การย่อความจากบทร้อยกรองมีวิธีการอย่างไร

Show

สายย่อต้องอ่าน

หลักการย่อความและสรุปความ

10 มิถุนายน 2559

หลักการย่อความและสรุปความ
บทความนี้สายย่อต้องอ่านนะแก การย่อความและการสรุปความก็ต้องมีหลักในการเขียนนะ ไม่ใช่เขียนย่อๆ มาอย่างเดียว เดี๋ยวจะกลายเป็นไม่รู้เรื่องกัน มีขั้นตอนสำคัญๆ ดังนี้นะ หยิบปากกาขึ้นมาจดกันนาจาๆ

1. พิจารณาเรื่องที่จะย่อและเรื่องที่จะสรุปความ ว่าเป็นงานเขียนประเภทใด เช่น บทความ ความเรียง และเรื่องเล่า ฯลฯ ถ้าเรื่องที่จะย่อหรือสรุปความไม่มีชื่อเรื่อง ต้องตั้งชื่อเรื่องขึ้นเองใหม่ ถ้าเรื่องที่จะย่อหรือสรุปความเป็นบทร้อยกรองต้องเปลี่ยนเป็นบทร้อยแก้ว

2. อ่านวนไปค่ะ อ่านเรื่องที่จะย่อหรือสรุปให้ละเอียด 2 รอบ เพื่อพิจารณาใจความแต่ละตอน แล้วจับใจความรวมของเรื่องนั้นให้ได้ว่าเรื่องนั้นเน้นความคิดสำคัญ คือ ประเด็นหลักของเรื่อง บันทึกไว้

3. ทบทวนทุกสิ่ง ทบทวนทุกอย่าง ปาล์มมี่ก็มา อ่านทบทวนอีกครั้ง อ่านแล้วตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบให้ได้ว่า เรื่องอะไร ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร และอย่างไร บันทึกไว้ สำหรับการสรุปความนั้น จะนำคำตอบจากคำถามมาเรียบเรียงใหม่ให้สละสลวย กะทัดรัด ชัดเจน ได้ใจความสำคัญครบถ้วน

4. แยกข้อความออกเป็นเรื่องย่อยๆ พยายามทำความเข้าใจใหม่ เมื่ออ่านจนเข้าใจดีแล้ว จึงจับใจความของเรื่องย่อยๆ ให้ได้ว่า เรื่องแต่ละตอนเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร และมีความสัมพันธ์กับประเด็นหลักของเรื่องอย่างไร การอ่านอย่างละเอียดเช่นนี้ จะช่วยให้จับใจความของเรื่องแต่ละเรื่องได้ถูกต้องชัดเจน

5. นำใจความจากประเด็นหลักข้อ 2 และใจความคำตอบข้อ 3 – 4 มาเรียบเรียงใหม่ เพื่อการย่อความ โดยยึดหลักดังนี้

5.1 ลำดับเรื่อง อาจสับเปลี่ยนการวางหัวข้อสำคัญในขั้นตอนการลำดับเรื่องก็ได้ ไม่จำเป็นต้องตรงตามแบบเดิมเสมอไป การลำดับเรื่องใหม่นั้นย่อมแล้วแต่ผู้ย่อจะเห็นเหมาะสมว่า การลำดับเรื่องใดก่อนหลัง สำคัญหรือไม่สำคัญ ควรจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น แต่ก็ยังคงต้องถูกต้องตรงความหมายเดิมทุกประการ

5.2 ใช้สำนวนการเขียนของผู้ย่อเอง คือ นำใจความสำคัญที่ได้มาเรียบเรียงใหม่ด้วยสำนวนของผู้ย่อ ไม่ควรดึงข้อความแต่ละประเด็นมาเรียงติดต่อกัน แต่ควรจะเขียนใหม่ให้มีการลำดับความและเชื่อมความอย่างสละสลวย

5.3 ข้อความที่ได้จากการย่อ จะเป็นข้อความที่เขียนอธิบาย หรือเรื่องเล่า ห้ามมีข้อความอยู่ในเครื่องหมายอัญประกาศ ไม่ใช้สรรพบุรุษที่ ๑ และที่ ๒ ปะปนอยู่ในข้อความที่ย่อแล้ว ให้ใช้ได้เฉพาะสรรพนามบุรุษที่ ๓ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเอ่ยถึงตัวผู้เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นให้ใช้ชื่อโดยตรง

5.4 การใช้ราชาศัพท์ ถ้าข้อความเดิมใช้ราชาศัพท์ เมื่อย่อแล้วยังคงต้องใช้ราชาศัพท์นั้นไว้ดังเดิม จะเปลี่ยนเป็นภาษาร้อยแก้วธรรมดาไม่ได้

5.5 การใช้อักษรย่อ ไม่ควรใช้พร่ำเพรื่อนะแก ยกเว้นอักษรย่อที่คนทั่วไปรู้จักกันดี เช่น พ.ศ. ค.ศ. กทม. ส.ค.ส. เป็นต้น ในกรณีที่ชื่อเต็มยาวมาก ก็ให้ช้ำเต็มไว้ในการเขียนครั้งแรก พร้อมระบุตัวอักษรย่อไว้ด้วย เมื่อใช้ครั้งต่อไปก็ใช้เพียงอักษรย่อเท่านั้น เช่น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)

5.6 ข้อความที่เป็นพลความ รายละเอียดต่างๆ ตัวอย่างที่อ้างอิงถ้อยคำที่ฟุ่มเฟือย เยิ่นเย้อ ให้ตัดทิ้งไป ไปซะไปให้ไกลๆ

5.7 การใช้ประโยคและคำเชื่อม การใช้ประโยคที่ดี ควรใช้ประโยคสั้น ความหมายตรง เต็มความ ชัดเจน กะทัดรัด ใจความเด่นชัด ส่วนคำเชื่อมควรใช้บุพบท หรือสันธาน เพื่อให้ความชัดเจน สละสลวย ตรงตามจุดมุ่งหมายของเรื่องที่ต้องการย่อ

5.8 ใจความที่ย่อแล้วควรเขียนติดต่อเป็นย่อหน้าเดียวกัน ไม่ต้องย่อหน้าตามข้อความเดิม นอกจากความเดิมที่จะย่อเป็นเรื่องต่างๆ กันไป ไม่เกี่ยวข้องกัน และแยกจากกันเป็นตอนๆ ไว้แล้ว

