ทำไงถึงจะมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

            วิธีการสร้างมนุษยสัมพันธ์และการสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน

            บุคลิกภาพของบุคคลเป็นภาพรวมทั้งรูปร่างลักษณะ ท่าทางความรู้สึกนึกคิดหรือจะรวม เรียกว่าเป็นภาพรวมทั้งร่างกายและจิตใจของแต่ละบุคคล ดังที่ได้กล่าวไว้ในบทที่ 7 แต่ในบทนี้จะ กล่าวถึงเรื่องของบุคลิกภาพเพื่อมนุษยสัมพันธ์อันจะนำไปสู่การติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างมนุษยสัมพันธ์ซึ่งบุคคลในสังคมควรได้มีการรับรู้และเข้าใจในเรื่องนี้เป็นอย่างดี เนื่องจากเราจะเห็นได้ว่า ลักษณะท่าทางของบุคคลมีอิทธิพลต่อการติดต่อสื่อสารเป็นอย่างมาก เช่น คนที่ยิ้มแย้มแจ่มใสย่อม มีลักษณะท่าทางที่เป็นมิตร เพราะการยิ้มเป็นสัญลักษณ์ของน้ำใจไมตรี ความอ่อนหวานและความงาม เป็นพฤติกรรมของบุคคลที่แสดงออกถึงความรู้สึกเป็นมิตร ซึ่งใครพบเห็นก็ย่อมอยากจะสื่อสารด้วยไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารด้วยภาษาคือพูด หรือภาษาท่าทางคือยิ้มเนื่องจากมนุษย์เราอยู่รวมกันจึงต้องปฏิสัมพันธ์กันอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นมนุษยสัมพันธ์จึงมีความสำคัญต่อการติดต่อสื่อสาร และการติดต่อสื่อสารก็มีความสสำคัญต่อมนุษย์เช่นกัน

            การปรับปรุงตนเองเพื่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์  

            การปรับปรุงตนเองเป็นการปรับปรุงบุคลิกภาพโดยส่วนรวม เพื่อเป็นประโยชน์ในการ สร้างมนุษยสัมพันธ์ นักจิตวิทยาหลายท่านได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมากและพยายามเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงบุคลิกภาพ ดังนี้ 

    1) ศึกษาและประเมินตนเอง 

    2) ยอมรับและตระหนักใน ความต้องการที่จะปรับปรุงตนเอง 

    3) มีแรงจูงใจในการปรับปรุงตนเอง 

    4) วางแผนในการปรับปรุงตนเอง (Newton, and Hihgton, 1963: 14-175) มีรายละเอียดดังนี้ 

            ศึกษาและประเมินตนเอง การศึกษาและประเมินตนเองครอบคลุมบุคลิกภาพทุกด้านรวมทั้ง องค์ประกอบทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีส่วนเสริมสร้าง การศึกษาและประเมินตนเอง ทำให้รู้จัก ส่วนดีและส่วนบกพร่องของตนเอง ถ้าเป็นส่วนดีเด่นก็จะรักษาเอาไว้และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ส่วนบกพร่องนั้นถ้าสามารถแก้ไขได้ก็ควรได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น การศึกษาและประเมินตนเอง ครอบคลุมสิ่งเหล่านี้  คือ รูปร่างหน้า สุขภาพ สติปัญญา ความรู้ทั่วไป ความสามารถพิเศษ การแต่งกาย การพูดจา กิริยาและท่าทาง นิสัยใจคอและบุคลิกภาพด้านต่าง ๆ ตลอดจนฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม

            ถ้าประเมินบุคลิกภาพทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง แต่ก็มีความรู้สึกว่าต้องแก้ไขนิสัย บางอย่างก็ให้กลับไปพิจารณารายละเอียดในแบบสอบถามว่า ข้อใดบ้างที่ได้คะแนนน้อยก็ให้เอาลักษณะนั้นมาแก้ไขปรับปรุงในตารางการปรับปรุงตนเอง ซึ่งจะกล่าวถึงในตอนต่อไป 

