เงินว่างงานได้เท่าไหร่ 2565

ถือเป็นเงื่อนไขตามกฎหมายของประเทศไทยเมื่อใดก็ตามที่บุคคลเข้าทำงานกับหน่วยงานที่เป็นนิติบุคคล โดยมีการรับเงินค่าจ้างจะต้องได้รับสิทธิ์เข้าสู่ระบบประกันตนเอง หรือที่เรียกว่า “ประกันสังคม” มาตรา 33 แบ่งเป็นการชำระรายเดือนอย่างละครึ่งระหว่างบริษัทกับตัวผู้ประกันตน หากเจ็บป่วย หรือมีเหตุผลตามเงื่อนไขที่ไม่สามารถทำงานได้ เงินชดเชยส่วนนี้จะเข้ามาดูแล ซึ่งหลายคนอาจกำลังสงสัยว่า เงินชดเชยประกันสังคม กรณีลาออกผู้ประกันตนจะได้รับแบบไหนบ้าง มาศึกษาข้อมูลกันเลย

อัปเดตล่าสุดเงินชดเชยประกันสังคม กรณีลาออกเป็นอย่างไรบ้าง

ด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าหลายคนต้องออกจากงานในหลายรูปแบบ หลากกรณี ซึ่งกลายเป็นข้อสงสัยว่าแบบนี้ทางประกันสังคมที่ต้องส่งชำระเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือนจะเข้ามาช่วยเหลือในด้านไหนบ้าง จึงขอสรุปเงินชดเชยประกันสังคม กรณีลาออกมาให้แบบเข้าใจง่าย ซึ่งคนทำงานจำนวนไม่น้อยอาจยังสับสนว่าสรุปแล้วตอนนี้ได้รับเงินชดเชยด้วยอัตราจ่ายเท่าไหร่บ้าง

เดิมทีตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2563 ทางสำนักงานประกันสังคมได้มีการปรับอัตราการจ่ายเงินชดเชยกรณีว่างงานให้กับผู้ประกันตนทั้งกรณีการถูกเลิกจ้าง และลาออก / หมดสัญญาจ้าง ดังนี้

1. ผู้ปฏิบัติงานถูกเลิกจ้าง

หากคนที่ทำงานถูกเลิกจ้างจากองค์กรจะได้รับเงินชดเชยการว่างงานในอัตรา 70% ของเงินค่าจ้างล่าสุด ซึ่งคำนวณจากฐานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท / เดือน ระยะเวลาการรับเงินชดเชยทั้งสิ้นไม่เกิน 200 วัน จากเดิมจะได้เพียงอัตรา 50% ของเงินค่าจ้างล่าสุด ระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน

2. ผู้ปฏิบัติงานลาออก / หมดสัญญาการจ้างงาน

กรณีที่คนทำงานลาออกจากงาน หรือหมดสัญญาการจ้างงานแล้วไม่ได้รับการทำสัญญาต่อ จะได้รับเงินชดเชยการว่างงานในอัตรา 45% ของเงินค่าจ้างล่าสุด ซึ่งคำนวณฐานจากฐานเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท / เดือน ระยะเวลาในการรับเงินชดเชยทั้งสิ้นไม่เกิน 90 วัน จากเดิมจะได้เพียงอัตรา 30% ของเงินค่าจ้างล่าสุด ระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน เท่านั้น

อัตราใหม่ที่กล่าวมานี้จะถูกใช้และครบกำหนดในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ทั้งนี้ได้มีการประกาศเงื่อนไขใหม่ออกมาเป็นที่เรียบร้อยจากสำนักงานประกันสังคมแล้วว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป เงินทดแทนกรณีว่างงานทั้งการถูกเลิกจ้างและการลาออกจากงาน / หมดสัญญาการจ้างงานจะถูกปรับ “ลดลง” ให้เหลือเท่ากับอัตราเดิมนั่นคือ

  • ถูกเลิกจ้างงานจะได้รับเงินชดเชย 50% ของเงินค่าจ้างล่าสุด ระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน ภายใต้เงื่อนไขต้องส่งเงินสมทบเข้าสู่ระบบประกันสังคมครบ 6 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนว่างงาน
  • ลาออก / หมดสัญญาจ้างงานจะได้รับเงินขดเชย 30% ของเงินค่าจ้างล่าสุด ระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน ภายใต้เงื่อนไขต้องส่งเงินสมทบเข้าสู่ระบบประกันสังคมครบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนว่างงาน

ขั้นตอนสำหรับผู้ที่ต้องการลงทะเบียนว่างงานเพื่อรับเงินชดเชย

ใครที่คิดว่าหากต้องการรับเงินชดเชยประกันสังคม กรณีลาออกต้องเดินทางไปยังสำนักงานประกันสังคมหรือกรมการจัดหาแรงงานตั้งแต่เริ่มต้นหรือไม่ ตอนนี้สามารถดำเนินการได้ผ่านระบบออนไลน์สำหรับลงทะเบียนเบื้องต้น เพียงทำตามขั้นตอนดังนี้

  1. กดเข้าไปที่เว็บไซต์ https://empui.doe.go.th/auth/index ของกรมจัดหาแรงงาน แล้วทำการลงทะเบียนตามขั้นตอนที่ทางเว็บกำหนดให้ครบถ้วน
  2. หลังการลงทะเบียนให้ยื่น “แบบคำขอรับผลประโยชน์ ในกรณีว่างงาน” หรือ “แบบ สปส. 2-01/7 กับสำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน หรือที่ตนเองสะดวก พร้อมแนบเอกสารดังต่อไปนี้
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมบัตรประชาชนตัวจริง
  • รูปถ่ายหน้าตรง 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป อายุรูปถ่ายไม่เกิน 6 เดือน
  • เอกสาร / หนังสือรับรองการออกจากงาน / เอกสาร สปส. 6-09 หรือสำเนา (ถ้ามี)
  • สำเนาสมุดบัญชีธนาคารประเภทออมทรัพย์ ซึ่งหน้าแรกต้องระบุชื่อ-สกุลเดียวกับผู้ประกันตนที่ทำการลงทะเบียนว่างงานไว้เท่านั้น

3. เมื่อยื่นเอกสารเรียบร้อยทางสำนักงานประกันสังคมจะให้คุณรายงานตัวตามวัน-เวลาที่กำหนด

จะสะดวกไปรายงานตัวกับทางสำนักงานหรือรายงานตัวผ่านทางระบบออนไลน์ก็ได้เช่นกัน

อีกเรื่องที่ต้องรู้นอกจากเงินชดเชยประกันสังคม กรณีลาออกแล้ว ลูกจ้าง (ผู้ประกันตน” ยังคงสามารถใช้สิทธิ์ของประกันสังคม มาตรา 33 ต่อได้อีก 6 เดือน ไม่ต้องทำจ่ายเงินสมทบใด ๆ ทั้งสิ้น เช่น ค่ารักษาพยาบาล, ค่าคลอดบุตร, ค่าทันตกรรม เป็นต้น

อัปเดตข้อมูลเงินชดเชยประกันสังคม กรณีลาออกเหล่านี้เชื่อว่าจะช่วยให้บรรดาลูกจ้าง มนุษย์เงินเดือน หรือคนที่กำลังคิดออกจากงานด้วยเหตุผลต่าง ๆ วางแผนเพื่อรับเงินชดเชยของตนเองง่ายขึ้นกว่าเดิม ไม่เสียสิทธิ์ไปแบบฟรี ๆ ด้วย

มนุษย์เงินเดือนลาออกจากงาน ได้เงินชดเชยเท่าไร จากประกันสังคม

การลาออก ถือเป็นเรื่องปกติของการทำงาน อาจด้วยปัจจัยหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินเดือน ค่าแรงที่ได้รับ งานที่ไม่ตรงตามความต้องการ อายุมากเกินไป และอีกมากมาย ปัจจัยการลาออกขึ้นอยู่กับปัญหาของแต่ละบุคคล หรือ ตามเงื่อนไขบริษัท ไม่ว่าจะด้วยอะไรก็ตาม เมื่อคุณตัดสินใจลาออกจากงาน และยังเป็นผู้ประกันตนของประกันสังคม (มาตรา 33) จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม โดยคำนวณจากค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับ ในอัตราร้อยละ 5 เพื่อรับผิดชอบเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย ชราภาพ คลอดบุตรทุพพลภาพ ตาย และการว่างงาน ทดแทนรายได้และได้รับการรักษาพยาบาล

คำถามที่ว่า ลาออกแล้ว ต้องดำเนินการอะไรกับประกันสังคมหรือไม่ ได้เงินชดเชยประกันสังคมเท่าไหร่ หากมีการดำเนินการต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง รวมถึงยังมีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชย หรือ สิทธิ์อื่นๆ อย่างเช่น ค่ารักษาพยาบาล ยังคงเหมือนเดิมหรือเปล่า วันนี้เรามาไขข้อสงสัยไปพร้อมๆ กัน

เงินว่างงานได้เท่าไหร่ 2565
เงินชดเชยประกันสังคมกรณีลาออก

แจ้งประกันสังคม เพื่อรับเงินชดเชยว่างงาน

ในกรณีที่คุณลาออกจากงาน และอยู่ในช่วงที่ยังไม่มีงานทำ ไม่มีเงินเดือน สามารถขึ้นทะเบียนและรายงานตัวผู้ประกันตน กรณีว่างงานเพื่อขอรับเงินชดเชยได้ ดังนี้

1. ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ว่างงาน

คุณจะต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานผ่านอินเทอร์เน็ต ที่เว็บไซต์สำนักงานจัดหางาน empui.doe.go.th ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ลาออก หากเกินระยะเวลาที่กำหนดจะไม่สามารถใช้สิทธิ์ย้อนหลังได้

2. ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน 

โดยยื่นขอรับสิทธิ์เงินทดแทนกรณีว่างงาน ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ / สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาทั่วประเทศ (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) พร้อมเอกสารสำคัญที่ต้องแนบ ดังนี้

เงินว่างงานได้เท่าไหร่ 2565

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (กรณีว่างงาน)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • หนังสือรับรองการออกจากงาน หรือ สำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงาน (กรณีที่ไม่มีสำเนา สปส.6-09 สามารถไปขึ้นทะเบียนกรณีว่างงานได้)
  • หนังสือ หรือ คำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน
  • สำเนาสมุดบัญชีธนาคารที่เป็นชื่อผู้ประกันตน เช่น ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา,ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารทหารไทย เป็นต้น

3. รายงานตัวกับสำนักงานจัดหางาน

กรณีที่คุณต้องการขึ้นทะเบียนและรายงานตัวผู้ประกันตน จะต้องรายงานตัวอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อรับเงินว่างงาน ผ่านเว็บไซต์สำนักจัดหางาน empui.doe.go.th เงินที่ได้รับแต่ละเดือนจะโอนเข้าบัญชีที่ยื่นเรื่องไว้ ภายใน 5-7 วันทำการ นับจากวันที่อนุมัติและรายงานตัว

เงินว่างงานได้เท่าไหร่ 2565
เว็บไซต์สำนักงานจัดหางาน empui.doe.go.th

ประกันสังคมจ่ายเงินชดเชยเท่าไร? กรณีลาออกจากงาน

ในกรณีลาออกจากงานโดยสมัครใจ ได้รับเงินทดแทนว่างงาน ไม่เกินปีละ 90 วัน ในอัตรา 30% ของค่าจ้างเฉลี่ย  เช่น  เงินเดือน 10,000 บาท รับเงินทดแทน เดือนละ 3,000 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 3 เดือน แต่…กรณีถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินทดแทน ไม่เกินปีละ 180 วัน ในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย เช่น  เงินเดือน 20,000 บาท รับเงินทดแทน เดือนละ 7,500 บาท

สำหรับการขอขึ้นทะเบียนรับเงินชดเชยประกันสังคม จะต้องทำการขึ้นทะเบียนภายใน 30 วัน นับจากวันที่ลาออกเท่านั้น แต่…สำหรับลาออกเองในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 ได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงานเพิ่มเป็นร้อยละ 45 ของค่าจ้างเฉลี่ย แต่ไม่เกิน 90 วัน

ลาออกจากงาน ใช้สิทธิประกันสังคมได้ไหม?

เมื่อคุณตัดสินใจลาออกจากงาน นั่นหมายความว่า คุณไม่ได้ส่งเงินสมทบแล้ว ผู้ประกันตนยังสามารถใช้สิทธิประกันสังคมต่างๆ ทั้งกรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต คลอดบุตร ได้เหมือนเดิมต่ออีก 6 เดือน หลังจากลาออก หลังจาก 6 เดือนไปแล้ว ยังไม่ได้ทำงานใหม่ สิทธิการเป็นผู้ประกันมาตรา 33 จะสิ้นสุดลง

***สิทธิประกันสังคม มาตรา 33 กลับมาใช้ได้อีกครั้งเมื่อคุณมีงานใหม่ โดยนายจ้างจะเป็นผู้ยื่นเรื่องดำเนินการกับประกันสังคม


ใช่วงที่เชื้อไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 และวิกฤตบ้านเมืองเช่นนี้ การมีงานประจำทำที่ว่าเป็นเรื่องที่ดีที่สุด ก่อนตัดสินใจลาออกจากงานควรพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเสียก่อน เพราะหากคุณตัดสินใจพลาดไปแล้ว คุณอาจเป็นหนึ่งคนที่ต้องตกงาน หรือ ว่างงาน อาจผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของคุณ ดังนั้นควรดูเหตุและผลที่เหมาะสมและทางออกที่ดีที่สุด

บทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม

  • กักตัว 14 วันเบิกประกันสังคมได้ไหม ได้เท่าไหร่
  • เงินเยียวยาโควิด ม.33 ประกันสังคม เข้าเมื่อไร ผ่านช่องทางไหน
  • เช็กเงื่อนไข เงินเยียวยาประกันสังคม ใครมีสิทธิได้บ้าง
  • ประกันสังคมตรวจโควิดฟรีไหม ต้องลงทะเบียนอย่างไรบ้าง

เงินว่างงานได้เท่าไหร่ 2565

เงินว่างงานได้เท่าไหร่ 2565