การกระตุ้นหัวใจต้องกดกระดูกหน้าอกให้ยุบลงไปเท่าใด

การกระตุ้นหัวใจต้องกดกระดูกหน้าอกให้ยุบลงไปเท่าใด

ในช่วงปิดเทอม และหน้าร้อนแบบนี้ ภัยอันตรายที่ประชาชนควรตระหนักและเพิ่มความระมัดระวัง คือภัยจากการจมน้ำ ซึ่งสถานการณ์เด็กจมน้ำในประเทศไทย เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของเด็กไทยในอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่ง 10 ปีที่ผ่านมา มีเด็กจมน้ำเสียชีวิต 9,574 คน เป็นกลุ่มเด็กอายุ 5-9 ปี เสียชีวิตสูงสุดร้อยละ 40.5 เด็กอายุ 0-2 ปี ร้อยละ 20.0 ข้อมูลโดยสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

คุณพ่อคุณแม่ควรต้องดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดไม่ให้คลาดสายตา และเพิ่มความระมัดระวังเมื่อนำเด็กเข้าใกล้แหล่งน้ำ แต่หากเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานเป็นสิ่งสำคัญทีจะช่วยชีวิตให้ปลอดภัย ซึ่งขั้นตอนการช่วยชีวิตสำหรับเด็กจมน้ำ มีขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1 เรียกดูว่าหมดสติจริงหรือไม่
รีบนำเด็กที่จมน้ำออกจากที่เกิดเหตุและให้อยู่ในที่ปลอดภัย โดยจัดท่าให้นอนหงายราบบนพื้นราบแข็ง แล้วจึงเข้าไปนั่งข้างตัวผู้หมดสติ ตบที่ไหล่สองข้าง พร้อมเรียกด้วยเสียงดังๆ ขอความช่วยเหลือ

ขั้นที่ 2 เรียกหาความช่วยเหลือ
ในกรณีที่เป็นเด็ก หากท่านอยู่เพียงคนเดียวให้ลงมือช่วยชีวิตเด็กก่อน แล้วค่อยไปโทรศัพท์ภายหลัง (CPR first) เพราะสาเหตุการหมดสติในเด็กมักเกิดจากทางเดินลมหายใจถูกอุดกั้น ซึ่งช่วยได้โดยการลงมือปฏิบัติการช่วยชีวิตก่อน โดยกดหน้าอก 30 ครั้ง และช่วยหายใจ 2 ครั้ง เป็นเวลา 2 นาที (5 รอบ) แล้วจึงละจากผู้ป่วยไปโทรศัพท์ 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือ แต่หากมีผู้อื่นอยู่ในบริเวณนั้น ให้ขอให้ผู้ใดผู้หนึ่งช่วยโทรศัพท์ 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือพร้อมๆ กับเริ่มลงมือปฏิบัติการช่วยชีวิต

ขั้นที่ 3 การกดหน้าอก 30 ครั้ง
การปั๊มหัวใจในเด็กให้วางส้นมือของมือหนึ่งไว้กลางหน้าอกบริเวณครึ่งล่างของกระดูกหน้าอก (ใช้มือเดียว หรือใช้สองมือ ขึ้นอยู่กับขนาดตัวเด็ก)
การกดหน้าอกโดยกดให้ยุบลงอย่างน้อย 1/3 ของความหนาของทรวงอก หรือ 5 ซม.
สามารถทำได้โดยกดหน้าอกแล้วปล่อย ทำติดต่อกันไป 30 ครั้ง ให้ได้ความถี่ของการกด 100-120 ครั้งต่อนาที

ขั้นที่ 4 เปิดทางเดินหายใจให้โล่ง
ทำโดยวิธีดันหน้าผากและยกคาง โดยการเอาฝ่ามือข้างหนึ่งดันหน้าผากลง นิ้วชี้และนิ้วกลางของมืออีกข้างหนึ่งยกคางขึ้น ใช้นิ้วมือยกเฉพาะกระดูกขากรรไกรล่างโดยไม่กดเนื้ออ่อนใต้คาง ให้หน้าผู้ป่วยเงยขึ้น