        1. ยอมรับและตระหนักในความต้องการที่จะปรับปรุงตนเอง ผลการประเมินทั้งหมดจะบ่งชี้ได้ว่าเรามีจุดบกพร่องจริง ๆ นอกจากนี้ต้องตระหนักถึงความสำคัญของบุคลิกภาพว่า “บุคลิกภาพเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่การยอมรับนับถือ และศรัทธาอันนำไปสู่ความสัมพันธ์อันดีและความสำเร็จ” พร้อมกันนี้ก็มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะพัฒนาหรือปรับปรุงตนเอง โดยการศึกษาหาวิธีการที่ดีที่สุด เช่น ปรึกษาแพทย์ผู้รู้ อ่านหนังสือ บทความ หรือเข้ารับการอบรมพัฒนาบุคลิกภาพตามความเหมาะสม

        2. มีแรงจูงใจในการปรับปรุงตนเอง การพัฒนาตนเองไม่ใช่สิ่งที่ง่าย เพราะเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับอุดมคติ เกี่ยวข้องกับการทำลายนิสัยเดิมที่สั่งสมมาเป็นเวลานาน และสร้างนิสัยใหม่ บุคคล จึงมีแรงจูงใจในการปรับปรุงตนเองเป็นอย่างยิ่ง แรงจูงใจในการปรับปรุงตนเองเป็นความต้องการส่วนบุคคล ซึ่งมีดังนี้ 

            1) ความที่จะให้บุคลิกภาพเป็นที่ดึงดูดใจของเพศตรงข้าม แรงจูงใจเช่นนี้เป็นแรงจูงใจที่ทำให้เราต้องการปรับปรุงตนเองในระดับสูง 

            2) ความต้องการเป็นที่ชื่นชมของสังคม คือต้องการให้เป็นที่รักชื่นชมและเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม 

            3) ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในอาชีพและสังคม เพราะความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในอาชีพและสังคมบุคคลจึงต้องปรับปรุงตนเองในเรื่องของการแต่งกาย กิริยามารยาท ความขยัน ความรับผิดชอบในการทำงาน การปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนร่วมงาน เพื่อป้องกันมิให้ถูกไล่ออกจากงาน 

            4) ความต้องการอำนาจ การพัฒนาบุคลิกภาพก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ตนเองมีอำนาจขึ้นได้  นั่นคือทำให้มีสง่าราศี น่าเชื่อถือ และน่ายำเกรง  

        3. วางแผนในการปรับปรุงตนเอง การวางแผนในการปรับปรุงตนเอง คือ การตั้งเป้าหมาย ก่อนว่าจะปรับปรุงอะไร อย่างไรโดยมีหลักสำคัญ การปรับปรุงบุคลิกภาพ ดังนี้   

            1) ปรับปรุงลักษณะที่บกพร่องทีละลักษณะ   

            2) ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ   

            3) วางแผนในการปรับปรุงตนเอง การปรับปรุงบุคลิกภาพแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การปรับปรุงบุคลิกภาพภายนอก และการ ปรับปรุงบุคลิกภาพภายใน

            การปรับปรุงบุคลิกภาพภายนอก  

            บุคลิกภาพภายนอกที่ควรปรับปรุง ได้แก่ รูปร่างหน้าตา การแต่งกาย กิริยาท่าทาง การแสดงสีหน้าและแววตา การพูดจา ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 

            1. การปรับปรุงรูปร่างหน้าตา มิได้หมายถึง ความสวยงาม ความหล่อ แต่หมายถึง การปรับปรุงรูปร่างหน้าตาให้ดูสะอาด ประณีตดูดี คือ รักษาหน้าตาให้สะอาด ผ่องใส รักษาปาก ฟัน จมูก ตา หู เล็บมือ เล็บเท้าให้สะอาดปราศจากกลิ่นอับน่ารังเกียจหรือความสกปรกต่าง ๆ โดยใช้สบู่ หรือเครื่องสำอางในทำนองเดียวกันการปรับปรุงรูปร่างที่ยังไม่เหมาะสม เช่น อ้วน เตี้ย เกินไปก็ใช้ ศิลปะของการแต่งกายที่เหมาะสมเข้าช่วยได้ 

