ไปตรวจร่างกายต้องเตรียมตัวยังไง

หลาย ๆ ท่านที่เคยเข้ารับการตรวจสุขภาพ คงจะพอทราบดีแล้วว่า การตรวจสุขภาพนั้นค่อนข้างใช้เวลานาน บางโปรแกรมมีการตรวจหลายรายการ ตรวจแบบละเอียด ก็อาจจะต้องใช้เวลาถึงครึ่งวันเลยทีเดียว แต่ด้วยยุคปัจจุบันที่ทุกอย่างดูเร่งรีบไปเสียหมด ศูนย์สุขภาพ โรงพยาบาลนครธน จึงมีการพัฒนาการบริการให้รวดเร็วและทันสมัยขึ้น เพื่อลดระยะเวลาการรอคอยของผู้เข้ารับบริการ ไม่ต้องเสียเวลานาน แต่ยังคงได้รับการดูแลสุขภาพที่ดีและได้มาตรฐานเช่นเดิม

เพราะการตรวจสุขภาพ คือการตรวจคัดกรองเพื่อหาความเสี่ยงโรคต่าง ๆ หากเราตรวจพบความผิดปกติของร่างกายได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ก็จะช่วยให้สามารถวางแผนรักษาที่เหมาะสมและมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้สูงกว่าการตรวจพบในระยะเรื้อรัง และเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาน้อยกว่า ดังนั้นการตรวจสุขภาพเป็นประจำจะทำให้คุณรู้ทันโรคภัยไข้เจ็บ เรียกว่า “รู้ก่อน รักษาได้ ทันเวลา” แต่ก่อนที่จะไปตรวจสุขภาพก็ต้องมีการเตรียมความพร้อมสักเล็กน้อย ส่วนจะมีขั้นตอนอะไรบ้าง หยิบสมุด ปากกามาจดกันได้เลย!

ไปตรวจร่างกายต้องเตรียมตัวยังไง

การตรวจสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ

เพราะมีโรคหลายชนิดที่เกิดขึ้นที่ร่างกายไม่แสดงอาการ แต่แอบแฝงเป็นภัยเงียบคุกคามสุขภาพ การตรวจสุขภาพจึงมีเป้าหมายสำคัญ คือการค้นหาโรคที่ซ่อนอยู่โดยที่ร่างกายยังไม่แสดงอาการผิดปกติ และค้นหาพฤติกรรมเสี่ยง หรือปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เพื่อหาแนวทางป้องกันและรับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

เตรียมพร้อมก่อนตรวจ

- ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง หากพักผ่อนไม่เพียงพอจะทำให้ผลการตรวจคลาดเคลื่อนไปโดยเฉพาะความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ และอุณหภูมิของร่างกาย
- งดอาหาร และเครื่องดื่ม อย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงก่อนตรวจ (สามารถจิบน้ำเปล่าได้เล็กน้อย)
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 24 ชั่วโมง เนื่องจากยาและแอลกอฮอล์ อาจมีผลต่อการตรวจบางรายการ
- หากมีโรคประจำตัว หรือประวัติสุขภาพด้านอื่นๆ ควรแจ้งให้แพทย์ หรือพยาบาลทราบก่อนการตรวจ
- ควรสวมเสื้อผ้าที่สะดวกต่อการเจาะเลือดที่ข้อพับ แขน

สำหรับสุภาพสตรี

- งดใส่เครื่องประดับต่างๆ ที่เป็นโลหะ / สุภาพสตรีงดใส่ชุดชั้นในที่เป็นโครงเหล็ก
- หากมีประจำเดือนแนะนำให้งดตรวจปัสสาวะ เพราะเลือดจะปนเปื้อนในปัสสาวะและมีผลกระทบต่อผลการตรวจ
- หากตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วยการเอกซเรย์เต้านม (Mammogram) ควรหลีกเลี่ยงการตรวจในช่วงมีประจำเดือน เพราะเต้านมจะมีความคัดตึง ควรตรวจหลังมีประจำเดือน
- ในกรณีสงสัยว่าตั้งครรภ์ โปรดแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ เพื่องดการตรวจเอกซเรย์

ข้อควรทราบของการเก็บสิ่งส่งตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง

ขั้นตอนการเก็บปัสสาวะ
1) ทำความสะอาดบริเวณภายนอกโดยรอบก่อน
2) ให้ทิ้งปัสสาวะในช่วงแรก และ ตอนก่อนถ่ายสุด โดยให้เก็บเฉพาะช่วงกลางระหว่างปัสสาวะ
3) เก็บประมาณ 20-30 มล.หรือ 3/4 ของกระปุกและส่งให้เจ้าหน้าที่ภายใน 1 ชม (เพราะแบคทีเรียจะเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้ PH ของปัสสาวะเป็นด่าง ถ้าส่งทันทีไม่ได้ควรเก็บในที่ควบคุมอุณหภูมิ 0-4 องศา (โดยไม่ควรเก็บเกิน 18 ชม)