ขั้นที่ 5 การช่วยหายใจแบบปากต่อปาก
ให้เลื่อนหัวแม่มือและนิ้วชี้ของมือที่ดันหน้าผากอยู่มาบีบจมูกเด็กให้รูจมูกปิดสนิท สูดลมหายใจเข้าตามปกติแล้วครอบปากผู้ช่วยเหลือเข้ากับปากของผู้หมดสติ ตาชำเลืองมองหน้าอกผู้หมดสติพร้อมกับเป่าลมเข้าไปจนหน้าอกของผู้หมดสติขยับขึ้น เป่านาน 1 วินาที แล้วถอนปากออก ให้ลมหายใจของผู้หมดสติผ่านกลับออกมาทางปาก เป่า 2 ครั้ง แล้วกลับไปกดหน้าอก

ขั้นที่ 6 ใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED)
หากมีเครื่องเออีดี ให้เปิดเครื่องทันทีที่เครื่องมาถึง ใช้งานตามคำแนะนำของเออีดี จนกว่าทีมกู้ชีพจะมาถึง

ขั้นที่ 7 ทำตามคำแนะนำของเครื่องเออีดี (AED) กดหน้าอก ทำ CPR อย่างต่อเนื่องจนกว่าทีมกู้ชีพจะมาถึง

ขั้นที่ 8 ส่งต่อผู้ป่วยให้กับทีมกู้ชีพ เพื่อนำส่งโรงพยาบาล

การกระตุ้นหัวใจต้องกดกระดูกหน้าอกให้ยุบลงไปเท่าใด

จะทำอย่างไรเมื่อเจอคนหมดสติ? จะโทรศัพท์เรียกเบอร์ไหนเพื่อขอความช่วยเหลือ? หากจำเป็นต้องช่วยทำ CPR จะทำได้ไหม? คำถามเหล่านี้คงผุดขึ้นมากมาย หากเจออุบัติเหตุหรือคนหมดสติอยู่ข้างหน้าคุณ จะดีกว่าไหมถ้าเรามีความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลที่ถูกต้อง ถูกวิธี ทำให้ช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยรอดชีวิต ลดการบาดเจ็บได้ ดังนั้นตั้งสติให้พร้อมแล้วมาเรียนรู้วิธีช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ AED ไปพร้อมๆ กันได้เลย


1. ปลุก

เมื่อพบผู้ป่วยหมดสติ อย่าเพิ่งตกใจ ให้ประเมินความปลอดภัยของสถานที่เกิดเหตุก่อนเป็นอันดับแรก โดยตรวจดูบริเวณรอบๆ ก่อนเข้าไปช่วยเหลือ เช่น สายไฟฟ้าที่ช็อตอยู่จุดใด บริเวณนั้นใกล้แหล่งน้ำหรือไม่ มีรถสัญจรหรือเปล่า จะได้ไม่เกิดอันตรายซ้ำ หลังจากนั้นให้ปลุกเรียกผู้ป่วยด้วยการตบไหล่ทั้งสองข้างและเรียกเสียงดังๆ ว่า “คุณคะๆ” หรือ “คุณครับๆ” หากไม่รู้สึกตัวและไม่หายใจ ให้รีบทำตามขั้นตอนต่อไปโดยทันที

ส่วนกรณีที่ผู้ป่วยรู้สึกตัวและหายใจเองได้ ให้จับตัวผู้ป่วยให้อยู่ในท่านอนตะแคง และทำการปฐมพยาบาลตามอาการที่เจอซึ่งจะกล่าวในภายหลัง


