจฉาชีพที่ทำมาหากินโดยใช้เล่ห์เหลี่ยมกลอุบายหลอกลวงผู้อื่น.

ที่มาของคำว่า 18 มงกุฎ

คำว่า18 มงกุฎ ในอดีตหมายถึง วานร 18 มงกุฎ เป็นวานรที่มาจากสองเมืองคือ 1.เมืองขีดขินของสุครีพ และ2.เมืองชมพูของท้าวมหาชมพู วานรสิบแปดมงกุฏนี้แต่เดิมก็คือเทวดา 18 องค์ ที่อาสามาช่วยพระนารายณ์ตอนอวตารมาเป็นพระรามนั้นเอง วานรทั้ง18ตน มีรายนามดังนี้

1.เกยูร   2.โกมุท   3.ไชยามพวาน  4.มาลุนทเกสร   5.วิมลวานร   6.ไวยบุตร  7.สัตพลี  8.สุรกานต์  9.สุรเสน  10.นิลขัน 11.นิลปานัน 12.นิลปาสัน 13.นิลราช 14.นิลเอก 15.วิสันตราวี 16.กุมิตัน 17.เกสรทมาลา 18.มายูร

มูลเหตุที่ทำให้คำว่า “สิบแปดมงกุฎ” กลายความหมายมาเป็นคำไม่ดี

มีที่มาจากเหตุการณ์ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีกลุ่มนักเลงการพนันใหญ่ที่ถือว่ามีชื่อเสียงโด่งดังในยุคนั้น ตามร่างกายจะนิยมสักรูปมงกุฎ จนเป็นที่มาของสำนวน “สิบแปดมงกุฎ”ในทางร้าย ที่หมายถึง พวกนักเลงการพนัน พวกที่มีเล่ห์เหลี่ยมกลโกง นักต้มตุ๋น ซึ่งพลอยทำให้ชื่อเสียงเกียรติคุณดีๆของวานรสิบแปดมงกุฎ(เทวดา)เลือนหายไป และกลายความไปในที่สุด

ในหนังสือ “สำนวนไทย” ของ ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) เขียนไว้ว่า สิบแปดมงกุฎ นำมาใช้เป็นสำนวนในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อมีนักเลงการพนันใหญ่ลือชื่อพวกหนึ่ง กล่าวกันว่าเป็นนักเลงชั้นยอด สักตามตัวเป็นรูปมงกุฎ จึงเรียกว่า สิบแปดมงกุฎ ตามเรื่องราวในรามเกียรติ์ จากนั้นถ้าใครเป็นนักเลงการพนันก็เลยเรียกว่า สิบแปดมงกุฎ

(http://guru.sanook.com/8801/)

ลูกทรพี

สํานวนที่เกิดจากนิทาน ตํานาน วรรณคดี
 หมายถึง ลูกอกตัญญูที่ทำร้ายพ่อแม่ของตน

ที่มา จากเรื่องรามเกียรติ์ มีเทวดาองค์หนึ่งถูกพระศิวะสาปให้เป็นควายและให้ถูกลูกตัวเองฆ่าตาย ควายที่ถูกสาปชื่อทรพา เมื่อลูกเกิดมากี่ตัวทรพาจึงฆ่าตายหมด แล้วมีควายตัวเมียตัวหนึ่งแอบไปคลอดลูกที่อื่น ลูกที่เกิดมาตั้งชื่อว่าทรพี  รุกขเทวดาเลี้ยงควายตัวนี้ และรู้ว่าพ่อคิดฆ่าตัวเอง มันจึงคอยเอารอยเท้าตัวเองวัดกับรอยเท้าพ่อ เพื่อคิดบัญชีที่คิดฆ่าตัวเอง แล้วต่อมาเจอพ่อ เลยต่อสู้กัน ทรพีฆ่าพ่อตัวเองตายในที่สุด  และในที่นี้จึงเกิดสำนวนไทยอีกสำนวนคือ“วัดรอยเท้า”

เห็นกงจักรเป็นดอกบัว

สํานวนที่เกิดจากนิทาน ตํานาน วรรณคดี
 หมายถึง เห็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง หรือเห็นผิดเป็นชอบ

ที่มา ในหนังสือพระมาลัยได้กล่าวถึงเรื่อง “เห็นกงจักรเป็นดอกบัว” ว่า กงจักร หมายถึง จักรกรดที่ทำโทษสัตว์นรก เช่น คนที่เป็นชู้กับเมียหรือสามีคนอื่นต้องตกนรก ยมบาลจะเอาหอกไล่ทิ่มแทงให้ไปขึ้นต้นงิ้วที่มีหนามคมเป็นกรด คนที่ตีด่าพ่อ แม่ และพระภิกษุสามเณร ตายไปตกนรกมีกงจักรพัดอยู่บนศีรษะ เรื่องเกี่ยวกับสัตว์นรกที่ได้รับความทุกข์ต่างๆ มักเขียนไว้ตามวัดทั่วไป เพื่อให้เป็นเครื่องเตือนใจแก่มวลมนุษย์ไม่ให้กระทำความชั่วต่อสัตว์โลกด้วยกัน

