โครงการห้วยฮ่องไคร้ วัตถุประสงค์

โครงการห้วยฮ่องไคร้ วัตถุประสงค์

โครงการห้วยฮ่องไคร้ วัตถุประสงค์

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อ ๑๔ ปีก่อน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่ไปเยี่ยมเยือนภาคเหนือของไทย เช่น เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน ต่างนิยมชมชื่นว่าเป็นดินแดนที่มีธรรมชาติและวัฒนธรรมงดงาม แต่…พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในชนบทภาคเหนือ ทรงทราบว่า มีพื้นที่ภาคเหนือซึ่งส่วนมากเป็นภูเขา ที่เคยมีป่าไม้ต้นน้ำลำธารอุดมสมบูรณ์ ถูกราษฎรโดยเฉพาะชาวเขาบุกรุกทำลายเพื่อประกอบอาชีพเลี้ยงชีวิต โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ได้ทำลายพื้นดินให้เปลี่ยนสภาพเสื่อมโทรมลงเป็นจำนวนมาก ทรงตระหนักในทันทีว่า จำเป็นต้องเร่งรีบแก้ไขโดยการพัฒนาพื้นดิน พัฒนาอาชีพ และพัฒนาคน เพื่อบรรเทาและหยุดยั้งการทำลายป่า ซึ่งจะนำอันตรายใหญ่หลวงมาสู่ส่วนรวมในอนาคต

โครงการห้วยฮ่องไคร้ วัตถุประสงค์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้ง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ ขึ้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๕ ณ บริเวณพื้นที่ต้นน้ำ ห้วยฮ่องไคร้ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่โครงการประมาณ ๘,๕๐๐ ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ "ป่าขุนแม่กวง" ภูมิประเทศทั่วไปเป็นป่าเขา และต่อมาได้จัดตั้งศูนย์สาขาอีก ๔ แห่ง คือ

๑. โครงการศูนย์บริการการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ๒. โครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่ปิง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอฮอด อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ๓. โครงการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย ๔. โครงการพัฒนาดอยตุงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ มีเป้าหมายในการศึกษาและทดสอบหารูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมกับพื้นที่บริเวณต้นน้ำลำธารของภาคเหนือทั้ง ด้านการพัฒนาป่าไม้ และการพัฒนาอาชีพ เพื่อนำออกสาธิตเป็นแบบอย่างให้หน่วยราชการและราษฎรนำไปปฏิบัติ เพื่อพัฒนาท้องถิ่นต่อไป

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ ดำเนินกิจการสำคัญ ๆ ได้แก่ ๑. งานศึกษาพัฒนาแหล่งน้ำจัดสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดต่าง ๆ บนสันเขา สร้างฝายต้นน้ำเพื่อกระจายน้ำให้พื้นที่กลับชุ่มชื้น ๒. งานศึกษาและพัฒนาป่าไม้ ปลูกสร้างสวนป่าใหม่ ฟื้นฟูบำรุงรักษาป่าธรรมชาติที่เหลืออยู่ ปลูกพันธุ์ไม้เสริม ช่วยการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติของไม้ต้นเล็ก ศึกษาพัฒนาระบบเกษตรป่าไม้ ศึกษาวิจัยต้นน้ำลำธาร และนิเวศน์ป่าไม้ ตลอดจนศึกษาการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าในพื้นที่ต้นน้ำลำธารเพื่อพัฒนาป่า ๓. งานศึกษาและพัฒนาที่ดิน จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำสำหรับพื้นที่ลาดชันที่ทำประโยชน์ทางเกษตรกรรมไม่ได้ ๔. งานศึกษาและทดสอบการปลูกพืชประเภทไม้ผล ได้แก่ มะม่วง ลิ้นจี่ ลำไย มะขามหวาน ฯลฯ ตลอดจนพืชอุตสาหกรรม เช่น แมคคาเดเมีย กระทกรกฝรั่ง มะม่วงหิมพานต์ และพืชผัก เช่น กะหล่ำ มะเขือ แตง และเห็ด ๕. งานศึกษาและพัฒนาเกษตรกรรมแบบประณีต โดยปลูกไม้ยืนต้นเป็นแถว และปลูกไม้ล้มลุกที่เป็นยาและอาหารแทรกเพื่อเกิดรายได้ควบคู่กันไป ๖. งานศึกษาและพัฒนาปศุสัตว์ โคนม และสัตว์ปีก ๗. งานศึกษาและพัฒนาการประมง ศึกษาวิจัยการเพาะเลี้ยงปลา วางระเบียบการจับปลาในอ่างน้ำเพื่อมิให้มีการทำลายพันธุ์ปลา ๘. งานอนุรักษ์และพัฒนาอาชีพเลี้ยงกบ๙. งานปลูกหญ้าแฝก ศึกษาทดลองการปลูกหญ้าแฝก เพื่อป้องกันหน้าดินพังทลายเป็นการสนองพระราชดำริ ๑๐. งานพัฒนาหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ โดยพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก และส่งเสริมการเกษตรอุตสาหกรรมเพิ่มพูนรายได้ด้วย

