ส่งประกันสังคมกี่ปีถึงจะได้เงินคืน

หลังจากผ่านช่วงวิกฤตวิด-19 ทำให้มนุษย์เงินเดือนอย่างเรา ๆ ต้องมีการวางแผนทางการเงินที่มากขึ้นอย่างเท่าตัว เคยรู้กันไหมว่า การที่คุณจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนประกันสังคม นอกจากคุณจะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ว่างงานหรือเสียชีวีตแล้ว ในกรณีเกษียณอายุ คุณมีโอกาสได้รับเงินเกษียณคืนจากกองทุนประกันสังคมในรูปเงินบำเหน็จ (เงินก้อน) หรือเงินบำนาญ (เงินรายเดือน) ด้วยเช่นกัน ซึ่งถือว่าเป็นรายได้ส่วนหนึ่งไว้ใช้หลังเกษียณ รายละเอียดการได้รับเงินส่วนนี้จะเป็นอย่างไร เรามาทำความเข้าใจข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกองทุนประกันสังคมกันก่อนครับ มาดูกันว่ามนุษย์เงินเดือน จะได้เงินเกษียณจากกองทุนประกันสังคมกันเท่าไร?

Show

กองทุนประกันสังคมคืออะไร เกี่ยวข้องกับมนุษย์เงินเดือนอย่างไร

กองทุนประกันสังคม คือ กองทุนที่ผู้ประกันตน (มนุษย์เงินเดือน) ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ที่มีรายได้ จ่ายเงินสมทบเข้ามาทุกเดือน เพื่อเป็นหลักประกันในการดำเนินชีวิต ตัวอย่างหลักประกันเช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเลี้ยงดูบุตร เงินชดเชยกรณีว่างงาน เงินบำเหน็จหรือเงินบำนาญ เป็นต้น

คุณมีหน้าที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน โดยหักจากเงินเดือนในอัตรา 5% เช่น หากคุณได้รับเงินเดือน 10,000 บาท ก็จะถูกหัก 500 บาทเข้ากองทุน แต่จะหักได้สูงสุดไม่เกิน 750 บาทต่อเดือน

ส่งประกันสังคมกี่ปีถึงจะได้เงินคืน

แล้วเราจะได้รับเงินคืนจากประกันสังคมเมื่อไหร่ อย่างไร

การได้รับเงินคืนจากประกันสังคมขึ้นอยู่กับจำนวนเดือนที่จ่ายเงินสมทบ อายุ และสถานะความเป็นผู้ประกันตน ซึ่งรูปแบบการได้รับเงินเกษียณคืนจากกองทุนประกันสังคมมี 3 กรณี ดังต่อไปนี้

กรณีที่ 1: ผู้ประกันตนจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคมเกิน 180 เดือน และมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ เมื่อความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง จะได้รับเงินเกษียณอายุจากกองทุนประกันสังคมเป็นเงินรายเดือนใช้ตลอดชีวิต โดยจะได้รับเท่าไร สามารถคำนวณตามได้จากคำอธิบายนี้เลย

การคำนวณเงินเกษียณอายุประกันสังคมหรือเงินบำนาญชราภาพจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ส่งเงินสมทบ และค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย แต่สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท จาก 5 ปี เป็น 15 ปี พอดิบพอดี จะได้เงินบำนาญรายเดือนเท่ากับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (ไม่เกิน 15,000 บาท) แต่ถ้าจ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน จะได้รับเงินเกษียณจากกองทุนประกันสังคมเพิ่มอีก 1.5% ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน (ถ้ามีเศษเกินจะถูกปัดทิ้ง เช่น ถ้าสะสมมา 16 ปี 2 เดือน ก็คิดแค่ 16 ปี)

อธิบายเรียบร้อยแล้ว สรุปมาให้เป็นตาราง เพื่อช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น

ระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบ (ปี)เงินบำนาญที่ได้รับร้อยละของค่าจ้างเดือนสุดท้ายจำนวนเงิน (บาท/เดือน)15203,0002027.54,12525355,2503042.56,37535507,500

กรณีที่ 2: จ่ายเงินสมทบมากกว่า 12 เดือน แต่ไม่เกิน 180 เดือนและมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ เมื่อความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง จะได้รับเงินบำเหน็จเท่ากับจำนวนเงินสมทบของตนเอง + เงินสมทบในส่วนของนายจ้างและรัฐบาล + ผลประโยชน์ตอบแทน (ผลกำไรจากกองทุนประกันสังคมนำเงินไปลงทุน)

กรณีที่ 3: จ่ายเงินสมทบไม่ถึง 12 เดือนและมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ เมื่อความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง จะได้รับเงินเกษียณจากกองทุนประกันสังคมเป็นเงินบำเหน็จ (เงินก้อนครั้งเดียว) เท่ากับจำนวนเงินที่จ่ายสมทบกองทุนประกันสังคม ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนท่านหนึ่ง จ่ายเงินสมทบของตนเอง 450 บาท/เดือน เป็นเวลารวม 11 เดือน ดังนั้นผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำเหน็จเท่ากับ 450*11 หรือ 4,590 บาท

กรณี 2 และ 3 สามารถอธิบายด้วยรูปภาพด้านล่าง เพื่อความเข้าใจที่ง่ายยิ่งขึ้น

ส่งประกันสังคมกี่ปีถึงจะได้เงินคืน

หากต้องการข้อมูลเกี่ยวกับเงินเกษียณกองทุนประกันสังคมเพิ่มเติม เช่น ข้อมูลการส่งเงินสมทบ และสิทธิประโยชน์อื่น ๆ สามารถตรวจสอบได้ที่ www.sso.go.th

ในส่วนของผู้ประกันตน ท่านต้องสมัครสมาชิกก่อน แล้วจึงจะสามารถตรวจสอบข้อมูลการส่งเงินสมทบและการรับเงินเกษียณจากกองทุนประกันสังคมได้ หากมีข้อสงสัย ต้องการปรึกษาเพิ่มเติมว่าเงินประกันตนที่ออมได้จะนำไปออมต่อหรือลงทุนในรูปแบบไหนดีที่เหมาะกับคุณ สามารถโทร. 1572 กด 5 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00 – 17.00 น. เพื่อรับคำแนะนำแบบส่วนบุคคลจากเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินได้เลย ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น หรือเข้าไปอ่านบทความเพิ่มเติมได้ด้วยตัวเองที่เว็บไซต์ KRUNGSRI The COACH

คุณสามารถเลือกให้ทางสำนักงานประกันสังคม จ่ายเป็นเงินสด หรือเช็ค โดยที่คุณมารับด้วยตัวเอง หรือจะมอบอำนาจให้กับบุคคลอื่นมารับแทนก็สามารถทำได้ ทั้งนี้ เงินบำนาญชราภาพทางประกันสังคมจะจ่ายให้คุณเป็นรายเดือน และเงินบำเหน็จชราภาพทางประกันสังคมจะจ่ายให้คุณเพียงครั้งเดียว


ประโยชน์ทดแทนกรณีบำเหน็จชราภาพ (สำหรับผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพไม่ถึง 180 เดือน)

  • กรณีที่จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพ ไม่ถึง 12 เดือน คุณจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพมีจำนวนเท่ากับ จำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ

ยกตัวอย่าง ผู้ประกันตนมีอายุ 55 ปี (เงินเดือน 15,000 บาท หักประกันสังคม 2% เท่ากับ 300 บาท) และสิ้นสุดสภาพการเป็นลูกจ้าง ขณะส่งเงินสมทบได้ 10 เดือน ประโยชน์ทดแทนที่คุณจะได้ก็เท่ากับ 300 x 10 = 3,000 บาท


 

  • กรณีที่จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพ ตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพมีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบ ที่ผู้ประกันตน และนายจ้างนำส่งพร้อมผลประโยชน์ตอบแทน ตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด

ยกตัวอย่าง ผู้ประกันตนอายุ 55 ปี สิ้นสุดสภาพการเป็นลูกจ้างวันที่ 28 พฤศจิกายน 2558 ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน ในวันที่ 10 ธันวาคม 2558 เจ้าหน้าที่วินิจฉัยในวันเดียวกัน โดยมีรายการนำส่งเงินสมทบ กรณีชราภาพของผู้ประกันตนดังนี้

วิธีการคำนวณผลประโยชน์ตอบแทน

ส่งประกันสังคมกี่ปีถึงจะได้เงินคืน

หมายเหตุ : 11/12 หมายถึง ผู้ประกันตนนำส่งเงินสมทบมาแค่ 11 เดือนภายใน 1 ปี 

สรุปยอด คุณจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพและผลประโยชน์ตอบแทนที่ผู้ประกันตนจะได้รับ (29,600 + 3,395.27 = 32,995.27) เท่ากับว่า คุณได้รับผลตอบแทนทั้งหมดเป็นจำนวนเงิน 32,995.27 บาท



