เงินเดือน กรรมการบริษัท เท่า ไหร่

ธนาคารได้กำหนดนโยบายค่าตอบแทนกรรมการไว้อย่างชัดเจนและโปร่งใส มีคณะกรรมการทรัพยากรบุคคลและกำหนดอัตราค่าตอบแทนทำหน้าที่ทบทวน โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง กลยุทธ์และเป้าหมายระยะยาว และเทียบเคียงกับอัตราค่าตอบแทนกรรมการในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่อยู่ในระดับเดียวกัน

ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 109 เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2564 ได้อนุมัติอัตราค่าตอบแทนกรรมการและเงินบำเหน็จ โดยให้มีผลใช้บังคับไปจนกว่าที่ประชุมผู้ถือหุ้นจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ซึ่งกรรมการที่ได้รับมอบหมายให้เป็นกรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยได้รับค่าตอบแทนเพิ่มตามปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น ยกเว้นกรรมการที่เป็นผู้บริหารและผู้บริหารจะไม่ได้รับค่าตอบแทนจากการเป็นกรรมการชุดย่อย สรุปดังนี้

  1. ค่าตอบแทนกรรมการสำหรับการประชุมคณะกรรมการ

    • ประธานกรรมการ 250,000 บาทต่อเดือน
    • รองประธานกรรมการ 200,000 บาทต่อเดือน
    • กรรมการ 150,000 บาทต่อคนต่อเดือน
  2. ค่าตอบแทนกรรมการอิสระ

    • ประธาน 100,000 บาทต่อเดือน
    • กรรมการ 70,000 บาทต่อคนต่อเดือน
  3. ค่าตอบแทนกรรมการชุดย่อย

    1. คณะกรรมการตรวจสอบ

      • ประธาน 90,000 บาทต่อเดือน
      • กรรมการ 60,000 บาทต่อคนต่อเดือน
    2. คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ

      • ประธาน 50,000 บาทต่อเดือน
      • กรรมการ 36,000 บาทต่อคนต่อเดือน
    3. คณะกรรมการทรัพยากรบุคคลและกำหนดอัตราค่าตอบแทน

      • ประธาน 50,000 บาทต่อเดือน
      • กรรมการ 36,000 บาทต่อคนต่อเดือน
    4. คณะกรรมการกำกับความเสี่ยง

      • ประธาน 50,000 บาทต่อเดือน
      • กรรมการ 36,000 บาทต่อคนต่อเดือน
  4. ค่าตอบแทนที่ปรึกษากฎหมาย 300,000 บาทต่อเดือน

  5. เงินบำเหน็จคณะกรรมการ ในอัตราร้อยละ 0.5 ของเงินปันผล

รายละเอียดค่าตอบแทนของกรรมการ ในรอบปี 2564 ประกอบด้วย

  1. ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน

    คณะกรรมการธนาคารได้รับค่าตอบแทนในฐานะกรรมการ กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ กรรมการกำกับดูแลกิจการ กรรมการทรัพยากรบุคคลและกำหนดอัตราค่าตอบแทน กรรมการกำกับความเสี่ยง ที่ปรึกษากฎหมายของธนาคาร รวมถึงเงินบำเหน็จในอัตราร้อยละ 0.5 ของเงินปันผล รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 91,357,913.89 บาท

