ติด เชื้อ HIV กี่ ปี ถึง จะ ออก อาการ

อาการเอดส์ของผู้ที่ได้รับเชื้อ HIV เข้าสู่ร่างกาย จะมีสัญญาณเตือนหรืออาการของโรคที่แสดงออกมาจนผู้รับเชื้อได้รู้สึกว่าตัวเองป่วย อาการทั่วไปจะคล้ายคลึงกับไข้หวัดใหญ่ เช่น อาการปวดเมื่อยกล้ามเนิ้อ ซึม มีไข้ ร่างกายอ่อนเพลีย อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นในระยะเวลา 2-6 สัปดาห์เหลังร่างกายได้รับเชื้อ HIV เข้าไป

ภายในร่างกายของผู้ได้รับเชื้อในระยะแรกนี้ สามารถส่งต่อเชื้อให้ผู้อื่นได้แล้ว เนื่องจากร่างกายผลิตไวรัสออกมาเป็นจำนวนมากทั้งในเลือดและในสารคัดหลั่งต่างๆ อย่างไรก็ตามอาการไม่สบายที่กล่าวไปข้างต้นจะเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆเท่านั้นและจะหายไป ไม่มีอาการอีกเลยเป็นปีๆ หรือสำหรับบางคน อาจเป็นๆ หายๆ เป็นพักๆ โดยด้านล่างคือกลุ่มอาการของผู้ที่ได้รับเชื้อซึ่งมักแสดงอาการของโรคออกมา

อาการที่ 1 มีไข้ หนาวสั่น อาการนี้จะปรากฎหลังร่างกายได้รับเชื้อ 2-4 สัปดาห์ แล้วจะค่อยๆบรรเทาลงอาการที่ 2 ปวดหัว วิงเวียนศีรษะอาการที่ 3 ต่อมน้ำเหลืองบวม ไม่ว่าจะเป็นส่วนของ ลำคอ รักแร้หรือขาหนีบอาการที่ 4 ปวดเมื่อยตามตัว หมดแรง เหนื่อยง่ายกว่าปกติอาการที่ 5 เป็นผื่น มีรอยฟกช้ำและอักเสบบนผิวหนัง โดยผื่นจะขึ้นเป็นหย่อมๆ มีรอยฟกช้ำเป็นจุดบนผิวหนัง รอยจ้ำเลือด โดยผื่นจะลามขยายตัวเป็นวงกว้างแล้วค่อยๆหายไปอาการที่ 6 คลื่นไส้อาเจียน มักเป็นร่วมกับอาการวิงเวียนศีรษะอาการที่ 7 น้ำหนักลดลง ถ่ายหนัก อุจจาระร่วง น้ำหนักลดในระยะเวลาอันรวดเร็วอย่างผิดวิสัยอาการที่ 8 ไอแบบแห้งๆ เรื้อรังติดต่อเป็นระยะเวลานาน อาจมีอาการหายใจติดขัด หอบ เหนื่อยร่วมด้วยอาการที่ 9 สมาธิสั้น กระวนกระวาย ขี้กังวลและหงุดหงิดง่าย ความจำสั้นมากขึ้นอาการที่ 10 เหงื่อออกมากผิดปกติ โดยเฉพาะเวลากลางคืนอาการที่ 11 เล็บมีรูปร่างและสีเปลี่ยนแปลงไป เช่น บิดโค้งงอ แยกชั้น ไม่มันเงาอาการที่ 12 ชาตามนิ้วมือและนิ้วเท้า หมดแรง ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อได้ตามต้องการ

โดยทั่วไปแล้ว เมื่อได้รับเชื้อ HIV เข้าไป เชื้อนี้จะเข้าไปแฝงตัวในร่างกายและค่อยๆแสดงอาการออกมาให้เห็นว่า ร่างกายติดเชื้อแล้ว โดยหากพบว่ามีอาการที่กล่าวมาข้างต้น ให้รีบเข้ารับการตรวจ HIV เพื่อทดสอบหาเชื้อไวรัส เพราะการได้รับการรักษาที่ทันท่วงที จะเป็นการป้องกันคนรอบตัวของผู้ได้รับเชื้อ ซึ่งก็คือคนที่ผู้รับเชื้อรักนั่นเอง และที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดก็เพื่อตัวของผู้ได้รับเชื้อเอง จะสามารถเข้ารับกระบวนการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที ในปัจจุบันนั้นผู้ที่ได้รับเชื้อ HIV สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างปกติ หากได้รับคำแนะนำและทราบถึงการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง

ระยะที่ 1 ระยะที่ไม่ปรากฏอาการเป็นระยะติดเชื้อเอดส์โดยยังไม่มีอาการปรากฎ (Asymptomatic HIV infection) ระยะนี้ผู้ได้รับเชื้อจะสุขภาพแข็งแรงเป็นปกติอยู่ อาจมีเพียงอาการที่กล่าวข้างต้นในระยะ 2-3 สัปดาห์แรกเท่านั้น หลังจากนั้นอาการเหล่านี้จะหายไป ถ้ามีการไปเจาะเลือดเพื่อตรวจหาเชื้อในระยะนี้ จะสามารถตรวจพบเชื้อได้แล้ว โดยพบได้ในระยะเวลาประมาณ 3-12 สัปดาห์หลังได้รับเชื้อ

ระยะที่ 2 ระยะที่ปรากฎอาการเริ่มแรกเป็นระยะที่มีอาการสัมพันธ์กับเอดส์ (ARC = AIDS Related Complex) คนไข้จะเริ่มปรากฏอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างเกิดขึ้นพร้อมกัน ซึ่งเป็นเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ เช่น

  • เจ็บคอ
  • ต่อมน้ำเหลืองโตหลายแห่งติดต่อกันเป็นเวลานานกว่า 3 เดือน
  • น้ำหนักตัวลดลงเร็วมากโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • อุจจาระร่วงเรื้อรังเป็นเวลานานเกิน 1 เดือนโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีฝ้าขาวในช่องปาก ที่ลิ้นและในลำคอ
  • มีเลือดออกจากปาก จมูก ทวารหนัก หรือช่องคลอด
  • เป็นโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบเรื้อรัง
  • ติดเชื้อรายีสต์
  • มีไข้เรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีอาการโรคเริม (herpes simplex) ลุกลามและเรื้อรัง ผู้ป่วยในระยะที่ 2 นี้สามารถแพร่เชื้อสู่บุคคลอื่นได้ และผู้ป่วยบางส่วนจะมีอาการต่อในระยะที่ 3

ระยะที่ 3 เป็นระยะท้ายหรือเรียกว่า โรคเอดส์เต็มขั้น (full-blow AIDS)เป็นระยะที่เชื้อ HIV ทำลายเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ผู้ได้รับเชื้อติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติมาก อาจจะมีอาการเหมือนระยะที่ 2 แต่จะมีการติดเชื้อฉวยโอกาส (Opportunistic infection) เกิดขึ้นร่วมด้วย เนื่องจากภูมิต้านทานของร่างกายถูกทำลายไปมากขั้น ทำให้เกิดการติดเชื้อของระบบต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น เช่น การติดเชื้อของระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท ระบบหายใจ เป็นต้น โดยโรคที่ผู้ป่วยเอดส์มักเป็นกันมากที่สุด ได้แก่ โรคประเภทปอดบวมและโรคมะเร็งผิวหนังนอกจากนี้ในบางรายยังอาจมีอาการสมองเสื่อมหรือบางรายอาจเกิดมะเร็งแทรกซ้อนเข้ามาอีก เช่น มะเร็งหลอดเลือด (Kaposi’s sarcoma) มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) เป็นต้น

สุดท้าย “การตรวจเลือด” คือทางเดียวที่จะสามารถพิสูจน์และยืนยันทางการแพทย์ได้ว่า ผู้ได้รับความเสี่ยงมานั้น ได้รับเชื้อหรือไม่ การได้ทราบผลเลือดของตัวเองได้อย่างทันท่วงที โดยไม่ต้องรอให้มีอาการ มีประโยชน์อย่างมหาศาล ถือเป็นปัจจัยหลักสำคัญต่ออายุขัยของผู้ป่วยโดยตรง อย่างไรก็ตาม ถึงผลเลือดของผู้ป่วยจะเป็นบวกและได้รับเชื้อมาจริง แต่การได้รับการตรวจและรักษาอย่างรวดเร็ว ทานยาต้านไวรัส ไม่ให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายถูกทำลาย ปฏิบัติตัวในความดูแลของแพทย์ เพียงเท่านี้ร่างกายของผู้ป่วยก็จะไม่ถูกทำลายจากเชื้อไวรัสจนเสื่อมโทรม สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติ มีอายุยืนยาวเหมือนคนปกติทั่วไป ขอเพียงรู้ให้เร็ว รักษาให้ทัน เพราะเอดส์ รู้เร็ว รักษาได้