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ ก็เช่นเดียวกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาอื่น ๆ ที่มีหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงานร่วมรับผิดชอบดำเนินการสนองพระราชดำริ เช่น กรมชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง ฯลฯ

เมื่อศูนย์ฯ ได้ศึกษาทดลองด้านต่าง ๆ ได้ผลเป็นที่น่าพอใจแล้ว ได้นำออกเผยแพร่ ฝึกอบรม ส่งเสริมให้ราษฎร และหน่วยราชการนำไปปฏิบัติ เพื่อให้มีอาชีพที่มั่นคงมีรายได้เลี้ยงคน และครอบครัว พัฒนาท้องถิ่นเป็น การพัฒนาแบบยั่งยืน ที่ได้ผลสมตามพระราชประสงค์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนาผู้ทรงพระปรีชาสามารถล้ำเลิศ ทรงรักและเอื้ออาทรในทุกข์สุขของราษฎรถ้วนหน้า ทรงทุ่มเทอุทิศพระองค์ด้วยพระอัจฉริยภาพ และพระวิริยะอุตสาหะสูงยิ่ง แม้ใช้เวลานานนับสิบปีกว่าจะเห็นผลก็มิได้ทรงย่อท้อ

พระเสโสทุกหยาดหยด คือ น้ำอมฤตที่หลั่งลงพลิกฟื้นผืนแผ่นดินไทยให้กลับเป็นแผ่นดินทอง และชุบชีวิตราษฎรในชนบทให้สามารถดำรงชีวิตด้วยความผาสุกสมตามอัตภาพ

ที่ตั้งโครงการ

ตั้งอยู่บริเวณป่าขุนแม่กวง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ ๓๔ กิโลเมตร บนทางหลวงหมายเลข ๑๐๑๙ สายเชียงใหม่-เชียงราย มีพื้นที่ดำเนินการทั้งหมดประมาณ ๘,๕๐๐ ไร่ ซึ่งภูมิประเทศทั่วไปเป็นป่าเขา โทร (๐๕๓) ๒๔๘๐๐๔ โทรสาร (๐๕๓) ๒๔๘๔๘๓

โครงการห้วยฮ่องไคร้ วัตถุประสงค์

| สรรพศิลปศาสตราธิราช | ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ |

โครงการห้วยฮ่องไคร้ วัตถุประสงค์
โครงการห้วยฮ่องไคร้ วัตถุประสงค์
 
โครงการห้วยฮ่องไคร้ วัตถุประสงค์
โครงการห้วยฮ่องไคร้ วัตถุประสงค์
โครงการห้วยฮ่องไคร้ วัตถุประสงค์

หากต้องการเรียนรู้ด้านการเกษตร หรือหาอาชีพเสริมให้มีรายได้เพิ่มด้านการเกษตร  ท็อปเชียงใหม่ขอแนะนำให้ไปศึกษาที่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้  อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่ ที่นี้มีความรู้แทบจะทุกด้านครับ ตัวอย่าง 20หลักสูตรที่มีการฝึกอบรมในศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้เช่น