6. ความยาวของเรื่องที่ย่อนั้น ไม่จำกัดความยาวหรือขนาด เพื่อดูว่าเรื่องที่ย่อมีเนื้อหาสาระของเรื่องที่จะนำมาย่อ

7. เมื่อเรียบเรียงเรื่องย่อเสร็จแล้ว โปรดทบทวนอีกครั้ง เพื่อดูว่าเรื่องที่ย่อมีเนื้อความต่อเนื่องกันดีหรือไม่ มีข้อความสำคัญตอนใดที่ตกหล่น หรือมีข้อความตอนใดที่ผิดเพี้ยนไปจากเรื่องเดิม จะได้แก้ไขให้ถูกต้อง

อ้างอิงจาก : https://www.gotoknow.org

การเขียนย่อความ เป็นการเก็บความเรื่องหรือข้อความที่นักเรียนได้อ่านหรือได้ฟังจากสื่อต่าง ๆ มาเขียน โดยยังคงเนื้อความที่สำคัญและจำเป็นสำหรับเรื่องราวนั้น รวมทั้งเกี่ยวข้องกับจุดมุ่งหมายของผู้เขียน การย่อความนั้นจะต้องเรียบเรียงด้วยภาษาที่กระชับชัดเจน มีเนื้อหาถูกต้องตามต้นเรื่องเดิม
ข้อความเรื่องหนึ่ง ๆ ที่ได้อ่านหรือฟังนั้น ประกอบด้วยใจความและพลความ ใจความหมายถึง เนื้อความสำคัญที่จะขาดไปมิได้ ส่วนพลความ หมายถึง ความปลีกย่อยที่สามารถตัดออกได้ เช่น การยกตัวอย่าง การเปรียบเทียบ การขยายความด้วยวงเล็บ
การย่อความเป็นทักษะทางภาษาที่ฝึกให้นักเรียนรู้จักการอ่านหนังสือ ให้รู้ว่า ตอนใดสำคัญ ตอนใดไม่สำคัญ ให้รู้จักจับจุดมุ่งหมายของผู้เขียน รู้ว่าหัวใจของเรื่องอยู่ส่วนใด การย่อความยังมีประโยชน์ทำให้เราสามารถพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง สามารถแยกแยะได้ว่า เนื้อความส่วนใดสำคัญหลักหรือรองลงไป และเนื้อความส่วนใดไม่สำคัญ หรือไม่มีประดยชน์ตัดออกไปก็ไม่เสียความ

๑.อ่านต้นเรื่องอย่างละเอียดตลอดเรื่อง ถ้ามีประโยคหรือข้อความใดที่สงสัย ก็ต้องอ่านทบทวนและตีความให้แตก อย่าปล่อยให้เนื้อความตอนใดผ่านไปโดยที่ยังเข้าใจไม่ชัดเจน
๒.เมื่ออ่านจนจบเรื่องจนจำได้และเข้าใจเรื่องราวทั้งหมดเป็นอย่างดี ให้เขียนบันทึกลำดับเรื่องที่ย่อ โดยไม่อ่านต้นฉบับเดิมเลย และใช้สำนวนของผู้ย่อความเอง
๓.นำเรื่องที่บันทึกไว้มาเรียบเรียงให้ต่อเนื่องกัน และทบทวนดูว่า ยังมีความตอนใดที่ยังตกหล่นอยู่อีกหรือไม่ ถ้ามีให้เพื่มเติมจนใจความครบถ้วน
๔. ตรวจทานแก้ไขเนื้อความให้ต่อเนื่องกันด้วยภาษาที่กระชับรัดกุม
๕.การย่อความนั้นอาจย่อ ๓ ใน ๔ หรือ ๑ ใน ๓ ของต้นเรื่องเดิม แล้วแต่ความต้องการ การย่อความที่ดีนั้นจะต้องมีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับจุดมุ่งหมายของผู้เขียนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง อีกทั้งยังต้องเรียบเรียงด้วยภาษาที่กระชับ ไม่มีข้อความที่เป็นการยกตัวอย่างการเปรียบเทียบ การใส่วงเล็บ หรือข้อความในเครื่องหมายคำพูด

ส่วนประกอบของย่อความ
ย่อความประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๒ ส่วน ได้แก่ ส่วนนำ และส่วนใจความสำคัญของเรื่อง
-ส่วนนำเป็นแบบขึ้นต้นย่อความเพื่อบอกที่มาของเรื่องให้ผู้อ่านทราบ
-ส่วนเนื้อเรื่อง เป็นส่วนเนื้อหาที่เรียบเรียงแล้ว มีย่อหน้าเดียว
      ความสำคัญของการย่อความ
                    ย่อความมีความจำเป็นในชีวิตประจำวันเพราะจะทำให้การเจรจา การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล  ทั้งด้านกิจธุระ  การศึกษาเล่าเรียน  คำให้การ การเขียนบันทึก การประชุม รายงาน  ประกาศ  แจ้งความ   จดหมาย  เรียงความ  เช่น ย่อบันทึกการประชุมทำให้ผู้อื่นได้ทราบสาระสำคัญในการประชุมครั้งนั้น ๆ ใช้เตือนความจำ เช่น จดย่อคำอธิบายของครู จดย่อความรู้จากการฟังและการอ่าน ทำให้ไม่ต้องอ่านทวนซ้ำทั้งเล่ม ใช้ตอบข้อสอบแบบอัตนัย ใช้เล่าเรื่องย่อให้ผู้อื่นฟังเป็นต้น  สรุปอย่างสั้น ๆ ได้ว่า “สะดวกต่อการบันทึก จดจำ และนำไปใช้”

ย่อ นิทานคำกลอน เรื่อง พระอภัยมณี ของ สุนทรภู่ ตอน พระอภัยมณีหนีผีเสื้อสมุทร จากหนังสือเรื่องพระอภัยมณี หน้า ๑๔๕- ๑๖๐ ความว่า 

พระอภัยมณีอยู่กับผีเสื้อสมุทรจนมีลูกอยู่ด้วยกัน คือสินสมุทร.....................................

