โซล่าเซลล์ 10Kw ผลิตไฟได้ กี่หน่วย

 

โซล่าเซลล์ 10Kw ผลิตไฟได้ กี่หน่วย

Q : ที่บ้านเสียค่าไฟเดือนละ 10,000 บาท ติดโซล่าเซลล์แล้วจะคุ้มไหม?

A : การติดโซล่าเซลล์ให้คุ้มค่า ต้องพิจารณาจากพฤติกรรมการใช้ไฟของแต่ละบ้าน

  • ถ้าเป็นครอบครัว ที่ตอนกลางวันของวันธรรมดา ทุกคนต้องออกไปทำงาน
    นอกบ้าน จึงไม่มีคนอยู่บ้านเลยและไม่มีการใช้ไฟฟ้าในเวลากลางวันหรือมีบ้าง
    เล็กน้อย กรณีนี้อาจจะยังไม่คุ้มค่าที่จะติดตั้งโซล่าเซลล์
  • สำหรับครอบครัวที่ในเวลากลางวันมีคนอยู่บ้าน หรือทำเป็น Home Office
    ที่ต้องมีการเปิดแอร์ หรือใช้ไฟฟ้าตลอดทั้งวัน กรณีนี้การติดตั้งโซล่าเซลล์
    จะคุ้มค่า ทั้งนี้ต้องดูรายละเอียดการใช้ไฟฟ้าแต่ละกรณีไป เพื่อความชัวร์
    ก่อนตัดสินใจติดตั้งโซล่าเซลล์

Q : ควรติดโซล่าเซลล์ขนาดเท่าใดจึงคุ้มค่า?

A : สิ่งที่สำคัญที่ต้องดูคือการใช้ไฟในช่วงกลางวัน ว่าใช้ไปกี่หน่วย เนื่องจากปัจจุบัน
     มีอุปกรณ์ที่สามารถนำกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบโซล่าเซลล์ มาเชื่อมต่อ
     เข้ากับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าฯ ที่ส่งไฟมาที่บ้าน(กริดไทร์ อินเวอร์เตอร์)
     ดังนั้นเมื่อเราผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ได้ อุปกรณ์นี้จะเลือกใช้ไฟที่มาจากโซล่าเซลล์
     ก่อน ถ้าไม่พอจ่ายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านเราจึงไปดึงไฟจากการไฟฟ้าฯมาใช้งาน
     ดังนั้นเราจึงเสียค่าไฟฟ้าเฉพาะในส่วนที่เราดึงไฟจากการไฟฟ้าเท่านั้น ซึ่งทำให้
     เราประหยัดค่าไฟฟ้าลงได้ แต่ทั้งนี้เมื่อเราผลิตไฟได้แล้วต้องนำมาใช้งานเลย
     (อันที่จริงเก็บได้ แต่อุปกรณ์แบตเตอรี่ในปัจจุบันมีราคาสูง)
     ดังนั้นผู้ที่จะติดตั้งโซล่าเซลล์ต้องใช้ไฟตอนกลางวันให้มาก
     จึงจะเหมาะสมและคุ้มค่า

Q : มีวิธีการตรวจสอบอย่างไร ว่าติดแล้วจึงเหมาะสม?

A : วิธีแรก คือการดูที่บิลค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนว่าใช้ไฟฟ้าเดือนละกี่หน่วย
     (ค่าไฟ 4 บาท/หน่วย) เช่น ถ้าใช้เดือนละ 6,000 บาท เมื่อนำมาหาร 4
     ก็จะประมาณการได้ว่าใช้ไฟฟ้า 1,500 หน่วย/เดือน และประมาณการต่อ
     ว่าใช้ไฟช่วงกลางวันเป็น 70% จึงเท่ากับใช้ไฟฟ้าช่วงกลางวัน (1,500x70%)
     เป็น 1,050 หน่วย/เดือน หรือประมาณ 35 หน่วย/วัน ซึ่งเฉลี่ยแล้วติด 1kw.
     จะผลิตได้ 4 หน่วย/วัน ดังนั้น ขนาดที่เหมาะสมคือ (35/4) 8.75 kw
     ทว่าอินเวอร์เตอร์นั้นมีสองแบบ คือ 10 kw กับ 5 kw ซึ่งส่วนนี้อยู่ที่งบประมาณ
     ว่าจะเลือกแบบใด หากมีงบประมาณมากพอและที่บ้านเป็นไฟฟ้า 3 เฟส
     สามารถติดได้สูงสุด 10 kw หากที่บ้านเป็นไฟฟ้า 1 เฟส จะสามารถติดได้สูงสุด 5 kw

