ต่อภาษีรถกระบะตอนเดียวกี่บาท

เมื่อถึงเวลานั้นของปี รถยนต์อย่างรถกระบะ ไม่ว่าจะใช้งานในชีวิตประจำวันหรือเป็นรถรับจ้างก็ตาม การนำรถไปต่อภาษี หรือที่เรียกว่าต่อทะเบียน เป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนด และเจ้าของรถจะต้องทำตามอย่างเคร่งครัด ซึ่งในทุกๆประเทศ การเก็บภาษีรถยนต์ เพื่อให้รถสามารถต่อทะเบียนได้นั้น เป็นเรื่องปกติ เพราะ ภาษีรถยนต์ ที่เรียกว่า Vehicle Excise Duty (VED) ถูกนำมาใช้เก็บภาษีในต่างประเทศ อย่างประเทศอังกฤษเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 1888(wiki) แต่ในประเทศไทยนั้น เริ่มต้นช้ากว่ามาก เนื่องจากรถยนต์พึ่งถูกนำมาแนะนำ ประมาณปี 1969(wiki) เนื่องจากมีการผลิตรถยนต์ในประเทศมากขึ้นในช่วงเวลานั้นๆ จะเห็นได้ว่าการเก็บภาษี จากการต่อทะเบียนรถยนต์นั้น มีมานาน และไม่ได้มีในประเทศไทยประเทศเดียว และนี่เป็นเหตุผลเกี่ยวกับบทความนี้ สำหรับผู้ที่อยากรู้ว่า ค่าต่อทะเบียนรถกระบะ แบบคร่าวๆ ราคาประมาณเท่าไหร่ ทั้งแบบรวม พ.ร.บ รถกระบะด้วย หรือ ไม่รวมก็ได้ จะได้เตรียมเงินเพียงพอที่จะไปต่อภาษีได้ และวันนี้เรามีคำตอบ

ป้ายทะเบียนรถกระบะส่วนใหญ่ มี 2 ประเภท ดำ กับ เขียว

แม้ว่าจะเป็นรถกระบะเหมือนกัน แต่การใช้งานอาจแตกต่างกันออกไป เพราะรถกระบะนั้น เป็นรถอเนกประสงค์ ที่จะสามารถขับใช้ในชีวิตประจำวันได้ปกติทั่วไป หรือ จะเอาไปเป็นรถกระบะบรรทุกก็ได้เช่นเดียวกัน  ซึ่งโดยปกติ ก่อนหน้านี้ รถกระบะสามารถจดทะเบียนเป็นแผ่นป้ายทะเบียนสีฟ้าได้ แต่ปัจจุบัน ห้ามใช้จดในกระบะแบบ 4 ประตูแล้ว ซึ่งรถกระบะในปัจจุบัน สามารถจดทะเบียนได้ เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้คือ

  • กระบะ 2 ประตู ต้องจดเป็นป้ายทะเบียนสีเขียว
  • กระบะ 4 ประตู สามารถจดเป็นป้ายทะเบียนสีดำ หรือ สีเขียวก็ได้

และสำหรับ กระบะ 2 ประตู จะตีเป็นรถบรรทุก จึงต้องเป็นทะเบียนสีเขียว และ กระบะ 4 ประตู อาจเป็นรถบรรทุกก็ได้หรือเป็นรถยนต์ส่วนบุคคลก็ได้ โดยที่ทะเบียนรถกระบะจะมี ดังนี้

  1. ป้ายทะเบียนสีขาว ตัวหนังสือสีดำ สำหรับรถกระบะส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 ที่นั่ง
  2. ป้ายทะเบียนสีขาว ตัวหนังสือสีเขียว สำหรับรถกระบะ สำหรับการบรรทุกของ ส่วนบุคคล
  3. ป้ายทะเบียนสีเหลือง ตัวหนังสือสีแดง สำหรับรถกระบะรับจ้าง ที่วิ่งระหว่างจังหวัด

อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ภาษีรถกระบะ คิดยังไง?