การย่อความจากบทร้อยกรองมีวิธีการอย่างไร

๒.งานเขียนประเภทร้อยแก้ว เช่น นิทาน ตำนาน บทความ สารคดี ต้องบอก ประเภทของความเรียงร้อยแก้ว ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ชื่อหนังสือ หน้าใด

แบบฟอร์ม

                ย่อ.....(ประเภทของความเรียงร้อยแก้ว).......เรื่อง......( ชื่อเรื่อง).......ของ.......(ชื่อผู้แต่ง)..... จาก.......(ชื่อหนังสือ)........หน้า.......(เลขหน้า)........ความว่า 

............... (ใจความ)........................................................................................................................................

............................................................................................................................................

ตัวอย่าง

                ย่อ บทความ เรื่อง กรุงเทพฯ เมืองสีเขียว ปลอดขยะ ของ สุนิรินธน์ จิระตรัยภพ จากเนชั่น สุดสัปดาห์  ปีที่  ๑๗ ฉบับที่ ๘๕๙ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ หน้า ๑๕ ความว่า                กรุงเทพเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย และเป็นเมืองที่ติดอันดับน่าท่องเที่ยว....................

การย่อความจากบทร้อยกรองมีวิธีการอย่างไร

๓.งานเขียนประเภท ประกาศ แถลงการณ์ กำหนดการณ์ ระเบียบคำสั่ง ให้บอกชื่อประเภท ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง วัน เดือน ปี 

แบบฟอร์ม

                ย่อ.....(ประเภทของงานเขียน).......เรื่อง......( ชื่อเรื่อง)..............ของ.......(ชื่อผู้แต่ง)........ วัน เดือนปี ............. ความว่า                

............... (ใจความ)....................................................................................................................

...........................................................................................................

ตัวอย่าง

                ย่อ กำหนดการ เรื่อง พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ของ สำนักพระราชวัง (วัน เดือน ปี)ระหว่างวัน  ที่ ๑๔-๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ความว่า

                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินีเสด็จพระราชดำเนินยังพิธีเพื่อ..............

การย่อความจากบทร้อยกรองมีวิธีการอย่างไร

๔.งานเขียนประเภท พระราชดำรัส พระบรมราโชวาท โอวาท ปาฐกถา สุนทรพจน์ คำปราศัย ให้ระบุว่าพระราชดำรัส พระบรมราโชวาท โอวาท ฯลฯ เป็นของใคร แสดงแก่ใคร ชื่อเรื่อง โอกาส สถานที่ วัน เดือน ปี

แบบฟอร์ม

                ย่อ.....(ประเภทของงานเขียน)....... ของ.......(ชื่อผู้แต่ง)........ พระราชทานแก่.................เรื่อง......( ชื่อเรื่อง)..............ในโอกาส..............ณ..............เมื่อวันที่............. ความว่า       

...............(ใจความ)............................................................................................................

.............................................................................

ตัวอย่าง

                ย่อ พระราโชวาท ของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาส พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๙  ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตองครักษ์ จังหวัดนครนายก เมื่อ วันจันทร์  ที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๔๙ ความว่า                ขอให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาพึงตระหนักไว้ว่าทุกท่านเป็นผู้ซึ่ง..............

การย่อความจากบทร้อยกรองมีวิธีการอย่างไร

๕.งานเขียนประเภทจดหมาย ให้ระบุว่าเป็นจดหมายของใคร ถึงใคร ชื่อเรื่อง วัน เดือน ปี

แบบฟอร์ม

                ย่อจดหมายของ.....(ผู้เขียน).......ถึง......( ผู้รับ)............เรื่อง.......(ชื่อเรื่อง)........ วัน เดือนปี ............. ความว่า                

...............(ใจความ)...................................................................................................................

......................................................................................................

ตัวอย่าง

                ย่อจดหมายของ นายแพทย์ประเวศ วะสี ถึง บรรณาธิการหนังสือพิมพ์มติชน เรื่อง การดำรงชีวิตตามแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ความว่า                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระอัฉริยภาพและทรงห่วงใยผสกนิกร..............

การย่อความจากบทร้อยกรองมีวิธีการอย่างไร

๖.หนังสือราชการ ให้ระบุว่า เป็นหนังสือราชการของใคร ถึงใคร ชื่อเรื่อง เลขที่หนังสือ วัน เดือน ปี

แบบฟอร์ม

                ย่อหนังสือราชการของ.........(ผู้เขียน).......ถึง......( ผู้รับ)............เรื่อง.......(ชื่อเรื่อง)........เลขที่......(เลขที่หนังสือ)...... วัน เดือนปี ............. ความว่า             

..............(ใจความ).................................................................................................................

...........................................................................

ตัวอย่าง

                ย่อหนังสือราชการของ กระทรวงศึกษาธิการ ถึง มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง ขอเชิญสัมมนาเรื่อง “แนวโน้มการพัฒนามหาวิทยาลัยในอีก ๒๐ ปีข้างหน้า” เลขที่ ศธ ๒๕๕๑/๒๓๔ ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ความว่า                จากการพัฒนาทางด้านการศึกษาเพื่อก้าวเข้าสู่ความเป็นสากล..............

การย่อความจากบทร้อยกรองมีวิธีการอย่างไร

เทคนิคในการสังเกต

เนื้อหาของบทความไม่ว่าจะเป็นในบทพูดหรือบทเขียน แบ่งออกเป็น ๓ ลักษณะ  ดังนี้ 

๑.     ข้อเท็จจริง คือ เรื่องราวหรือเหตุการณ์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทำอะไร  ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร มีสภาพ มีลักษณะ มีขนาด มีปริมาณ ที่สามารถพิสูจน์ได้ เช่น   “นายวิโรจน์  ประพฤติดี สอบได้ที่ ๑”

๒.    ข้อคิดเห็น  คือ ข้อความแสดงความเชื่อ หรือแสดงแนวคิด หรือแสดงความรู้สึกที่ผู้กล่าวมีต่อบุคคลใด หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  ไม่อาจพิสูจน์ได้ เพราะเป็นเรื่องของความรู้สึกนึกคิดของผู้พูดหรือผู้เขียน เช่น “นายวิโรจน์  ประพฤติดี คงขยันเรียน”

