การแบ่งประเภทของพืชตามหลักการเกษตรมีกี่ประเภท

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ป. 2/1 บอกวิธีการและประโยชน์การทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเองและครอบครัว

ป. 2/2 ใช้วัสดุ  อุปกรณ์   และเครื่องมือ ในการทำงานอย่างเหมาะสมกับงานและประหยัด

ป. 2/3 ทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเองและครอบครัวอย่างปลอดภัย

จุดประสงค์

1  อธิบายความหมายของพืชประเภทต่าง ๆ ได้

2  จำแนกประเภทของพืชได้ถูกต้อง

3  เห็นคุณค่าและประโยชน์ของการจำแนกประเภทของพืช

พืชผัก คือ พืช ที่นำมาประกอบเป็นอาหารในครัวเรือน อาจเป็นพืชยืนต้น หรือล้มลุกก็ ได้ การแบ่งพืชสามารถแบ่งตามส่วนของผักที่นำไปประกอบอาหารดังนี้

- ผักที่ใช้ใบและต้นเป็นอาหาร

- ผักที่ใช้ดอกเป็นอาหาร

- ผักที่ใช้ผลเป็นอาหาร

- ผักที่ใช้หัวหรือรากเป็นอาหาร

การแบ่งประเภทของพืชตามหลักการเกษตรมีกี่ประเภท


พืชผัก 


2. ไม้ดอกไม้ประดับ เป็นพืชที่มีความสวยงาม ใช้ประดับ หรือตกแต่งสถานที่ ให้เกิดความรู้สึกสบาย ใจสบายตา อาจแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

- ไม้ดอก คือ ไม้ที่มีดอกอาจสวยงามหรือไม่ก็ได้ ใช้ประดับแจกัน หรือใช้ประดับอาคารสถานที่ก็ได้

- ไม้ใบ คือ ไม้ที่มีใบ และลำต้นสวยงาม

การแบ่งประเภทของพืชตามหลักการเกษตรมีกี่ประเภท

ไม้ดอกไม้ประดับ


3. พืชไร่ เป็นพืชอายุสั้น สามารถปลูกใหม่ได้หลังจากเก็บผลผลิตแล้ว การดูแลรักษาไม่ จำเป็นต้องดูแลมากนัก ส่วนใหญ่พืชไร่มักเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆสามารถแบ่งได้ ดังนี้

หมายถึง พืชที่ต้องการการดูแลอย่างพิถีพิถัน ต้องการการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด มีขอบเขตในการปลูกที่แน่นอน มีขั้นตอนและความประณีตในการปลูกมาก นับตั้งแต่การเพาะเมล็ด การเตรียมดิน การจัดระยะปลูก การให้ปุ๋ย การให้น้ำ การพรวนดิน การป้องกันกำจัดศัตรู และการเก็บเกี่ยว พืชสวนแบ่งออกเป็นกลุ่มตามลักษณะการใช้ประโยชน์ของพืชนั้น ๆ 

การแบ่งประเภทของพืชตามหลักการเกษตรมีกี่ประเภท

  2.พืชไร่
หมายถึง พืชที่ปลูกโดยใช้เนื้อที่มาก ๆ มีการเจริญเติบโตเร็ว ไม่ต้องการการดูแลรักษามากเหมือนพืชสวน ส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุก มีอายุตั้งแต่ 2 เดือน ถึง 1 ปี หรือมากกว่า ผลผลิตของพืชไร่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและชีวิตประจำวันของคนไทย โดยใช้บริโภคเป็นอาหารหลักและส่งเป็นสินค้าออก จัดเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งสามารถนำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก เช่น ข้าว ข้าวโพด อ้อย ถั่วต่าง ๆ ยาสูบ ฝ้าย มันสำปะหลัง เป็นต้น พืชไร่ที่ปลูกในประเทศไทยสามารถจัดแยก เป็นกลุ่มตามลักษณะการนำไปใช้ประโยชน์ได้

