วิธีการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง

แรกเกิด – 6 เดือน นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับวัยนี้ เพราะนมแม่มีสารอาหารที่ทารกต้องการอย่างครบถ้วน แต่ถ้าอายุครบ 6 เดือน เข้าสู้ช่วงหย่านม อาจเริ่มให้อาหารบดทีละชนิดเพื่อให้รู้จักการบดเคี้ยว ติดตามดูอาการแพ้ของอาหารชนิดต่างๆ ไม่ควรเติมเกลือ น้ำตาลและสารปรุงรสเพื่อไม่ให้เด็กติดหวานและเค็ม สามารถให้นมแม่หรือนมผงสำหรับเด็กทารกไปพร้อมกับการให้อาหารอื่นๆได้

 

วัยเด็ก

เด็กวัยก่อนเรียน อายุ 1-5 ปี ยังไม่สามารถรับประทานอาหารได้เยอะมากนัก ควรป้อนอาหารเป็นมื้อเล็กๆ และของว่างที่มีประโยชน์ ฝึกให้เด็กกินผักโดยอาจจะหั่นเป็นชิ้นเล็กสอดแทรกลงไปในอาหารให้มีสีสันสวยงาม น่ารับประทาน ฝึกให้เด็กหยิบจับอาหารด้วยตัวเอง

เด็กวัยเรียน อายุ 6 – 12 ปี ควรให้ความสำคัญกับอาหารเช้า รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ วัยนี้มักจะเลือกอาหารที่เข้าถึงได้ง่ายที่มีขายอยู่ทั้งในและนอกโรงเรียน หรือใกล้ที่พักอาศัย ควรมีการให้ความรู้ทางโภชนาการและปลูกฝังพฤติกรรมทการบริโภคอาหารที่เหมาะสม

ควรให้เด็กได้บริโภคนมและผลิตภัณฑ์จากนมเพื่อให้ได้รับโปรตีนและแคลเซียม นำไปใช้ในการเจริญเติบโตของร่างกาย เสริมสร้างกระดูกและฟัน ซึ่งนมที่เหมาะสมสำหรับเด็ก คือ นมครบส่วน หรือนมไขมันเต็มเพราะให้พลังงานที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย แต่ควรเป็นนมรสจืดที่ไม่ปรุงรส

 

วัยรุ่น

วัยนี้สามารถรับประทานอาหารได้มาก เพราะมีการเจริญเติบโตของร่างกายอย่างรวดเร็ว ต้องการอาหารที่มีพลังงานสูงแต่ให้คุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน วัยรุ่นมักจะให้ความสำคัญกับรูปร่างและสัดส่วนของร่างกายซึ่งไม่ควรใช้วิธีการอดอาหารเพื่อลดน้ำหนัก แต่ควรใช้วิธีการรับประทานอาหารให้ถูกสัดส่วนและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

 

วัยผู้ใหญ่

อาหารสำคัญของคนวัยนี้ควรเลือกอาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ผักและผลไม้ ข้าว/แป้งที่ไม่ผ่านกระบวนการขัดสี ได้แก่ ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลต์วีต และธัญพืชต่างๆ รับประทานอาหารที่ให้โปรตีนพอประมาณ เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่และถั่วต่างๆ สิ่งสำคัญที่สุด คือ การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมกับส่วนสูงของตยอง

 

ผู้สูงอายุ

วัยนี้จะมีการเสื่อมถอยของร่างกาย ดังนั้นควรรับประทานอาหารที่ย่อยง่ายและให้คุณค่าทางโภชนาการสูง เลือกโปรตีนคุณภาพดีจากไข่ ปลา และเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เสริมสร้างกระดูกด้วยนมและผลิตภัณฑ์จากนม ปลาเล็กปลาน้อย งาดำ เต้าหู้แข็ง และผักใบสีเขียวเข้ม

 

 

จัดทำโดย: งานโภชนาการ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก โทร 02-8496600 ต่อ 1084/1085