2. โทร

รีบโทรขอความช่วยเหลือที่สายด่วน 1669 โดยแจ้งอาการผู้ป่วย สถานที่เกิดเหตุ ชื่อและเบอร์โทรศัพท์ของผู้แจ้งเพื่อให้เจ้าเหน้าที่ติดต่อกลับหากที่หาที่เกิดเหตุไม่เจอ รวมถึงแจ้งรายละเอียดของผู้ป่วย เช่น อาการ สถานที่ที่พบ เส้นทางที่เดินทางมาได้สะดวก หากอยู่เพียงลำพัง อย่าทิ้งผู้ป่วยไปไหน ให้เปิดลำโพงโทรศัพท์ เพื่อสื่อสารและรับฟังคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่กู้ชีพ หากอยู่หลายคนให้ผู้อื่นเป็นคนโทร.แจ้ง หากแถวนั้นไม่มีเครื่อง AED ให้แจ้งเจ้าหน้าที่นำเครื่อง AED มาด้วย

ตัวอย่างการแจ้งเหตุทางโทรศัพท์ : พบผู้ป่วยหมดสติไม่หายใจ เป็นผู้ชายอายุประมาณ 50 ปี ที่ป้ายรถเมล์หน้าโรงเรียนเอบีซี ผมผู้พบเหตุ ชื่อนายต้น เบอร์ติดต่อ 081-XXX-XXXX และให้นำเครื่อง AED มาด้วย


3. ปั๊ม

การกดหน้าอกสามารถช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นขณะที่รอหน่วยปฏิบัติการกู้ชีพ โดยให้คุกเข่าบริเวณข้างลำตัวผู้ป่วยในระดับไหล่ จัดท่าผู้ป่วยนอนหงายเพื่อเปิดทางเดินหายใจโดยการ ดันหน้าผาก - ดึงคางขึ้น และตรวจสอบการหายใจโดยการเอียงหูฟังแนบที่จมูกผู้ป่วย จากนั้นให้เริ่มช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) ด้วยการกดหน้าอก โดยวางสันมือข้างที่ถนัดตรงครึ่งล่างกระดูกหน้าอก และวางมืออีกข้างทับประสานกันไว้ เริ่มการกดหน้าอกด้วยความลึกอย่างน้อย 5 เซนติเมตร ในอัตราเร็ว 100 - 120 ครั้งต่อนาที

ข้อแนะนำ : หากมีโอกาสได้เรียนให้พยายามซ้อมทำบ่อยๆ เวลาทำจริงเราจะทำได้ด้วยความแรงและน้ำหนักที่ถูกต้อง


4. แปะ

ขณะที่ทำ CPR (กดหน้าอก) เมื่อเครื่อง AED มาถึง ให้ผู้ช่วยเหลืออีกคนหนึ่งเตรียมเครื่อง AED โดยการถอดเสื้อผู้ป่วยออก และติดแผ่นนำไฟฟ้าทั้ง 2 แผ่นบริเวณใต้กระดูกไหปลาร้าด้านขวาและชายโครงด้านซ้าย โดยให้ทำความสะอาดจุดที่แปะแผ่น เช่น หากผู้ป่วยตัวเปียกจะต้องเช็ดให้แห้งก่อนหรือหากมีขนเยอะก็ให้โกนขนออกก่อน


5. ช็อก

เปิดเครื่อง AED และปฏิบัติตามคำแนะนำจากเครื่อง จนเมื่อเครื่องสั่งให้ทำการช็อก ให้พูดเสียงดังๆ ว่า “ฉันถอย คุณถอย ทุกคนถอย” เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีใครสัมผัสกับผู้ป่วยก่อนกดปุ่มช็อกไฟฟ้า แต่หากเครื่องไม่สั่งช็อก ให้ทำการกดหน้าอกต่อไปจนกว่าทีมกู้ชีพจะมาถึง

คำเตือน : ก่อนกดปุ่มช็อกต้องมั่นใจว่าไม่มีใครสัมผัสตัวผู้ป่วยรวมถึงมีสื่อไฟฟ้าต่างๆ


6. ส่ง

ระหว่างที่รอรถพยาบาลมารับ หากผู้ป่วยยังไม่รู้สึกตัวให้ทำการปั๊มหัวใจและปฏิบัติตามคำแนะนำของเครื่อง AED ไปจนกว่าผู้ป่วยจะหายใจหรือรถพยาบาลจะมา หลังจากรถพยาบาลมาก็ส่งต่อผู้ป่วยให้กับทีมกู้ชีพเพื่อนำส่งโรงพยาบาล เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยฉุกเฉินมีโอกาสรอดและปลอดภัย

เห็นไหมว่าการช่วยกระตุ้นหัวใจไม่ยากอย่างที่คิด หากเกิดเหตุฉุกเฉินแล้วทำได้ตามขั้นตอนทั้ง 6 ข้อนี้ โดยไม่ตื่นเต้นตกใจ เราจะสามารถช่วยผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เขามีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้น


Tags : 

การช่วยฟื้นคืนชีพ การทำ CPR เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ เครื่อง AED

การกระตุ้นหัวใจอย่างถูกต้องต้องใช้อัตราในข้อใด *

- ต้องกดหน้าอกให้เร็วและแรง แต่อย่ากระแทก ด้วยอัตราความเร็วอย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาที - กดลึกอย่างน้อย 2 นิ้ว หรือ 5 เซนติเมตร สำหรับผู้ใหญ่ - หลังการกดแต่ละครั้งต้องปล่อยให้อกคืนตัวจนสุด เพื่อให้หัวใจรับเลือดสำหรับสูบฉีดครั้งต่อไป หากไม่ปล่อยให้หน้าอกคืนตัวจนสุด จะทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายลดลง

เมื่อพบผู้ป่วยหมดสติ ควรทำสิ่งใดเป็นอันดับแรก

สิ่งแรกที่สำคัญที่สุดก่อนที่จะช่วยผู้หมดสติคือ ต้องตั้งสติของตัวเองไม่ให้ตกใจจนทำอะไรไม่ได้ หลังจากนั้นให้ทำการเรียกหรือเขย่าตัวผู้หมดสติว่ายังมีการตอบสนองหรือไม่ ถ้าไม่มีการตอบสนอง ให้สังเกตว่าผู้ป่วยมีอาการกระตุกหรือชักเกร็งหรือไม่ หรือหายใจเฮือก หรือหยุดหายใจ และ ถ้ามีให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ป่วยมีภาวะหัวใจหยุดเต้น ...

การกดหน้าอกเพื่อกระตุ้นหัวใจของผู้ป่วยจะต้องกดบริเวณใด

เริ่มทำการกดหน้าอก โดยจับผู้ป่วยนอนหงาย นั่งคุกเข่าข้างผู้ป่วย วางสันมือข้างหนึ่งตรงครึ่งล่างกระดูกหน้าอก (ตำแหน่งตรงกลางระหว่างหน้าอก ระดับเดียวกับหัวนมพอดี) และวางมืออีกข้างทับประสานกันไว้ เริ่มการกดหน้าอกด้วยความลึกอย่างน้อย 5 เซนติเมตร ในอัตราเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที สามารถปั๊มหัวใจตามจังหวะเพลง “สุขกันเถอะเรา” ...

การนวดกระตุ้นหัวใจเพื่อช่วยชีวิตถูกวิธีจะส่งผลอย่างไร

หลักการของการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพไม่ใช่การทำให้หัวใจเต้นขึ้นใหม่ แต่เป็นเพื่อรักษาให้มีการไหลเวียนของเลือดนำออกซิเจนไปเลี้ยงสมองและหัวใจ เป็นการชะลอการตายของเนื้อเยื่อและเพิ่มโอกาสที่ผู้ป่วยจะฟื้นกลับขึ้นมาโดยไม่มีความเสียหายถาวรเกิดขึ้นกับสมอง ปกติแล้วการกระตุ้นให้หัวใจเต้นขึ้นใหม่จะต้องใช้การกู้ชีพขั้นสูง เช่น การช็อ ...