การแบ่งประเภทของพืชตามหลักการเกษตรมีกี่ประเภท

  3.ป่าไม้
ป่าไม้เป็นส่วนหนึ่งของการเกษตร เป็นเรื่องเกี่ยวกับพืชเช่นกัน แต่วัตถุประสงค์ในการทำการเกษตรชนิดนี้แตกต่างจากพืช ป่าไม้ หมายถึง สวนป่าที่ไม่ใช่เพื่อนำผลผลิตมาใช้อย่างเดียว แต่ยังช่วยป้องกันน้ำท่วม เนื่องจากป่าจะดูดซับน้ำและลดความแรงของน้ำที่ไหลผ่าน ป่าไม้ที่มีขึ้นเองตามธรรมชาติในประเทศของเราถูกทำลายไปมาก ปัจจุบันเราจึงต้องปลูกป่าเพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนป่าไม้ที่สูญเสียไป ป่าไม้เหล่านี้จะช่วยป้องกันน้ำไม่ให้ไหลลงสู่ที่ต่ำเร็วและแรงเกินไป น้ำจะไหลอย่างช้า ๆ สม่ำเสมอ แต่เมื่อป่าถูกทำลายและไม่มีการปลูกเพิ่มเติม ทำให้เกิดน้ำไหลอย่างเร็วและแรงที่เรียกว่า น้ำหลาก มาจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ทำให้เกิดน้ำท่วมรุนแรง ฉับพลัน จนบ้านเรือนเสียหาย การอนุรักษ์ป่าไม้ไม่ให้ถูกทำลายและช่วยกันปลูกป่าเพิ่มเติมจะช่วยปองกันภัย พิบัตินี้ได้ โดยพืชที่ปลูกนั้นจะมีอยู่หลายชนิดแตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของภูมิประเทศ ภูมิอากาศและประโยชน์ใช้สอย เช่น สวนป่าสัก สวนป่า

การแบ่งประเภทของพืชตามหลักการเกษตรมีกี่ประเภท

พืชไร่ หมายถึง กลุ่มพืชที่มีลักษณะต้องการน้ำน้อย ทนความแห้งแล้งสูง ไม่ต้องการความพิถีพิถันในการปลูก และการดูแลรักษา มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นที่เก็บเกี่ยวผลผลิตเพียงครั้งเดียว เป็นทั้งพืชล้มลุกปีเดียวหรือนานหลายปี มักปลูกในพื้นที่มากเป็นแปลงขนาดใหญ่ ทั้งนี้ มีกลุ่มพืชไร่บางสายพันธุ์ที่ปลูกในพื้นที่ลุ่ม และต้องการน้ำมาก เช่น ข้าว

 

พืชไร่แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ดังนี้

 

1. ธัญพืช

หมายถึง พืชตระกลูหญ่าที่ใช้เมล็ดเป็นอาหาร เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง เป็นต้น

 

2. พืชน้ำมัน

หมายถึง พืชที่สามารถนำผลผลิตมาสกัดหรือแปรรูปเป็นน้ำมัน เพื่อนำไปเป็นอาหารหรือนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมต่างๆ พืชน้ำมันที่สำคัญ เช่น ถั่วเหลือง ละหุ่ง งา ถั่วลิสง ทานตะวัน เป็นต้น

 

3. พืชน้ำตาล

หมายถึง พืชที่สามารถนำมาสกัดหรือแปรรูปเป็นน้ำตาลเพื่อใช้เป็นอาหารหรือเป็นประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมต่างๆ พืชน้ำตาลที่สำคัญ เช่น อ้อย บีท เป็นต้น

 

4. พืชเส้นใย

หมายถึง พืชที่ให้ผลผลิตเป็นเส้นใย ที่นำมาใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ เช่น ปอ ฝ้าย ป่านศรนารายณ์ เป็นต้น

 

5. พืชหัว

หมายถึง พืชที่ใช้ประโยชน์จากหัวที่เก็บสะสมอาหารอยู่ใต้ดิน เช่น มันสำปะหลัง มันฝรั่ง มันเทศ มันแกว เผือก เป็นต้น

 

6. พืชอาหารสัตว์

หมายถึง พืชที่ปลูกขึ้นเพื่อใช้เป็นอาหารของสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะ เช่น หญ้า ข้าวโพด เป็นต้น

 

 