เอชไอวีและเอดส์เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิตทั่วโลก และยังเป็นโรคที่คุกคามมนุษยชาติที่ร้ายแรงที่สุดโรคหนึ่งในปัจจุบันนี้

องค์การอนามัยโลก ได้เปิดเผยข้อมูลว่าในปี 2015 มีประชากรติดเชื้อเอชไอวีหรือเอดส์จำนวน 36.7 ล้านคนทั่วโลก

 

เอชไอวีและเอดส์คืออะไร

โรคเอดส์เป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี เอชไอวีซึ่งย่อมาจากคำว่า human immunodeficiency virus เป็นเชื้อไวรัส ในขณะที่โรคเอดส์หรือ acquired immune deficiency syndrome คือกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากการติดเชื้อเอชไอวีซึ่งเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกเชื้อไวรัสทำลายจนร่างกายของผู้ป่วยไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคทั้งหลายที่เข้าสู่ร่างกายได้

ผู้ติดเชื้อเอชไอวีอาจไม่พัฒนาอาการจนเป็นผู้ป่วยโรคเอดส์เต็มขั้น

ผลกระทบของเอชไอวีและเอดส์ที่มีต่อร่างกายมนุษย์

เมื่อร่างกายติดเชื้อเอชไอวี เชื้อเอชไอวีจะโจมตีระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลงจนไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายได้ จนในที่สุดเชื้อไวรัสจะโจมตีร่างกายทั้งหมด

เป้าหมายของเอชไอวีคือการทำลายเซลล์ที่มีหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคและการติดเชื้อไวรัสต่างๆ เซลล์นี้มีชื่อว่า CD4 (หรือเซลล์ T-helper) เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีความสำคัญต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เอชไอวีทำให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายของผู้ติดเชื้ออ่อนแอลงจนทำให้เกิดโรคต่างๆได้ง่าย ในขณะที่คนที่มีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายที่แข็งแรงจะสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคเหล่านี้ได้ดีกว่า

ความช้าเร็วของการดำเนินโรคและผลกระทบที่เชื้อเอชไอวีมีต่อร่างกายขึ้นอยู่กับผู้ติดเชื้อแต่ละคน ปัจจัยหลายอย่างเช่น สุขภาพและอายุ รวมถึงความช้าเร็วในการได้รับการรักษา ล้วนเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินโรคทั้งสิ้น คนบางคนสามารถติดเชื้อเอชไอวีนานหลายปีโดยไม่มีอาการของโรคเอดส์

ปัจจัยที่อาจทำให้การติดเชื้อเอชไอวีพัฒนาเป็นอาการของโรคเอดส์รวดเร็วขึ้นนั้น ยังคงรวมถึงปัจจัยทางกรรมพันธุ์ การมีอายุมากขึ้น ภาวะโภชนาการไม่ดี หรือติดเชื้อร่วมกับโรคอื่น เช่น ตับอักเสบซีหรือวัณโรค

การติดเชื้อเอชไอวี

คนสามารถติดเชื้อเอชไอวีโดยการสัมผัสกับเลือด น้ำอสุจิ ของเหลวจากช่องคลอด หรือแม้แต่น้ำนมแม่ สาเหตุการแพร่เชื้อส่วนใหญ่มาจากการมีเพศสัมพันธ์และการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรือส่งผ่านจากแม่สู่ลูกระหว่างการตั้งครรภ์

ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คนควรมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเข็มฉีดยาที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อโรค ไม่ว่าจะระหว่างการไปพบแพทย์หรือการใช้เพื่อนันทนาการ

ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสาเหตุของการติดเชื้อเอชไอวี ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อเอชไอวีจากการจับมือทักทาย การกอด การจูบ การจาม การใช้ห้องน้ำร่วมกัน การใช้ภาชนะและช้อนส้อมร่วมกันหรือการสัมผัสในรูปแบบอื่นๆที่ไม่ทำให้ติดเชื้อเอชไอวี การทำกิจกรรมที่กล่าวมานี้ ไม่สามารถทำให้ติดเชื้อเอชไอวีได้

การติดเชื้อเอชไอวี 3 ระยะ

ระยะเฉียบพลัน (Acute HIV Infectious) เป็นระยะแรกของการติดเชื้อเอชไอวี เกิดขึ้นระหว่าง 2-4 สัปดาห์หลังจากติดเชื้อ ในระยะนี้ผู้ติดเชื้อจำนวนมากจะเริ่มมีอาการคล้ายเป็นไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดเมื่อยตามร่างกาย มีผื่นและปวดหัว อาการเหล่านี้เรียกว่า acute retroviral syndrome หรือ ARS เกิดขึ้นจากการที่ร่างกายตอบสนองต่อการติดเชื้อเอชไอวี