หลักสูตรที่ 1
ฝายต้นน้ำลำธารเพื่อการฟื้นฟูนิเวศลุ่มน้ำตามแนวพระราชดำริ

เป็นการเรียนรู้หลักการ แนวคิดในการฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำลำธารตามแนวพระราชดำริ เรียนรู้ระบบนิเวศลุ่มน้ำ กระบวนการในการทำงานร่วมกับชุมชน การวิเคราะห์พื้นที่ รูปแบบในการสร้างฝายต้นน้ำลำธารและการบริหารจัดการชุมชนอย่างมีส่วนร่วม

ระยะเวลาฝึกอบรม 3 วัน
บรรยายทฤษฏี 1 วัน
ศึกษาดูงาน 1 วัน
ภาคปฏิบัติ 1 วัน

[divider style=”solid” top=”5″ bottom=”5″]

หลักสูตรที่ 2
การเพาะเลี้ยงปลานิลในกระชัง

เป็นการเรียนรู้หลักการ เป็นการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงปลานิล หลักการสร้างบ่อปลา การเตรียมบ่อปลา หลักการเลี้ยงปลา โรคปลาและวิธีการรักษา

ระยะเวลาอบรม 1 วัน
บรรยายทฤษฏี 1 วัน

[divider style=”solid” top=”5″ bottom=”5″]

หลักสูตรที่ 3
การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อซีเมนต์กลม

เป็นการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย วิธีการจัดการบ่อเลี้ยง การให้อาหาร การป้องกันการเกิดโรคของปลา และวิธีการรักษา

ระยะเวลาฝึกอบรม 1 วัน
บรรยายทฤษฏี 1/2 วัน
ภาคปฏิบัติ 1/2 วัน

[divider style=”solid” top=”5″ bottom=”5″]

หลักสูตรที่ 4
การเลี้ยงปลากดหลวงในบ่อซีเมนต์กลมระบบน้ำไหลผ่าน

เป็นการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงปลากดหลวง วิธีการจัดการบ่อเลี้ยง การให้อาหาร การป้องกันการเกิดโรคของปลา และวิธีการรักษา

ระยะเวลาฝึกอบรม 1 วัน
บรรยายทฤษฏี 1/2 วัน
ภาคปฏิบัติ 1/2 วัน

[divider style=”solid” top=”5″ bottom=”5″]

หลักสูตรที่ 5
การเลี้ยงกบบูลฟร็อกโดยวิธีเกษตรธรรมชาติ

เป็นการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงกบบูลฟร็อก
การจัดการบ่อเลี้ยงกบ การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ การขยายพันธุ์กบ การอนุบาลลูกอ๊อด การให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้อาหารเสริมจากธรรมชาติ พืชสมุนไพรท้องถิ่น เพื่อลดต้นทุนการเลี้ยงกบ และโรคกบและวิธีการป้องกัน

ระยะเวลาฝึกอบรม 1 วัน
บรรยายทฤษฏี 1/2 วัน
ภาคปฏิบัติ 1/2 วัน

[divider style=”solid” top=”5″ bottom=”5″]

หลักสูตรที่ 6
การเลี้ยงกบนาโดยวิธีเกษตรธรรมชาติ

เป็นการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงกบนา
การจัดการบ่อเลี้ยงกบ การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ การขยายพันธุ์กบ การอนุบาลลูกอ๊อด การให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้อาหารเสริมจากธรรมชาติ พืชสมุนไพรท้องถิ่น เพื่อลดต้นทุนการเลี้ยงกบ และโรคกบและวิธีการป้องกัน

ระยะเวลาฝึกอบรม 1 วัน
บรรยายทฤษฏี 1/2 วัน
ภาคปฏิบัติ 1/2 วัน

[divider style=”solid” top=”5″ bottom=”5″]

หลักสูตรที่ 7
เห็ดเศรษฐกิจ ทำง่าย รายได้ดี

เป็นการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเพาะเห็ด โรคและแมลงศัตรูใน
การเพาะเลี้ยงเห็ด เทคนิคการเพาะเลี้ยงเห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เห็ดหัวลิง
เห็ดหอม เห็ดหลินจือ เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดหูหนู

ระยะเวลาฝึกอบรม 3 วัน
บรรยายทฤษฏี 1 วัน
ภาคปฏิบัติ 2 วัน

[divider style=”solid” top=”5″ bottom=”5″]