๓.     ข้อความแสดงอารมณ์ความรู้สึก เป็นข้อความที่ทำให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านรู้ได้ว่าผู้ส่งสารมีอารมณ์หรือความรู้สึกอย่างไร เช่น เศร้าโศก เหงา ดีใจ ฯลฯ เช่น “ผมสะท้อนใจทุกครั้งที่เอาผลการเรียนไปให้คุณแม่ ผมไม่เคยทำตามที่ท่านหวังได้เลยสักครั้ง”

ประเภทของการย่อความ

การย่อความอาจแบ่งได้ ๒ แบบ ดังนี้ 

๑.      แบ่งตามรูปแบบของบทความที่นำมาย่อ  ได้ ๒ ประเภท คือ

๑.๑    การย่อบทความที่เป็นร้อยแก้ว

๑.๒   การย่อบทความที่เป็นร้อยกรอง

๒.    แบ่งตามลักษณะของเนื้อเรื่องที่ย่อแล้ว  ได้ ๒ ประเภท คือ

๒.๑    การย่อความอย่างธรรมดา คือ การย่อที่นำเอาเฉพาะเนื้อหาที่สำคัญหรือที่เรียกว่าใจความและพลความที่สำคัญ ที่เด่นในแต่ละย่อหน้ามาเรียบเรียงด้วยถ้อยคำสำนวนของผู้ย่อเอง

                                    ประโยชน์ของการย่อความแบบธรรมดา คือ

๑.      การเก็บข้อมูลเพื่อเขียนเรียงความและเขียนรายงานวิชาการ

๒.    การบันทึกทางวิชาการ เพื่อทบทวนความคิด ความจำในการเตรียมสอบ

๒.๒   การย่อความอย่างสั้นที่สุด หรือที่เรียกว่า การสรุปความ คือ การย่ออย่างสั้นที่สุดจะกล่าวเฉพาะความคิดที่สำคัญที่สุด โดยไม่ต้องนำพลความที่สำคัญมาประกอบ แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่ด้วยถ้อยคำสำนวนของผู้ย่อเอง ผู้ย่อต้องตีความหรือจับความคิดของผู้เขียนให้ได้ว่าต้องการเสนอเรื่องใดเป็นสำคัญ

                                    ประโยชน์ของการสรุปความ คือ

๑.      เมื่อต้องการกล่าวเฉพาะประเด็นความคิดที่สำคัญที่สุด        

๒.    เป็นประโยชน์ในการสรุปเรียงความ และการตอบข้อสอบที่ต้องการให้ตอบสั้น ๆ

หลักการเขียนย่อความ

๑.อ่านเรื่องที่ต้องการย่อความให้ละเอียด สรุปให้ได้ว่าเรื่องอะไร ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร  อย่างไร บังเกิดผลเช่นไร

๒.แยกข้อความที่อ่านให้ได้ในแต่ละย่อหน้าว่า ข้อความใดเป็นใจความสำคัญ ข้อความใดเป็นพลความ จากนั้นจดบันทึก

๓.นำใจความทั้งหมดที่จับได้มาเรียบเรียงใหม่โดยใช้ภาษาของตนเอง และต้องมีคำเชื่อมเพื่อให้เนื้อความสัมพันธ์กันโดยต้องตัดข้อความที่ซ้ำซ้อนกันออก แต่ข้อความที่ไม่สัมพันธ์กันให้ย่อหน้าเป็นตอน ๆ 

๔.ความสั้นยาวของการย่อความไม่สามารถกำหนดเป็นอัตราส่วนได้ ขึ้นอยู่กับ จุดประสงค์ของการย่อและลักษณะของเรื่องที่ย่อ ลักษณะของเรื่องก็คือเรื่องใดที่มีใจความ ประกอบมากถ้าเราเก็บเฉพาะใจความสำคัญก็ย่อได้สั้น ถ้าเก็บใจความประกอบที่จำเป็นด้วย อัตราส่วนความยาวจะเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงไม่มีเกณฑ์กำหนดเรื่องอัตราส่วนของย่อความ

๕.คำที่ยากและยาวให้เปลี่ยนใช้คำธรรมดาที่เข้าใจง่าย สั้น กระทัดรัด ได้ใจความ ไม่เยิ่นเย้อ เลือกใช้คำได้ความหมายครอบคลุม เช่น เมื่อกล่าวถึงหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ควรใช้คำว่า “สื่อสารมวลชน” หรือเมื่อกล่าวถึงสมุด ดินสอ ปากกา ยางลบ ไม้บรรทัด ควรใช้คำว่า “เครื่องเขียน” แทน เป็นต้น

๖.หากความเดิมใช้ราชาศัพท์ เมื่อนักเรียนย่อความต้องยังคงใช้คำราชาศัพท์ด้วย

๗.ไม่ย่อคำ หรือใช้อักษรย่อ เว้นแต่อักษรย่อ หรือคำย่อนั้นเป็นที่เข้าใจและยอมรับใช้กันทั่วไปแล้ว เช่น พ.ศ. , ร.ร., ฯลฯและไม่ใช้เครื่องหมายอัญประกาศ(เครื่องหมายคำพูด)และเครื่องหมานนขลิขิต(วงเล็บ)

๘.ให้เปลี่ยนสรรพนามบุรุษที่ ๑ และ ๒ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓ โดยอาจเอ่ยชื่อแทน  สรรพนามบุรุษที่ ๓ เพราะผู้ย่อทำหน้าที่เล่าต่อ และเครื่องหมายใด ๆ ที่มีอยู่ในข้อความเดิม จะไม่ใช้ในย่อความ เช่น มาลีพูดว่า “พ่อมาแล้ว” เปลี่ยนเป็นเธอพูดว่าพ่อมาแล้ว คือให้ย่อรวมกันไป ไม่แยกกล่าวหรือขึ้นบรรทัดใหม่

๙.ถ้าเป็นบทสนทนาต้องเปลี่ยนเป็นแบบเรื่องเล่า 

๑๐.ถ้าเป็นร้อยกรองต้องเปลี่ยนเป็นภาษาธรรมดา ใช้ถ้อยคำภาษาง่าย ๆ ได้ใจความชัดเจน เช่น อันมวลบุปผามาลีอยู่ในไพรสณฑ์ เปลี่ยนเป็นดอกไม้อยู่ในป่า

๑๑.ย่อจดหมายต้องใช้ข้อความบอกเล่า โดยใช้สรรพนามบุรุษที่ ๓ ทั้งหมด 

๑๒.เนื้อความที่ย่อแล้วไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับของเรื่องเดิม แต่ให้คำนึงถึงการที่จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายที่สุด และได้ใจความดีที่สุด          

๑๓.อ่านทบทวนเพื่อแก้ไขให้สมบรูณ์ถูกต้อง

การย่อความจากบทร้อยกรองมีวิธีการอย่างไร

ตัวอย่างย่อความ

เรื่องพ่อค้า ๒ คน

           พ่อค้าคนหนึ่ง มีความจำเป็นต้องเดินทางไปค้าขายยังแดนไกล  เขามีความเป็นห่วงในทรัพย์สินและบ้านเรือนของเขาเป็นอันมาก แต่ก็จำเป็นที่จะต้องไป  เขามีเพื่อนบ้านเรือนเคียงอยู่คนหนึ่งซึ่งได้คบกันมาเป็นเวลานาน  เพราะมีฐานะเป็นพ่อค้าเช่นเดียวกันกับเขาในครั้งนี้เนื่องจากเขาจะเดินทางเป็นเวลานานมาก  จึงคิดว่าควรจะฝากของมีค่าของเขาไว้เสียกับเพื่อนบ้านเพื่อจะได้เป็นที่ปลอดภัยจากการถูกขโมย  คิดดังนั้นแล้วเขาก็นำเงินแท่งหนักถึงหนึ่งร้อยกิโลกรัม  บรรจุใส่ถุงผ้าอย่างดีนำไปฝากเพื่อนบ้านตามที่คิดไว้  แล้วก็ออกเดินทางไปค้าขายตามความตั้งใจเดิม

          หลังจากวันเดินทางหนึ่งเดือนพอดี  พ่อค้าผู้นั้นก็ได้กลับมาถึงบ้านเดิม  เขารีบตรงไปหาเพื่อนบ้าน และออกปากขอเงินแท่งที่เขาได้ฝากไว้  เพื่อนบ้านเขาร้องว่า   “เงินทองเพื่อนนะหรือ ?  อนิจจา.... เราเสียใจจริงๆ  ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรกันดี  หนูมันกินเสียจนหมดแล้วซี  เราดุด่าว่าคนของเรามากมาย  เพราะไม่ค่อยระวังรักษาทรัพย์สินที่เพื่อนนำมาฝากไว้  แต่ก็นั่นแหละอะไรจะเกิดขึ้นกับใครก็ได้ทุกเวลาไม่ใช่หรือ? ”  พ่อค้าผู้นั้นแม้จะรู้สึกประหลาดใจเต็มทีแต่ก็ทำเป็นซื่อ  เชื่อถือในเรื่องโกหกที่เขารับฟังจากเพื่อนบ้าน  แต่ในใจของเขานั้นครุ่นคิดหาอุบายที่จะนำเงินแท่งทั้งหมดของเขาคืนมาให้ได้

            หลายวันต่อมาพ่อค้าผู้นั้นบังเอิญได้พบกับบุตรชายอายุประมาณ  ๑๐ ขวบ  ของเพื่อนบ้านซึ่งโกงเงินของเขาไป  จึงได้พาตัวเด็กไปซ่อนไว้ที่บ้านของเขาเองโดยไม่มีใครรู้เห็น  แล้วตัวเขาเองก็ออกไปเชิญเพื่อนบ้านคนนั้นให้ไปรับประทานอาหารเย็นร่วมกับเขา  แต่ชายพ่อค้าพ่อของเด็กรีบบอกว่า  “ขอโทษด้วยเถิด ขอให้ฉันได้ขอโทษในการที่ต้องปฏิเสธความใจดีของเพื่อนในครั้งนี้สักครั้งเถิด”  ชายเพื่อนบ้านกล่าวด้วยน้ำตานองหน้า  ส่วนพ่อค้าแกล้งทำหน้าฉงนอย่างไม่เข้าใจ  ชายเพื่อนบ้านจึงเล่าให้ฟังต่อไปว่า  “ฉันเห็นจะหมดความสุขไปชั่วชีวิตนี้เสียแล้ว  ฉันมีลูกเพียงคนเดียวเท่านั้นเอง  ฉันรักเขายิ่งกว่าตัวฉันเองเสียอีก  แต่ว่าโธ่เอ๋ย! อนิจจา... ฉันคงไม่เห็นหน้าเขาอีกแล้ว  เขาหายไปไม่รู้ว่าใครมาลักพาเขาไปเสียแล้ว”  กล่าวจบเพื่อนบ้านของพ่อค้าก็ปล่อยโฮออกมาอีกโดยไม่ละอายเลยแม้สักนิด  เมื่อเห็นดังนั้นพ่อค้าจึงเอ่ยขึ้นว่า 

            “ก็เรื่องนี่แหละที่เราชวนเพื่อนมากินอาหารเย็นด้วยกัน  เพื่อจะได้ปรึกษากันว่าจะทำอย่างไรดี  เพราะเมื่อวานนี้ตอนตะวันตกดิน  เราได้เห็นนกเค้าแมวตัวหนึ่งถาลงมาโฉบเอาลูกชายของท่านบินหายไปในอากาศ  เราช่วยเขาไว้ไม่ทัน  เพราะมันมืดมองไม่เห็นถนัดว่า  นกตัวนั้นมันพาลูกชายของเพื่อนบินไปทางไหน ? ”

              ชายผู้เป็นพ่อของเด็กที่หายไปพูดขึ้นว่า “เพื่อนจะให้เราเชื่อได้อย่างไรกัน?  นกเค้าแมวตัวเล็กนิดเดียวเท่านั้นเองจะสามารถโฉบเอาลูกของเราซึ่งมีน้ำหนักมากมายอย่างนั้นไปในอากาศได้อย่างไรกัน?  เพื่อนเอาเรื่องอะไรมาเล่าให้เราฟังกันนี่? ความจริงแล้วลูกเราน่าจะเป็นฝ่ายที่จับนกเค้าแมวตัวนั้นมาขังไว้มากกว่า  ที่จะถูกมันโฉบแล้วพาหายไปในอากาศอย่างที่เพื่อนบอกให้ฟัง”  ชายพ่อค้าตอบว่า  “อันนี้เราก็ไม่รู้จะบอกเพื่อนอย่างไรดี  แต่มันก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ  เพราะเราก็ได้เห็นมากับตาของเราเอง  แต่ก็รู้สึกว่าไม่น่าสงสัยอะไรเพราะมันน่าจะเป็นไปได้ที่นกเค้าแมวตัวเล็กๆ โฉบเอาลูกของเพื่อนไปได้  เพราะหนูตัวเล็กๆ ก็ยังสามารถกินเงินแท่งซึ่งมีน้ำหนักตั้งร้อยกิโลไปได้อย่างสบายๆ นี่นา”  พ่อของเด็กเริ่มเข้าใจว่าเรื่องราวเป็นอย่างไร  จึงได้รีบวิ่งกลับไปที่บ้านนำเอาเงินแท่งทั้งหมดมาคืนให้พ่อค้าไป  แล้วเขาก็รับตัวลูกชายคืนไป

                                “นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า  อุบายของเราอาจทำลายตัวเราเองได้เช่นเดียวกัน”

                                      (คัดจากนิทานอีสป  รวบรวมโดย วิณณา หน้า ๗๖ – ๘๐)

การย่อความจากบทร้อยกรองมีวิธีการอย่างไร

เมื่ออ่านแล้วอาจพิจารณาได้ดังนี้

                ย่อหน้าที่ ๑ 

ประโยคใจความสำคัญ       -พ่อค้าคนหนึ่งต้องเดินทางไปค้าขายแดนไกล  เขาจึงเอาเงินแท่งหนักหนึ่งร้อย กิโลกรัมไปฝากเพื่อน

ประโยคพลความที่เด่น      -เพื่อนอยู่บ้านใกล้กัน  สนิทสนมกันมานาน

                ย่อหน้าที่ ๒

ประโยคใจความสำคัญ         -๑ หนึ่งเดือนต่อมาเขากลับบ้านและไปทวงเงินแท่งคืน เพื่อนไม่มีจะคืน  

                              -๒ พ่อค้าทำเป็นเชื่อคำพูด  และคิดอุบายในใจ              

ประโยคพลความที่เด่น          -๑ เพื่อนบอกว่าหนูกัดกินเงินหมดแล้ว สุดวิสัยที่จะช่วยได้

                                -๒ พ่อค้าคิดอุบายที่จะเอาเงินคืนมา

                ย่อหน้าที่ ๓

ประโยคใจความสำคัญ       -๑ หลายวันต่อมาพ่อค้าจับลูกเพื่อนไปขังไว้               

                                -๒ พ่อค้าไปเชิญเพื่อนมารับประทานอาหารด้วยกัน

                                -๓ เพื่อนปฏิเสธ

                                 -๔ พ่อค้าบอกว่าเห็นนกเค้าแมวคาบลูกชายเพื่อนไป

ประโยคพลความที่เด่น        -๑ พ่อค้าพบลูกเพื่อนโดยบังเอิญจึงจับไปขังไว้       

                                 -๒ เพื่อนกำลังเศร้าโศกที่ลูกหายไป

                ย่อหน้าที่ ๔

ประโยคใจความสำคัญ       -๑ เพื่อนไม่เชื่อพ่อค้า                              

                                 -๒ พ่อค้าบอกว่าเห็นมากับตา               

ประโยคพลความที่เด่น        -๑ เพื่อนไม่เชื่อว่านกเค้าแมวจะคาบลูกชายได้    

                                 -๒ พ่อค้าเปรียบเทียบว่าหนูตัวเล็กๆ ยังกินเงินแท่งได้

ย่อความได้ ดังนี้

             ย่อนิทาน เรื่องพ่อค้าสองคน  ของอีสป จากหนังสือนิทานอีสป  รวบรวมโดยวิณณา หน้า ๗๖- ๘๐  ความว่า

                พ่อค้าคนหนึ่งต้องเดินทางไปค้าขายยังแดนไกล  เขาจึงเอาเงินแท่งหนักหนึ่งร้อยกิโลกรัมไปฝากไว้กับเพื่อนพ่อค้าซึ่งอยู่บ้านใกล้กันและสนิทสนมกันมานาน  หลังจากนั้นหนึ่งเดือนเขากลับมาแล้วรีบไปหาเพื่อนเพื่อรับเงินแท่งที่ฝากไว้คืน  เพื่อนบ้านบอกว่าหนูกัดกินเงินของเขาหมดแล้ว  สุดวิสัยที่จะช่วยได้ พ่อค้าทราบว่าเพื่อนของเขาพูดเท็จจึงคิดอุบายที่จะเอาเงินคืนมา  หลายวันต่อมาเขาได้พาบุตรชายของเพื่อนไปซ่อนไว้ที่บ้านของเขา  แล้วไปเชิญเพื่อนบ้านให้มารับประทานอาหารกับเขา  เพื่อนบ้านปฏิเสธเพราะกำลังมีความทุกข์ที่ลูกชายหายไป  พ่อค้าจึงบอกว่าเขาเห็นนกเค้าแมวคาบลูกชายของเพื่อนไป แต่เขาช่วยไว้ไม่ทัน  เพื่อนของเขาไม่เชื่อว่านกเค้าแมวคาบลูกชายเขาได้  พ่อค้าบอกว่าไม่น่าแปลกใจเลยเพราะหนูตัวเล็กยังกัดกินเงินแท่งได้  เพื่อนเขาจึงเข้าใจและรีบวิ่งกลับไปบ้านนำเงินแท่งทั้งหมดมาคืน  และรับตัวลูกชายของตนกลับไป

ตัวอย่างย่อความ(ร้อยแก้ว)

บทความเรื่อง  เปรียบเทียบนามสกุลกับชื่อแซ่ 

     คนเรายังมีอยู่เป็นอันมาก ซึ่งยังมิได้สังเกตว่านามสกุลกับชื่อแซ่ของจีนนั้น ผิดกันอย่างไร ผู้ที่แลดูแต่เผิน ๆ หรือซึ่งมิได้เอาใจใส่สอบสวนในข้อนี้ มักจะสำคัญว่า เหมือนกันและมีพวกจีน พวกนิยมจีนพอใจจะกล่าวว่า การที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชปรารภออกพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้นนั้น โดยทรง พระราชนิยมตามประเพณี ชื่อแซ่ของจีน ซึ่งถ้าจะตรองดูก็จะเห็นว่าคงจะไม่เป็น เช่นนั้นโดยเหตุที่จะได้อธิบายต่อไปนี้

     แซ่ของจีนนั้น ตรงกับ “แคลน” ของพวกสก๊อตคือ เป็นคณะหรือพวก หรือถ้าจะ เทียบทางวัดก็คล้ายสำนัก (เช่นที่เราได้ยินเขากล่าว ๆ กันอยู่บ่อย ๆ ว่าคนนั้น เป็นสำนัก วัดบวรนิเวศ คนนี้เป็นสำนักวัดโสมนัสดังนี้เป็นตัวอย่าง) ส่วนสกุลนั้น ตรงกับคำอังกฤษว่า “แฟมิลี่” ข้อผิดกันอันสำคัญในระหว่างแซ่กับนามสกุลนั้นก็คือ ผู้ร่วมแซ่ไม่ได้เป็นญาติ สายโลหิตกันก็ได้ แต่ส่วนผู้ร่วมสกุลนั้น ถ้าไม่ได้เป็นญาติ สายโลหิตต่อกันโดยแท้แล้ว ก็ร่วมสกุลกันไม่ได้ นอกจากที่จะรับเป็นบุตรบุญธรรม เป็นพิเศษเท่านั้น

      (ตัดตอนจากเรื่องเปรียบเทียบนามสกุลกับชื่อแซ่ จากหนังสือปกิณกคดี พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว    ศิลปบรรณาคาร ๒๕๑๕ หน้า ๗๕ - ๗๖)

การย่อความจากบทร้อยกรองมีวิธีการอย่างไร

การย่อความจะเก็บเฉพาะใจความสำคัญและใจความประกอบที่จำเป็นบางส่วนเพื่อให้ใจความย่อความสมบูรณ์

     ย่อหน้าที่ ๑ ใจความสำคัญว่า “คนเรายังมีอยู่เป็นอันมาก ซึ่งยังมิได้สังเกตว่านามสกุลกับชื่อแซ่ของจีนนั้นผิดกันอย่างไร” นอกนั้นเป็นใจความประกอบ

     พลความหรือใจความประกอบย่อหน้านี้ไม่เก็บเพราะเห็นว่าไม่จำเป็น เนื่องจากใจความสำคัญสมบูรณ์ที่จะนำไปย่อได้อยู่แล้ว

     ย่อหน้าที่ ๒ ใจความสำคัญ “ข้อผิดกันอันสำคัญในระหว่างแซ่กับนามสกุลนั้นก็คือ ผู้ร่วมแซ่ไม่ได้เป็นญาติสายโลหิตกันก็ได้ แต่ผู้ร่วมสกุลนั้นถ้าไม่ได้เป็นญาติสายโลหิตต่อกัน โดยแท้แล้วก็ร่วมสกุลกันไม่ได้”

     พลความหรือใจความประกอบที่จำเป็น ที่ควรเก็บเพื่อเสริมใจความสำคัญให้ย่อความได้ใจความ สมบูรณ์ครบถ้วนคือ

     “แซ่ของจีนเป็นคณะหรือพวก หรือถ้าจะเทียบทางวัดก็คล้ายสำนัก”

     “……นอกจากที่จะรับเป็นบุตรบุญธรรมเป็นพิเศษเท่านั้น”

     

เมื่อได้ศึกษาหลักการย่ออื่น ๆ ครบถ้วนกับดูรูปแบบการย่อที่ใช้แล้ว นำใจความที่เก็บไว้มาเรียบเรียงใหม่ด้วยถ้อยคำของตนเอง รูปแบบการย่อเป็นความเรียงที่ตัดตอนมา ดังนั้นจึงเขียนย่อความได้ดังนี้

          ย่อบทความเรื่อง เปรียบเทียบนามสกุลกับชื่อแซ่ ของพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คัดจากเรื่องเปรียบเทียบนามสกุล กับชื่อแซ่ จากหนังสือปกิณกคดี ความว่า 

มีคนจำนวนมากไม่ได้สังเกตว่านามสกุล กับแซ่ของจีนนั้นต่างกัน ผู้ร่วมแซ่ของจีนไม่ได้เป็นญาติสายโลหิตกันก็ได้ แต่เป็นคณะ หรือพวกเหมือนสำนักวัดหนึ่ง ส่วนร่วมสกุลต้องเป็นญาติสายโลหิตกันโดยแท้เท่านั้น เช่นนั้นก็เป็นบุตรบุญธรรมที่รับไว้เป็นพิเศษ

การย่อความจากบทร้อยกรองมีวิธีการอย่างไร

ถ้าเป็นการย่อที่มุ่งเก็บเฉพาะใจความสำคัญ ขึ้นต้นรูปแบบเหมือนกัน แต่ใจความจะสั้นเข้าดังนี้ 

ย่อบทความเรื่อง เปรียบเทียบนามสกุลกับชื่อแซ่ ของพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คัดจากเรื่องเปรียบเทียบนามสกุล กับชื่อแซ่ จากหนังสือปกิณกคดี ความว่า 

  มีคนจำนวนมากไม่ได้สังเกตว่านามสกุลกับแซ่ของจีนนั้นต่างกัน ผู้ร่วมแซ่ ของจีนไม่ได้เป็นญาติสายโลหิตก็ได้ แต่ผู้ร่วมสกุลต้องเป็นญาติสายโลหิต หรือบุตร บุญธรรมที่รับไว้เป็นพิเศษเท่านั้น

การย่อความจากบทร้อยกรองมีวิธีการอย่างไร

ตัวอย่าง การเขียนย่อนิทานคำกลอน

เรื่อง กวางกับเสือ

       กวางตัวหนึ่งหากินตามชายป่า         และเล็มหญ้าเหลือบเห็นนายพรานใหญ่

ถือหน้าไม้เดินด้อมมาเเต่ไกล              ก็ตกใจโดดหนีรี่เข้าดง

พรานสะกดรอยรุกไม่ละลด             กวางเห็นหมดช่องหวังดังประสงค์

ก็หลบเข้าถ้ำเสือดังจำนง                 เสือหมอบลงไม่ให้กวางเห็นตัว

ปล่อยให้เข้าก้นถ้ำกระโจนจับ             ปากงับคอฟัดสะบัดหัว

ก่อนสิ้นใจกวางร้องเสียงระรัว               อันตรายย่อมมีทั่วทุกแห่งไป

เราหนีคนพ้นเเล้วปะเสืออีก                  สุดเลี่ยงหลีกชีวิตปลิดตักษัย

                                                         (จาก นิทานอีสปคำกลอน ของ ฉลอง ศุภการ)

