อายุความ คดีแพ่ง สูงสุด กี่ปี

ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลใช้สิทธิดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สิทธิร้องทุกข์ สิทธิฟ้องร้องดำเนินคดี เป็นต้น ตัวอย่างคดีแพ่ง อายุความในการฟ้องร้องดำเนินคดีในมูลละเมิดคือ ผู้เสียหายต้องฟ้องคดีแพ่งภายในกำหนดอายุความ ๑ ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือ ภายในกำหนดอายุความ ๑๐ ปี นับแต่วันทำละเมิด ตัวอย่างคดีอาญาที่เป็นความผิดอันยอมความได้ ผู้เสียหายจะต้องแจ้งความร้องทุกข์ต่อตำรวจภายในกำหนดอายุความ ๓ เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด  หากผู้เสียหายไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดดังกล่าว ผู้เสียหายย่อมหมดสิทธิที่จะดำเนินการดังกล่าวและจะยกขึ้นอ้างเพื่อเรียกร้องให้ดำเนินการอีกไม่ได้ เช่นนี้เรียกว่า “ขาดอายุความ” อย่างไรก็ตาม ในคดีแพ่งแม้สิทธิเรียกร้องขาดอายุความตามกฎหมายแล้ว แต่สิทธินั้นยังคงอยู่ กล่าวคือ หากลูกหนี้ชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็มีสิทธิรับชำระได้

อายุความ (อังกฤษ: prescription หรือ limitation) คือระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ใช้สิทธิเรียกร้อง สิทธิฟ้อง หรือสิทธิร้องทุกข์ หากปล่อยเนิ่นนานไปจนล่วงระยะเวลาดังกล่าวแล้ว สิทธิเช่นว่าจะเป็นอันยกขึ้นอ้างอีกมิได้ ซึ่งเรียกว่า “การขาดอายุความ” เช่น สิทธิเรียกร้องขาดอายุความ คดีขาดอายุความ หนี้ขาดอายุความ เป็นต้น

เหตุผลของอายุความ

การที่กฎหมายกำหนดอายุความไว้นั้นมีเหตุผลสามประการ ดังต่อไปนี้

1. เป็นนิตินโยบายของรัฐเพื่อดำรงความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงในการอ้างสิทธิของบุคคล อันเป็นการห้ามปรามมิให้มีการนำเรื่องราวที่เกิดขึ้นมาเนิ่นนานแล้วมาเรียกร้องต่อกัน เพราะเรื่องราวที่เกิดขึ้นมาเนิ่นนานแล้วนั้นย่อมยุ่งยากสำหรับผู้เกี่ยวข้องในการหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์แก่กัน พยานหลักฐานอาจสูญหาย เสื่อมสภาพ บกพร่อง หรือคลาดเคลื่อนไปตามกาลเวลาได้ ซึ่งจะส่งผลให้การวินิจฉัยข้อพิพาทนั้นไม่อาจเป็นธรรมได้อย่างแท้จริง

2. เป็นโทษสำหรับเจ้าหนี้ที่ปล่อยปละละเลยไม่ใช้สิทธิเรียกร้องของตนเสียที จนกระทั่งล่วงเลยอายุความที่กำหนดไว้ ซึ่งส่งผลให้ลูกหนี้เกิดมี “สิทธิปฏิเสธ” (อังกฤษ: right of refusal) ขึ้นสามารถปฏิเสธการเรียกร้องของเจ้าหนี้ที่เพิ่งมากระทำเมื่อล่วงเลยอายุความไปแล้วได้ ดังนั้น อายุความจึงเป็นเครื่องกระตุ้นให้เจ้าหนี้ระแวดระวังในการใช้สิทธิของตนมากขึ้น

3. เป็นการช่วยปลดเปลื้องภาระของลูกหนี้ในอันที่จะต้องเก็บรักษาหลักฐานในการชำระหนี้ไว้ ไม่ต้องคอยพะวงรักษาสิ่งเหล่านั้นไว้จนชั่วชีวิต เพราะเมื่อล่วงอายุความไปแล้ว ลูกหนี้ก็สามารถปฏิเสธการชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้ได้โดยเพียงต่อสู้ว่าหนี้ขาดอายุความแล้วเท่านั้น

