ผู้ขอมีบัตรประจำตัวประชาชนต้องมีอายุไม่เกินเท่าใด

ผู้ที่จะขอมีบัตรประจำตัวประชาชนได้ จะต้องมีลักษณะ ดังนี้

1.มีสัญชาติไทย

2.มีอายุตั้งแต่ 15 ปี บริบูรณ์ แต่ไม่ถึง 70 ปี บริบูรณ์ (ในกรณีบัตรประชาชนเด็ก ทำได้ตั้งแต่อายุ 7 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง 15 ปี บริบูรณ์)

3. ต้องมีชื่อในทะเบียนบ้าน (หากไม่มีจะต้องทำเรื่องขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านก่อน)สถานที่ที่ให้ไปยื่นคำขอทำบัตรประจำตัวประชาชน

1.         ที่ว่าการอำเภอ

2.         ที่ว่าการกิ่งอำเภอ

3.         สำนักงานเขต (กรณีกรุงเทพมหานคร)

4.         สำนักงานเทศบาล

5.         สำนักปลัดเมืองพัทยา

โดยในวันที่ขอทำบัตรนั้น ผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่ขึ้นตรงต่อเขต อำเภอ หรือกิ่งอำเภอใด หรือขึ้นตรงต่อเมืองพัทยา ก็ให้ไปติดต่อที่ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขตนั้น หรือที่สำนักปลัดเมืองพัทยา แล้วแต่กรณี

การทำบัตรประชาชนในกรณีต่างๆ

               การขอทำบัตรประจำตัวประชาชนมีขั้นตอนในการทำที่ต่างกันไปตามกรณี ในบทความนี้จะขอพูดถึงสองกรณีที่สำคัญและอาจต้องทำบ่อยๆก่อน ได้แก่การขอมีบัตรประจำตัวประชาชนในกรณีที่บัตรเดิมหมดอายุ และการขอมีบัตรประจำตัวประชาชนในกรณีที่บัตรเดิมถูกทำลาย หรือสูญหาย หรือขอทำบัตรประจำตัวประชาชนนอกกำหนดเวลา

ขั้นตอนการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ในกรณีที่บัตรเดิมหมดอายุ

1.         ติดต่อที่สำนักงานเขต ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอที่ทะเบียนบ้านของผู้ขอมีบัตรขึ้นตรงอยู่ ด้วยตัวเอง

2.         กรอกเอกสารแบบ บ.ป. 1 และนำยื่นพร้อมกับเอกสารประกอบ ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน และบัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่หมดอายุ แก่เจ้าหน้าที่

3.         รอคิวทำบัตร และถ่ายรูปติดบัตร

ขั้นตอนการขอมีบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ ในกรณีที่บัตรถูกทำลาย สูญหาย หรือขอทำบัตรเกินกำหนดระยะเวลา

1.         ติดต่อสำนักงานเขต ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอที่ทะเบียนบ้านของผู้ขอมีบัตรขึ้นตรงอยู่ ด้วยตัวเอง จากนั้น แจ้งบัตรหายต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สำนักทะเบียนที่ประสงค์จะทำบัตร เพื่อทำบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมสูญหายหรือถูกทำลาย หากพ้นกำหนด จะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 200 บาท

2.         กรอกเอกสารแบบ บ.ป. 1 และนำยื่นพร้อมสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน แก่เจ้าหน้าที่

3.         แสดงหลักฐานอื่นที่เจ้าพนักงานออกให้ เพื่อยืนยันตนว่าเป็นบุคคลเดียวกับที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน เช่นใบขับขี่ สูติบัตร หรือหนังสือเดินทาง เป็นต้น

4.         ให้ถ้อยคำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และในกรณีที่เจ้าหน้าที่ร้องขอ ผู้ขอมีบัตรจะต้องนำพยานบุคคลที่เจ้าพนักงานเชื่อถือเข้ามาเป็นพยานยืนยัน

5.         หากบัตรเดิมที่สูญหายหรือถูกทำลาย จะต้องนำหลักฐานตามข้อ 3 และ 4 พร้อมเจ้าบ้านผู้น่าเชื่อถือไปรับรองด้วย

ผู้ขอมีบัตรประจำตัวประชาชนต้องมีอายุไม่เกินเท่าใด

ปัจจุบันเด็กที่มีอายุครบ 7 ปีบริบูรณ์ และมีชื่อในทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) สามารถทำบัตรประจำตัวประชาชนได้ ซึ่งต้องทำภายใน 60 วัน หลังจากครบ 7 ปีบริบูรณ์ หากพ้นกำหนดจะเสียค่าปรับ ไม่เกิน 100 บาท แล้วบัตรประชาชนเด็กทำได้ที่ไหนบ้าง? ต้องยื่นเอกสารอะไรบ้าง? Mamaexpert อัปเดตข้อมูลมาให้แล้วค่ะ 

ทำบัตรประชาชนเด็กต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?