ประโยชน์ทดแทนกรณีบำนาญชราภาพ (สำหรับผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบ)

  • กรณีชราภาพ จ่ายมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือนครบอายุ 55 ปี และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงจะได้รับเงินบำนาญชราภาพ ในอัตรา 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย

ยกตัวอย่าง 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ค่าจ้างเฉลี่ยอยู่ที่ 13,000 บาท

วิธีการคำนวณ : 13,000 x 20 / 100 = 2,600

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญชราภาพเดือนละ 2,600 บาท ไปจนตลอดชีวิต (การหาค่าเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย คือ การนำค่าจ้าง 60 เดือนสุดท้าย มารวมกัน แล้วหารด้วย 60) คุณจะได้ค่าจ้างเฉลี่ย = ผลรวมของค่าจ้าง 60 เดือน จำนวนเดือน (60 เดือน)


 

  • กรณีที่จ่ายเงิน สมทบเกิน 180 เดือนให้ปรับเพิ่มอัตราเงินบำนาญชราภาพขึ้นอีก อัตรา 5% ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน เช่น จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 193 เดือน จะได้รับเงินบำนาญชราภาพในอัตรา 21.5% ของค่าเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย

ยกตัวอย่าง หากคุณทำงานได้รับเงินค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท มาตลอด และส่งเงินสมทบมาแล้ว 20 ปี อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเดือนละเท่าใด และหากเสียชีวิตภายใน 5 ปี จะได้รับเงินหรือไม่อย่างไร

  1. ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญ

= 15ปี (แรก) ได้อัตราเงินบำนาญ 20%

= 5 ปี (หลัง) ได้อัตราเงินบำนาญ (ปรับเพิ่ม 1.5% x 5 ปี) = 7.5%

รวมอัตราเงินบำนาญ 20 ปี = 20% + 7.5% เท่ากับ 27.5%

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญรายเดือน (15,000 x 27.5%) เท่ากับ 4,125 บาท ต่อเดือนจนตลอดชีวิต


 

  • กรณีผู้ประกันตนที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพ เสียชีวิตภายใน 5 ปี ทายาทผู้มีสิทธิ จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 10 เท่า ของเงินบำนาญรายเดือน

    เงินสมทบประกันสังคมจะได้คืนตอนไหน

    จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน พอดี ประกันสังคมจะจ่ายคืนในรูปแบบของเงินบำนาญชราภาพ โดยจะจ่ายคืนให้เป็นรายเดือน ในอัตราร้อยละ 20 ของเงินค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (สูงสุด 15,000 บาท) ไปตลอดชีวิต ยกตัวอย่างเช่น

    ส่งประกันสังคมครบ15ปีได้อะไรบ้าง

    ส่วนผู้ประกันตนมาตรา 39 ส่งเงินสมทบครบ 180 เดือนหรือ 15 ปี จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ โดยสูตรคำนวณอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานคำนวณ ซึ่งปัจจุบันฐานคำนวณค่าจ้างสูงสุดอยู่ที่ 4,800 บาท เท่ากับจะได้รับเงินบำนาญชราภาพ 960 บาทต่อเดือน ทั้งนี้เมื่อเกิดสิทธิรับบำนาญชราภาพแล้ว ผู้ประกันตนที่ส่งเงิน ...

    ลาออกจากงานประกันสังคมจ่ายยังไง

    2. กรณีลาออกจากงานหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างงาน จะได้รับเงินชดเชยจากประกันสังคม ร้อยละ 30 ของรายได้ต่อเดือน โดยระยะเวลาการจ่ายทั้งสิ้น 90 วัน (3 เดือน) ซึ่งฐานขั้นต่ำของเงินสบทบที่จะได้รับอยู่ที่ 1,650 บาท และฐานสูงสุดของเงินสบทบที่จะได้รับอยู่ที่ 15,000 บาท เช่นเดียวกับกรณีถูกเลิกจ้าง

    ประกันสังคมจ่ายกี่เปอร์เซ็นต์

    ผู้ประกันตน มาตรา 33 คือ ลูกจ้างหรือพนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป ซึ่งโดยปกติต้องส่งเงินสมทบประกันสังคม ในอัตรา 5% ของค่าจ้าง แต่ในเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2565 จะได้ปรับลดเหลือ 3% ของค่าจ้าง