นอกจากนี้ในคัมภีร์ได้กล่าวถึงการบำรุงบิดา มารดา โดยแต่งเป็นนิทานที่มีเรื่องเล่าว่ามีมาณพนามว่า “มิตตวินทุ” เป็นบุตรเกกมะเหรกของอุบาสิกาหม้ายผู้หนึ่ง เขาต้องการจะไปเที่ยวทะเลกับพ่อค้าสำเภา แต่มารดาไม่อนุญาตให้ไปเพราะด้วยความเป็นห่วงเกรงว่าจะได้รับอันตราย บุตรชายไม่พอใจจึงใช้เท้าถีบมารดาล้มคว่ำลง แล้วจึงหนีไปเที่ยวกับพ่อค้าสำเภาจนได้

ด้วยผลกรรมที่ได้กระทำไว้แก่มารดาของตนเช่นนั้น เผอิญเรือลำนั้นมีเหตุเป็นไปคือเรือได้แตกอยู่กลางทะเล มิตตวินทุ ได้ว่ายน้ำไปพบเกาะๆหนึ่ง ซึ่งเป็น ที่อยู่ของพวกเปรตเศษนรกเมื่อมิตตวินทุขึ้นเกาะนั้นได้เผอิญไปพบเปรตตนหนึ่ง ซึ่งทุบตีพ่อแม่แล้วไปตกนรก เมื่อพ้นจากนรกแล้วก็มาเป็นเปรตที่เกาะนี้ บนศรีษะมีกงจักรหมุนคว้าง ผ่าศีรษะ มีเลือดไหลกระเซ็นเป็นฝอย ร้องครวญคราง พร้อมกับยกมืออันสั่นระริกขึ้นกวัดแกว่งด้วยความเจ็บปวดอันแสนจะทนมิได้ เป็นเพราะผลกรรมที่ได้กระทำไว้กับมารดาตน มิตตวินทุจึงได้แลเห็นกงจักรที่พัดอยู่บนศีรษะของเปรตตนนั้นเป็นดอกบัว ซึ่งช่างเหมือนดอกไม้ประดิษฐ์ที่ทำเป็นเครื่องสวมศีรษะอย่างงดงาม และสังเกตเสียงร้องครวญคราง พร้อมกับยกมืออันสั่นกวัดแกว่งไปมานั้นเป็นเสียงร้องรำทำเพลง พร้อมกับการฟ้อนรำที่รื่นเริงยิ่งนักถึงแก่หักใจไว้ไม่ได้จึงเข้าไปขอกงจักรซึ่งตนเห็นเป็นดอกบัวต่อเปรตตนนั้น และเปรตตนนั้นก็ได้ทราบทันทีว่ามิตตวินทุ คงต้องทำกรรมอันแสนชั่วเช่นเรา กรรมจึงดลบัลดาลให้เขาต้องรักชอบและนิยมอย่างนี้ ซึ่งเราก็น่าจะพ้นจากกรรมนี้แล้ว เปรตตนนั้นจึงได้มอบกงจักรให้แก่ มิตตวินทุ แล้วก็อันตรธานหายไป ต่อจากนั้น มิตตวินทุ จึงได้รับช่วงกงจักร ซึ่งตนสำคัญผิดว่าเป็นดอกบัว พร้อมด้วยความทุกขเวทนาที่ไม่ผิดแผกกับเปรตผู้มอบให้แก่ตนจนสิ้นกรรมไปในครั้งนี้

กิ้งก่าได้ทอง

สํานวนที่เกิดจากนิทาน ตํานาน วรรณคดี
 หมายความว่า คนที่ได้ลาภยศแล้วทะนงตนลืมฐานะเดิม.

มาจากชาดกเรื่อง มโหสถ
ณ แคว้นวิเทหะ เมืองมิถิลา ทุกครั้งที่กษัตริย์กรุงมิถิลาออกจากวัง กิ้งก่าจะออกมาทำความเคารพ พระองค์เลยให้รางวัลโดยให้ทองไปซื้อเนื้อให้กิ้งก่ากิน และทำแบบนี้ทุกวัน พอวันหนึ่งคนที่ได้รับคำสั่งให้ซื้อเนื้อ ไม่สามารถหาซื้อเนื้อมาได้ จึงเอาทองแขวนคอไว้กับกิ้งก่าตัวนี้  มันคิดว่าได้ของที่มีค่ามากกว่าชิ้นเนื้อ ต่อมามันไปเกาะชูคอที่ขอบประตู และไม่ลงมาทำความเคารพกษัตริย์กรุงมิถิลาอีกเลย พระราชาจึงกริ้วสั่งให้เลิกค่าเบี้ยเลี้ยงแก่มันตั้งแต่นั้นมา เพราะพระมโหสถแนะนำว่าไม่ต้องให้อะไรกิ้งก่าตัวนี้อีก  (http://www.sahavicha.com/)

ร้อนอาสน์

สํานวนที่เกิดจากนิทาน ตํานาน วรรณคดี
หมายความว่า มีเหตุหรือมีเรื่องเดือดร้อนทําให้อยู่เฉยไม่ได้.

