ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ให้มีอายุกี่ปี

ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ให้มีอายุกี่ปี

22 มิ.ย.2561 -  นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้ลงนามในกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวและใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ พ.ศ.2561 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 135 ตอนที่ 43 ก แล้ว โดยเหตุผลในการประกาศใช้ระบุว่า เป็นการสมควรปรับปรุงการกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวและใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับอายุใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว และการกำหนดให้มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวสาขา ประกอบกับมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2551 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬามีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัติ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

สำหรับเนื้อหาระบุว่า อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2551 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจนำเที่ยวและใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ พ.ศ.2555 ข้อ 2 ให้กำหนดค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้

(1) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ฉบับละ 2,000 บาท (2) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวสาขา ฉบับละ 1,000 บาท (3) ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ ฉบับละ 200 บาท (4) ใบแทนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ฉบับละ 1,000 บาท (5) ใบแทนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวสาขา ฉบับละ 500 บาท (6) ใบแทนใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ ฉบับละ 200 บาท (7) การต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ครั้งละ 2,000 บาท (8) การต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวสาขา ครั้งละ 1,000 บาท  และ (9) การต่ออายุใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ ครั้งละ 200 บาท
 

คุณสมบัติของมัคคุเทศก์อาชีพตามรบ. ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. ๒๕๕๑)

ประการแรก ต้องมีใบอนุญาตประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ ซึ่งสำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์เป็นผู้ออกให้  ปกติจะมีอายุ 2 ปี นับจากวันที่ออก  มีค่าธรรมเนียมฉบับละ 200 บาท (หลังมีนาคม 2551 ค่าธรรมเนียมจะขึ้นเป็น 1,500 บาท ตามประกาศของ พรบ. ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. ๒๕๕๑)

??? ทำไมต้องมีใบอนุญาต ???   เพราะกฎหมายบังคับไว้ครับ

คุณสมบัติมัคคุเทศก์ตาม พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. ๒๕๓๕

มาตรา 39

ห้ามมิให้ผู้ใดเป็นมัคคุเทศก์ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์จากนายทะเบียน

การขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 40

ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

(1) มีสัญชาติไทย

(2) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์

(3) เป็นผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสือรับรองว่าได้ผ่านการอบรมวิชามัคคุเทศก์ตามหลักสูตรที่คณะกรรมการรับรอง

(4) ไม่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง หรือติดยาเสพติดให้โทษ หรือเป็นโรคติดต่อที่คณะกรรมการกำหนด

(5) ไม่เป็นผู้วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นคนไร้ความสามารถ หรือเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ

(6) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

(7) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างสั่งพักใช้ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์

(8) ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ แต่ถ้าเคยถูกเพิกถอนใบอนุญาต ต้องถูกเพิกถอนมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี

จาก พ.ร.บ. ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.๒๕๓๕  มาตรา 39  ระบุไว้ชัดเจนครับว่าอาชีพมัคคุเทศก์ต้องมีใบอนุญาต  เราจึงเห็นมัคคุเทศก์สวมบัตรอันเป็นสัญญลักษณ์การได้รับอนุญาตดังกล่าว(บัตรไกด์) ห้อยคอระหว่างปฎิบัติหน้าที่ทุกครั้ง

จาก พ.ร.บ. ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.๒๕๓๕  มาตรา 40 (1) จะได้ความภูมิใจว่า มัคคุเทศก์เป็นอาชีพที่สงวนไว้สำหรับคนไทยเท่านั้นครับ  ต่างชาติจะมาแย่งทำอาชีพนี้เข้าข่ายทำผิดกฎหมาย

และจาก พ.ร.บ. ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.๒๕๓๕  มาตรา 40 (3) จะได้ความรู้ว่า มัคคุเทศก์เป็นอาชีพที่ต้องผ่านการฝึกอบรม ซึ่งผมจะอธิบายในหัวข้อ  ทำอย่างไรให้ได้ใบอนุญาตประกอบอาชีพมัคคุเทศก์”  ต่อไป

ประการที่สอง ต้องเป็นผู้รู้จริง เพื่อจะได้ตอบคำถามได้ด้วยความมั่นใจ และใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ ยกตัวอย่าง เช่น    

*  รู้เกี่ยวกับสถานที่นำเที่ยว รู้ทั้งประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ โบราณคดี สังคม ศาสนา ศิลปะ วรรณคดี  วัฒนธรรมประเพณี อาหารการกิน  นิทานพื้นบ้าน ฯลฯ

* รู้เกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ที่พัก, ร้านอาหาร, การเดินทางด้วยพาหนะต่าง ๆ, ระบบตั๋วเครื่องบิน, ระบบรักษาความปลอดภัย

*  รู้เกี่ยวกับกฎหมายและกฎระเบียบ เช่น พิธีการตรวจคนเข้าเมือง,  ระเบียบการเข้าชมสถานที่ต่าง ๆ

* รู้ข้อมูลเกี่ยวกับนักท่องเที่ยว เช่น ภาษาประจำชาติ ขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวชาตินั้น ๆ

* ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือต้องรู้หน้าที่ของมัคคุเทศก์ด้วย เช่น มีความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา มีความเสมอภาคและยุติธรรม