  2. ค่าตอบแทนอื่น

    ไม่มี


ค่าตอบแทนของผู้บริหาร

คณะกรรมการทรัพยากรบุคคลและกำหนดอัตราค่าตอบแทนเป็นผู้พิจารณาและนำเสนอค่าตอบแทนของผู้บริหารที่เหมาะสมต่อคณะกรรมการธนาคาร เพื่อพิจารณาอนุมัติค่าตอบแทนตามนโยบายของธนาคาร โดยค่าตอบแทนของผู้บริหารรวมถึงค่าตอบแทนของประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการเชื่อมโยงกับผลการดำเนินงานของธนาคารทั้งในระยะสั้นและระยะยาวที่สะท้อนการเป็นธนาคารแห่งความยั่งยืน และสอดคล้องกับผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารแต่ละคน โดยผ่านตัววัดที่กำหนดในบาลานซ์สกอร์การ์ด (Balanced Scorecard) 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเงิน ด้านลูกค้า ด้านการพัฒนากระบวนการทำงานและการบริหารความเสี่ยง และด้านการพัฒนาบุคลากร และตัววัดในการเป็นธนาคารแห่งความยั่งยืน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม เช่น กำไรสุทธิต่อสินทรัพย์ กำไรสุทธิต่อส่วนของเจ้าของ ผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ การเติบโตของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่นๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ การเติบโตของเงินให้สินเชื่อ ความพึงพอใจของลูกค้า การเติบโตของเงินสินเชื่อเพื่อสิ่งแวดล้อม การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ความพึงพอใจของพนักงาน ฯลฯ รวมถึงผลการดำเนินงานเมื่อเทียบกับผลการดำเนินงานของบริษัทที่อยู่ในระดับเดียวกันในทุกมิติ เช่น ผลตอบแทนผู้ถือหุ้นโดยรวม การจัดอันดับในบริการธนาคารดิจิทัลแพลตฟอร์มที่ต้องการมากที่สุด การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนในระยะยาว ฯลฯ เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืนภายใต้หลักเกณฑ์ที่โปร่งใส และขอบเขตความรับผิดชอบของตำแหน่งงานซึ่งสะท้อนความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนความสามารถในการแข่งขันของธนาคารเมื่อเปรียบเทียบกับสถาบันการเงินชั้นนำในประเทศไทย

รายละเอียดค่าตอบแทนของผู้บริหาร ในรอบปี 2564 ประกอบด้วย

  1. ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน

    ผู้บริหารระดับผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการหรือเทียบเท่าขึ้นไป รวมทั้งสิ้น 96 คน (รวมผู้บริหารที่ลาออกระหว่างปี 6 คน) ได้รับเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในส่วนของธนาคาร รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 31,374,500 บาท ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับรองกรรมการผู้จัดการอาวุโสหรือเทียบเท่าขึ้นไป รวมทั้งสิ้น 11 คน (รวมผู้บริหารที่ลาออกระหว่างปี 1 คน) ได้รับเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในส่วนของธนาคาร รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 7,555,339 บาท นอกจากนี้ ผู้บริหารของธนาคารได้รับผลประโยชน์และสวัสดิการอื่นๆ ตามระเบียบของธนาคารเช่นเดียวกับพนักงาน เช่น สิทธิประโยชน์เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การตรวจสุขภาพ สวัสดิการเงินกู้ประเภทต่างๆ ทั้งนี้ สัดส่วนค่าตอบแทนผู้บริหารระดับรองกรรมการผู้จัดการอาวุโสหรือเทียบเท่าขึ้นไปต่อค่าตอบแทนของพนักงานทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 1.21

    เงินเดือนกรรมการ เป็นหนึ่งในวิธีการบริหารเงินสดของกิจการ โดยให้กรรมการบริษัท หรือเจ้าของธุรกิจตั้งเงินเดือนให้กับตัวเอง ซึ่งจะช่วยให้คุณแบ่งหน้าที่ของเงินในกิจการและเงินส่วนตัวออกจากกัน และวางแผนประหยัดภาษีให้กับตัวเองได้ด้วย

    เพื่อให้เราคุยกันง่ายๆ ขออธิบายของคำว่า กรรมการบริษัท ก่อนว่า เมื่อคุณเริ่มจดบริษัทจะต้องมีผู้รับผิดชอบจำนวน 3 คนเป็นอย่างน้อย และแบ่งสัดส่วนความรับผิดชอบรายได้ กำไร กันตามสัดส่วนหุ้นที่ถือครอง (หรือแล้วแต่จะตกลงกัน) 3 คนนี้นั่นแหละเป็น กรรมการบริษัท (ที่ถือหุ้น) หรือเรียกกันทั่วไปว่า เจ้าของกิจการ ครับ 

     

    เลือกอ่านได้เลย!