 อาสน์ แปลว่า ที่นั่ง. อาสน์ ในสำนวนนี้ หมายถึง แท่นที่ประทับของพระอินทร์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แท่นบัณฑุกัมพล แท่นนี้ปรกติอ่อนนุ่ม ถ้าเกิดแข็งกระด้างหรือร้อนเป็นไฟขึ้นมา จะบอกเหตุว่ามีเรื่องเดือดร้อนขึ้นในโลก พระอินทร์ต้องรีบลงไปแก้ไข ตามคติความเชื่อว่าพระอินทร์เป็นเทพผู้มีหน้าที่ดับความทุกข์ร้อนของมนุษย์.

ในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง มีการกล่าวถึงอาสน์ของพระอินทร์ที่ผิดปกติไป เช่นในบทละครเรื่องสังข์ทองว่า

“มาจะกล่าวบทไป                     ถึงท้าวสหัสนัยไตรตรึงษา

ทิพย์อาสน์เคยอ่อนแต่ก่อนมา    กระด้างดังศิลาประหลาดใจ

จะมีเหตุมั่นแม้นในแดนดิน        อมรินทร์เร่งคิดสงสัย

จึงสอดส่องทิพย์เนตรดูเหตุภัย    ก็แจ้งใจในนางรจนา”

ยืนกระต่ายสามขา

สํานวนที่เกิดจากนิทาน ตํานาน วรรณคดี
 หมายถึง พูดยืนยันอยู่คําเดียว โดยไม่เปลี่ยนความคิดเดิม, มักพูดว่า ยืนกระต่ายขาเดียว

ที่มา มาจากนิทานพื้นบ้านว่ามีลูกศิษย์วัดย่างกระต่ายเพื่อถวายให้พระฉันเพล แต่ทนกลิ่นหอมยั่วยวนจมูกไม่ไหว จึงแอบฉีกขากระต่ายย่างมากินเสียข้างหนึ่ง ครั้งถึงเวลาเพล ลูกศิษย์วัดก็นำกระต่ายย่างไปถวายพระ พระเห็นว่าขากระต่ายย่างหายไปข้างหนึ่ง จึงถามว่าใครแอบกิน ลูกศิษย์วัดก็ยืนยันว่ากระต่ายตัวนี้มี 3 ขาเท่านั้น ซักไซ้เท่าใดลูกศิษย์วัดก็ยังยืนกรานเหมือนเดิมว่า กระต่ายตัวนี้มี 3 ขา พระต้องยอมแพ้เลิกคาดคั้นไปในที่สุด

สํานวนใดมีที่มาจากวรรณคดี

กกขนาก, ศรปักอกเหมือนกกขนาก -- กระต่ายตื่นตูม -- กล่องดวงใจ -- กลิ้งฑูต -- กากี -- กาตาแววเห็นธนู -- กิ้งก่าได้ทอง -- กินจนพุงแตก, กินจนท้องแตกตาย -- กุมภกรรณทดน้ำ -- ขอมดำดิน -- ขึ้นต้นงิ้ว -- ขึ้นสวรรค์ทั้งเป็น --เข็นครกขึ้นภูเขา -- เขียวเหมือนพระอินทร์ -- จองถนน -- ใจเป็นแม่พระคงคา -- ชักแม่น้ำทั้งห้า -- ช้างงารี -- ...

สํานวนไทยมีที่มาจากอะไร

สำนวนมีที่มาหรือบ่อเกิดแห่งสำนวนแตกต่างกัน สำนวนที่เกิดจากธรรมชาติ การกระทำ สิ่งแวดล้อมความเป็นอยู่ อุบัติเหตุ แบบแผนประเพณี ศาสนา ความประพฤติ การ ละเล่น จากนิทานตำนาน พงศาวดารหรือประวัติศาสตร์

สำนวนใดมีที่มาจากวัฒนธรรมทางภาษา วรรณคดี ตำนาน นิทาน ประวัติศาสตร์

6. ที่มาจากวัฒนธรรมทางภาษา วรรณคดี ตำนาน นิทาน ประวัติศาสตร์ ... 1. มีที่มาจากธรรมชาติ.