ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย คือ

โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย จังหวัดเพชรบุรี

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรพื้นที่ห้วยทราย มีพระราชดำรัสด้วยน้ำพระราชหฤทัยห่วงใยว่า "หากปล่อยทิ้งไว้ จะกลายเป็นทะเลทรายในที่สุด"

  • Home
  • โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ห้วยทราย ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ก็เช่นเดียวกับดินแดนอื่น ๆ อีกมากของประเทศไทย ที่แต่เดิมเคยเป็นป่าไม้อุดมสมบูรณ์ มีต้นไม้นานาพันธุ์เขียวชะอุ่ม มีสัตว์ป่า โดยเฉพาะเนื้อทรายอาศัยตามธรรมชาติเป็นจำนวนมาก จึงเรียกชื่อว่า "ห้วยทราย" และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสร้าง "พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน" หรือป่าเนื้อทราย ขึ้นที่นั่น เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๗

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย คือ

แต่…ในช่วงเวลาเพียง ๓๐ กว่าปี พื้นที่ห้วยทรายได้ถูกราษฎรเข้าบุกรุกทำลายป่า ปราบพื้นที่เพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรรมจนไม่เหลือป่าไม้และสัตว์ป่า จึงเกิดความแห้งแล้ง ฝนไม่ตกตามฤดูกาล และสภาพพื้นดินเสื่อมโทรม ทำการเกษตรกรรมไม่ได้ผล
เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๖ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรพื้นที่ห้วยทราย มีพระราชดำรัสด้วยน้ำพระราชหฤทัยห่วงใยว่า
"หากปล่อยทิ้งไว้ จะกลายเป็นทะเลทรายในที่สุด"
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานพระราชดำริให้พัฒนาพื้นที่บริเวณห้วยทราย เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาด้านป่าไม้อเนกประสงค์ ถ้าขับรถจากกรุงเทพฯ ไปตามถนนเพชรเกษม ประมาณ ๒๒๐ กิโลเมตร จะพบที่ตั้งโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริอยู่ห่างจากชะอำไปทางทิศใต้ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร จัดเป็นพื้นที่ดำเนินงานตามโครงการ ๑๕,๘๘๒ ไร่ มีสำนักงานโครงการตั้งอยู่ที่กองกำกับการ ๑ กองบังคับการฝึกพิเศษ (ค่ายพระรามหก) และมีศูนย์สาขาคือ โครงการศึกษาวิธี

การฟื้นฟูดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย คือ

การดำเนินงานสนองพระราชดำริในการพัฒนาและฟื้นฟู "ห้วยทราย" นี้ มีหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมงานจำนวนมาก เช่น กรมที่ดิน กรมพัฒนาชุมชน กรมป่าไม้ กรมชลประทาน กรมประมง กรมพัฒนาที่ดิน กรมปศุสัตว์ ฯลฯ กำหนดแผนงานเป็น ๓ แผน คือ

แผนงานการฟื้นฟูระบบนิเวศน์วิทยาของห้วยทราย และพื้นที่ใกล้เคียง โดยยึดแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ให้สมดุลย์กับทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ และสามารถฟื้นฟูให้มีศักยภาพในการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง ได้แก่

ระบบนิเวศน์ป่าต้นน้ำ ฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ให้คืนสภาพป่าต้นน้ำลำธาร

ระบบนิเวศน์พื้นราบ ฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งเกษตรกรรมระบบวนเกษตร

ระบบนิเวศน์ชายฝั่งทะเล ฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ให้คืนสภาพป่าบกและป่าชายเลน

แผนการศึกษาทดลอง ทำการทดลองศึกษาและวิจัย เพื่อให้ได้รูปแบบและวิธีการที่เหมาะสมในการประกอบอาชีพต่าง ๆ โดยยึดหลักการที่ว่า ราษฎรอยู่รอดและธรรมชาติก็อยู่รอดด้วย มีการทดลองอนุรักษ์ดินและน้ำ พันธุ์พืช สัตว์ และปล่อยสัตว์คืนสู่ชีวิตธรรมชาติ ศึกษาหารูปแบบในการทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม เช่น เลี้ยงกบ การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร นำออกเผยแพร่เป็นแบบอย่างแก่ราษฎร

แผนงานการพัฒนาช่วยเหลือประชาชน เป็นการสนองพระราชดำริที่จะทรงขจัดความยากจน ความทุกข์ลำเค็ญของราษฎรในพื้นที่โครงการ มีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อม พัฒนาอาชีพการเกษตร ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น งานจักสาน เจียระไนอัญมณี พัฒนาด้านสุขภาพอนามัย การวางแผนครอบครัว การตั้งศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ฯลฯ รวมทั้งพัฒนาพื้นที่ทำการเกษตรของราษฎรให้คืนสู่สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ

การศึกษาวิจัยและการแสดงของศูนย์ เพื่อนำความรู้ออกเผยแพร่สู่ประชาชน มุ่งเน้นการฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรม สร้างแนวป้องกันไฟป่า โดยใช้ระบบป่าเปียก เช่น สร้างแนวคูคลอง และพืชเศรษฐกิจสีเขียว มุ่งเน้นให้ราษฎรเข้ามามีส่วนร่วมในการปรับปรุงและอนุรักษ์ป่า และสร้างรายได้จากผลิตผลป่าไม้ พร้อมกับเพาะปลูกพืชเกษตรกรรมที่เหมาะสมควบคู่ไปด้วย

กิจกรรมที่น่าสนใจของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ คือ งานพัฒนาป่าไม้ ปลูกป่า ๓ อย่าง ได้แก่ ไม้โตเร็ว ไม้ผล และไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ สร้างสมดุลทางธรรมชาติของป่าให้คืนสู่สภาพเดิม

การเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่าหลายชนิด โดยเฉพาะเนื้อทราย แล้วปล่อยเข้าสู่ป่า เร่งสมดุลทางธรรมชาติ

การปลูกหญ้าแฝก เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ ปลูกหญ้าแฝกรอบอ่างเก็บน้ำเพื่อป้องกันสารพิษ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชปณิธานที่จะให้พื้นที่ "ห้วยทราย" ที่เคยแห้งแล้ง กลับคืนสู่ธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ดุจดั่ง "มฤคทายวัน" ในกาลก่อนเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิเวศน์มฤคทายวันขึ้น เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๖๗ ซึ่ง "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ" จะเป็นแหล่งธรรมชาติ อำนวยประโยชน์แก่ประชาชนทั้งในชุมชนเมือง และในชนบทอย่างแท้จริงต่อไป

ที่ตั้งโครงการ

ตั้งอยู่ที่ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี บนถนนเพชรเกษม ห่างจากชะอำมาทางทิศใต้ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพฯ ตามเส้นทางถนนสาย
เพชรเกษมประมาณ ๒๒๐ กิโลเมตร มีพื้นที่ดำเนินการของโครงการรวมทั้งสิ้น ๑๕,๘๘๒ ไร่ โทร (๐๓๒) ๔๗๑๑๑๐ โทรสาร (๐๓๒) ๔๗๑๑๓๐
รายละเอียดเข้าศึกษาดูงาน http://www.huaysaicenter.org
แผนที่ : https://www.google.co.th/maps/โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย
ที่มา : https://web.ku.ac.th/โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย คือ

โครงการหญ้าแฝก

“....ให้ใช้หญ้าแฝกในการพัฒนา ปรับปรุงบำรุงดิน ฟื้นฟูดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ และแก้ปัญหาดินเสื่อมโทรม...”   กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้จัดทำโครงการปลูกหญ้าแฝกเฉลิมพระเกียรติตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย คือ

โครงการทดลองแก้ปัญหาดินเปรี้ยว จังหวัดนครนายก

ที่ดินในโครงการฯ รวม ๓ แปลง แปลงที่ ๑ ให้ใช้วิธีการทางธรรมชาติในการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว แปลงที่ ๒ ให้จัดทำเป็นรูปแบบทฤษฎีใหม่ และแปลงที่ ๓ ให้ดำเนินการจัดทำเป็นศูนย์ฝึกอาชีพแก่ราษฎร

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย คือ

โครงการศึกษาฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม จังหวัดราชบุรี

เป็นศูนย์ศึกษาวิจัยและสาธิตทดสอบวิธีการฟื้นฟูปรับปรุงดินเสื่อมโทรมให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นรูปแบบและส่งเสริมอาชีพเกษตรกรที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่โครงการ ได้เรียนรู้วิธีการจัดการดิน น้ำ และพืช อย่างถูกต้อง

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย คือ

โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาจัดตั้งขึ้นบริเวณป่าขุนแม่กวง โดยมีพระราชประสงค์ที่จะให้เป็นศูนย์กลางในการศึกษา ทดลอง วิจัย เพื่อหารูปแบบการพัฒนาต่าง ๆ ในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำที่เหมาะสมและเผยแพร่ให้ราษฎรนำไปปฎิบัติต่อไป