ในระยะนี้ เชื้อไวรัสจะเพิ่มจำนวนอย่างมากในร่างกาย ทำให้เซลล์ CD4 ในร่างกายลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว เป็นระยะที่มีความเสี่ยงสูงมากที่ผู้ติดเชื้อจะแพร่กระจายไวรัสไปยังผู้อื่น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อเอชไอวี

อย่างไรก็ตาม หลังจากระยะเฉียบพลัน ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะค่อยๆ ทำให้ปริมาณของเชื้อไวรัสอยู่ในระดับคงที่ หรือเรียกว่า viral set point หมายความว่าเชื้อไวรัสมีปริมาณที่คงที่ในร่างกายและปริมาณเซลล์ CD4 เริ่มเพิ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง แต่จะไม่สูงเท่ากับก่อนติดเชื้อ

ระยะถัดมาคือ ระยะสงบทางคลินิก (Clinical Latency Stage) เป็นระยะที่เชื้อไวรัสอยู่ในร่างกายโดยไม่แสดงอาการใดๆ หรืออย่างมากที่สุดคือมีอาการเพียงเล็กน้อย บางครั้งเรียกระยะนี้ว่า ระยะติดเชื้อเรื้อรัง (chronic HIV infection) หรือ ระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการ (asymptomatic HIV infection) ในระยะนี้ไวรัสจะเพิ่มปริมาณมากขึ้นในระดับต่ำ และมักจะใช้เวลานานถึง 10 ปี แต่สำหรับผู้ติดเชื้อบางคนอาจใช้เวลาน้อยกว่านั้น

ระยะสุดท้ายคือ ระยะโรคเอดส์ (AIDS) เป็นระยะที่การติดเชื้อเอชไอวีได้พัฒนาเป็นโรคเอดส์

ระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงมีปริมาณเซลล์ CD4 อยู่ระหว่าง 500 ถึง 1,600 ในขณะที่ผู้ป่วยโรคเอดส์มี CD4 ต่ำกว่า 200 เมื่อถึงจุดนี้ระบบภูมิคุ้มกันได้ถูกทำลายอย่างรุนแรงจนผู้ป่วยมีอาการติดเชื้อฉวยโอกาส (opportunistic infections) ซึ่งเกิดจากเชื้อโรคที่ไม่ก่อให้เกิดโรคในคนที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง แต่จะทำให้เกิดโรคกับผู้ที่ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ แต่ไม่ว่าผู้ติดเชื้อมีปริมาณ CD4 เท่าใดก็ตาม หากมีอาการติดเชื้อฉวยโอกาสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือมากกว่าถือว่าผุ้ติดเชื้อนั้นเป็นโรคเอดส์

อาการของโรคเอดส์

อาการของโรคเอดส์มีดังนี้

  • ปอดอักเสบ
  • สูญเสียความจำ อาการซึมเศร้าและอาการทางระบบประสาทอื่นๆ
  • ท้องเสียเรื้อรังนานกว่าหนึ่งสัปดาห์
  • เหนื่อยผิดปกติ
  • อาการไข้ที่กลับมาเป็นซ้ำๆ
  • เหงื่อออกตอนกลางคืน
  • น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว
  • มีผื่นตามผิวหนัง ในช่องปาก จมูกและเปลือกตา
  • แผลที่ริมฝีปาก อวัยวะเพศและทวารหนัก
  • อาการบวมที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ รักแร้และขาหนีบ

อาการของโรคเอดส์อาจเป็นอาการของโรคอื่นที่ไม่ใช่โรคเอดส์ก็ได้ ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดที่จะรู้ว่าติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ ควรทำการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี (HIV test)

การรักษาการติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาการติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ให้หายขาดได้ แต่มียาหลายชนิดที่ช่วยรักษาอาการติด
เชื้อเอชไอวี

มียารักษาอาการติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์ที่ได้รับการรับรองมากกกว่า 25 ชนิด เรียกว่า ยาต้านรีโทรไวรัส (antiretroviral drugs หรือเรียกย่อว่า ARV) ซึ่งทำหน้าที่ยับยั้งหรือต้านการแบ่งตัวของเชื้อ เอชไอวี รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายโรคสู่คนอื่น