หลักสูตรที่ 8
การเลี้ยงไกพื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำ

เป็นการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ หลักการเลี้ยงไก่พื้นเมือง ไก่พันธุ์
การจัดการและทักษะการเลี้ยงไก่ การให้อาหารไก่ โรคและการป้องกัน

ระยะเวลาฝึกอบรม 1 วัน
บรรยายทฤษฏี 1 วัน

[divider style=”solid” top=”5″ bottom=”5″]

หลักสูตรที่ 9
การเลี้ยงสุกรลูกผสม 3 สายพันธุ์

เป็นการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ หลักการเลี้ยงสุกรลูกผสมระหว่างพันธุ์ลาร์จไวท์-แลนเรซ และดูร็อคเจอร์ซี่ การสร้างคอก การผลิตอาหารสุกรแบบเกษตรธรรมชาติ การป้องกันควบคุมโรค การจัดการดูแล

ระยะเวลาฝึกอบรม 1 วัน
บรรยายทฤษฏี 1 วัน

[divider style=”solid” top=”5″ bottom=”5″]

หลักสูตรที่ 10
การเลี้ยงแพะนมซาแนน-แองโกล

เป็นการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงแพะนมพันธุ์ซาแนน-แองโกล การจัดการการเลี้ยง
หลักการผสมพันธุ์ การจัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์การเลี้ยง การจัดการอาหาร
การจัดการด้านสุขภาพ การสร้างโรงเรือน

ระยะเวลาฝึกอบรม 1 วัน
บรรยายทฤษฏี 1/2 วัน
ภาคปฏิบัติ 1/2 วัน

หลักสูตรที่ 11
การปลูกผักปลอดสารพิษ

เป็นการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการปลูกพืชปลอดสารพิษที่ถูกต้อง และ
เหมาะสม การนำพืชสมุนไพรมาใช้ในการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช

ระยะเวลาฝึกอบรม 1 วัน
บรรยายทฤษฏี 1/2 วัน
ภาคปฏิบัติ 1/2 วัน

[divider style=”solid” top=”5″ bottom=”5″]

หลักสูตรที่ 12
การปลูกส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่ และพันธุ์ขาวทองดี

เป็นการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการปลูกส้มโอ และเทคนิคการขยายพันธุ์ส้มโอที่ถูกต้อง

ระยะเวลาฝึกอบรม 1 วัน
บรรยายทฤษฏี 1/2 วัน
ภาคปฏิบัติ 1/2 วัน

[divider style=”solid” top=”5″ bottom=”5″]

หลักสูตรที่ 13
การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

เป็นการให้ความรู้เบื้องต้น เทคนิคเกี่ยวกับวิธีการเพาะเห็ดฟางแบบง่าย ประหยัด ได้ผลที่คุ้มค่า

ระยะเวลาฝึกอบรม 1 วัน
บรรยายทฤษฏี 1/2 วัน
ภาคปฏิบัติ 1/2 วัน

[divider style=”solid” top=”5″ bottom=”5″]

หลักสูตรที่ 14
การฟื้นฟูดินด้วยปุ๋ยหมักใบไม้และน้ำหมักชีวภาพ เพื่อการผลิตพืช

เป็นการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเพิ่มประ สิทธิภาพของดิน
การปรับปรุงบำรุงดินอย่างถูกวิธ ีการผลิตปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ

ระยะเวลาอบรม 1 วัน
บรรยายทฤษฏี 1/2 วัน
ภาคปฏิบัติ 1/2 วัน

[divider style=”solid” top=”5″ bottom=”5″]

หลักสูตรที่ 15
ระบบนิเวศลุ่มน้ำที่ยั่งยืน

เป็นการเรียนรู้ถึงองค์ประกอบ 4 ประการ ในระบบนิเวศลุ่มน้ำ ได้แก่ ทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรชีวภาพ การใช้ประโยชน์ของมนุษย์และคุณภาพชีวิตที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงซึ่งกันและกันอย่างกลมกลืน การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติในลุ่มน้ำเพื่อให้วิถีชีวิตของคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานภาพ และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในระบบนิเวศลุ่มน้ำ