  • อายุความบัญชีเดินสะพัด เบิกเงินเกินบัญชี
  • อายุความดอกเบี้ยค้างชำระ
  • อายุความฟ้องเช็ค
  • อายุความสินเชื่อบุคคล คดีบัตรเงินสด

  • อายุความบัญชีเดินสะพัด เบิกเงินเกินบัญชี
  • อายุความดอกเบี้ยค้างชำระ
  • อายุความฟ้องเช็ค
  • อายุความสินเชื่อบุคคล คดีบัตรเงินสด

  • อายุความบัญชีเดินสะพัด เบิกเงินเกินบัญชี
  • อายุความดอกเบี้ยค้างชำระ
  • อายุความฟ้องเช็ค
  • อายุความสินเชื่อบุคคล คดีบัตรเงินสด

จำนวนคนดู 20,031

แชร์ข้อมูลได้ที่นี่

อายุความ คดีแพ่ง สูงสุด กี่ปี

Facebook

0
อายุความ คดีแพ่ง สูงสุด กี่ปี

Pinterest

0
อายุความ คดีแพ่ง สูงสุด กี่ปี

Twitter

อายุความ คดีแพ่ง สูงสุด กี่ปี

Linkedin

  • หมวดหมู่
    • ข่าวสาร
    • ไม่มีหมวดหมู่
  • บทความล่าสุด

    • อายุความ คดีแพ่ง สูงสุด กี่ปี

      28 มกราคม 2023

      การฟ้องคดีปกครอง

    • อายุความ คดีแพ่ง สูงสุด กี่ปี

      5 ตุลาคม 2022

      การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ คืออะไร? มีขั้นตอนอย่างไร?

    • อายุความ คดีแพ่ง สูงสุด กี่ปี

      25 กรกฎาคม 2022

      3. ข้อเสีย หากปล่อยให้ธนาคารฟ้องคดีและยึดทรัพย์ขายทอดตลาด

    • อายุความ คดีแพ่ง สูงสุด กี่ปี

      7 สิงหาคม 2021

      สิทธิของคู่สมรสในการรับมรดก

    • อายุความ คดีแพ่ง สูงสุด กี่ปี

      13 กรกฎาคม 2021

      2 สัญญาทางสื่อออนไลน์ ที่ท่านควรจะหลีกเลี่ยง

  • ป้ายกำกับ

    การฟ้องคดีปกครอง คดีปกครอง คดีล้มละลาย ทนายความ ทนายความคือ ทนายความ มีคุณสมบัติอย่างไร ทนายความเรียนคณะอะไร ผู้จัดการมรดก ผู้จัดการมรดก มีอายุกี่ปี ผู้จัดการมรดก ไม่แบ่งมรดก ผู้จัดการมรดก ไม่แ่บ่งมรดก หน้าที่ผู้จัดการมรดก แต่งตั้งผู้จัดการมรดก ทำอย่างไร

    สำหรับอายุความคดีแพ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 อายุความนั้นถ้าประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะให้มีกำหนด 10 ปี

    หมายความว่าในคดีแพ่งถ้าไม่ได้ ระบุว่าอย่างอื่นก็ใช้อายุความ 10 ปี
    แต่ มันจะมีเรื่องต่างๆเกี่ยวข้องหลายอย่าง
    เช่น มาตรา 193/32 สิทธิ์เรียกร้อง ที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลถึงที่สุด หรือโดยสัญญาประนีประนอมยอมความ มีอายุความ 10 ปี

    อายุความ ทางแพ่ง 5 ปี

    มาตรา 193/33 สิทธิ์เรียกร้อง ดังต่อไปนี้มีอายุความ 5 ปี ได้แก่ ดอกเบี้ยค้างชำระ เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ค่าเช่าทรัพย์สินค้างชำระ เว้นแต่ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 193/34(6) เงินค้างจ่ายคือเงินเดือน เงินปี เงินบำนาญ ค่าอุปการะเลี้ยงดู และเงินอื่น

    อายุความ ทางแพ่ง 2 ปี

    หรือตามมาตรา 193/34 มีอายุความ 2 ปี ซึ่งได้แก่ สิทธิ์เรียกร้องดังนี้คือ ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบค่าการงานที่ได้ทำหรือค่าดูแลกิจการของผู้อื่นรวมทั้งเงินที่ให้ออกทดลองไป ผู้ขนส่งโดยสารหรือสิ่งของหรือรับส่งข่าวสาร เรียกเอาค่าโดยสาร ค่าระวาง ค่าเช่า ค่าธรรมเนียม รวมทั้งเงินที่ได้ทดรองออกไป ผู้ประกอบธุรกิจในการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เรียกเอาค่าเช่า ครูหรืออาจารย์เรียกเอาค่าสอน ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมสถาปัตยกรรมผู้สอบบัญชีหรือผู้ประกอบวิชาชีพอิสระอื่น เรียกเอาค่าการงานที่ทำให้ รวมทั้งเงินที่ได้ทดรองออกไป