การรักษาอาการติดเชื้อเอชไอวีประกอบด้วยการใช้ยาต้านไวรัสในกลุ่ม ARV หลายชนิดรวมกันเพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อ หรือเรียกว่า Antiretroviral therapy (ART) วิธีการนี้เป็นการรักษาโรคโดยการควบคุมไวรัสไม่ให้ขยายพันธุ์ ทำให้ผู้ติดเชื้อมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อสู่คนอื่น ในปัจจุบันวงการแพทย์แนะนำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีทุกคนรับการรักษาด้วย ยา ARV

หากกังวลว่าตัวเองอาจติดเชื้อเอชไอวีภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง (3 วัน) สามารถใช้ยา ARV หลังสัมผัสโรค (post-exposure prophylaxis หรือชื่อย่อว่า PEP) เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อ ผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อจำเป็นต้องได้รับยาให้เร็วที่สุดภายในเวลา 3 วันหลังจากสัมผัสเชื้อเอชไอวีเพื่อให้การป้องกันมีประสิทธิผล

นอกจากนี้ ยา ARV สามารถใช้ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนสัมผัสโรค (Pre-exposure prophylaxis หรือชื่อย่อว่า PrEP) ใช้ในผู้ไม่มีเชื้อเอชไอวีแต่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีสูง และต้องการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อต้องรับประทานยาทุกวันเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

ทำไมจึงจำเป็นต้องทำการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี

ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม หากคุณกังวลเพียงเล็กน้อยว่าคุณอาจติดเชื้อเอชไอวี คุณควรทำการตรวจเลือด เป็นวิธีการที่รวดเร็วและง่ายดายและบริการฟรีในหลายๆ แห่ง

วิธีการเดียวที่จะรู้ว่าคุณติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่คือการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวี การตรวจเลือดแต่เนิ่นๆ ช่วยลดความกังวลใจและทำให้คุณได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง

หากคุณติดเชื้อเอชไอวี การได้รับการวินิจฉัยแต่เริ่มแรกทำให้คุณสามารถดูแลสุขภาพของตัวเองและคู่ครองรวมถึงคนอื่นที่คุณห่วงใย ถึงแม้ผลเลือดจะบ่งชี้ว่าคุณมีการติดเชื้อ การได้รู้ว่าตัวเองมีการติดเชื้อจะทำให้คุณสามารถดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองและใช้ชีวิตอย่างเหมาะสม

เอดออกอาการตอนไหน

ระยะเฉียบพลัน (Acute HIV Infectious) เป็นระยะแรกของการติดเชื้อเอชไอวี เกิดขึ้นระหว่าง 2-4 สัปดาห์หลังจากติดเชื้อ ในระยะนี้ผู้ติดเชื้อจำนวนมากจะเริ่มมีอาการคล้ายเป็นไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดเมื่อยตามร่างกาย มีผื่นและปวดหัว อาการเหล่านี้เรียกว่า acute retroviral syndrome หรือ ARS เกิดขึ้นจากการที่ ...

HIV เพาะเชื้อกี่วัน

ส่วนมากการตรวจ HIV ในปัจจุบันสามารถพบเชื้อได้หลังรับมาภายใน 30 วัน โดยอาจมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ดังนี้ การตรวจแบบ NAT สามารถตรวจพบเชื้อหลังเสี่ยงมาเกิน 7 วัน การตรวจหา Antibody สามารถตรวจพบเชื้อหลังเสี่ยงมาเกิน 21-30 วันขึ้นไป การตรวจแบบใช้น้ำยา Fourth Generation สามารถตรวจได้เร็วสุดตั้งแต่ 2 สัปดาห์หลังรับเชื้อ

เอชไอวีติดง่ายไหม

การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน เช่น ไม่ได้ใส่ถุงยางอนามัย ไม่ว่าชายกับชาย ชายกับหญิง หรือหญิงกับหญิง ทั้งทางช่องคลอดและทวารหนัก ก็ล้วนมีโอกาสติดโรคนี้ได้ทั้งสิ้น ทั้งนี้ จากข้อมูลของการระบาดวิทยาพบว่า มากกว่าร้อยละ 80 ของผู้ติดเชื้อ HIV ได้รับเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์

ตรวจหาเชื้อ HIV กี่บาท

1. ตรวจเลือดหาเชื้อเอดส์ จันทร์-ศุกร์ 07.30 – 18.00 น. /เสาร์ 07.30 – 15.00 น. อ้ตราค่าบริการตรวจแบบทราบผลทันที 200 บาท ตรวจด้วยวิธี PCR 1,500บาท (รู้ผล 1 สัปดาห์)