กระบะ ป้ายทะเบียนดำ ค่าต่อทะเบียน คิดเท่ารถเก๋ง คิดตาม ขนาดเครื่องยนต์

บัญชีอัตราภาษีรถตาม พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522

รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถที่เก็บเป็นคัน บาท
เก็บตามความจุกระบอกสูบ (ซีซี)

บาท

1. ความจุกระบอกสูบ
1.1 600 ซีซี ๆ ละ
1.2 601 – 1,800 ซี.ซี. ๆ ละ
1.3 เกิน 1,800 ซี.ซี. ๆ ละ

ต่อภาษีรถกระบะตอนเดียวกี่บาท

2. เป็นนิติบุคคลที่มิได้เป็นผู้ให้เช่าซื้อ

3. เป็นรถเก่าใช้มานานเกิน 5 ปี ให้ลดภาษี
3.1 ปีที่ 6
3.2 ปีที่ 7
3.3 ปีที่ 8
3.4 ปีที่ 9
3.5 ปีที่ 10 และปีต่อ ๆ ไป

4. เป็นรถที่ใช้ล้ออย่างอื่น นอกจากล้อยางกลวง เพิ่มอีก

0.50
1.50
4.00

2 เท่า

ร้อยละ
10
20
30
40
50

1/2

1 รถจักรยานยนต์ คันละ
2. รถพ่วงของรถจักรยานต์ คันละ
3. รถพ่วงนอกจากข้อ 2 คันละ
4. รถบดถนน คันละ
5. รถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร คันละ
100
50
100
200
50

ข้อมูลจาก กรมการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522

กระบะที่จะมาคิดภาษีในรูปแบบ ตาม ปริมาณ cc หรือกระบอกสูบได้นั้น จะต้องเป็นกระบะที่มีทะเบียนเป็นตัวดำ และ เป็นรถที่ไม่ใช่สำหรับการบรรทุก โดยเราจะยกตัวอย่างดังนี้

Isuzu 1.9 Ddi Blue Power เครื่องยนต์ 1.9 ลิตร (ตัวอย่าง)

  • หากรถยนต์เข้าสู่ปีที่ 2 แล้ว จะต้องเสียภาษี CC ละ 4 บาท = 1,900cc X 4 = 7,600 บาท
  • ถ้าใช้ รถกระบะคันนี้ มาถึงปีที่ 6 จะเสียภาษี แบบมีส่วนลด 10% คือ 7,600 – (10% X 7,600) = 6,840 บาท
  • ถ้าใช้มาถึงปีที่ 10 ไปเรื่อยๆ จะได้ส่วนลดภาษี 50% = 7,600 / 2 =  3,800 บาท
  • ค่า พ.ร.บ ของรถกระบะ 4 ประตู จะเท่ากับรถเก๋ง โดยคำนวณตาม ขนาดเครื่องยนต์

กระบะป้ายเขียว 2 ประตู สำหรับการบรรทุก ค่าต่อทะเบียน คิดตามน้ำหนักรถ

บัญชีอัตราภาษีตาม พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522

น้ำหนักรถ(กก.)

1.รถยนต์นั่งสำหรับ บุคคลเกิน 7 คน

1.รถยนต์รับจ้าง รถระหว่างจังหวัด
รถยนต์บริการ

1. รถยนต์รับจ้าง

1. รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
2. รถยนต์ลากจูง
3. รถแทรกเตอร์ที่    มิได้ใช้ในการเกษตร

ไม่เกิน 500 150 450 185 300
501 – 750 300 750 310 450
751 – 1,000 450 1,050 450 600
1,001 – 1,250 800 1,350 560 750
1,251 – 1,500 1,000 1,650 685 900
1,501 – 1,750 1,300 2,100 875 1,050
1,751 – 2,000 1,600 2,550 1,060 1,350
2,001 – 2,500 1,900 3,000 1,250 1,650
2,501 – 3,000 2,200 3,450 1,435 1,950
3,001 – 3,500 2,400 3,900 1,625 2,250
3,501 – 4,000 2,600 4,350 1,810 2,550
4,001 – 4,500 2,800 4,800 2,000 2,850
4,501 – 5,000 3,000 5,250 2,185 3,150
5,001 – 6,000 3,200 5,700 2,375 3,450
6,001 – 7,000 3,400 6,150 2,560 3,750
7,000  ขึ้นไป 3,600 6,600 2,750 4,050

สำหรับรถกระบะสองประตู ค่าต่อทะเบียนจะคิดตามน้ำหนักของตัวรถ รวมอุปกรณ์เสริมต่างๆด้วย และเราขอยกตัวอย่างรถกระบะสองประตูสำหรับการบรรทุกโดยเฉพาะ คือ Isuzu Spark

Isuzu Spark 4X4 3.0 Ddi S น้ำหนักรถโดยประมาณ 1,830 ( 1.8 ตัน )

  • เมื่อเปรียบเทียบกับตารางด้านบน จะเห็นได้ว่า รถยนต์รุ่นนี้อยู่ในระยะ ค่าต่อทะเบียนภาษีที่ 1,751 ถึง 2,000 กิโลกรัม และภาษี จะอยู่ที่ 1,600 บาท ต่อปีนั่นเอง 
  • ค่า พ.ร.บ ของรถกระบะ 2 ประตู จะคิดจากน้ำหนักรถ

