ลดหย่อนภาษี พ่อแม่ อายุ 60 นับอย่างไร

มาวางแผนการเงิน เช็กรายการลดหย่อนภาษี 2565 กัน! เข้าสู่ช่วงท้ายปี อีกหนึ่ง to-do list ที่ผู้มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปีต้องเตรียมตัวก็คือ การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรุงไทยจึงขอสรุปรายการลดหย่อนภาษีปี 2565 มาให้คุณได้เตรียมตัววางแผนบริหารภาษี เพราะหากบริหารดีๆ คุณจะเสียภาษีน้อยลง และได้รับเงินคืนอีกด้วย

Show

วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

  1. คำนวณด้วยเงินได้สุทธิ*
  2. คำนวณด้วยเงินได้พึงประเมิน (แบบเหมา)

สำหรับเหล่ามนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้จากเงินเดือน (รายได้ประเภทที่ 1) เป็นหลักมักจะคุ้นเคยและใช้วิธีคำนวณด้วยเงินได้สุทธิ แต่ถ้าคุณมีรายได้ประเภทที่ 2-8 รวมกันถึง 1 ล้านบาท ให้ใช้วิธีคำนวณด้วยเงินได้พึงประเมินด้วยเพื่อเปรียบเทียบกัน วิธีไหนเสียภาษีมากกว่า ให้เสียภาษีด้วยวิธีนั้น

หากใครไม่แน่ใจว่ารายได้ของตัวเองเป็นเงินได้ประเภทไหน สามารถดูรายละเอียดเพิ่มได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร
*ในบทความนี้จะเน้นวิธีคำนวณด้วยเงินได้สุทธิเป็นหลัก

วิธีคำนวณเงินได้สุทธิ

เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ

เงินได้สุทธิเป็นตัวเลขที่แสดงให้เห็นว่ารายได้จริงๆ ของคุณต้องจ่ายภาษีในอัตรากี่เปอร์เซ็นต์ โดยเงินได้สุทธิแต่ละระดับจะถูกคิดอัตราภาษีที่แตกต่างกันเป็นขั้นบันได ยิ่งมีเงินได้สุทธิมาก ยิ่งต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้นตามไปด้วย

เงินได้สุทธิ (บาท)อัตราภาษีภาษีสูงสุดแต่ละขั้นภาษีสะสมสูงสุด0 – 150,000 บาทได้รับการยกเว้นภาษี--150,001 – 300,000 บาท5%7,500 บาท7,500 บาท300,001 – 500,000 บาท10%20,000 บาท27,500 บาท500,001 – 750,000 บาท15%37,500 บาท65,000 บาท750,001 – 1,000,000 บาท20%50,000 บาท115,000 บาท1,000,001 – 2,000,000 บาท25%250,000 บาท365,000 บาท2,000,001 – 5,000,000 บาท30%600,000 บาท965,000 บาท5,000,001 บาทขึ้นไป35%ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินได้สุทธิ965,001 บาทขี้นไป

ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาสามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ ผู้มีเงินได้ควรทำความเข้าใจเงื่อนไขและหลักเกณฑ์เพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี


ลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา

บิดามารดาของผู้มีเงินได้

ผู้มีเงินได้สามารถใช้สิทธิลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาได้คนละ 30,000 บาท หากเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดดังต่อไปนี้

1. บิดามารดาต้องมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป (การคำนวณอายุให้นำปีภาษีหักด้วย พ.ศ. เกิดของบิดามารดา)

2. บิดามารดาอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้

3. บิดามารดาต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีนั้นเกิน 30,000 บาท

4. ผู้มีเงินได้ต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย (บุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิหักลดหย่อน)

5. กรณีบุตรหลายคนอุปการะบิดามารดา ให้บุตรเพียงคนเดียวที่มีหลักฐานรับรองการอุปการะเลี้ยงดู (ล.ย.03) เป็นผู้มีสิทธิหักลดหย่อน

6. กรณีผู้มีเงินได้ไม่ได้เป็นผู้อยู่ในไทย ให้หักลดหย่อนได้เฉพาะบิดามารดาที่อยู่ในไทย

7. บิดามารดาจะต้องมีเลขประจำตัวประชาชน

8. การหักค่าลดหย่อนบิดามารดาให้หักได้ตลอดปีภาษีไม่ว่ากรณีที่จะหักลดหย่อนได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่