ขั้นตอนการเก็บอุจจาระ

1) ตรวจสอบความเรียบร้อยของภาชนะที่จัดเก็บ จะต้องแห้งสะอาดและมีฝาปิดมิดชิด
2) ในขั้นตอนการเก็บควรปัสสาวะทิ้งไปก่อนเพื่อป้องกันการปนเปื้อนที่อาจส่งผลต่อการตรวจได้
3) ถ่ายอุจจาระลงในถุงพลาสติกปากกว้างแห้งสะอาด หรืออาจใช้พลาสติกสำหรับหุ้มห่อวางพาดโถสุขภัณฑ์ตามภาพเพื่อไม่ให้ตัวอย่างตกลงน้ำ และใช้ที่ป้ายพลาสติกที่อยู่ในกระปุกเก็บอุจจาระประมาณ 4-5 กรัมและให้ส่งตรวจทันทีไม่เกิน 1 ชม เนื่องจากระยะไทรโฟซอยด์ของโปรโตซัวอาจตาย

ควรล้างมือให้สะอาดทั้งก่อนและหลัง เนื่องจากอาจเป็นแหล่งแพร่กระจายของเชื้อโรคได้

สอบถามข้อมูล

ศูนย์ตรวจสุขภาพ
โทร. 02-514-4141 ต่อ 3111,3107

การตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการดูแลสุขภาพที่ช่วยให้เราเตรียมรับมือกับโรคที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ เพราะเป็นการตรวจคัดกรองโรคเบื้องต้น และประเมินความเสี่ยงของโรคที่อาจแฝงอยู่ในร่างกาย แต่ยังไม่ปรากฏอาการผิดปกติ เช่น ความดันโลหิตสูง หรือเบาหวาน

อย่างไรก็ตาม แต่ละโรงพยาบาลมีโปรแกรมการตรวจสุขภาพที่หลากหลาย สำหรับคนในแต่ละช่วงอายุ หรือสำหรับผู้หญิง หรือผู้ชายโดยเฉพาะ ทำให้หลายคนอาจสับสน หรือไม่แน่ใจว่า ควรเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างไร วันนี้เรามีคำตอบมาฝากกัน

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพโดยทั่วไป

ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสุขภาพแบบใด ควรเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพ ดังนี้

  • ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนเเข้ารับการตรวจ เพราะอาจทำให้ผลการตรวจผิดปกติได้ โดยเฉพาะความดันโลหิต หรืออัตราการเต้นของหัวใจ
  • ในกรณีที่มีการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ควรงดรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม อย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการตรวจ (สามารถจิบน้ำได้)
  • ในกรณีที่มีการตรวจระดับไขมันในเลือด เช่น คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ HDL หรือ LDL ควรงดรับประทานอาหาร และเครื่องดื่ม อย่างน้อย 10-12 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการตรวจ โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูง (สามารถจิบน้ำได้)
  • หากมีโรคประจำตัว หรือมียารักษาโรคประจำตัวที่รับประทานเป็นประจำ ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ สอบถามเพิ่มเติมว่า จำเป็นต้องงดรับประทานยาหรือไม่ และควรนำยาไปด้วยในวันที่เข้ารับการตรวจ
  • ในกรณีที่มีการตรวจตาและสมรรถภาพการมองเห็น ไม่ควรตรวจในช่วงที่มีภาวะเจ็บป่วยของดวงตา เช่น ตาแดง ตาอักเสบ ตาบวม หรือตรวจตาหลังทำงานที่ใช้สายตา และหากมีการสวมแว่นสายตา ให้นำแว่นมาตรวจเช็กด้วย
  • ในกรณีที่มีการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน ควรตรวจหลังจากหลีกเลี่ยงเสียงดังมาแล้วอย่างน้อย 16 ชั่วโมง
  • ในกรณีที่มีการตรวจสมรรถภาพปอด ให้งดรับประทานอาหารอย่างน้อย 1 ชั่วโมง งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 2 ชั่วโมง งดการใช้ยาขยายหลอดลมอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ถอดฟันปลอมให้เรียบร้อย และห้ามเคี้ยวหมากฝรั่ง หรืออมลูกอมขณะตรวจ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานของหวาน หรือน้ำหวาน อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการตรวจ เพราะอาจมีผลต่อการตรวจปัสสาวะได้
  • ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่ถอดง่าย หลีกเลี่ยงการใส่ชุดชั้นในที่เป็นโครงเหล็ก และงดการใส่เครื่องประดับที่เป็นโลหะ เพราะอาจต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนเข้ารับการตรวจเอกซเรย์