            2. การรักษาสุขภาพ บุคคลต้องรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเสมอ เพราะสุขภาพที่ไม่ดีหรือ เจ็บป่วยบ่อย ๆ จะทำให้มีอารมณ์หงุดหงิด เป็นผลให้การติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่นไม่ราบรื่น การรักษา สุขภาพให้แข็งแรงสมบูรณ์ สามารถทำได้โดยการรับประทาอาหารที่มีคุณค่า สะอาด ถูกอนามัย ออกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนพอเพียง หลีกเลี่ยงมลพิษในสิ่งแวดล้อม และอยู่ในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ รักษาร่างกายให้อบอุ่นเสมอ สวมเสื้อผ้าที่เหมาะสม ไม่คับจนเกินไปจนหายใจไม่ออก และ หมั่นหาแพทย์เพื่อตรวจร่างกายสม่ำเสมอ และที่สำคัญคือ ต้องรักษาอารมณ์ให้แจ่มใส เมื่ออารมณ์ แจ่มใส จิตใจสบายร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ 

            3. การปรับปรุงการแต่งกาย การปรับปรุงการแต่งกายในที่นี้มิได้หมายถึง การใช้เสื้อผ้าที่ มีราคาแพง แต่หมายถึงการแต่งกายสะอาด เรียบร้อย เหมาะสมและสวยงามสดใส เรียบร้อย เหมาะสม และสวยงามย่อมเป็นเสน่ห์ดึงดูดใจ และเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ 

            4.  การปรับปรุงกิริยาท่าทาง การแสดงออกทางสีหน้าและแววตา การปรับปรุงกิริยา ท่าทาง สีหน้าและแววตาทำได้โดยส่องกระจกดู ในสังคมไทยการแสดงกิริยาท่าทางเป็นสิ่งสำคัญ เพราะสังคมไทยเป็นสังคมอำจนิยม ยกย่องเป็นอาวุโส ผู้น้อยจะต้องมีกิริยาที่สุภาพอ่อนน้อมต่อผู้ อาวุโส และสุขภาพต่อคนทั่ว ๆ ไป ฉะนั้นบุคคลควรจะได้ปรับปรุงกิริยาท่าทางให้สุภาพอ่อนโยน เหมาะกับกาลเทศะไม่มองผู้อื่นด้วยหางตา หรือมีกิริยาท่าทางแสดงให้เห็นว่ามีความเกรงใจ เช่น ไม่ เอื้อมมือไปหยิบของผ่านหน้าผู้อื่น เป็นต้น การปรับปรุงกิริยาท่าทางให้สุภาพอ่อนโยนเหมาะกับ กาลเทศและบุคคล ย่อมเป็นเสน่ห์แก่ผู้พบเห็น ทำให้ใคร ๆ ก็อยากคบหาสมาคมด้วย การใช้สายตา มองเป็นสิ่งสำคัญ เราต้องฝึกมองผู้อื่นด้วยสายตาที่อ่อนโยนเต็มไปด้วยความรัก ความเมตตา ความชื่นชมยินดี แทนการมองดูด้วยสายตากระด้างเต็มไปด้วยความเกลียดชัง 

                การปรับปรุงบุคลิกภาพภายใน

                การปรับปรุงบุคลิกภาพภายในนับได้ว่าเป็นการปรับปรุงพฤติกรรมได้แก่ ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก และนิสัยใจคอที่สังเกตเห็นได้ยาก การแก้ไขปรับปรุงจึงต้องทำทีละขั้นตอน ทีละเรื่อง 

                มารยาทสังคมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างมนุษย์สัมพันธ์  

                นอกจากการปรับปรุงบุคลิกภาพภายนอกและภายในเพื่อสร้างมนุษยสัมพันธ์แล้วบุคคล ยังคงต้องคำนึงถึงมารยาทสังคมเป็นอย่างยิ่ง เพราะมารยาทสังคมเป็นการแสดงออกที่สุภาพอ่อนน้อมพอเหมาะพอควร ไม่กระทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน แต่ทำให้ผู้อื่นสบายใจ ดังนั้นการสร้างมนุษย สัมพันธ์จึงควรคำนึงถึงมารยาทสังคมดังนี้ 