บิดามารดาของคู่สมรส

กรณีใช้สิทธิลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของคู่สมรสให้พิจารณาเงื่อนไขเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

1. สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้จะต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดาที่ผู้มีเงินได้ใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดู

2. กรณีสามีหรือภริยาเป็นผู้มีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้คนละ 30,000 บาท 

3. กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิหักลดหย่อนอยู่แล้ว ต่อมาได้สมรสกันให้ยังคงหักลดหย่อนได้ดังนี้

  • ถ้าความเป็นสามีภริยาไม่ได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนคนละ 30,000 บาท

  • ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ขอหักลดหย่อน และภริยาใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีให้สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนคนละ 30,000 บาท

    การจ่ายภาษี เป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้ที่มีเกณฑ์ต้องยื่นภาษีจะต้องรวบรวมเอกสารจำเป็นให้ถูกต้องและครบถ้วน และนำไปยื่นที่กรมสรรพากร หรือจะใช้ช่องทางออนไลน์โดยการยื่นเอกสารผ่านทางเว็บไซต์หรือในแอปพลิเคชันก็แล้วแต่จะสะดวก และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิลดหย่อนภาษี ปี 2565 มีอะไรบ้าง บทความนี้ FINNOMENA ได้รวบรวมเอาสิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีในปี พ.ศ. 2565 มาไว้แล้ว หาคำตอบได้ที่นี่ ครบในที่เดียว!

    อ่านเพิ่มเติม สรุปวิธีคำนวณภาษี: รายได้เท่าไรต้องเสียภาษีเท่าไร?

    รับบริการผู้แนะนำการลงทุนกองภาษีส่วนตัวจาก FINNOMENA ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนกองภาษี 200,000 บาทขึ้นไป
    👉 ลงทะเบียน คลิก >>> https://finno.me/taxplanner-services

    สารบัญ

    • Checklist ลดหย่อนภาษี ปี 2565 ครบจบในแผ่นเดียว!
    • สรุปรายการลดหย่อนภาษี ปี 2565
    • รายการลดหย่อนภาษี ปี 2565 ฉบับคนโสดแบบเฉิดฉาย!

    ความสำคัญของการวางแผนลดหย่อนภาษี

    การวางแผนลดหย่อนภาษี เป็นวิธีที่จะทำให้เราได้เงินภาษีคืน และประหยัดเงินในกระเป๋าของตัวเองได้มากขึ้น วิธีลดหย่อนภาษีที่เราเลือกก็ถือเป็นผลประโยชน์กับตัวเองด้วย ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในกองทุนรวม การซื้อประกันชีวิตและประกันสุขภาพ การซื้ออสังหาริมทรัพย์ หรือแม้กระทั่งการจับจ่ายใช้สอยต่าง ๆ ก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้

    ค่าลดหย่อนภาษีที่กฎหมายได้ระบุไว้ เป็นสิ่งที่รัฐเห็นว่าเป็นภาระหน้าที่ความรับผิดชอบในชีวิต หรือเป็นสิทธิพิเศษที่รัฐต้องการจะสนับสนุน เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมบางอย่าง โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงใน ทุก ๆ ปี ดังนั้น ประชาชนผู้เสียภาษีจึงควรหมั่นติดตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขในทุกปี เพื่อที่จะได้วางแผนลดหย่อนภาษีได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และเซฟงบในกระเป๋าไปได้อีกมาก

    Checklist ลดหย่อนภาษี ปี 2565 ครบจบในแผ่นเดียว!

