กิจกรรมนันทนาการมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

1. นันทนาการประเภทการฝีมือและศิลปหัตถกรรม (Art In Crafts In Recreation)   การประดิษฐ์ต่าง ๆ ด้วยมือและกิจกรรมประเภทศิลปะที่ทำขึ้นด้วยมือ  ที่ทำขึ้นในเวลาว่างและ  ไม่เป็นกิจกรรมประเภทอาชีพ ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมนันทนาการประเภทฝีมือและศิลปหัตถกรรมทั้งสิ้น เช่น การปั้น การสลัก การเขียน จักสาน เย็บปักถักร้อย การประดิษฐ์เครื่องใช้หรือวัสดุเหลือใช้   เป็นต้น

           2.  นันทนาการประเภทเกมกีฬา กรีฑา(Athletic In Recreation) กิจกรรมประเภทกีฬานี้เป็นกิจกรรมที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย และเป็นกิจกรรมนันทนาการ  ให้ประโยชน์มากที่สุดแก่ผู้เข้าร่วม กิจกรรมประเภทเกมกีฬา กรีฑานี้อาจแบ่งได้   2  ประเภทด้วยกัน คือ
                      2.1 กีฬากลางแจ้ง (Outdoor Games) กิจกรรมประเภทนี้ได้แก่เกมกีฬาที่ต้องใช้
สนามกลางแจ้ง เช่นฟุตบอล  วอลเลย์บอล บาสเกตบอล ตระกร้อ กอล์ฟ เทนนิส และกิจกรรมที่เล่นกลางแจ้งทั้งหลาย
                      2.2 กีฬาในร่ม (Indoor Games) ได้แก่กิจกรรมที่เล่นในห้องนันทนาการ  
โรงยิมเนเซียม เช่น วอลเลย์บอล บาสเกตบอลในร่ม โบว์ลิ่ง จนถึงกิจกรรมเบา ๆ เช่น หมากรุก หมากฮอส เทเบิล เทนนิส

           3. นันทนาการประเภทดนตรีและร้องเพลง (Music In Recreation) ดนตรี (Music) ได้ชื่อว่าเป็นภาษาสากลเป็นสื่อกลางให้ทุกคนได้เข้าใจกันและกัน เป็นเครื่องปลอบประโลมใจ                     ให้เพลิดเพลินสนุกสนานไปกับเสียงดนตรีนั้น ทั้งนี้รวมเอาการร้องเพลงด้วย จะเป็นนักร้องเดี่ยวร้องหมู่ก็ตาม รวมไปถึงการร้องเพลงแบบคาราโอเกะ (Karaoke) ดนตรีเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกิจกรรมนันทนาการ งานที่มีกิจกรรมบันเทิงใจต้องมีดนตรี เรามีดนตรีไทยเดิม มีเครื่องดนตรีไทยแท้ ๆ เล่นเพลงไทย และดนตรีไทย – สากล

           4. นันทนาการประเภทละครภาพยนตร์ (Drama In Recreation)  การแสดงต่าง ๆ  ที่เป็นไปในแบบของการละคร จะบนเวทีหรือไม่ก็ตาม ผู้เล่นผู้ดูได้รับความสนุกเพลิดเพลินก็จัดว่ากิจกรรมนันทนาการ เช่น ละคร ภาพยนตร์ การแสดงทางโทรทัศน์  วิทยุ โขน ลิเก หนังตระลุง    หมอลำ    เป็นต้น

           5. นันทนาการในงานอดิเรก (Hobbies In Recreation) งานอดิเรกกิจกรรมนันทนาการที่สำคัญอีกแขนงหนึ่ง เป็นสิ่งที่ช่วยให้การดำเนินชีวิตประจำวันของคนมีความสุข เพลิดเพลิน เด็กต้องได้รับการฝึกหัด ให้รู้จักประกอบกิจกรรม ตั้งแต่ในโรงเรียนแล้ว  ทางบ้านช่วยส่งเสริมสนับสนุนด้วย งานอดิเรกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

5.1 ประเภทเก็บสะสม (Collecting Hobbies) การใช้เวลาว่างในทางเก็บสะสมสิ่งของต่าง ๆ เช่น เก็บสะสมแสตมป์ ตั๋วรถเมล์ บัตรโทรศัพท์ เหรียญ ธนบัตร    พระเครื่อง รูปถ่ายสติ๊กเกอร์   เป็นต้น
                       5.2 ประเภทประดิษฐ์คิดสร้างสรรค์ (Creative Hobbies Or Making Things) นอกจากการเก็บสะสมแล้วยังใช้เวลาในการประกอบงานอดิเรก โดยการทำการบ้าน  ลดน้ำต้นไม้ ปลูกต้นไม้    การวาดเขียน วาดรูปวิว และรูปประเภทต่าง ๆ ที่ใช้ทั้งสีน้ำ และสีน้ำมัน งานประดิษฐ์จากไม้ ดินเหนียว ผ้า พลาสติกแก้ว สบู่ โลหะ เป็นต้น
                      5.3 ประเภทศึกษา (Learning About Things) ตามความสนใจ เช่น การศึกษา   เรื่องพืช สัตว์ ดวงดาว คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

           6.นันทนาการประเภทกิจกรรมทางสังคม (Social Recreation) กิจกรรมนันทนาการในสังคมนี้ ได้แก่กิจกรรมนันทนาการหลายประเภทที่กลุ่มคนได้ร่วมกันประกอบขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายอย่างเดียว จึงได้ร่วมประกอบกิจกรรมนันทนาการชนิดนั้นเพื่อการสังคม เช่น  มีการรับประทานอาหาร สังสรรค์ เลี้ยงรุ่น ชมรมสมาคมสโมสรต่าง ๆ

