การประเมินผลการปฏิบัติงาน มีกี่แบบ

การประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรให้มีความเป็นธรรม ถูกต้อง โปร่งใส ในกระบวนการของการประเมินผลการปฏิบัติงาน และให้มีความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้รับการประเมินและผู้ประเมิน ว่าจะมีการประเมินผลการปฏิบัติงานในงานชิ้นใด จะประเมินเรื่องใด และประเมินอย่างไร เป็นสิ่งท้าทายผู้บริหาร และทีมบริหารอย่างยิ่ง

หลักการเบื้องต้นของการประเมินผลการปฏิบัติงาน

1. เน้นการประเมินเพื่อการพัฒนา

2. มีความโปร่งใส และตรวจสอบได้

3. มีความเป็นธรรมกับผู้รับการประเมิน

4. เป็นที่ยอมรับของบุคลากรส่วนใหญ่ ทั้งที่เป็นผู้บริหาร ผู้ประเมิน และผู้รับการประเมิน

5. มีประสิทธิภาพและสามารถนำไปใช้ปรับปรุงและพัฒนาบุคลากรได้จริง

6. การประเมินผลการปฏิบัติงานให้เป็นส่วนเดียวกับระบบทรัพยากรมนุษย์

วัตถุประสงค์ของการประเมินผลการปฏิบัติงาน

1. เพื่อพัฒนาบุคลากร และเพื่อเป็นการปรับปรุงงาน

2. เพื่อทราบว่าบุคลากรปฏิบัติงานสำเร็จตามมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้เพียงใด

3. เพื่อเป็นการประเมินพัฒนาสายอาชีพของบุคลากร

4. เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาความดี ความชอบประจำปี

5. เพื่อพัฒนาทักษะ และสมรรถนะของบุคลากรให้สามารถบรรลุเป้าหมายขององค์กร

6. เพื่อให้เห็นสภาพปัญหาและอุปสรรคในการทำงานเพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงระบบ และพัฒนาบุคลากร

หลักการประเมินผลการปฏิบัติงาน ใช้การประเมินแบบ 360 องศา ได้แก่ผู้บังคับบัญชา(ผู้ประเมินหลัก) เพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา/ผู้รับบริการ และแหล่งข้อมูลอื่น ทั้งนี้อาจให้ผู้รับการประเมินประเมินตนเองด้วยก็ได้

รูปแบบและแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงาน

1. รูปแบบและแนวทางเกี่ยวกับผู้ประเมิน

1.1 ผู้ประเมินจะอยู่ในรูปแบบคณะกรรมการและมีการกลั่นกรอง 2 ระดับ เพื่อป้องกันการกลั่นแกล้ง

1.2 ผู้ประเมินต้องได้รับการอบรมและพัฒนาให้สามารถประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีมาตรฐานเหมือนกัน

1.3 ผู้ประเมินต้องสามารถชี้บ่งจุดอ่อน/จุดแข็งของผู้รับการประเมินได้

1.4 ผู้ประเมินต้องสามารถสอนแนะผู้รับการประเมินระหว่างการปฏิบัติงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้

2. รูปแบบและแนวทางเกี่ยวกับผู้รับการประเมิน

2.1 ผู้รับการประเมิน/บุคลากรต้องมีส่วนร่วมในการประเมินโดยการแสดงความคิดเห็น รับรู้ และยอมรับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเป้าหมายในการประเมิน และต้องทำข้อตกลงร่วมกับ ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นก่อนถึงรอบการประเมิน

2.2 ต้องมีกระบวนการและวิธีการในการปรับปรุงและพัฒนาบุคลากรรายบุคคลอย่างเหมาะสม และเป็นที่ยอมรับ

3.รูปแบบและแนวทางเกี่ยวกับกระบวนการและวิธีการประเมิน

3.1การประเมินประกอบด้วย 2 ส่วน คือ การประเมินผลงานตามข้อตกลง และการประเมินทักษะและความสามารถเชิงสมรรถนะ (Competency) โดยมีสัดส่วนข้อตกลง ทักษะและความสามารถเชิงสมรรถนะตามที่กำหนด ของแต่ละสายของบุคลากร

3.2การประเมินความสามารถเชิงสมรรถนะ เป็นการประเมิน 360 องศา โดยเป็นการประเมินจากผู้บังคับบัญชาเบื้องต้น ร้อยละ 60 และผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นอีกร้อยละ 40

3.3การประเมินนี้ใช้กับข้าราชการและลูกจ้างทุกคน การนำผลการประเมินไปใช้

1. ผลการประเมินการปฏิบัติงานของบุคลากรจะต้องได้คะแนนผลการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 จึงถือว่าผ่านการประเมิน ทั้งนี้จะต้องได้คะแนนประเมินแต่ละส่วนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของคะแนนผลการประเมินในแต่ละส่วน จึงจะถือว่าผ่านการประเมิน

2. ผู้ได้รับคะแนนการประเมินต่ำกว่าร้อยละ 60 จะได้รับการวางแผนเพื่อการพัฒนารายบุคคลจากผู้บังคับบัญชาเป็นพิเศษ

