มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาภาษาไทย จบมาทำงานอะไร

หลายคนอาจจะสงสัยว่าเรียนสาขามนุษยศาสตร์จบมาแล้วไปทำอะไรได้บ้าง จริงๆ แล้วข้อดีของการเรียนมนุษยศาสตร์คือไม่มีอาชีพที่ตายตัวแบบงานสาขาอื่นๆ เพราะฉะนั้นเลยขึ้นอยู่กับคนที่เรียนเลยว่าอยากทำงานสาขาอะไร แต่วันนี้จะยกงานที่หลากหลายมากขึ้น

(อย่างไรก็ตาม รายได้อาจจะมากน้อยตามประเภทบริษัท พื้นที่ประเทศหรือจังหวัดที่ทำ หรือประสบการณ์ เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งตกใจว่าทำไมถึงไม่มีอาชีพนี้ อาชีพนี้มาอยู่ได้ยังไง หรือทำไมอาชีพนี้ไม่เห็นเกี่ยวกับสาขามนุษยศาสตร์เลย)

 

1. Content Marketing/Content Strategist

ในยุคนี้สมัยนี้งานสายคอนเทนต์กำลังมาแรงเพราะฉะนั้นการเป็นคนวางแผนคอนเทนต์ให้ผลิตภัณฑ์หรือตามเอเจนซี่จึงเป็นที่ต้องการในตลาด ใครๆ ก็อยากให้งานออกมาปัง น่าสนใจ การจะเป็นคนที่ผลิตคอนเทนต์ที่ออริจินัลและน่าสนใจได้อาจจะไม่ได้ใช้แค่กลไกตลาด แต่ใช้ความน่าสนใจ ความสร้างสรรค์ด้วย คนเรียนสาขามนุษยศาสตร์ที่เรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้อาจจะมาช่วยเติมเต็มในด้านนี้ได้

 

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาภาษาไทย จบมาทำงานอะไร

 

2. Creative

อาชีพนี้แม้ส่วนใหญ่จะจบสายนิเทศหรือศิลป์ แต่ก็มีสายมนุษย์ศาสตร์ที่ไปเป็นครีเอทีฟหลายคน ยกตัวอย่างพี่ป๋อมแป๋ม อดีตพิธีกรรายการเทยเที่ยวไทย ที่เริ่มต้นเป็นครีเอทีฟรายการต่างๆ อยู่เบื้องหลังก่อนจะเป็นพิธีกรอยู่เบื้องหน้าก็จบสายมนุษยศาสตร์มาเช่นกัน เพราะฉะนั้นไม่สำคัญว่าจะจบสายอะไร ถ้ามีความสามารถ ใจรักและความตั้งใจแล้วจะทำอะไรก็ได้

 

3. Technical Editor

เราอาจจะได้ยินการเป็น Editor หรือบรรณาธิการตามนิตยสารหรือสำนักพิมพ์เชิงไลฟ์สไตล์กันมาบ้าง แต่วันนี้จะมาแนะนำอาชีพ Technical Editor หรือบรรณาธิการสายเทคนิค อาชีพนี้จะเป็นแผนกคอยปรู๊ฟ แก้ไขคำศัพท์เชิงเทคนิคในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ไม่ค่อยเห็นในชีวิตประจำวันทั่วไป เช่น อุตสาหกรรมเครื่องยนต์ อุตสาหกรรมเทคนิคอื่นๆ อาจจะได้ใช้หลายภาษาก็ได้แล้วแต่ชนิดของอุตสาหกรรมและกลุ่มเป้าหมายที่เลือกไป

 

4. Tutor

งานสอนพิเศษหรือติวเตอร์ถือว่าเป็นงานที่มีรายได้ต่อชั่วโมงสูงทีเดียว คนที่เรียนสาขามนุษยศาสตร์จะได้รับความเชื่อถือจากผู้ปกครองและนักเรียนส่วนใหญ่ในการสอนวิชาประเภทสังคม ประวัติศาสตร์ ภาษาต่างๆ หรือการสอบที่จำเพาะเจาะจง เช่น SAT IELTS TOEIC TOEFL การเขียน การพูดต่างๆ และอื่นๆ อีกมากมาย เรียกว่าทางเลือกสายนี้เปิดโอกาสให้คนเรียนสายมนุษยศาสตร์ที่รักการสอนหรือการอธิบาย บางคนก็สอนเป็นรายได้เสริม บางคนก็สอนจนเป็นรายได้หลักได้เลย