    • กรรมการบริษัทควรมีเงินเดือนเป็นของตัวเองหรือไม่
    • กรรมการบริษัทควรมีเงินเดือนเท่าไหร่ดี
    • เงินเดือนกรรมการ ช่วยวางแผนภาษีอย่างไร

    กรรมการบริษัทควรมีเงินเดือนเป็นของตัวเองหรือไม่

     

    ปัญหาหนึ่งที่เจ้าของกิจการ SMEs มักเจอเหมือนๆ กันคือ ไม่สามารถแยกกระเป๋าของตัวเองกับบริษัทออกจากกันได้ เพราะไม่รู้ว่าจะต้องเอาเงินออกจากกิจการเท่าไหร่ดี จะเอาออกอย่างไร  หรือถ้าเอาออกแล้วจะเกิดผลอย่างไรบ้าง พอถึงเวลาอยากใช้เงินก็นำรายได้ของบริษัทออกมาใช้ดื้อๆ 

     

    รู้ไหมครับว่าผลที่ตามมาก็คือ เจ้าของกิจการ หรือกรรมการบริษัทมองสุขภาพทางการเงินในกิจการไม่ออก เพราะมันรวมๆ กันหมดอยู่ที่เดียว และพอรู้ตัวว่ามีเงินไม่พอกับรายจ่ายของกิจการ ก็เตรียมตัวตั้งรับไม่ทัน 

     

    ดังนั้นเจ้าของกิจการ หรือกรรมการฯ ควรตั้งเงินเดือนให้กับตัวเอง ซึ่งเป็นวิธีง่ายๆ และมีประสิทธิภาพมาก ที่จะช่วยให้เราเข้าใจว่า เงินของกิจการและเงินส่วนตัวของเราไม่ควรใช้ด้วยกัน 

     

    ถ้าเจ้าของกิจการมีมุมมองเรื่องเงินตรงนี้แล้ว รับรองว่าจะช่วยให้บริหารเงินสดของกิจการได้ดีมาก เพราะคุณแบ่งหน้าที่ของเงินได้แล้ว เข้าใจเงินของตัวเอง เงินของกิจการ เงินที่ต้องใช้ในการซื้อสินค้า (เพื่อนำมาขาย) เงินที่กำลังจะเข้ามา (รายได้) หรือเงินที่กำลังจะต้องออกไป (รายจ่าย) 

     

    และจะดีแค่ไหนถ้าคุณสามารถตอบตัวเองได้ว่า ในวันนี้ของปีหน้ากิจการจะมีเงินเหลือประมาณเท่าไหร่ 

     

    สามารถหาความรู้เรื่องการบริหารเงินสดต่อได้จากบทความ เริ่มต้นธุรกิจต้องบริหารเงินสดอย่างไร ได้เลยครับ

     

     

    กรรมการบริษัทควรมีเงินเดือนเท่าไหร่ดี

     

    คราวนี้มาดูกันต่อเลยว่า ถ้าคุณจะให้เงินเดือนตัวเองแล้วควรจะให้เท่าไหร่ดี  ถ้ายังคิดไม่ออก อยากให้ดูรูปการจ่ายเงินเดือนจากในระบบบัญชี FlowAccount กันก่อนครับครับ

    เงินเดือน กรรมการบริษัท เท่า ไหร่
    การจ่ายเงินเดือน ต้องอย่าลืมคำนวณเรื่อง ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ด้วย

     


    หากคุณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบบขั้นพื้นฐาน ไม่มีค่าลดหย่อนใดๆ ก็ลองเริ่มจากเงินเดือนยอดฮิตให้ตัวเอง 25,000 บาทต่อเดือน ทั้งปีเราก็จะมีรายได้ทั้งหมด 300,000 บาท และไม่ต้องมีภาษีเงินได้หัก ณ​ จ่ายด้วย เพราะรายได้แค่นี้ยังไม่ถึงฐานเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

     

    แต่ถ้าคุณมีค่าลดหย่อนอื่นๆ ด้วย ก็จะสามารถมีเงินเดือนได้มากขึ้นตามลำดับนะครับ เช่น ถ้ามีภรรยาและไม่ได้ทำงาน ก็จะได้ลดหย่อนเพิ่มอีก 60,000 บาท ดังนั้นก็จะสามารถมีเงินเดือนได้ที่ 30,000 บาท โดยที่ยังไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และยังไม่ต้องถูก หัก ณ ที่จ่ายเวลาที่ได้รับเงินเดือน

     

    เงินเดือนกรรมการ ช่วยวางแผนภาษีอย่างไร

     