            1. การแสดงสีหน้า บุคคลจะแสดงสีหน้าออกในลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น เย็นชา การแสดง สีหน้าเช่นนี้จะทำให้ผู้อื่นถอยห่างออกไป คนประเภทนี้จะไม่มีใครทักทายปราศรัยหรือพูดด้วยบางคนก็มีสีหน้าบึ้งตึง เต็มไปด้วยอารมณ์โกรธเคืองตลอดเวลาโดยเฉพาะเมื่อผู้อื่นท าอะไรผิดพลาด การแสดงสีหน้าแบบนี้เป็นการบั่นทอนมนุษยสัมพันธ์ ส าหรับคนที่มีหน้ายิ้มละไมหรือสีหน้าที่ยิ้ม แย้มแจ่มใส จะดึงดูดใจผู้ที่พบเห็น เพราะการยิ้มท าให้บรรยากาศรอบตัวสดใส เหตุการณ์ที่ก าลังตึง เครียดก็ย่อมผ่อนคลายลงได้ สีหน้าที่ยิ้มละไมนั้นชวนมอง ท าให้บุคคลนั้นมีเสน่ห์และมีคนอยาก เข้าใกล้ 

            2. การแสดงความอาย ความอายในที่นี้หมายถึง ความอายที่เกิดจากคามรู้สึกว่าได้ทำอะไรผิดแผนไปจากผู้อื่น หรือผิดแผกไปจากวัฒนธรรม ประเพณีหรือมาตรฐานของสังคม แม้ว่า ปัจจุบันบุคคลกล้าแสดงออกมากกว่าสมัยก่อนก็ตามแต่การกระทำอะไรที่ผิดแผนไปจากมาตรฐานก็ ควรมีควาอายและแสดงความอายในลักษณะที่พอเหมาะก็จะทำให้น่าดู แต่ถ้าขี้อายเกินไปก็มีข้อเสีย คือ ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นไม่กล้าแสดงออกจึงทำให้ผู้อื่นไม่เข้าใจในที่สุดก็ไม่มีใครสนใจอีก ประการหนึ่งคนที่ขี้อายหรือละอายก็จะต้องอยู่กับตัวเอง จึงเป็นปัญหาในการติดต่อสัมพันธ์ 

            3. ไม่ดูถูกเหยียดหยามผู้อื่น โดยเฉพาะคนที่มีบุญคุณต่อเรา เช่น ผู้ที่เป็นเจ้าของบ้าน 

            4. ไม่ตำหนิผู้อื่นต่อหน้าคนหมู่มาก 

            5. ไม่ล้วงแคะแกะเกาในที่ชุมชน ตัวอย่างเช่น การแคะฟันอย่างเปิดเผยย่อมทำให้ไม่เป็นที่เจริญหูเจริญตา ทำให้คนอื่นรู้สึกผะอืดผะอม ผู้คนก็ไม่อยากเข้าใกล้คนประเภทนี้ ทางที่ดีควรใช้ มือป้องปากหรือลุกขึ้นไปแคะฟันในห้องน้ำ 

            6. การสวมรองเท้าหรือถอดรองเท้าให้ถูกกาลเทศะ รองเท้าเป็นส่วนหนึ่งของการแต่งกาย ในบางสถานที่ก่อนจะเข้าไปต้องถอดร้องเท้า แต่บางส่วนที่ไม่จำเป็นต้องถอดเพราะจะทำให้เสียบุคลิกภาพและเสียความรู้สึก ตัวอย่างเช่น โรงเรียนบางแห่งห้ามสวมร้องเท้าเข้าห้องเรียนซึ่งทำให้ผู้สอนไม่พอใจ แม้แต่ผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ก็ไม่พอใจ การห้ามเช่นนี้จะทำให้ผู้ถูกห้ามรู้สึกว่าได้รับ การดูถูก เพราะเจ้าของโรงเรียนหรือผู้บริหารรักพื้นห้องเรียนมากกว่ารักษาความรู้สึกของผู้อื่น ผู้ปฏิบัติไม่ทำตามข้อห้ามของเจ้าของสถานที่ เจ้าของสถานที่ก็จะไม่พอใจ เช่น แขกสวมร้องเท้าขึ้น ไปบนพรม เป็นต้น 

            7. พูดจาสุภาพไพเราะอ่อนหวาน นุ่มนวล ไม่พูดจาข่มขู่ กรรโชกหรือก้าวร้าว ในการแสดงความสนิทสนมกับผู้อื่นนั้นควรจะระมัดระวังการใช้คำพูดเป็นอย่างยิ่ง 