ระยะเวลาฝึกอบรม 2 วัน
บรรยายทฤษฏี 1 วัน
ภาคปฏิบัติ 1 วัน

[divider style=”solid” top=”5″ bottom=”5″]

หลักสูตรที่ 16
การผลิตข้าวคุณภาพดี

เป็นการให้ความรู้และเทคนิคในการผลิตข้าว เพื่อให้ได้คุณภาพดีทั้งข้าวพันธุ์และข้าวบริโภค รวมถึงการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า โดยมีหัวข้อที่อบรมคือ การบริหารจัดการ การปลูกข้าวสำหรับทำพันธุ์ การใช้สารชีวภัณฑ์ทดแทนสารเคมีในนาข้าว การทำข้าวกล้องงอก น้ำข้าวกล้องงอก และเทคนิคการเพิ่มมูลค่าด้วยบรรจุภัณฑ์

ระยะเวลาฝึกอบรม 3 วัน
บรรยายทฤษฏี 1, 1/2 วัน
ภาคปฏิบัติ 1, 1/2 วัน

[divider style=”solid” top=”5″ bottom=”5″]

หลักสูตรที่ 17
การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ลุ่มน้ำ

เป็นหลักสูตร เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกให้ถูกหลัก
วิชาการในการอนุรักษ์ดิน น้ำ ในสภาพพื้นที่ต่างๆ ที่มีเงื่อนไข
แตกต่างกัน เช่น ที่ราบ ที่ดอน ที่สูง และได้ทราบถึงรูปแบบการ
ปลูกหญ้าแฝกแบบต่างๆ ตลอดจนการขยายพันธุ์หญ้าแฝก

ระยะเวลาฝึกอบรม 1 วัน
บรรยายทฤษฏี 1/2 วัน
ภาคปฏิบัติ 1/2 วัน

[divider style=”solid” top=”5″ bottom=”5″]

หลักสูตรที่ 18
เกษตรทฤษฎีใหม่

เป็นการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหลักสำคัญทฤษฎีใหม่ รูปแบบการจัดการพื้นที่ ความเหมาะสมของดินในการทำเกษตร แผนการผลิตที่ดี การทำโครงการให้ประสบผลสำเร็จสู่การปฏิบัติจริง

ระยะเวลาฝึกอบรม 1 วัน
บรรยายทฤษฏี 1/2 วัน
ภาคปฏิบัติ 1/2 วัน

[divider style=”solid” top=”5″ bottom=”5″]

หลักสูตรที่ 19
การผลิตไม้ดอกเป็นการค้า

เป็นการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการปลูกไม้ดอกที่สามารถทำรายได้เสริม เช่น แกลดิโอลัส ปทุมมา และดาวเรือง เป็นต้น ให้ทราบถึงวิธีการเพาะเมล็ด การปฏิบัติดูแล ตลอดจนการผลิตตลอดทั้งปี

ระยะเวลาฝึกอบรม 1 วัน
บรรยายทฤษฏี 1/2 วัน
ภาคปฏิบัติ 1/2 วัน

[divider style=”solid” top=”5″ bottom=”5″]

หลักสูตรที่ 20
การปลูกพืชไร้ดิน (ไฮโดรโปนิกส์)

เป็นการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน เป็นวิธีการปลูกพืชผักปลอดภัยลดการใช้สารเคมีกำจัดโรคและแมลง ซึ่งขายได้ราคาสูงกว่าผักทั่วไป ให้ทราบถึงวิธีการจัดการระบบการเพาะเมล็ด การเตรียมสารละลายปุ๋ย และวางแผนการผลิตตลอดปี

ระยะเวลาฝึกอบรม 1 วัน
บรรยายทฤษฏี 1/2 วัน
ภาคปฏิบัติ 1/2 วัน

โครงการห้วยฮ่องไคร้ วัตถุประสงค์
โครงการห้วยฮ่องไคร้ วัตถุประสงค์
โครงการห้วยฮ่องไคร้ วัตถุประสงค์