ตัวอย่างพืชจำแนกตามการใช้ประโยชน์ ได้ดังนี้

 

1. พืชให้ผล และเมล็ด

พืชให้ผล
  • แตงโม
  • แตงลายหรือแตงช้าง
  • แคนตาลูป

 

พืชให้เมล็ด
  • ข้าวหอมมะลิ
  • ข้าวฟ่าง
  • ข้าวบาเลย์
  • ข้าวสาลี
  • ข้าวโอ๊ต
  • ข้าวโพด
  • ทานตะวัน
  • ถั่วเขียว
  • ถั่วเหลือง
  • ถั่วดำ
  • ถั่วแดง
  • ถั่วขาว
  • งาขาว
  • งาดำ
  • กาแฟ

 

2. พืชให้หัว

  • มันสำปะหลัง
  • ถั่วลิสง
  • มันแกว
  • มันแดง
  • มันฝรั่ง

 

3. พืชให้ความหวาน พลังงาน และน้ำมัน

  • อ้อย
  • ปาล์ม
  • สบู่ดำ
  • ละหุ่ง

 

4. พืชใช้ใบ

  • ชา
  • ยาสูบ

 

5. พืชใช้เส้นใย

  • ปอ
  • ฝ้าย

 

6. พืชใช้ทำอาหารสัตว์

กลุ่มพืชตระกูลหญ้า
  • ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
  • หญ้าขน
  • หญ้ารูซี่
  • หญ้าเนเปียร์
  • หญ้ากินนี
  • หญ้าบัฟเฟล
  • หญ้าแพงโกลา
กลุ่มพืชตระกูลถั่ว
  • ถั่วเหลือง

 

 

พืชไร่แบ่งตามลักษณะทางพฤกษศาสตร์

 

1. พืชใบเลี้ยงเดี่ยว

มักเป็นพืชตระกูลหญ้า ลำต้นเป็นข้อ ปล้อง ใบแตกตามข้อ ก้านใบหุ้มรอบลำต้น ใบมีลักษณะเรียวยาว ปลายใบทิ้งดิ่ง ผลผลิตมักเป็นผล และเมล็ด เช่น ข้าว ข้าวโพด เป็นต้น

 

2. พืชใบเลี้ยงคู่

มักเป็นพืชตระกูลถั่ว ลำต้นแตกกิ่งแขนงเป็นทรงพุ่มหรือเลื้อยตามพื้นดิน ใบมีลักษณะป้อม สั้น รูปทรงต่างๆ มีมากกว่า 1 ใบ ใน 1 ก้านใบ ผลผลิตมักเป็นผล และเมล็ด เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว เป็นต้น

 

 

พืชไร่แบ่งตามลักษณะพื้นที่เพาะปลูก

 

1. ประเภทปลูกในพื้นที่ดอน

เป็นกลุ่มพืชที่ปลูก และเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ราบสูงหรือพื้นที่ลาดชัน หน้าดินแห้ง และมีความชื้นน้อย มักเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย ไม่ชอบน้ำท่วมขัง อาศัยเพียงน้ำฝนตามฤดูกาลก็สามารถให้ผลผลิตได้ ส่วนมากเป็นพืชที่เก็บผลผลิตในปีเดียว มักปลูกในต้นฤดูฝน และเก็บเกี่ยวในช่วงต้นฤดูหนาว ส่วนมากเป็นพืชตระกูลหญ้า ได้แก่ ข้าวไร่ ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี งา เป็นต้น

 

2. ประเภทปลูกในพื้นที่ราบลุ่ม

เป็นกลุ่มพืชที่ปลูก และเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ราบทั่วไป หน้าดินมีความชุ่มชื้นเพียงพอ มักเป็นพืชที่ต้องการน้ำปานกลาง และต้องการความชุ่มชื้นตลอดการเติบโต จำเป็นต้องอาศัยระบบน้ำจากแหล่งอื่นช่วยเสริมนอกเหนือจากน้ำฝนตามฤดูกาล มักปลูกตลอดทั้งปี แต่จะเติบโต และให้ผลผลิตดีเมื่อปลูกในต้นฤดูฝน พืชกลุ่มนี้ส่วนมากจะเป็นพืชตระกูลถั่ว ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง เป็นต้น และมีพืชตระกูลหญ้าบ้าง ได้แก่ ข้าวโพด เป็นต้น