ขอบคุณข้อมูลจาก: สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

 

วิธีการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

คลินิกอายุรกรรมทั่วไป

  • โทร 02 849 6600 ต่อ 2130,3077

บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง

ศาสตร์การแพทย์ทางเลือกกับการฟื้นฟูรักษาอาการ Long COVID

ศาสตร์การแพทย์ทางเลือกกับการฟื้นฟูรักษาอาการ Long COVID โดย พท.ป. วรรณดี ชิตเจริญธรรม พจ. ธีรวุฒิ ชาญศิริเจริญกุล และพจ. ลดาวรรณ โชติกุลวรพฤกษ์ กลุ่มอาการ ภาวะลองโควิด (Long COVID) ตามนิยามของ WHO ในปี 2021 กล่าวไว้ว่า เป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องภายหลังการการติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโรคโควิด (COVID – 2019) อาการลองโควิดโดยส่วนใหญ่เริ่มขึ้นหลังจากที่ผู้ป่วยเริ่มฟื้นตัวจากการติดเชื้อโควิด 19 แบบรุนแรงเฉียบพลัน มีความสัมพันธ์กับอาการป่วยที่รุนแรงจากการติดเชื้อที่เกิดขึ้นก่อนหน้า ระยะเวลาของอาการส่วนมากตั้งแต่ 3 เดือน นับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน และกลุ่มอาการมีความหลากหลายและกระทบกับหลายระบบในร่างกาย เช่น ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกันและสุขภาพจิต โดยมักพบมีอาการภายหลังการติดเชื้อ 4-12 สัปดาห์ โดยอาการที่พบสามารถดีขึ้นหรือแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป และ/หรือมีการกลับเป็นซ้ำใหม่ได้ ลักษณะอาการลองโควิดที่พบบ่อย ได้แก่ อ่อนเพลีย หายใจลำบากหรือหอบเหนื่อย ไอ นอนไม่หลับ […]

วิธีการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง

ภาวะ Long Covid กับอาการ ไอ เหนื่อยหอบ

ภาวะ Long Covid กับอาการ ไอ เหนื่อยหอบ พจ.มาลีนา บุนนาค ลู่ ปอด ในทางทฤษฎีการแพทย์แผนจีน เป็นอวัยวะที่ควบคุมพลังชี่ และการไหลเวียนลมปรานชี่ และของเหลวในร่างกาย โดยปกติปอดจะไม่ชอบความชื้น  เมื่อร่างกายรับเชื้อโควิดลงสู่ปอด ปอดติดเชื้อก่อให้เกิดการอักเสบ เกิดเสมหะอุดกั้น ทำให้การกระจายชี่ของปอดไม่สมบูรณ์ เกิดอาการหอบเหนื่อย หายใจติดขัด และการที่ชี่จากปอดไหลย้อนกลับ จะก่อให้เกิดอาการไอ เมื่อยังมีการอักเสบอยู่ การทำงานของปอดจึงยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ จึงทำให้เกิดการไอเรื้อรังได้ อาการ Post Covid Syndrome หรือ Long Covid คืออาการที่ผิดปกติของร่างกายในขณะที่ติดเชื้อโควิด แม้จะครบ 1 เดือน หายดีกลับบ้านได้แล้ว แต่อาจยังหลงเหลืออาการอยู่ หากพบว่ามีอาการผิดปกตินานกว่า 2 เดือน เช่น  ไอ หายใจติดขัด เหนื่อยหอบ เจ็บแน่นหน้าอก ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยให้ชัดเจนว่าเกิดจากสาเหตุใด ซึ่งอาจเกิดจากภาวะ Long Covid   เกิดจากการติดเชื้อโรคอื่น หรือโรคที่เกิดขึ้นใหม่ก็เป็นได้ อาการที่อาจหลงเหลืออยู่ […]

วิธีการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง

อาหารรักษ์หัวใจ

อาหาร “รักษ์” หัวใจ ในปัจจุบันความชุกของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีเพิ่มมากขึ้นทุกปี ไม่ว่าจะเป็น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ ฯลฯ ซึ่งโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่อาจทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้น การรับประทานอาหารเพื่อรักษาสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งบทความนี้จะแนะนำให้รู้จักกับอาหารเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Diet) โดยมีงานวิจัยชี้ว่ามีส่วนช่วยลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ “Mediterranean Diet” คือการกินอาหารแบบผู้คนที่อาศัยอยู่ในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เช่น กรีซ อิตาลีตอนใต้ และสเปน เป็นต้น ซึ่งเน้นหลักการสำคัญ 9 ประการ และนำมาปรับใช้กับอาหารของคนไทยได้ดังนี้   เน้นธัญพืชต่างๆ (High wholegrain) รับประทานธัญพืช ข้าวแป้งที่ไม่ผ่านการขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือขนมปังโฮลวีต เมล็ดงา และถั่ว เป็นต้น เน้นถั่วต่างๆ (High legumes/nuts) เพิ่มการบริโภคถั่วให้มากขึ้น สามารถหุงผสมข้าวรับประทานเป็นมื้อหลัก หรือกินเป็นของกินเล่น เน้นผัก (High vegetables) เพิ่มความหลากหลายของผักในมื้ออาหาร อย่างน้อย 5 สี ควรมีสัดส่วนของผักประมาณครึ่งหนึ่งของจานในแต่ละมื้อ เน้นผลไม้ […]

วิธีการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง

Work from Bed

หลาย ๆ ท่านคงกำลัง Work From Home มุมโปรดของบางท่าน อาจจะอยู่บนที่นอน วันนี้เราจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับผลเสียของการทำงานบนเตียง (Work from Bed) กันนะคะ ด้วยความห่วงใยจากเราศิริราช-กาญจนา  

การบริโภคอาหารให้พอดีควรทำอย่างไร

ตักอาหารหรือซื้ออาหารพอดีที่จะรับประทาน ไม่ซื้ออาหารตุนไว้เกินความจำเป็นหรือไม่นำอาหารไว้ใกล้ตัว หยิบง่ายเกินไป ไม่ตัดสินอาหารว่าดีหรือไม่ดี หากอยากรับประทานให้รับประทานได้ โดยรับประทานให้พอดีและสมดุล เลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้อยากรับประทานอาหาร โดยไม่รู้สึกหิว เช่น เดินอ้อมร้านขนม ไม่เปิดหาสิทธิพิเศษหรือส่วนลดร้านอาหาร

ใน1วันเราควรกินอะไรบ้าง

คำแนะนำ : ใน 1 วัน ควรทานอาหารปริมาณดังนี้ (ข้าว-แป้ง 7 ทัพพี / ผัก 4 ทัพพี / ผลไม้ 3 ทัพพี / นมจืด วันละ 2-3 แก้ว / เนื้อสัตว์ 4 ช้อนกินข้าว และน้ำมัน-น้ำตาล-เกลือ วันละเล็กน้อย) อายุ 9 – 12 ปี มีความต้องการพลังงาน 1,700 กิโลแคลอรีต่อวัน

การกินช่วยอะไร

การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการจะทําให้ร่างกายได้รับประโยชน์และคุณค่าซึ่ง ส่งผลต่อสุขภาพ ดังนี้ 1. ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต 2. ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย 3. ให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย 4. ช่วยให้อวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายทํางานได้ตามปกติ 5. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้แก่ร่างกาย

เราไม่ควรกินอาหารรสจัดเพราะอะไร

ลดเค็มสักนิด เพื่อสุขภาพไตที่ดี กินเค็มจัด หรือกินอาหารที่มีโซเดียมเกินปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน ไตจะทำงานหนัก เพื่อเร่งขับเกลือออกจากร่างกายให้มากที่สุด ส่งผลให้ไตเกิดความเสียหาย ทำลายไตและหัวใจในที่สุด