เป็นพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ได้ทรงมีพระราชดำริ ให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ ขึ้นบริเวณป่าขุนแม่กวง  อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่  ขอบเขตพื้นที่โครงการประมาณ 8,500 ไร่  โดยมีพระราชประสงค์ที่จะให้เป็นศูนย์กลางในการศึกษา  ทดลอง  วิจัย  เพื่อหารูปแบบการพัฒนาต่าง ๆ ในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำที่เหมาะสมและเผยแพร่ให้ราษฎรนำไปปฎิบัติต่อไป  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำลำธาร  ซึ่งศูนย์ศึกษากาพัฒนาห้วยฮ่องไคร้  อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  จะทำการศึกษาการพัฒนาป่าไม้พื้นที่ต้นน้ำลำธาร  ให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์เป็นหลักต้นทางปลายทางเป็นการศึกษาการประมงตามอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อราษฎรอย่างแท้จริง  ผสมกับการศึกษาด้านการเกษตรกรรม  ด้านปศุสัตว์และโคนมและด้านเกษตรอุตสาหกรรม  เพื่อให้เป็นศูนย์ที่สมบูรณ์แบบ  ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อราษฎรที่จะเข้ามาศึกษากิจกรรมต่างๆ ภายในศูนย์ฯ แล้วนำไปใช้ปฎิบัติอย่างได้ผลต่อไป  ดังมีพระราชดำริว่าให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ  ทำหน้าที่เสมือน พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต หรืออีกนัยหนึ่งเป็น  สรุปผลของการพัฒนา ที่ประชาชนจะเข้าไปเรียนรู้และนำไปปฎิบัติได้

โครงการห้วยฮ่องไคร้ วัตถุประสงค์
โครงการห้วยฮ่องไคร้ วัตถุประสงค์
โครงการห้วยฮ่องไคร้ วัตถุประสงค์

การเดินทางไปห้วยฮ่องไคร้

จากตัวเมืองมุ่งหน้าสู่อำเภอดอยสะเก็ดทางหลวง118 ผ่านตัวเมืองดอยสะเก็ดไปอีก 11 กิโลเมตร ทางเข้าศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริอยู่ด้านขวามือ

ที่ตั้ง 237 หมู่ 4 ตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ 50220
โทรศัพท์ 053-389228 – 9 ต่อ 102 ประชาสัมพันธ์
โทรสาร 053-389228 – 9 ต่อ 101
เปิดทุกวัน จันทร์ – ศุกร์ ปิดทำการวัน เสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

โครงการห้วยฮ่องไคร้ วัตถุประสงค์
 รูปทางเข้าห้วยฮ่องไคร้

ข้อใดคือวัตถุประสงค์ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้

1. การศึกษา และทดสอบระบบการใช้ประโยชน์ที่ดินบนพื้นที่ลาดเท 2. การศึกษาความยากง่าย ในการชะล้างพังทลายของดินชุดนี้ 3. การศึกษาระบบการปลูกพืช เพื่อการอนุรักษ์ในพื้นที่เกษตรน้ำฝน 4. การศึกษาผลกระทบของการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบต่าง ๆ ที่มีต่อสภาพอุทกวิทยาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยฮ่องไคร้

จุดเด่นของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ คือข้อใด

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศึกษาการพัฒนา ป่าไม้ พื้นที่ต้นน้ำลำธาร ให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์ ผสานกับการศึกษาด้านการเกษตรกรรม ด้านปศุสัตว์และโคนมและด้านเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อให้เป็นศูนย์ที่สมบูรณ์แบบ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อราษฎรที่จะเข้ามาศึกษากิจกรรมต่าง ๆ ภายในศูนย์ฯ แล้วสามารถนำไปปฎิบัติต่อ ดังมี ...

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อยู่ที่ใด

ที่ตั้งแผนที่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ ตั้งอยู่ ณ ตำบลป่าเมี่ยง และตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ บนถนนหลวงเส้นทางที่ 118 สายเชียงใหม่ - เชียงราย ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร โดยอยู่ทางขวามือห่างจากถนนประมาณ 2 กิโลเมตร

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริในปัจจุบันมีทั้งสิ้นกี่แห่ง

ฐานข้อมูลศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ 111 ศูนย์