    ลดหย่อนภาษี พ่อแม่ อายุ 60 นับอย่างไร

    สรุปรายการลดหย่อนภาษี ปี 2565

    1. ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว

    ลดหย่อนภาษี พ่อแม่ อายุ 60 นับอย่างไร

    ประกอบด้วย

    • ค่าลดหย่อนส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ
    • ค่าลดหย่อนคู่สมรส จำนวน 60,000 บาท สำหรับคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย และคู่สมรสจะต้องไม่มีรายได้ (ได้สูงสุด 1 คน)
    • ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ที่จ่ายให้กับสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง รวมสูงสุดไม่เกินครรภ์ละ 60,000 บาท (ทั้งนี้การตั้งครรภ์ลูกแฝดจะนับว่าเป็นครรภ์เดียว) โดยสามีสามารถลดหย่อนภาษีในกรณีที่ภรรยาไม่มีเงินได้
    • ค่าลดหย่อนภาษีบุตร คนละ 30,000 บาท โดยจะต้องเป็นบุตรโดยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรม และบุตรมีอายุไม่เกิน 20 ปี หรืออายุไม่เกิน 25 ปี และกำลังศึกษาอยู่ หรือในกรณีที่บุตรอายุเกิน 25 ปี ขึ้นไป แต่มีสถานะเป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ก็สามารถลดหย่อนภาษีได้ ในกรณีบุตรคนที่ 2 ขึ้นไปที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป สามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
      • กรณีมีเฉพาะบุตรชอบด้วยกฎหมาย: สามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรกี่คนก็ได้ตามจำนวนบุตรจริง
      • กรณีมีเฉพาะบุตรบุญธรรม: สามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้คนละ 30,000 บาท สูงสุด 3 คน
      • กรณีมีทั้งบุตรชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรม: ให้ใช้สิทธิบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายก่อน และหากบุตรบุญธรรมเป็นคนที่ 4 จะไม่สามารถใช้สิทธิได้ แต่ถ้าบุตรบุญธรรมอยู่ในคนที่ 1-3 สามารถใช้สิทธิบุตรบุญธรรมได้
    • ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและของคู่สมรส จำนวนคนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน กล่าวคือ สามารถลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท (และจะต้องไม่ใช่พ่อแม่บุญธรรม) โดยบิดามารดาจะต้องมาอายุมากกว่า 60 ปี และมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนซ้ำระหว่างพี่น้องได้
    • ค่าลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพลภาพ จำนวนคนละ 60,000 บาท และผู้พิการจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และมีบัตรประจำตัวผู้พิการ รวมถึงจะต้องมีหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะ

    ในกรณีที่ผู้พิการหรือทุพลภาพเป็นบิดามารดา – บุตร – คู่สมรสของตนเอง สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ทั้งสองส่วน ตัวอย่างเช่น คู่สมรสไม่มีรายได้และเป็นผู้พิการ สามารถลดหย่อนได้สูงสุด 120,000 บาท (ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท และค่าลดหย่อนอุปการะผู้พิการ 60,000 บาท)

    2. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน

    ลดหย่อนภาษี พ่อแม่ อายุ 60 นับอย่างไร

    ลดหย่อนภาษี พ่อแม่ อายุ 60 นับอย่างไร

    ประกอบด้วย

    • เงินประกันสังคม สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 6,300 บาท (จากปกติ 9,000 บาท) เนื่องจากปี พ.ศ. 2565 มีการปรับลดอัตราเงินสะสมประกันสังคม
    • เบี้ยประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท โดยเงื่อนไขของค่าลดหย่อนประกันชีวิตคือ ต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป ต้องทำประกันกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย และถ้าหากมีการเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี จะถือว่าเป็นการผิดเงื่อนไข ไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
    • เบี้ยประกันสุขภาพ และเบี้ยประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
    • เบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท (บิดามารดามีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี แต่ไม่จำเป็นต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป)
    • เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท โดยเงื่อนไขของค่าลดหย่อนประกันชีวิตคือ ต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป ต้องทำประกันกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย และมีการจ่ายผลประโยชน์เป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ

    สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันชนิดต่าง ๆ และสิทธิประโยชน์ทางการลดหย่อนภาษีได้ที่ สรุป ซื้อประกันแบบไหน ได้ลดหย่อนภาษี? สิทธิประโยชน์และเงื่อนไขที่ต้องรู้

    • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF : Retirement Mutual Fund) สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท – สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุน RMF ได้ที่ “RMF” คืออะไร? ทบทวนเงื่อนไขพร้อมกองทุนแนะนำ!
    • กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF : Super Saving Funds) เป็นกองทุนเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว สามารถนำมาลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท – สามารถอ่านเรื่องกองทุนรวม SSF เพิ่มเติมได้ที่ คัมภีร์มหากาพย์กองทุน SSF กองไหนดี ต้องซื้อไหม ซื้อได้เท่าไร? สุดยอดกองทุนลดหย่อนภาษีปี 2565
    • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) / กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน สามารถนำมาลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามจำนวนที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
    • กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท
    • เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม) สำหรับผู้ที่ลงทุนในหุ้นหรือธุรกิจ Social Enterprise ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป สามารถนำเงินลงทุนไปเป็นค่าลดหย่อนได้ โดยลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