ประการที่สาม ต้องมีความสามารถในการสื่อสาร  ใช้ภาษาได้ถูกต้อง ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ รวมทั้งต้องมีศิลปะในการพูด สามารถอธิบายและให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวได้

ประการที่สี่ ต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี  รู้จักสร้างบรรยากาศความเป็นกันเองกับนักท่องเที่ยว ใส่ใจให้เกียรติแก่นักท่องเที่ยวทุกคนเท่าเทียมกัน มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ยอมรับในความคิดเห็นที่แตกต่าง

ประการที่ห้า มีบุคลิกภาพดี กิริยามารยาทสุภาพ แต่งกายได้เหมาะสมกับสถานที่และกาลเทศะ รู้ว่าเมื่อไรควรพูด เมื่อไรควรเงียบ จำไว้เลยว่ามัคคุเทศก์คือฑูตวัฒนธรรม คิดถึงภาพลักษณ์ของประเทศชาติให้มาก ๆ ครับ

ประการที่หก ต้องมีคุณธรรม ทั้งความซื่อสัตย์สุจริต ความมีน้ำใจ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่   วงการนี้มีโอกาสที่จะฉกฉวยสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวในทางที่ผิด มาก ๆ  ดังนั้นคำว่าไม่ทำผิดกฎหมายอย่างเดียวไม่พอ ต้องไม่ผิดศีลธรรมจริยธรรม และไม่ผิดจรรยาบรรณต่อเพื่อนร่วมอาชีพด้วยครับ

ประการที่เจ็ด ต้องมีทัศนคติที่ดีกับการบริการและการท่องเที่ยว อย่าลืมนะครับว่ามัคคุเทศก์อาชีพนั้นจำเป็นต้องไปสถานที่เดิม ๆ อธิบายซ้ำ ๆ เรื่องเดิม ๆ ทุกวัน จะเบื่อจะเซ็งไม่ได้เลยนะครับ

ประการที่แปด  สุขภาพสมบูรณ์ทั้งกายและใจ ต้องดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ไม่มีการลาป่วยในขณะปฏิบัติหน้าที่นะครับเว้นแต่จะหามัคคุเทศก์คนอื่นมาดูแลแทนได้  ต้องรักษาอารมณ์ให้ดีอยู่เสมอด้วยครับ ยกตัวอย่าง กรณีทะเลาะกัน ฝ่ายหญิงร้องไห้ทั้งคืน เช้ามาตาก็บวม ฝ่ายชายเมาหัวราน้ำเช้าก็แฮ้งค์ ไปทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพทั้งคู่เลยครับ

ประการที่เก้า  มีความอดทน มุ่งมั่น ขยัน  อาชีพมัคคุเทศก์เป็นงานที่ต้องพบกับคนมากมายหลากหลายทัศนคติ เป็นงานที่ต้องพบกับความกดดันและท้าทาย และต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าตลอดเวลา ดังนั้นต้องตั้งสติในการแก้ปัญหาให้ดีและใช้ความอดทนให้มากถึงมากที่สุด   และแน่นอนไม่ว่าประกอบอาชีพอะไร ถ้าอยากรวยต้องขยันทำงานครับ    

ประการที่สิบ  ต้องมีระเบียบวินัยในการใช้เงิน  รายได้ของผู้ประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ส่วนใหญ่จะรับเป็นค่าตอบแทนเป็นงาน ๆ ไป ไม่สามารถกะเกณฑ์เป็นจำนวนได้แน่นอน  นอกจากค่าจ้างรายวันแล้ว อาจจะมีรายได้เสริมจากการขายออฟชั่นนอลทัวร์ หรือได้ค่าคอมมิชชั่นจากห้างร้านต่าง ๆ ดังนั้นต้องรู้จักเก็บออมและจัดสรรรายรับรายจ่ายไว้ด้วย บางฤดูกาลนักท่องเที่ยวมีน้อย งานก็พลอยน้อยไปด้วย การเก็บออมจะมาช่วยในการดำรงชีวิตช่วงนี้ล่ะครับ

ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์กี่ปี

มาตรา ๕๖ ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ให้มีอายุห้าปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และอาจต่ออายุใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ได้ โดยผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ต้องผ่านการอบรมและทดสอบความรู้ความสามารถในการเป็นมัคคุเทศก์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด[๓๓]

ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ให้มีอายุกี่ปี นับแต่วันออกใบอนุญาต

“มาตรา ๕๖ ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ให้มีอายุห้าปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และอาจต่ออายุ ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ได้ โดยผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ต้องผ่านการอบรมและทดสอบ ความรู้ความสามารถในการเป็นมัคคุเทศก์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกําหนด”

ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

1) ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (ก) มีอายุไม่ตํ่ากว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันยื่นคําขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ (ข) มีสัญชาติไทย Page 2 2/8 (ค) สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขามัคคุเทศก์หรือสาขาการท่องเที่ยวที่มีวิชาเกี่ยวกับมัคคุเทศก์ หรือสําเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาในสาขา ...

ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องมีอายุเท่าใด

กรรมการหรือผู้มีอำนาจจัดการแทนนิติบุคคลต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้ 3.1 มีสัญชาติไทย และอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ในวันที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว 3.2 มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย