วิธีต่อภาษีรถยนต์ ออนไลน์ รถเกิน 7 ปี

ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล

|

29 พ.ค. 2565 เวลา 3:36 น. 5.2k

กรมการขนส่งทางบก เชิญชวนเจ้าของรถยนต์อายุการใช้งานเกิน 7 ปี รถจักรยานยนต์อายุการใช้งานเกิน 5 ปีต่อภาษีออนไลน์ ไม่ต้องไปขนส่งฯ

กรมการขนส่งทางบก ชวนเจ้าของรถยนต์อายุการใช้งานเกิน 7 ปี รถจักรยานยนต์อายุการใช้งานเกิน 5 ปี นำรถเข้าตรวจสภาพกับ ตรอ. ก่อนชำระภาษีรถออนไลน์ผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax ได้ทันที รอรับเครื่องหมายการเสียภาษีและใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์ 

นายเสกสม อัครพันธุ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก และโฆษกกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า กรมการขนส่งทางบก มีบริการรับชำระภาษีรถประจำปีหลากหลายช่องทางที่อำนวยความสะดวกประชาชนที่ไม่ต้องเดินทางมาสำนักงานขนส่ง เช่น เว็บไซต์ eservice คลิ๊กที่นี่ , เคาน์เตอร์เซอร์วิส, แอปพลิเคชัน mPAY และ Truemoney Wallet ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนเจ้าของรถสามารถเข้าถึงบริการชำระภาษีรถประจำปีได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

อีกทั้งปัจจุบันยังได้พัฒนาช่องทางชำระภาษีรถประจำปีออนไลน์ ให้รองรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ได้ทุกอายุการใช้งานแล้ว

รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง),รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รถตู้),รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รถกระบะ) ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี รถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี และรถที่ค้างชำระภาษีเกิน 1 ปี ให้นำรถเข้าตรวจสภาพกับสถานตรวจสภาพ (ตรอ.) ให้เรียบร้อยก่อนดำเนินการชำระภาษีรถออนไลน์ ที่เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก eservice คลิ๊กที่นี่ 

หรือผ่านแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax รอรับเครื่องหมายการเสียภาษีและใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์ ภายใน 5 วันทำการ นับจากวันชำระเงิน
 

ส่วนการชำระภาษีรถประจำปีผ่านแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ระบบจะแสดงหลักฐานการชำระภาษีรถประจำปีชั่วคราว เพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงการชำระภาษีจนกว่าจะได้รับเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีจากกรมการขนส่งทางบก

โดยสามารถเลือกช่องทางรับเครื่องหมายการเสียภาษีได้ทั้งทางไปรษณีย์ ซึ่งจะได้รับภายใน 5 วันทำการ หรือสำหรับผู้ที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร สามารถเลือกพิมพ์เครื่องหมายการเสียภาษีได้ด้วยตนเองที่ตู้ Kiosk ที่ติดตั้งในสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-5 ได้อีกหนึ่งช่องทาง ส่วนรถที่ไม่มีเงื่อนไขต้องตรวจสภาพรถก่อนชำระภาษีสามารถดำเนินการได้ทันที

บริการออนไลน์ดังกล่าวอำนวยความสะดวกสามารถชำระภาษีรถประจำปีล่วงหน้าได้ภายใน 90 วัน ก่อนวันที่ภาษีรถสิ้นอายุ โดยเลือกชำระเงินผ่าน e-Banking บัตรเครดิต บัตรเดบิต เคาน์เตอร์ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ ทำให้ไม่ต้องเดินทางมาที่สำนักงานขนส่ง อยู่ที่ไหนก็สามารถชำระภาษีรถประจำปีได้

สำหรับสถิติการให้บริการชำระภาษีรถประจำปีในเขตกรุงเทพมหานคร ประจำเดือนเมษายน 2565 มีผู้ใช้บริการรับชำระภาษีรถประจำปีผ่านเว็บไซต์ eservice คลิ๊กที่นี่ จำนวน 55,387 คัน เคาน์เตอร์เซอร์วิส มีผู้ใช้บริการจำนวน 11,715 คัน แอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax มีผู้ใช้บริการจำนวน 8,582 คัน ตู้รับชำระภาษีรถประจำปีอัตโนมัติ (Kiosk) มีผู้ใช้บริการจำนวน 1,950 คัน แอปพลิเคชัน mPAY และ Truemoney Wallet มีผู้ใช้บริการจำนวน 910 คัน

นอกจากนี้ ยังมีผู้ใช้บริการรับชำระภาษีรถประจำปี ณ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-5 จำนวน 319,626 คัน บริการเลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax) มีผู้ใช้บริการจำนวน 66,975 คัน และชำระภาษีรถประจำปี ณ ที่ทำการไปรษณีย์ มีผู้ใช้บริการจำนวน 597 คัน รวมมีผู้ใช้บริการชำระภาษีรถประจำปีในเดือนเมษายน ทั้งสิ้น 465,742 คัน

ทั่วไป

30 พ.ค. 2565 เวลา 14:11 น.12.8k

กรมการขนส่งทางบก เปิดให้ต่อ "ภาษีออนไลน์" สำหรับรถยนต์ใช้งานเกิน 7 ปี รถจักรยานยนต์เกิน 5 ปี ให้เจ้าของรถเข้าถึงบริการ "ชำระภาษีรถประจำปี" ได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น จริงหรือ?

ตามที่มีข้อมูลบนสื่อโซเชียลเรื่อง กรมการขนส่งทางบก เปิดให้ต่อ "ภาษีออนไลน์" สำหรับรถยนต์ใช้งานเกิน 7 ปี รถจักรยานยนต์เกิน 5 ปี ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง

กรมการขนส่งทางบก มีบริการรับ "ชำระภาษีรถประจำปี" หลากหลายช่องทางที่อำนวยความสะดวกประชาชนที่ไม่ต้องเดินทางมาสำนักงานขนส่ง เช่น

  • เว็บไซต์ กรมการขนส่งทางบก
  • เคาน์เตอร์เซอร์วิส
  • แอปพลิเคชัน mPAY
  • แอปพลิเคชัน Truemoney Wallet

ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนเจ้าของรถสามารถเข้าถึงบริการ "ชำระภาษีรถประจำปี" ได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

  • ‘กรมขนส่ง’ เข้มหลักสูตรอบรม รับมาตรการตัดแต้มใบขับขี่ปีนี้
  • "ปลดล็อกกัญชา" กรมการขนส่งชงคุมห้ามใช้แล้วขับรถ

อีกทั้ง ปัจจุบันยังได้พัฒนาช่องทาง ชำระภาษีรถประจำปีออนไลน์ ให้รองรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ได้ทุกอายุการใช้งานแล้ว โดยรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง), รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รถตู้), รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รถกระบะ) ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี รถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี และรถที่ค้างชำระภาษีเกิน 1 ปี ให้นำรถเข้าตรวจสภาพกับสถานตรวจสภาพ (ตรอ.) ให้เรียบร้อยก่อน

วิธีต่อภาษีรถยนต์ ออนไลน์ รถเกิน 7 ปี

ดำเนินการชำระภาษีรถออนไลน์ ที่เว็บไซต์ กรมการขนส่งทางบก หรือผ่านแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax รอรับเครื่องหมายการเสียภาษีและใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์ ภายใน 5 วันทำการ นับจากวันชำระเงิน ส่วนการชำระภาษีรถประจำปีผ่านแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ระบบจะแสดงหลักฐานการชำระภาษีรถประจำปีชั่วคราว เพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงการชำระภาษีจนกว่าจะได้รับเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีจากกรมการขนส่งทางบก

อย่างไรก็ตาม สามารถเลือกช่องทางรับเครื่องหมายการเสียภาษีได้ทั้งทางไปรษณีย์ ซึ่งจะได้รับภายใน 5 วันทำการ หรือสำหรับผู้ที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร สามารถเลือกพิมพ์เครื่องหมายการเสียภาษีได้ด้วยตนเองที่ตู้ Kiosk ที่ติดตั้งในสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 5 ได้อีกหนึ่งช่องทาง ส่วนรถที่ไม่มีเงื่อนไขต้องตรวจสภาพรถก่อนชำระภาษีสามารถดำเนินการได้ทันที

ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ กระทรวงคมนาคม หรือโทร. 1356

รถยนต์อายุเกิน7ปีต่อภาษีออนไลน์ได้ไหม

ตามที่มีข้อมูลบนสื่อโซเชียลเรื่อง กรมการขนส่งทางบก เปิดให้ต่อ "ภาษีออนไลน์" สำหรับรถยนต์ใช้งานเกิน 7 ปี รถจักรยานยนต์เกิน 5 ปี ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง

ต่อ ภาษี รถยนต์ เกิน 7 ปี ได้ ที่ไหน บ้าง

เช็คพิกัดต่อภาษีรถยนต์ 2565 ได้ที่ไหน.
1. สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ ... .
2. ที่ทำการไปรษณีย์ ... .
3. ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ "ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี (Shop Thru for Tax)" ... .
4. ต่อภาษีรถยนต์ผ่านทางออนไลน์ ... .
5. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ... .
6. จุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ.

ต่อภาษีรถยนต์ เกิน 7 ปี กี่บาท

ตัวอย่างการคำนวณเพื่อ เช็คภาษีรถ ต้องจ่ายกี่บาท.

ต่อภาษีรถยนต์7ปีต้องใช้อะไรบ้าง

ต่อภาษีรถยนต์ 2565 ใช้เอกสารอะไรบ้าง สมุดคู่มือจดทะเบียนรถตัวจริงหรือสำเนา เอกสาร พ.ร.บ.รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป ) เงินสำหรับอัตราภาษีรถตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522.