    หรือถ้าตามมาตรา 193/35 การทำหนังสือรับสภาพหนี้มีอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับสภาพความผิดหรือให้ประกัน

    อายุความแพ่งกี่ปี ต้องดูรายละเอียด

    จากที่เห็นเบื้องต้น การที่จะรู้ว่าคดีแพ่งมีอายุความกี่ปี ตอบไม่ได้เลยในทันที ต้องดูภายในรายละเอียดในแต่ละคดี คดีแพ่งแต่ละคดีก็มีอายุความแตกต่างกันออกไป เช่น 2 ปี 5 ปี 10 ปี เป็นต้น ต้องสอบถามรายละเอียดให้ชัดเจนก่อนที่จะมาวิเคราะห์เรื่องอายุความ ในคดีแพ่ง

    ความชัดเจนในการตอบคำถาม ข้อเท็จจริงที่ได้มาเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุด เพื่อนำมาวิเคราะห์จะได้รู้ว่าแต่ละคดี มีอายุความเท่าไหร่ หากเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงเพียงนิดเดียวอายุความก็จะเปลี่ยนไปตามกฎหมาย ที่ระบุไว้

    ผลของอายุความแพ่ง

    ผลของการนำคดีขาดอายุความมาฟ้อง ในทางแพ่งนั้น โจทก์สามารถฟ้องคดีได้แต่จำเลยก็สามารถอ้างได้เช่นกันว่า คดีทางแพ่งนั้นขาดอายุความแล้ว โดยเป็นเรื่องที่จำเลยต้องกล่าวอ้างเอง ศาลไม่อาจยกขึ้นอ้างได้ แต่ใดๆก็แล้วแต่ แม้ว่าคดีจะขาดอายุความแต่ในความเป็นจริงนี่ที่จำเลยมีต่อโจทก์นั้นยังคงมีอยู่ ตราบใดที่ยังไม่ได้ชำระหนี้

    คดีคดีแพ่งมีอายุความกี่ปี

    อายุความ คดีแพ่ง คดีอาญา คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เนื้อหาประกอบด้วย กำหนดอายุความคดีแพ่ง 2 ปี 5 ปี และ 10 ปี กำหนดอายุความคดีอาญา การกำหนดอายุความคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา กำหนดอายุความ เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ บัตรเครดิต ยืม ค้ำประกัน ตัวแทน ฯลฯ

    อายุความคดีแพ่งเริ่มนับเมื่อใด

    ๑. การนับอายุความแพ่ง ๑.๑ การนับอายุความฟ้องคดี สัญญากู้ยืมเงินทั่วไป กำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ ๑ งวด กฎหมาย กำหนดอายุความ ๑๐ ปี นับแต่วันที่มีสิทธิเรียกร้อง คือนับถัดจากวันที่ผิดนัดชำระหนี้ ส่วนดอกเบี้ยค้างชำระ มีกำหนดอายุความ ๕ ปี นับแต่วันที่อาจฟ้องเรียกเอาดอกเบี้ยได้ ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

    คดีแพ่งหมดอายุความ ฟ้องได้ไหม

    หนี้ขาดอายุความก็สามารถฟ้องร้องได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/9 ที่บัญญัติว่า “สิทธิเรียกร้องใดๆ ถ้ามิได้บังคับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด สิทธิเรียกร้องนั้นเป็นอันขาดอายุความ” และมาตรา 193/10 “สิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความ ลูกหนี้มีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้”

    คดีแพ่งมีอายุความกี่ปี พันทิป

    ระยะเวลาในการฟ้องร้องของเจ้าหนี้เงินกู้ที่ตกลงชาระเงินกู้คืนทั้งหมดพร้อม ดอกเบี้ยจะมีกาหนดอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้อง ดังนั้นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิการ ฟ้องเรียกเงินกู้ภายใน 10 ปี