    เมื่อกิจการมีค่าใช้จ่ายในส่วนเงินเดือนกรรมการบริษัทเกิดขึ้นเป็นจำนวน 300,000 บาททั้งปีแล้ว ถ้าวางแผนดีๆ ก็ช่วยประหยัดภาษีนิติบุคคลด้วยครับ ลองดูตารางด้านล่างกันครับ

     

    เงินเดือน กรรมการบริษัท เท่า ไหร่
    เปรียบเทียบภาษีระหว่างกิจการที่ไม่มีการจ่ายเงินเดือนกรรมการ และกิจการที่มีการจ่าย เงินเดือนกรรมการ

     

    จะเห็นว่าทั้ง 2 กิจการมีรายได้ตั้งต้นเท่ากันที่ 500,000 บาท และมีค่าใช้จ่ายของกิจการที่เท่ากันคือ 250,000 บาท (ไม่รวมเงินเดือน) ดังนั้นกิจการที่ไม่มีการจ่ายเงินเดือนให้กรรมการจะมีกำไรที่ 250,000 บาท ต้องเสียภาษีที่ 20% เป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท

     

    แต่อีกกิจการหนึ่งมีการจ่ายเงินเดือนให้กรรมการบริษัท 25,000 บาทต่อเดือน จึงมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นมาอีก 1 รายการ ซึ่งรวมทั้งปีแล้วเป็นจำนวน 300,000 บาท จึงทำให้บริษัทมียอดขาดทุน 50,000 บาท ซึ่งในเมื่อบริษัทขาดทุน ก็ไม่ต้องเสียภาษี แถมยังสามารถนำยอดขาดทุนในปีนี้เก็บไว้หักกำไรปีหน้า กล่าวคือ ถ้าปีหน้ามีผลกำไร 100,000 บาท ก็จะมีกำไรที่ต้องเสียภาษี แค่ 50,000 บาท มาจากกำไรของปีนี้หักลบด้วยจำนวนขาดทุนปีที่แล้ว (100,000 - 50,000 บาท) ผลก็คือทำให้มีฐานที่ใช้ในการคำนวณภาษีลดลง ถือเป็นการวางแผนใช้ผลประโยชน์ง่ายๆ ได้ครบนะครับ

     

    จะเห็นว่ากิจการที่มีการจ่ายเงินเดือน เจ้าของก็จะมีเงินสดไว้ใช้จ่ายได้อีกทางเลือกหนึ่ง เพิ่มมากกว่ากรณีที่ไม่ได้จ่ายเงินเดือนให้กับตัวเอง 

     

    นี่ก็เป็นประโยชน์ของการจ่ายเงินเดือนให้กับตัวเองในทางภาษีนะครับ แต่ทั้งนี้ในการจ่ายเงินเดือนนั้นไม่ใช่ว่าจะจ่ายก็สามารถจ่ายได้เลยนะครับ คุณต้องตกลงกับกรรมการคนอื่น หรือพิจารณาจากรายได้ของกิจการว่าพร้อมที่จะมีรายจ่ายนี้แล้วหรือยัง

     

    อีกวิธีคิดคือ ในการจ่ายเงินเดือนของกิจการทั่วไปนั้นจะมาจากการคำนวณตามตำแหน่งงาน หน้าที่รับผิดชอบว่ามีมากน้อยแค่ไหน ควรได้รับผลตอบแทนเท่าไหร่ เท่านี้ก็พอจะทำให้คุณได้ไอเดียในการจ่ายเงินเดือนให้กับตัวเองและกรรมการบริษัทคนอื่นๆ แบบง่ายๆ แล้วนะครับ 

     

    คุณสามารถบันทึกข้อมูลเงินเดือนจัดการจ่ายเงินเดือนง่ายๆ ด้วยโปรแกรมเงินเดือน FlowAccount ซึ่งจะช่วยคำนวณในเรื่องประกันสังคม ภาษี หัก ณ ที่จ่าย รวมถึงการบันทึกขาด ลา มา สาย ของพนักงาน และยังมีความปลอดภัยสูงด้วยระบบที่เชื่อมโยงกับระบบธนาคารกสิกรไทย ทำให้เจ้าของกิจการมั่นใจได้ในความความปลอดภัยว่าข้อมูลจะไม่รั่วไหล รวมถึงยังช่วยประหยัดเวลาการจ่ายเงินเดือน ทดลองใช้ฟรี 30 วันได้ที่นี่