    *** สำหรับกลุ่มค่าลดหย่อนประกันชีวิตและการลงทุนในการวางแผนเกษียณ ได้แก่ กองทุน RMF กองทุน SSF กบข. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ และประกันชีวิตแบบบำนาญ เมื่อรวมกันทั้งหมด ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ***

    3. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค

    ลดหย่อนภาษี พ่อแม่ อายุ 60 นับอย่างไร

    ประกอบด้วย

    • เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
    • เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ สามารถนำมาลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
    • เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง นำมาลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่งมาจากมาตรา 70 ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ซึ่งกำหนดไว้ว่า ผู้บริจาคเงินให้แก่พรรคการเมืองสามารถนำจำนวนเงินบริจาคไปหักเป็นค่าลดหย่อนภาษีหรือรายจ่ายเพื่อการบริจาคตามที่กำหนดในประมวลรัษฎากร

    สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริจาคเพื่อลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมได้ที่ บริจาคอะไร ลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่า !

    4. ค่าลดหย่อนกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ

    ลดหย่อนภาษี พ่อแม่ อายุ 60 นับอย่างไร

    ประกอบด้วย

    • โครงการช้อปดีมีคืน 2565 สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 30,000 บาท สำหรับค่าซื้อสินค้าและบริการในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2565 ตามที่จ่ายจริง โดยสินค้าและบริการที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ได้แก่ สินค้าและบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สินค้า OTOP และสินค้าหมวดหนังสือ (รวมถึง E-Book)
    • ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย เช่น บ้านเดี่ยว คอนโด ห้องชุด และอาคาร เป็นต้น สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

    รายการลดหย่อนภาษี ปี 2565 ฉบับคนโสดแบบเฉิดฉาย!

    ลดหย่อนภาษี พ่อแม่ อายุ 60 นับอย่างไร

    รายการลดหย่อนภาษี ปี 2565 ของคนโสดจะคล้าย ๆ กับของคนมีคู่ แต่คนโสดจะไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 4 รายการ ดังนี้

    • ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท
    • ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร 60,000 บาท
    • ค่าลดหย่อนบุตร คนละ 30,000 บาท
    • ค่าลดหย่อนบุตรคนที่ 2 เป็นต้นไปที่เกิดตั้งแต่ปี 2561 คนละ 60,000 บาท

    แม้คนโสดจะเสียเปรียบคนมีคู่ไปบ้างเพราะพลาดสิทธิลดหย่อนภาษีบางรายการ แต่ถ้าเราวางแผนภาษีกันอย่างรอบคอบก็จะช่วยเราประหยัดภาษีได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด มีเงินเหลือเอาไปชอปปิงสร้างความสุขในชีวิตหรือลงทุนให้เงินของเราเติบโตมากขึ้นได้อีกอย่างแน่นอน

    เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี

    รูปแบบการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีอยู่ 2 แบบ คือ ภ.ง.ด.90 (สำหรับผู้มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือน) และ ภ.ง.ด.91 (สำหรับผู้มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริมอื่น) และจะต้องเตรียมเอกสารดังนี้

    • หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) – สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับใบ 50 ทวิ
    • รายการลดหย่อนภาษีที่รวบรวมทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา
    • เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษี เพื่อกรอกแบบฟอร์มการยื่นจ่ายภาษี

    สถานที่สำหรับการยื่นภาษี

    • ยื่นภาษีด้วยตัวเองที่กรมสรรพากร หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
    • ยื่นภาษีออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์กรมสรรพากร https://www.rd.go.th
    • ยื่นภาษีผ่านแอปพลิเคชัน RD Smart Tax โดยการลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากรเป็นอันดับแรก จึงจะสามารถยื่นผ่านแอปพลิเคชันได้

    กรณียกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

    • กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้พิการ และมีบัตรประจำตัวคนพิการว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย และมีอายุไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ในปีภาษี จะได้รับยกเว้นเงินได้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาท ในปีภาษีนั้น
    • กรณีเป็นผู้สูงอายุ และมีอายุไม่ต่ำกว่า 65 ปีบริบูรณ์ ในปีภาษี จะได้รับยกเว้นเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาท ในปีภาษีนั้น
    • กรณีมีเครดิตภาษีเงินปันผล สำหรับคนที่ลงทุนในหุ้น สามารถใช้ยกเว้นภาษีได้ตามสัดส่วนที่ได้รับจากเงินปันผล

    และทั้งหมดนี้ก็คือ รายการลดหย่อนภาษีสำหรับปี พ.ศ. 2565 ที่ทาง FINNOMENA ได้รวบรวมเอาไว้ให้ การวางแผนเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีในแต่ละปีก็เป็นการวางแผนทางการเงินอย่างหนึ่ง เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในหมวดหมู่ของภาษี และเพื่อสิทธิประโยชน์ของตนเองไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการประหยัดค่าใช้จ่าย การซื้อประกันชีวิตและประกันสุขภาพ หรือการลงทุนเพื่อผลตอบแทนในอนาคต การวางแผนภาษีตั้งแต่เนิ่น ๆ จะทำให้เราสามารถวางแผนการเงินได้อย่างรัดกุมและเป็นระบบมากขึ้น และไม่ได้ส่งผลในเรื่องของการเงินเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังส่งผลต่อการวางแผนชีวิตของตัวเราเองอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของประกันชีวิต ประกันสุขภาพ การลงทุนเพื่อวัยเกษียณ การออมเพื่ออนาคต การซื้อที่อยู่อาศัย เป็นต้น ดังนั้น หากยิ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษีมากเท่าไร ก็จะยิ่งเป็นประโยชน์ต่อตัวเราเองมากขึ้นเท่านั้น

    รับบริการผู้แนะนำการลงทุนกองภาษีส่วนตัวจาก FINNOMENA ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนกองภาษี 200,000 บาทขึ้นไป
    👉 ลงทะเบียน คลิก >>> https://finno.me/taxplanner-services

    FINNOMENA Admin

    ลดหย่อนภาษี พ่อแม่ อายุ 60 นับอย่างไร

    แท็ก:

    ArticleBasicKnowledgeLong ContentPersonalFinance101TAXTax Saving Fundประหยัดภาษีภาษีภาษีเงินได้ยื่นภาษีลดหย่อนภาษีวางแผนภาษี

    ลดหย่อนภาษีพ่อแม่ได้เท่าไร

    ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและของคู่สมรส จำนวนคนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน กล่าวคือ สามารถลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท (และจะต้องไม่ใช่พ่อแม่บุญธรรม) โดยบิดามารดาจะต้องมาอายุมากกว่า 60 ปี และมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนซ้ำระหว่างพี่น้องได้

    บิดา มารดา ที่มีอายุเท่าไรจึงไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้

    พ่อแม่ต้องอายุอย่างน้อยครบ 60 ปีแล้ว ในปีภาษีนั้น (ถ้าอายุเพิ่งครบ 60 ปีในปีที่ยื่นภาษีจะไม่เข้าเงื่อนไข ตัวอย่างเช่น จะยื่นภาษีประจำปีภาษี 2564 ช่วงต้นปี 2565 แม้คุณแม่จะอายุครบ 60 ปีช่วงต้นปี 2565 ซึ่งเป็นช่วงยื่นภาษีประจำปี 2564 ก็ไม่อยู่ในเกณฑ์สิทธิลดหย่อนได้เนื่องจากต้องอายุครบ 60 ปีเมื่อปี 2564 เท่านั้น)

    ลดหย่อนภาษีพ่อแม่ทำยังไง

    หมวดค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูบิดา/มารดา.
    หักลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท.
    บิดามารดามีอายุ 60 ปีขึ้นไป และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ (ไม่จำเป็นต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกันกับผู้มีเงินได้).
    บิดามารดามีเงินได้พึงประเมิน ไม่เกิน 30,000 บาท.

    การหักค่าลดหย่อนบิดามารดาต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไปหักได้รวมกันกี่บาท

    ผู้มีเงินได้สามารถใช้สิทธิลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาได้คนละ 30,000 บาท หากเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดดังต่อไปนี้ 1. บิดามารดาต้องมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป (การคำนวณอายุให้นำปีภาษีหักด้วย พ.ศ. เกิดของบิดามารดา) 2. บิดามารดาอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้