     วิธีที่สอง ใช้การจดมิเตอร์ไฟในช่วง 6 โมงเช้า และ 6 โมงเย็น ว่าเราใช้ไฟเท่าใด
     จากนั้นนำมาหักลบกันเพื่อให้เป็นจำนวนไฟที่ใช้ในช่วงกลางวัน ทั้งนี้ขอแนะนำว่า
     ให้สุ่มวัดค่าดังกล่าว สัก 3-5 วัน แล้วนำมาหาเป็นค่าเฉลี่ยที่ใช้ไฟในแต่ละวัน
     จากนั้นนำผลลัพธ์ที่ได้มาหาร 4 เช่นเดียวกับวิธีการแรก

ทั้งนี้ทั้งสองวิธีต่างกันคือการได้มาซึ่งจำนวนไฟที่เราใช้ช่วงกลางวันในแต่ละวันเท่านั้น

ซึ่งวิธีที่มีความแม่นยำกว่าคือการจดมิเตอร์ เนื่องจากใช้การคำนวณหาค่าเฉลี่ย

ที่มีความละเอียดกว่าการประมาณการในวิธีแรก

 Q : เงินทุน และระยะเวลาคืนทุนนานเท่าใด?

A : ระยะเวลาการคืนทุนอยู่ที่ประมาณ 5-9 ปี ขึ้นอยู่กับคุณภาพ ประเภท
     และขนาดที่ติดตั้ง กล่าวคือถ้ายิ่งติดตั้งขนาดกำลังวัตต์ ที่มากขึ้น ก็ทำให้ต้นทุนติดตั้ง
     ต่อวัตต์ต่ำลง โดยประมาณการแล้ว การติดตั้งโซล่าเซลล์สำหรับบ้านพักอาศัย
     ที่ติดตั้งไม่เกิน 10 KW รวมทั้งค่าอุปกรณ์และค่าแรงติดตั้งแล้วอยู่ที่ 50-90 บาท/W
     ดังนั้นถ้าติดตั้ง 10 KW ค่าใช้จ่ายประมาณ 500,000 – 900,000 บาท
     ซึ่งราคานั้นขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกใช้อุปกรณ์คุณภาพระดับใด

Q : อุปกรณ์โซล่าเซลล์มีอายุการใช้งานนานเท่าใด? กลัวจะใช้ได้ไม่นาน

A : แผงโซล่าเซลล์ (Solar Panel) หรือ PhotoVoltaic (PV) ส่วนใหญ่ประสิทธิภาพ
      ในปีแรกเมื่อติดตั้งจะลดลงประมาณ 2.5 % เนื่องจากมีผลึกที่ประกอบเป็นโซล่าเซลล์
      ทำปฏิกิริยากับสภาพอากาศ และสภาพแวดล้อม หลังจากนั้น ปีที่ 2-25 จะลดลงปีละ
      ประมาณ 0.7 % ซึ่งหลังจากปีที่ 25 แล้วระบบก็ยังใช้งานได้ต่อไป เพียงแต่ว่า
      ประสิทธิภาพลดลงเท่านั้น ซึ่งการรับประกันของแผงก็ขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อ
      ซึ่งมีตั้งแต่ 10-15 ปี อินเวอร์เตอร์ส่วนใหญ่จะรับประกันที่ 5 ปี ส่วนการ รับประกันการติดตั้ง
      ขึ้นอยู่กับผุูรับเหมาติดตั้ง มีตั้งแต่ 6 เดือน, 1 ปี, 2 ปี หรือมากกว่านี้

ถ้าไม่อยากคำนวณเอง สามารถใช้โปรแกรมที่เราสร้างไว้เพื่อคุณได้ คลิกเลย

ก่อนจากกันในวันนี้ ขอฝากผลงานของโซล่าฮับ ไว้ในอ้อมอกอ้อมใจทุกท่านด้วย

โซล่าเซลล์ 10Kw ผลิตไฟได้ กี่หน่วย

โซล่าเซลล์ 10Kw ผลิตไฟได้ กี่หน่วย

โซล่าเซลล์ 10Kw ผลิตไฟได้ กี่หน่วย

ขนาดที่เหมาะสมในการติดตั้งโซล่าเซลล์ แบบออนกริด เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้าสำหรับบ้านพักอาศัย ควรเป็นเท่าใด?

บ้านพักอาศัย ที่ใช้ไฟ ของการไฟฟ้าฯ หากต้องการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ควรติดโซลล่าเซลล์ แบบออนกริด หรือเรียกให้เข้าใจง่ายอีกอย่างคือ แบบขนานไฟ กับการไฟฟ้าฯ

จริงๆแล้วเคยเขียนบทความเรื่อง จะตรวจสอบยังไงว่า บ้านเราติดโซล่าเซลล์ แล้วคุ้มค่า แล้วควรติดขนาดเท่าใดที่เหมาะสม ?  แล้ว แต่วันนี้ขอฉายซ้ำอีกรอบ และสรุปแบบเน้นๆสำหรับบ้านพักอาศัย

เราไม่ต้องคำนวณเครื่องใช้ไฟฟ้า ว่ามีกี่ตัวอะไรบ้างครับ หากคำนวณ พวกเครื่องใช้ไฟฟ้า ยุ่งยาก ซับซ้อน ปัจจัย ไม่เหมือนกันอีก เช่น แอร์ยี่ห้ออะไร, เก่าหรือใหม่ , เปิดกี่ชั่วโมง , เป็นห้องนอน หรือห้องรับแขก , แอร์อินเวอร์เตอร์ หรือไม่ , ตู้เย็นกี่คิว , อยู่กี่คน , อาบน้ำบ่อยไม๊ , ทำกับข้าวกินเองหรือซื้อกิน , มีเตาอบไม๊ , มี.... ฯลฯ ซึ่งระบบออนกริด หลักการคือขนานกับไฟ ของการไฟฟ้าฯ โดยหากมีแสงแดด เครื่องใช้ไฟฟ้า จะดึงไฟจากโซล่าเซลล์ มาใช้งานก่อน หากไม่พอก็จะดึงไฟ การไฟฟ้าฯ มาใช้งานครับ

 โซล่าเซลล์ แบบออนกริด เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า บ้านพักอาศัย เราต้องคำนวณว่า กลางวันเราใช้ไฟกี่หน่วย ง่ายกว่าครับ วิธีการดังนี้

โซล่าเซลล์ 10Kw ผลิตไฟได้ กี่หน่วย

1.เช้า 6โมง จดหน่วยมิเตอร์ไฟ

2.เย็น 6โมง จดหน่วยมิเตอร์ไฟ

3.แล้วหักลบกัน ได้เท่าไหร่ คือ จำนวนหน่วย ที่ใช้ไฟ ตอนกลางวัน

4.นำผลลัพธ์ข้อ3. มาหาร ด้วย4 ก็จะได้ขนาดที่เหมาะสม ในการติดตั้ง ( เลข4 มาจาก แดดในเมืองไทย ติด 1 กิโลวัตต์(kW.) ผลิตได้ประมาณ 4 หน่วย/วัน )