 

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาภาษาไทย จบมาทำงานอะไร

 

5. เจ้าหน้าที่กระทรวง

อาชีพนี้แม้จะมีการแข่งขันมาก ต้องสอบหลายวิชา แต่ความมั่นคง และสวัสดิการที่ได้รับก็น่าสนใจเพียงพอที่จะทำให้หลายๆ คนที่เรียนสาขามนุษยศาสตร์เข้าหา อาชีพนี้เป็นอาชีพที่ค่อนข้างเป็นทางการ เหมาะกับคนที่ชอบอะไรประเภทนี้ อาจจะมีกฎเกณฑ์หรือการแต่งตัวที่เข้มงวดมากกว่าการทำงานสายอาชีพอื่น แต่ถ้าใครชอบและคิดว่าเป็นสิ่งท้าทายแล้วก็น่าสนใจมากทีเดียว

 

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาภาษาไทย จบมาทำงานอะไร

 

6. Secretary

เลขาธิการไม่ใช่อาชีพที่จำกัดให้สายอาชีพใดอาชีพหนึ่ง แต่ว่านักศึกษาที่จบสายมนุษยศาสตร์หลายๆ คนก็ให้ความสนใจกับอาชีพนี้ เพราะเป็นอาชีพที่รวมความสามารถหลายๆ แบบไว้ด้วยกัน ทั้งการจัดการ ภาษา มารยาท การพูดจา ความรู้ทั่วไป ความสร้างสรรค์ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และอื่นๆ อีกมากมาย เลขาธิการถือเป็นตัวแทนของตำแหน่งต่างๆ หรือตัวแทนของบริษัทก็ว่าได้ เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ท้าทายเลย

 

7. พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน

อาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องแบนหรือเรียกอีกอย่างว่า แอร์โฮสเตส และสจ๊วต เป็นอาชีพที่มีหลายๆ คนใฝ่ฝันหา อาชีพนี้คนที่เรียนสาขามนุษยศาสตร์ประเภทสายภาษาบางคนอาจจะได้เปรียบเรื่องไปประกอบอาชีพในสายการบินที่ต้องการภาษานั้นพอดี แต่สายอื่นๆ ก็ไม่ได้เป็นรอง เพราะการจะทำอาชีพนี้ได้ต้องผ่านการคัดเลือกและการทดสอบที่เข้มข้น ไม่ใช่แค่คัดกันที่ส่วนสูงและหน้าตา เพราะฉะนั้นต้องทำการบ้านดีๆ เพราะงานนี้แม้จะได้ไปหลายประเทศแต่ก็หนักและเหนื่อยไม่แพ้อาชีพอื่นเลย

 

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาภาษาไทย จบมาทำงานอะไร

 

8. ไกด์

อาชีพไกด์เป็น 1 ในอาชีพสำหรับคนชอบท่องเที่ยว (ไปอ่านบทความรวมอาชีพสำหรับคนชอบท่องเที่ยวได้ที่นี่) แต่ก่อนจะทำอาชีพนี้ได้ก็ต้องสอบให้ได้รับรองไกด์ก่อน ไม่ใช่ว่าทุกคนก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นสำหรับใครที่อยากเป็นอาจจะเริ่มจากการเรียนสาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม แล้วไปสอบไกด์ หรือสำหรับใครที่อยากเป็นจริงๆ แต่เรียนสาขาอื่นก็อาจจะต้องหาความรู้ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมต่างๆ ให้แม่นเพื่อไปสอบและแข่งขันนั่นเอง

 

หามหาวิทยาลัยและคอร์สเดี๋ยวกับการท่องเที่ยวและการโรงแรมที่นี่

 