           7. นันทนาการประเภทเต้นรำ (Dance Recreation) กิจกรรมที่ใช้จังหวะต่าง ๆ ทางดนตรี เป็นกิจกรรมที่ให้ความสนุกสนานทำให้ชีวิตเพลิดเพลิน เพิ่มคุณค่าแห่งชีวิตขึ้น กิจกรรมนันทนาการด้านนี้มีหลายอย่าง แต่ทั้งนี้ต้องอาศัยดนตรีและการรอบรู้เพลงด้วย เช่น การลีลาศ   การเต้นรำพื้นเมือง การรำไทย เป็นต้น

           8. นันทนาการนอกสถานที่ หรือ นอกเมือง (Outdoor Recreation) เนื่องจากในเมืองมีคนหนาแน่น ที่พักผ่อนหย่อนใจ  ไม่เพียงพอ ฉะนั้นกิจกรรมกลางแจ้ง   นอกสถานที่ชมภูมิประเทศศึกษาธรรมชาติ ทำให้มีชีวิตชีวายิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มความรู้ให้แก่คนเราอีกด้วยกิจกรรมประเภทนี้  ได้แก่ การปิกนิค    เที่ยวสวนสาธารณะ ชมสวนสัตว์ ชมโบราณสถาน เล่นน้ำตก เดินป่า ขี่จักยานเสือภูเขา พายเรือ ล่องเรือ เป็นต้น

           9. นันทนาการประเภทการพูดเขียนและอ่าน (Speaking Writing And Reading In Recreation)  การพูด เขียน อ่าน ให้เกิดประโยชน์ในเวลาว่างเป็นกิจกรรมนันทนาการอย่างหนึ่ง

           10. นันทนาการประเภทกิจกรรมพิเศษ (Special Events) กิจกรรมนันทนาการประเภทกิจกรรมพิเศษ ได้แก่ กิจกรรมที่มีการเล่นเป็นครั้งคราวจัดขึ้นในโอกาสพิเศษ ตามประเพณีของท้องถิ่นตามเทศกาลต่าง ๆ เช่น งานสงกรานต์ งานลอยกระทง  งานปีใหม่ ขึ้นบ้านใหม่ซึ่งจะมีการละเล่นต่าง ๆ หรือจัดการแสดงมหรสพ

           11. นันทนาการประเภทอาสาสมัคร (Voluntary Recreation) กิจกรรมนันทนาการประเภทอาสาสมัคร ได้แก่กิจกรรมที่บุคคลสมัครใจเข้าร่วมด้วยความสมัครใจและเป็นกิจกรรมที่บริการอาสาสมัคร แก่กลุ่มคนหรือแก่ชุมชน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ ต่อส่วนรวมเป็นหลัก เช่น กิจกรรม ค่ายอาสาสมัคร ค่ายอาสาพัฒนาท้องถิ่นชนบท  การอาสาพัฒนาโรงเรียน พัฒนาวัด หรือสาธารณสถาน บรรเทาสาธารณภัย    ช่วยงานมูลนิธิต่าง ๆ

กิจกรรมนันทนาการมีอะไรบ้าง

ตัวอย่างกิจกรรมนันทนาการ.
การเต้นรำ.
การรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม.
การล่าสัตว์และการตกปลา.
การท่องเที่ยว.
เล่นอินเทอร์เน็ต.
อ่านหนังสือ.
เขียนนิยายหรือเรื่องสั้น (ในกรณีที่เขียนโดยไม่ได้ตั้งใจจะนำไปจัดพิมพ์).
การเล่นกีฬาและออกกำลังกาย.

กิจกรรมนันทนาการกลางแจ้ง มีอะไรบ้าง

8. กิจกรรมนันทนาการกลางแจ้ง/นอกเมือง (Outdoor Recreation) แหล่งนันทนาการประเภทนี้ ได้แก่ สวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น ฟาร์ม ค่ายพักแรม สวนหย่อม สวนผักผลไม้พิพิธภัณฑ์สวนสัตว์หรือศูนย์ชุมชน ที่นอกเหนือจากสภาพแวดล้อมในบ้านหรือในห้องเรียน

จุดมุ่งหมายของกิจกรรมนันทนาการที่สําคัญมีอะไรบ้าง

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อทาความรู้จักคุ้นเคยกันเมื่อแรกพบ 2. เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนได้สนิทสนมกันเร็วขึ้นกว่าที่จะได้ทาความรู้จักกันเอง 3. เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรในการฝึกอบรม 4. เพื่อความสนุกสนามบันเทิงแก่ผู้เข้าอบรม 5. เพื่อให้เกิดความกล้าที่จะแสดงออก และกล้าแสดงความคิดเห็นต่อกลุ่ม

กิจกรรมนันทนาการมีความสําคัญอย่างไร

กิจกรรมนันทนาการจะช่วยส่ง เสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคล และสังคม เพราะกิจกรรมนันทนาการ เป็นการช่วยพัฒนาอารมณ์ ความสุข ความสามารถของบุคคล สุขภาพและ สมรรถภาพทางกายและจิตใจ นอกจาก นี้ยังช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่ม ประชากรทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นชุมชน ยากจน แออัด มั่งมี กลุ่มบุคคลพิเศษ