            8. ไม่ควรถามเรื่องส่วนตัวบางเรื่อง เช่น อายุ รายได้ หน้าที่การงาน สามี ภรรยา บุตรที่ไม่ดีหรือเรื่องที่ทุกข์ทรมานใจต่าง ๆ 

            นอกจากนี้ก็มีมารยาทในเรื่องอื่น ๆ เช่น การเดินผ่านผู้อื่นควรก้มตัวเล็กน้อย ไม่ยืนพูดข้าม ศีรษะผู้อื่น โดยเฉพาะในสังคมไทยผู้น้อยควรมีมารยาทต่อผู้ใหญ่ และที่จะเสนอแนะเรื่องสำคัญอีก เรื่องหนึ่งในที่นี้คือ มารยาทนากรเขียนจดหมาย ซึ่งมีดังนี้

                1. ไม่มีรอยขูดลบหรือขีดฆ่าการมีรอยขูดลบหรือขีดฆ่าเป็นการบ่งบอกให้ทราบว่า ผู้เขียนไม่ได้ตั้งใจเขียน ถ้าหากรอยขูดลบขีดฆ่าดังกล่าวปรากฏในจดหมายสมัครงาน เขาจะเห็นว่าบุคคลนั้นเป็นคนสะเพร่า 

                2. ใช้ถ้อยคำสุภาพเหมาะสมกับบุคคล ไม่ว่าจะแทนตัวเราเองหรือแทนผู้รับจดหมาย โดยเฉพาะคำสรรพนามแทนผู้รับจดหมายควรรู้ว่าเมื่อไรจะใช้คำว่า “คุณ” “ท่าน” “ใต้เท้า” ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ผู้รับ 

                3. ถ้อยคำที่ใช้ในจดหมายควรแสดงการให้ความสำคัญแก่ผู้อื่น หรือการให้ความสำคัญ แก่กลุ่มมิใช่ให้ความสำคัญแก่ตนเอง เช่น ควรใช้คำว่า “ที่ทำงานของพวกเรา”มากกว่า “ที่ทำงานของฉัน” หรือการเล่าเรื่องการไปดูงานของพนักงานคนหนึ่งที่เล่าว่า “ฉันรู้สึกดีใจมากที่ได้ดูงานที่ ประเทศญี่ปุ่น โรงงานอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นมีระบบการผลิตที่ดีมาก ฉันยังได้พูดคุยกับคนญี่ปุ่นที่ มีอัธยาศัยดีมาก เสร็จจากดูงานพาฉันไปเที่ยวชมเมืองของเขา ถนนหนทางสะอาดน่าอยู่มากทีเดียว ...... การเขียนเช่นนี้แสดงว่าให้ความสำคัญแก่ตนเองไม่สนใจผู้อื่น ควรจะเขียนโดยให้ความสำคัญ แก่ผู้รับจดหมายว่า “ฉันอยากให้คุณได้ไปชมงานที่ประเทศญี่ปุ่นจังเลย เพราะคุณคงชอบระบบการ ผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมนี่นั้นมากและคุณคงพอใจอัธยาศัยชาวญี่ปุ่นมาก ยิ่งถ้าคุณได้เห็นถนนหนทางด้วยแล้วคุณคงอยากไปอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นแน่แท้ 

                4. แบบฟอร์มจดหมายก็มีความสำคัญ โดยเฉพาะการเขียนคำขึ้นต้นหรือคำลงท้าย ควรใช้ให้เหมาะสมแก่บุคคลและตำแหน่ง เช่น “เรียนรองศาสตราจารย์สมเดช  มุงเมือง” แทนการเขียนว่า “เรียนอาจารย์ประจำวิชาทักษะชีวิต” เพราะอาจารย์ที่สอนวิชาทักษะชีวิตมีหลายคน หรือ “เรียนผู้จัดการฝ่ายบุคคล” แทนการเขียนว่า “เรียนผู้จัดการ” ผู้รับจะไม่แน่ใจว่าผู้ส่งถึงใครและจะเกิด ความรู้สึกไม่พอใจ 

                5. ควรจ่าหน้าซองโดยระบุชื่อหรือตำแหน่งของผู้รับให้ชัดเจน 

                6. ควรสะกดการันต์ชื่อของผู้รับให้ถูกต้อง การระบุตำแหน่งก็เช่นกัน ควรระบุให้ถูกต้องว่าผู้รับมีตำแหน่งใด