 

ทั้งนี้ทั้งนั้นอย่างที่บอกไปว่าทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับบริษัทที่ทำ ถ้าทำบริษัทเอกชนหรือบริษัทต่างชาติก็จะมีเรทเงินที่สูงกว่าบางที่ แต่สรุปแล้วค่าของงานหรือค่าความสำเร็จอาจไม่ได้มาจากแค่หน้าที่การงานหรือเงินเดือนอย่างเดียว เพราะฉะนั้นเลือกเรียน เลือกทำงานที่สนใจดีกว่าเครียดว่างานนั้นได้เงินเดือนมากกว่าอีกงาน หรือเรียนสาขานี้แล้วจะได้เงินเยอะกว่าอีกสาขา เพราะยังมีปัจจัยอื่นๆ เช่น เพื่อน ประสบการณ์ ความรู้ มาให้คิดอีกด้วย

เรียนจบคณะนี้มาสามารถทำงานการบิน เป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินได้ เพราะได้ใช้ความสามารถทางภาษาและเป็นงานบริการผู้คนที่มีเกียรติงานหนึ่ง
  • นักจิตวิทยา ผู้ที่เรียนจบคณะมนุษยวิทยา หรือคณะจิตวิทยาสามารถประกอบอาชีพเป็นนักจิตวิทยาที่จะให้คำปรึกษากับบุคคล หรือองค์กรได้
  • นักประวัติศาสตร์ นักประวัติศาสตร์จะเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญ ศึกษาและวิจัย รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของบุคคล สถานที่ ประเทศ และเหตุการณ์ต่าง ๆ
  • นักโบราณคดี นักโบราณคดีจะศึกษาประวัติศาสตร์ของมนุษย์ในแง่กายภาพ โดยศึกษาจากหลักฐานต่างๆ ที่ถูกค้นพบ เพื่อให้เข้าใจที่มาของมนุษย์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
  • บรรณารักษ์ เรียนมนุษยศาสตร์สมัครงานอะไร บรรณารักษ์ คือ ผู้ที่มีอาชีพในการจัดการข้อมูลในด้านบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ บรรณารักษ์จะทำงานตามห้องสมุดของหน่วยงาน องค์กร และสถาบันต่างๆ

    คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จบไปทำงานอะไร

    จบคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทํางานอะไร.
    อาจารย์หรือครู.
    ล่ามและนักแปล.
    นักเขียน.
    ทำงานด้านการท่องเที่ยว.
    ทำงานกับบริษัทต่างชาติ.
    ทำงานในสายการบิน.
    เลขานุการ.
    ทำงานด้านสื่อสารมวลชน.

    คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง

    คณะมนุษยศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับอะไร? เรียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วิวัฒนาการของมนุษย์ การปรับตัวของมนุษย์ รวมถึงวัฒนธรรมด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับภาษาและมนุษย์ สาขาที่เรียนก็มีความหลากหลาย เช่น ด้านภาษา ด้านสังคม ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ครอบครัว การเมือง โบราณคดี

    ศศ.บ.ไทย จบมาทํางานอะไร

    อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา 1. นักวิชาการ อาจารย์ นักวิจัยทางภาษาไทย 2. นักเขียน นักวิจารณ์ บรรณาธิการ 3. นักสื่อสารมวลชน มัคคุเทศก์ ล่าม ประชาสัมพันธ์ 4. ประกอบอาชีพ อิสระตามความถนัดของตน

    เรียนภาษาจบไปทำอะไรได้บ้าง

    จบแล้วทำงานอะไรดี.
    มัคคุเทศก์หรือไกด์.
    งานด้านแปลล่าม.
    เลขาภาษาจีน.
    นักการตลาดและนักประชาสัมพันธ์.
    ผู้ให้บริการลูกค้าสัมพันธ์.
    ผู้ประสานงานธุรกิจการค้า.
    งานเอกสารระหว่างประเทศ.
    นักเเปลล่ามภาษา.