5.เช่น ตามข้อ3 ถ้าได้ 18หน่วย = 18/4 = 4.5 ปัดขึ้น ก็ติด ประมาณ 5 kW. หรือจะติด 3 kW. ก็สุดแล้วแต่ครับ

6.ทำไมต้อง  3 kW. หรือ 5 kW. แล้วทำไมไม่ 4.5 kW เลยหล่ะ >>> การจะติดตั้งขนาดเท่าใด เราก็ต้องดูขนาดแผงโซล่าเซลล์ และขนาดของอินเวอร์เตอร์ ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดด้วย ที่พบเจอ ในท้องตลาดที่พบเห็นบ่อยๆ ก็ 2kW., 3kW. , 5kW. , 6kW. , 9kW. ,10kW. , 20kW. , 25kW. , 27.6kW. , 50kW. , 60kW. เป็นต้น

7.ถ้าติด 5 kW. ก็ลงทุนเพิ่มอีกหน่อย แต่ราคาต้นทุนต่อหน่วยก็จะถูกกว่า จุดคุ้มทุนก็อาจจะเร็วกว่า แต่ส่วนใหญ่ ถ้าเราติดโซล่าเซลล์ แล้วเราก็อาจต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าด้วย เช่น เปิดแอร์ตอนกลางวัน แบบชิลๆ , รีดผ้าตอนเที่ยง , หุงข้าวตอนเที่ยง , อบไก่ตอนเที่ยง , อบขนมเค้ก ตอนเที่ยง อาบน้ำตอนเที่ยง(ดองเค็มช่วงเช้า ปั๊มจะได้ทำงานตอนเที่ยงโดยใช้ไฟจากโซล่าเซลล์) , กินข้าวต้มกลางวันบ่อยไม๊<"L"> เป็นต้น เพราะว่า ช่วง 11โมง ถึง บ่าย2โมง เป็นช่วงที่แดดดีสุดๆ ผลิตไฟได้มากสุด ตามรูประฆังคว่ำข้างล่างนี้

โซล่าเซลล์ผลิตไฟได้วันละกี่หน่วย

1. โซล่าร์เซลล์ 1.08 กิโลวัตต์ใช้พื้นที่ 16 ตร.ม.ถ้า 1 ไร่มี 1,600 ตร.ม.ก็สามารถติดตั้งได้ประมาณ 100 กิโลวัตต์ 2.ติดตั้ง 1 กิโลวัตต์ผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 5 หน่วยต่อวัน(ต่างภูมิภาคอาจไม่เท่ากัน) ถ้า 100 กิโลวัตต์ก็จะได้ 500 หน่วยต่อวัน

10Kw ใช้กี่แผง

10kW ประกอบด้วย แผงโซล่าเซลล์ 32 แผง ออนกริด อินเวอร์เตอร์ 3 เฟส/220V.

โซล่าเซลล์ 5kW ผลิตไฟได้กี่หน่วย ต่อวัน

5kw ผลิตไฟได้วันละกี่หน่วย : เฉลี่ยวันละ 20 – 30 หน่วย ในวันที่มีแดดปกติ ระยะเวลากี่ปี คืนทุน : ประมาณ 4-5 ปีคืนทุน

โซล่าเซลล์ 3 กิโลวัตต์ใช้อะไรได้บ้าง

โซล่าเซลล์ออนกริด สามารถใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ทุกประเภท โดยไม่จำกัดจำนวน เช่น เครื่องปรับอากาศ 10000 BTU จำนวน 50 ตัว , เครื่องปรับอากาศ 48000 BTU จำนวน 80 ตัว , ตู้เย็น 20 เครื่อง ,เครื่องซักผ้า 70 เครื่อง , ทีวี 100 เครื่อง ก็สามารถใช้โซล่าเซลล์ 3Kw เนื่องจากระบบออนกริดเป็นระบบไฟที่ใช้ร่วมกับการไฟฟ้า