 

3. ประเภทปลูกในพื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมขัง

เป็นกลุ่มพืชที่ปลูก และเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่น้ำท่วมขัง เป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก อาศัยน้ำจากน้ำฝน และน้ำจากระบบชลประทาน มักปลูกตลอดทั้งปีตามชนิดพันธุ์ที่เหมาะสม พืชในกลุ่มนี้มีเพียงไม่กี่ชนิด ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ ข้าวเหนียว เป็นต้น

 

 

การเพาะปลูกพืชไร่

การเตรียมแปลงปลูกพืชไร่

การปลูกพืชไร่มักใช้พื้นที่ปลูกจำนวนมาก และพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ดอน และพื้นที่ราบลุ่มที่ต้องมีการไถพรวนดิน และตากดินพร้อมกำจัดวัชพืช ตั้งแต่ 1 ครั้ง ขึ้นไป ขึ้นอยู่กับสภาพดิน และปริมาณวัชพืชที่ขึ้นปกคลุม การเตรียมแปลงทุกครั้งจะใช้วิธีการหว่านปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมีรองพื้นทั่วทั้งแปลงหรือหว่านโรยตามร่องในแนวปลูก

 

วิธีการปลูกพืชไร่นิยมใช้ 3 วิธี คือ

  • การหว่านเมล็ด ด้วยการหว่านเมล็ดพันธุ์ทั่วทั้งแปลง พืชในกลุ่มนี้มักมีลำต้นขึ้นตรงไม่แตกแขนงเป็นทรงพุ่มจึงไม่จำเป็นมากสำหรับระยะห่างระหว่างต้น เช่น การปลูกข้าว ข้าวฟ่าง ทานตะวัน เป็นต้น
  • การหยอดเมล็ด เป็นวิธีการหยอดเมล็ดใส่หลุม และกลบหน้าดินเล็กน้อยเพื่อให้มีระยะห่างระหว่างต้นหรือกอเหมาะสม พืชในกลุ่มนี้เมื่อเติบโตมักแตกเป็นทรงพุ่มหรือเป็นเถาเลื้อยตามดินจึงมีความจำเป็นต้อมีระยะห่างที่เหมาะสม เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโพด เป็นต้น
  • การปักชำกิ่ง

 

การเก็บเกี่ยวพืชไร่

พืชไร่มักมีอายุการเก็บเกี่ยวตั้งแต่ 45 วัน ถึง 1 ปีเศษๆ ด้วยการใช้เครื่องจักรหรือแรงงานคน

การแบ่งประเภทของพืชตามหลักการเกษตรมีกี่ประเภท

พืชสวน ( Horticulture )

พืชสวน หมายถึง พืชที่ต้องดูแลอย่างพิถีพิถัน ต้องดูแลเอาใจใสอย่างใกล้ชิด มีขั้นตอนและความปราณีตในการปลูกมาก นับตั้งแต่การเพาะเมล็ด การเตรียมดิน การจัดระยะปลูก การให้ปุ๋ย ให้น้ำ พรวนดิน การป้องกันกำจัดศัตรูพืช และการเก็บเกี่ยว ส่วนมากมักเก็บเกี่ยวได้หลายปีติดต่อกัน

 

ซึ่งพืชสวนสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มตามลักษณะการใช้ประโยชน์ของพืชดังนี้

 

1. พืชผัก

เป็นพืชพวกที่ใช้ใบ ผล ราก ดอก หัว หรือลำต้นเป็นอาหาร ส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุก ที่มีอายุสั้นเพียงฤดูเดียว

 

2. ไม้ผล

เป็นพืชที่ปลูกขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์จากผล ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นแข็งแรง เช่น มะม่วง ลองกอง ส้มโอ เงาะ ทุเรียน มังคุด น้อยหน่า เป็นต้น

 