ในการทำบัตรประชาชนครั้งแรก ไม่เสียค่าธรรมเนียม ส่วนเอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำบัตรประชนเด็ก หรือ การทำบัตรประชาชนครั้งแรก มีดังนี้ (1)

  1. สูติบัตร หรือหลักฐานอื่นที่ราชการออกให้ เช่น ใบสุทธิ สำเนาทะเบียนนักเรียน หนังสือเดินทาง เป็นต้น เพื่อแสดงว่าเป็นบุคคลเดียวกับผู้มีชื่อในทะเบียนบ้าน 
  2. หากเด็กเคยเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ต้องนำใบสำคัญมาแสดงด้วย และหากบิดา มารดาของเด็กเคยเปลี่ยนชื่อตัว  ชื่อสุกล ต้องนำใบสำคัญมาแสดงด้วย
  3. หากไม่มีเอกสารตามข้อ 2 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมาให้การรับรอง
  4. กรณีบิดามารดาเป็นคนต่างด้าว ให้นำใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดา มารดามาแสดงด้วย หรือนำใบมรณบัตรของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ถึงแก่กรรมไปแสดง
  5. การขอมีบัตรครั้งแรกเมื่ออายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป ต้องนำเอกสารหลักฐานที่กำหนดตามข้อ 1,2,3,4 และให้นำเจ้าบ้านและบุคคลที่น่าเชื่อถืออย่างน้อย 2 คน ไปพบเจ้าหน้าที่เพื่อสอบสวนและให้การรับรอง

บุคคลน่าเชื่อถือ หมายถึง “บุคคลใด ๆ ซึ่งมีภูมิลำเนาที่อยู่แน่นอน มีอาชีพมั่นคงและมีความรู้จักคุ้นเคยกับผู้ขอมีบัตรเป็นอย่างดี อาจเกี่ยวข้องเป็นญาติกันหรือไม่ก็ได้”

บัตรประชาชนเด็กสามารถทำได้ที่ไหน

ปัจจุบันการทำบัตรประชาชน สามารถทำได้นอกเขตได้แล้ว โดยยื่นขอทำบัตรประจำตัวประชาชนได้ทุกจังหวัด ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่สะดวกพาลูกไปทำบัตรประชาชนเด็กที่ไหน สามารถทำได้เลยนะคะ ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานเขต, สำนักงานเทศบาล, สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง หรือที่ว่าการอำเภอ 

แต่!!! ตอนนี้ยิ่งสะดวกและตอบโจทย์กับคนที่มีเวลางานตรงกับเวลาราชการยิ่งขึ้นค่ะ เพราะมีการตั้งจุดบริการด่วนมหานคร (BMA Express Service) สามารถทำบัตรประชาชนได้ที่สถานีรถไฟฟ้า BTS ในกรุงเทพฯ (ยกเว้นกรณีบัตรหาย) ได้แก่ 

  • สถานีรถไฟฟ้าสยาม (หน้าศูนย์การค้าสยามพารากอน)
    วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.30-19.00 น.
    วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-18.00 น.
  • สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต 
    วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-20.00 น.
    วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-18.00 น.
  • สถานีรถไฟฟ้าพร้อมพงษ์
    วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-20.00 น.
    วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-18.00 น.
  • สถานีรถไฟฟ้าอุดมสุข
    วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 10.00-19.00 น.
    วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-19.00 น.
  • สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่
    วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 10.00-19.00 น.
    วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-19.00 น.

นอกจากนี้ตามห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ เช่น เกตเวย์เอกมัย, แฟชั่นไอส์แลนด์, ซีคอนบางแค, เดอะมอลล์บางแค, บิ๊กซี และ ห้างโรบินสันตามจังหวัดต่าง ๆ ก็มีจุดบริการทําบัตรประชาชนเช่นกันค่ะ 

บทความแนะนำเพิ่มเติม

1. เเจ้งเกิดลูกต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง
2. แจ้งเกิดในต่างประเทศ ต้องเตรียมอะไรบ้าง แจ้งที่ไหนดี?
3. เอกสารที่ต้องใช้ในการทำหนังสือเดินทางสำหรับเด็ก

เรียบเรียงโดย : Mamaexpert Editorial Team

อ้างอิง :

1. การทำบัตรประจำตัวประชาชน.เข้าถึงได้จาก http://www.bangkok.go.th/vadhana.[ค้นคว้าเมื่อ 25 มิถุนายน 2564]
2. การขอมีบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก.เข้าถึงได้จาก https://www.bora.dopa.go.th/CallCenter1548/.[ค้นคว้าเมื่อ 25 มิถุนายน 2564]
3. ทำบัตรประชาชน 2564 ทำที่ไหน ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง?.เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2056217.[ค้นคว้าเมื่อ 25 มิถุนายน 2564]

***อัปเดตข้อมูลล่าสุด 25 มิถุนายน 2564

ผู้ขอมีบัตรประจำตัวประชาชนต้องมีอายุไม่เกินเท่าใด *

ผู้ที่มีอายุครบเจ็ดปีบริบูรณ์ ผู้ที่ได้สัญชาติไทย หรือได้รับอนุมัติให้มีสัญชาติไทย หรือได้กลับคืนสัญชาติไทย ตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ หรือตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาล

ถ่ายบัตรประชาชนก่อนหมดอายุได้กี่วัน

สามารถทำบัตรประจำตัวประชาชนล่วงหน้า ก่อนหมดอายุได้หรือไม่ A. สามารถทำล่วงหน้าก่อนบัตรเดิมหมดอายุ 60 วัน