ย่อได้ดังนี้

ย่อนิทานเรื่อง  กวางกับเสือ จากหนังสือ นิทานอีสปคำกลอน ของ ฉลอง ศุภการ  ความว่า 

กวางตัวหนึ่งหนีนายพรานโดยเข้าไปหลบอยู่ในถ้ำของเสือ เสือจึงจับกวางกินเป็นอาหาร

การย่อความจากบทร้อยกรองมีวิธีการอย่างไร

สรุปเทคนิคการย่อความ:  

                               

1. อ่านเรื่องที่ย่ออย่างน้อย  2  เที่ยว  เที่ยวแรกให้รู้อย่างคร่าว ๆ ว่า เรื่องอะไร  ใครทำอะไร  ที่ไหน  ทำอย่างไร   เที่ยวที่สองอ่านจับใจความอย่างละเอียด

2. พิจารณาเนื้อเรื่องทั้งหมดว่าอะไรเป็นสาระสำคัญ   อะไรเป็นส่วนประกอบ หรือพลความ  อะไรเป็นเพียงส่วนเสริมแต่ง หรือเป็นเพียงกลวิธี

 3. ตัดพลความหรือส่วนประกอบต่าง ๆ ออก  เอาไว้แต่สาระสำคัญ  สรุปเป็นข้อความใหม่โดยใช้ถ้อยคำของเราเอง

4. การย่อไม่มีเกณฑ์กำหนดว่าจะต้องย่อให้เหลือกี่ส่วนจากข้อความเดิม 

ถ้าพลความมากก็ย่อเหลือน้อย

5. เลือกใช้คำที่มีความหมายเหมาะสมชัดเจน  บางทีอาจใช้วลีแทนประโยค หรือใช้คำแทนวลีได้

6. คำพูดโต้ตอบของบุคคล ให้เก็บใจความสำคัญย่อรวมกันไป  ไม่แยกกล่าวหรือขึ้นบรรทัดใหม่  ไม่ใช้เครื่องหมายใด ๆ

7. เรื่องที่ย่อเป็นเรื่องที่ผู้อื่นพูดกัน  ผู้ย่อทำหน้าที่นำมาเล่าต่ออย่างย่อ  จึงใช้สรรพนามบุรุษที่ 3 ทั้งหมด

8. ถ้าในเรื่องเดิมมีราชาศัพท์เป็นความสำคัญ  เมื่อย่อแล้วก็ต้องใช้ราชาศัพท์ด้วย

9.ใช้คำสันธานเพื่อช่วยให้ความกระชับไม่เยิ่นเย้อ

10. การย่อความไม่จำเป็นต้องใช้อักษรย่อ

11. เขียนใจความที่ย่อให้ต่อเนื่องกันไปโดยตลอดไม่ต้องย่อหน้า   เว้นแต่ความไม่สัมพันธ์กันให้แยกเป็นตอน ๆ

12. ถ้าข้อความเดิมเป็นบทร้อยกรอง  ให้ย่อเป็นร้อยแก้ว

13. รูปแบบของย่อความขึ้นอยู่กับประเภทของเรื่องที่จะนำมาย่อจากหลักการ

การย่อความจากบทร้อยกรองมีวิธีการอย่างไร

การย่อความสามารถย่อบทร้อยกรองได้หรือไม่อย่างไร

หากเรื่องที่ต้องการย่อเป็นร้อยกรองให้ถอดค าประพันธ์ก่อน แล้วหาค า ประโยค ข้อความ ที่เป็น ใจความสาคัญนามาเรียบเรียงให้สละสลวยตรงตามเรื่องเดิม ดังตัวอย่าง ไทยรวมกาลังตั้งมั่น

การย่อความบทร้อยกรองควรปฏิบัติอย่างไร

หลักในการย่อความ.
เขียนคำนำตามประเภทของเรื่อง.
อ่านเรื่องทั้งหมดอย่างละเอียด อาจจะอ่านถึง 2 – 3 เที่ยว เพื่อให้เข้าใจเรื่องโดยตลอด.
ทำความเข้าใจศัพท์ สำนวนโวหารในเรื่อง.
ถ้าเรื่องที่จะย่อเป็นร้อยกรองต้องถอดคำประพันธ์เป็นร้อยแก้วก่อนจึงย่อ.
สังเกตใจความสำคัญแล้วแยกออกเป็นตอน ๆ.

วิธีการย่อความมีวิธีการทำอย่างไร

การย่อความ ควรท าดังต่อไปนี้ ❖ อ่านเรื่องที่จะย่อให้เข้าใจแจ่มแจ้งไม่น้อยกว่า 2-3 ครั้ง ❖ พิจารณาดูว่าอะไรเป็นความส าคัญในตอนหนึ่ง ๆ ❖ เก็บเอาใจความส าคัญเฉพาะตอน จากนั้นบันทึกไว้อย่างย่อ ๆ ❖ น าใจความส าคัญเหล่านั้นมาเรียบเรียงให้เนื้อความติดต่อสัมพันธ์กัน ตามล าดับ

การย่อความที่ถูกต้องมีลักษณะอย่างไร

การย่อความ คือ การเก็บใจความสำคัญของเรื่องจากข้อความที่อ่านหรือฟัง แล้วนำสาระสำคัญมาเรียบเรียงใหม่ให้สั้นด้วยภาษาที่กระชับ เข้าใจง่าย ได้ความถูกต้องและครบถ้วนสมบูรณ์มากหรือน้อยแล้วแต่ต้องการ เช่น ย่อเรื่องจากหนังสือทั้งเล่มให้เหลือเพียง 1-2 หน้า ย่อบทความที่มีความยาว 5 หน้าเหลือเพียงครึ่งหน้า เป็นต้น