การเตรียมตัวตรวจสุขภาพเพิ่มเติมในผู้หญิง

การตรวจสุขภาพในผู้หญิง ไม่แนะนำให้ตรวจในช่วง 7 วันก่อน และหลังมีประจำเดือน อย่างไรก็ตาม หากตรวจสุขภาพในช่วงมีประจำเดือน ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่องดการตรวจปัสสาวะ

ส่วนผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่ากำลังตั้งครรภ์ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่องดการตรวจเอกซเรย์ เพราะอาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้

นอกจากนี้การตรวจสุขภาพในผู้หญิงมักมีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิงอย่างมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งปากมดลูกเพิ่มเติมด้วย จึงต้องมีการเตรียมตัวเพิ่มเติม ดังนี้

  • หากมีการตรวจภายใน หรือตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ การใช้สารหล่อลื่น ผลิตภัณฑ์สเปรย์ แป้ง ครีม หรือยาสอด รวมถึงงดการสวนอวัยวะเพศด้วยน้ำ หรือของเหลวอื่นทุกชนิด ก่อนเข้ารับการตรวจ 48 ชั่วโมง
  • หากมีการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ห้ามทาแป้งฝุ่น โลชั่น หรือผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย บริเวณเต้านม และรักแร้

การตรวจสุขภาพ เป็นเพียงการตรวจคัดกรองโรคเบื้องต้น หากต้องการตรวจวินิจฉัยโรคอย่างละเอียดอาจต้องรับการตรวจเพิ่มเติม และแม้ว่าผลการตรวจสุขภาพจะเป็นปกติ ผู้เข้ารับการตรวจก็ควรดูแลสุขภาพอยู่เสมอ โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ ผู้หญิง หรือผู้ชาย HDmall ได้รวบรวมโปรแกรมการตรวจสุขภาพสำหรับทุกเพศทุกวัยมาไว้ให้คุณแล้ว กด เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจโปรแกรมตรวจสุขภาพ จากโรงพยาบาลและคลินิกใกล้บ้าน พร้อมรับโปรโมชัน และส่วนลดมากมาย เมื่อจองคิวผ่าน HD

ไปตรวจสุขภาพ ต้องเตรียมอะไรบ้าง

กรุณางดอาหารและเครื่องดื่ม อย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงก่อนตรวจ (สามารถจิบน้ำเปล่าได้เล็กน้อย) กรุณางดดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนตรวจสุขภาพ เนื่องจากยาและแอลกอฮอล์ อาจมีผลต่อการตรวจบางอย่าง ควรแจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลทราบก่อนตรวจ หากท่านกำลังรับประทานยาเพื่อควบคุมความดันโลหิต ท่านสามารถรับประทานต่อได้ตามที่แพทย์แนะนำ

ไปตรวจสุขภาพ ต้องไปกี่โมง

ใครหลายๆ คน อาจคิดว่าการตรวจสุขภาพต้องตื่นเช้าและงดน้ำงดอาหาร เราจึงฉีกข้อจำกัดการดูแลสุขภาพด้วยการเปิดบริการใหม่ให้มาตรวจสุขภาพตอนไหนก็ได้ ไม่จำกัดแค่ช่วงเช้าเท่านั้น เพราะบางคนอาจไม่สะดวกเนื่องจากติดธุระ หรือตื่นสาย กว่าจะออกจากบ้านมาถึงโรงพยาบาลก็ตอนเที่ยง หรือคนที่ทานมื้อดึก เช่น ทานข้าวตอนเที่ยงคืน มาตรวจสุขภาพ ...

ตรวจสุขภาพ ห้ามอะไรบ้าง

ก่อนการได้รับการ ตรวจสุขภาพ ควรงดอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย 8 – 10 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็นดังนี้ ผู้ที่ต้องการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ควรงดอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย 6 ชั่วโมง ผู้ที่ต้องการตรวจไขมันในเลือด อาทิ คอเลสเตอรอล,ไตรกลีเซอไรด์, HDL หรือ LDL ควรงดอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย 12 ชั่วโมง

งดอาหารก่อนตรวจสุขภาพกี่ชั่วโมง

ควรงดอาหารและเครื่องดื่ม อย่างน้อย 8-10 ชั่วโมง แต่สามารถจิบน้ำเปล่าได้เล็กน้อย หลังจากเจาะเลือดแล้ว สามารถดื่มน้ำและรับประทานอาหารได้ตามปกติ ควรงดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกประเภท อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนตรวจสุขภาพ เพราะอาจมีผลต่อการอ่านค่าการตรวจบางอย่าง