อ้างอิงน้ำหนักรถ Isuzu จาก https://www.isuzu-tis.com/

รู้หรือไม่? ภาษีรถกระบะป้ายแดง ถูกยืนพื้นจากการวัดก๊าซ CO2

ต่อภาษีรถกระบะตอนเดียวกี่บาท

ก่อนหน้านี้ ทุกคน ทุกภาคฝ่ายมีความเชื่ออย่างหนึ่งคือ ยิ่งรถยนต์ที่มี ปริมาตรกระบอกสูบ สูงๆ หรือเครื่องใหญ่ๆ จะต้องปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เยอะ แต่ปัจจุบัน ไม่จำเป็นแล้ว ดังนั้น การเก็บภาษีรถยนต์ป้ายแดง กับอัตราภาษีสรรพสามิตใหม่ จะเก็บภาษีรถยนต์ จาก ปริมาณการปล่อย CO2 และสำหรับรถกระบะแล้ว หากมีค่า CO2 ต่ำกว่า 200 จะเรียกเก็บตั้งแต่ 3%-25% ถ้าสูงกว่า 200 จะเรียกเก็บตั้งแต่ 5%-30% (เฉพาะเครื่องยนต์ที่ต่ำกว่า 3.25 ลิตร) แต่ถ้าเป็นเครื่องยนต์ที่สูงกว่า 3.25 ลิตร จะเรียกเก็บ 50% โดยภาษีสรรพสามิตรรถยนต์ใหม่ ถูกใช้งานมาตั้งแต่ปี 2559 ที่ผ่านมา ข้อมูลจาก สถาบันยานยนต์ 

รีไฟแนนซ์รถกระบะ? – 5 เหตุผลที่มันถูกจำนำทะเบียนมากกว่าประเภทอื่น

อื่นๆเกี่ยวกับภาษีรถยนต์ มอเตอร์ไซค์

  • รู้ยัง? เตรียมขึ้นภาษีรถจักรยานยนต์แบบใหม่ ปี 2563
  • ต่อภาษีรถยนต์ เสาร์ อาทิตย์ 2562 ได้ที่ไหนบ้าง ?
  • ต่อภาษีรถยนต์ ที่ 7-11 ค่าธรรมเนียมเท่าไหร่ ?
  • ต่อภาษีรถยนต์ ใช้อะไรบ้าง ?
  • ต่อภาษีรถยนต์ ที่บิ๊กซี มีสาขาไหนจ่ายได้บ้างนะ?

ต่อภาษีรถกระบะตอนเดียวกี่บาท

ต่อภาษีรถกระบะแคปราคาเท่าไร

ช่วงน้ำหนักรถ 1001 – 1250 กิโลกรัม คิดอัตราภาษี 750 บาท ช่วงน้ำหนักรถ 1251 – 1500 กิโลกรัม คิดอัตราภาษี 900 บาท ช่วงน้ำหนักรถ 1501 – 1750 กิโลกรัม คิดอัตราภาษี 1,050 บาท ช่วงน้ำหนักรถ 1751 – 2000 กิโลกรัม คิดอัตราภาษี 1,350 บาท

รถกระบะแคปเสียภาษีกี่ที่นั่ง

ในส่วนของรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็น รถกระบะตอนเดียว, รถกระบะแค็ป (ไม่รวม 4 ประตู เพราะถือว่าเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง) จะใช้วิธีการคำนวนค่าภาษีรถยนต์ประจำปีตามน้ำหนักของตัวรถ ดังนี้ ไม่เกิน 500 กก. อัตราค่าภาษีรถยนต์ 300 บาท 501 - 750 กก. อัตราค่าภาษีรถยนต์ 450 บาท

ต่อภาษีรถยนต์ใช้เงินกี่บาท

1. ค่าใช้จ่ายต่อภาษีรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 คน เช่น รถเก๋งทั่วไป หรือ กระบะ 4 ประตู 600 ซีซี (CC) แรก = ซีซี (CC) ละ 0.50 บาท 601 – 1800 ซีซี (CC) ต่อมา = ซีซี (CC) ละ 1.50 บาท ส่วนเกิน 1800 ซีซี (CC) = ซีซี (CC) ละ 4 บาท

ต่อพรบรถยนต์2ประตูกี่บาท

A : ค่า พรบ. 967 บาท ค่าภาษีรถยนต์เก็บตามจริง เช่น 1,050 บาท ค่าไปรษณีย์ EMS 50 บาท