3. ไม้ดอก

เป็นพืชที่ปลูกเพื่อต้องการดอกนำไปใช้ประโยชน์ แบ่งออกเป็น

  • ไม้ตัดดอก คือ ไม้ดอกที่ปลูกเพื่อตัดดอกจากต้นนำมาใช้ประโยชน์ เช่น ดอกกุหลาบ เบญจมาศ เยอบีร่า เป็นต้น
  • ไม้ดอกติดกับต้น คือ พันธุ์ไม้ดอกที่ไม่นิยมตัดดอก เนื่องจากดอกไม่มีความคงทน เหี่ยวเฉาง่าย เช่น ชบา ทองอุไร ผกากรอง เฟื้องฟ้า เป็นต้น

 

4. ไม้ประดับ

เป็นพันธุ์ไม้ที่ปลูกเพื่อประดับอาคารต่าง ๆ โดยไม่คำนึงถึงดอกของมัน แต่คำนึงถึงความสวยงามของรูปทรงลำต้น ใบ ทรงพุ่ม เป็นส่วนสำคัญ แบ่งออกได้

  • ไม้ใบ คือ พันธุ์ไม้ที่มีรูปร่างลักษณะของใบสวยงามมีสีสันดี เช่น บอน เฟิร์น โกสน ปริกหางกระรอก เป็นต้น
  • ไม้กระถาง คือ พันธุ์ไม้ประดับที่สามารถนำมาปลูก ให้เจริญเติบโตได้ดีในกระถาง
  • ไม้ดัดและไม้แคระ คือ ไม้ประดับที่มีความสวยงามของทรงลำต้น กิ่ง ใบ ดอก หรือผล โดยคอยตัดแต่งดูแลเอาใส่เป็นพิเศษ ใช้ศิลปและเวลาในการตกแต่งมาก พันธุ์ไม้ดัดไม้แคระ ได้แก่ ชาดัด ข่อย ตะโก โมก มะสัง เป็นต้น
  • การจัดสวนและการตกแต่งสถานที่ คือ การวางผัง ปรับปรุงพื้นที่เพื่อปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ตกแต่งให้บริเวณสถานที่นั้น สวยงามน่าอยู่น่าอาศัย ตัวอย่างการจัดสวน เช่น สวนสาธารณต่าง ๆ สวนหลวง ร. 9 สวนจตุจักร เป็นต้น

 

5. สมุนไพร

เป็นพืชที่ปลูกเพื่อใช้ส่วนต่างๆ หรือสกัดเอาสารเคมีมาใช้เป็นส่วนประกอบในการรักษา และบรรเทาอาหารเจ็บป่วยหรือโรคภัยต่างๆ เช่น ฟ้าทะลายโจร บอระเพ็ด มะขามแขก ใบบัวบก ขิง ข่า เป็นต้น

ความแตกต่างระหว่างพืชไร่กับพืชสวน

 

พืชไร่พืชสวนขนาดพื้นที่ที่ใช้ในการเพาะปลูกใช้มากใช้น้อยราคาผลผลิตต่อหน่วยราคาต่ำราคาสูงการดูแลบำรุงรักษาไม่ต้องการดูแลเอาใจใส่มากต้องดูแลเอาใจใส่มากการเก็บเกี่ยวส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุกเก็บเกี่ยวผลผลิตได้รอบเดียวส่วนใหญ่เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ต่อเนื่องติดต่อกันหลายปีตัวอย่างข้าว, ข้าวโพด, มันสำปะหลัง, อ้อย, ยางพาราผลไม้ ผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ

การแบ่งประเภทของพืชตามหลักการเกษตรมีกี่ประเภท

พืชเศรษฐกิจ ( Economic Crops )

พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ

 

พืชเศรษฐกิจ คือ พืชที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต มีลักษณะเด่นทางการค้า การส่งออก สามารถนำไปบริโภคโดยเป็นอาหารที่ให้วิตามิน แร่ธาตุ และเป็นแหล่งพลังงานของมนุษย์และสัตว์ ส่งออกเป็นวัตถุดิบหรือแปรรูปเป็นสินค้าส่งไปขายยังประเทศต่างๆ สร้างรายได้กลับเข้าประเทศเป็นจำนวนมาก เป็นสินค้าที่มูลค่าการส่งออกสูง จึงเรียกว่าเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่สำคัญ