3. สำหรับผู้ที่ได้รับคะแนนมากกว่าร้อยละ 60 จะต้องได้รับการพัฒนาในจุดอ่อน และเสริมจุดแข็งเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับตัวเองด้วย

4. ผลการประเมินส่วนหนึ่งจะนำไปใช้ในการพิจารณาเส้นทางสายอาชีพ (Career path) ของบุคลากรในบางตำแหน่งและบางระดับ

5. ผลการประเมินส่วนที่จะนำไปประเมิน/พิจารณาความดีความชอบนั้น จะต้องปรับและดำเนินการให้สอดคล้องกับระบบการประเมิน และเกณฑ์การพิจารณาความดีความชอบของ กพ

   
การประเมินผลการปฏิบัติงาน มีกี่แบบ

การประเมินผลการปฏิบัติงาน มีกี่แบบ
การประเมินผลการปฏิบัติงาน

            การประเมินผลการปฏิบัติงาน หมายถึง กระบวนการประเมินค่าของบุคคลผู้ปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ ทั้งผลงานและคุณลักษณะอื่น ๆ ที่มีคุณค่าต่อการปฏิบัติงานภายในเวลาที่กำหนดไว้อย่างแน่นอน ภายใต้การสังเกต จดบันทึกและประเมินโดยหัวหน้างาน โดยอยู่บนพื้นฐานของความเป็นระบบและมาตรฐานแบบเดียวกัน มีเกณฑ์การประเมินผลที่มีประสิทธิภาพในทางปฏิบัติให้ความเป็นธรรมโดยทั่วกัน

การประเมินผลการปฏิบัติงาน มีกี่แบบ
วัตถุประสงค์ของการประเมินผลการปฏิบัติงาน

           การที่องค์กรจะทราบว่าพนักงานใดสมควรได้รับรางวัลตอบแทนในรูปของเงินเดือน  สวัสดิการในขั้นสูงขึ้น  ต้องอาศัยแบบประเมินผลการปฏิบัติงานที่มีความน่าเชื่อถือ (reliability)  มีความสอดคล้องตรงกับลักษณะของงาน (validity)  จึงจะทำให้ทราบว่าพนักงานได้ใช้ความรู้ความสามารถ  และทักษะช่วยผลิตสินค้าและบริการได้ตามความต้องการของหน่วยงานขององค์กรหรือไม่  ผลงานที่ได้คุ้มกับค่าตอบแทนที่หน่วยงานหรือองค์กรจ่ายให้หรือไม่  ในอดีตเชื่อว่าการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นเรื่องเฉพาะตัวของพนักงาน  ดังนั้นจึงเน้นการประเมินผลการปฏิบัติงานในเรื่องคุณลักษณะ (traits)  ความบกพร่องทางกาย (deficiency)  และความสามารถ (ability)  ซึ่งบางครั้งไม่เกี่ยวกับงาน  โดยมีความเชื่อว่าคนที่มีการศึกษาดี  มีบุคลิกดี  หรือไม่พิการน่าจะทำงานได้ดีกว่าคนที่มีคุณสมบัติตรงข้าม 

การประเมินผลการปฏิบัติงาน มีกี่แบบ
ความสำคัญของการประเมินผลการปฏิบัติงาน

การประเมินผลการปฏิบัติงานมีความสำคัญทั้งต่อพนักงาน  ผู้บังคับบัญชา  และองค์กรดังนี้คือ
           1. ความสำคัญต่อพนักงาน พนักงานย่อมต้องการทราบว่า ผลการปฏิบัติงานของตนเป็นอย่างไรมีคุณค่าหรือไม่เพียงใดในสายตาของผู้บังคับบัญชา มีจุดบกพร่องที่ควรจะต้องปรับปรุงหรือไม่ เมื่อมีการประเมินผลการปฏิบัติงานและแจ้งผลให้พนักงานทราบก็จะได้รับรู้การปฏิบัติงานเป็นอย่างไร หากไม่มีการประเมินผล พนักงานก็ไม่มีทางรู้ถึงผลการปฏิบัติงานของตนว่า มีส่วนใดที่ควรจะคงไว้และส่วนใดควรจะปรับปรุง พนักงานที่มีผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับดีอยู่แล้วก็จะได้เสริมสร้างให้มีผลการปฏิบัติงานดียิ่งขึ้น
           2. ความสำคัญต่อผู้บังคับบัญชา  ผลการปฏิบัติงานของพนักงานแต่ละคน  ย่อมส่งผลต่อการปฏิบัติงานโดยส่วนรวมในความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชา  การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานจึงมีความสำคัญต่อผู้บังคับบัญชา  เพราะจะทำให้รู้ว่าพนักงานมีคุณค่าต่องานหรือต่อองค์กรมากน้อยเท่าใด  จะหาวิธีส่งเสริม  รักษา  และปรับปรุงผลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างไร  ควรจะให้ทำหน้าที่เดิมหรือสับเปลี่ยนโอนย้ายหน้าที่ไปทำงานใด  จึงจะได้ประโยชน์ต่อองค์กรยิ่งขึ้น  หากไม่มีการประเมินผลการปฏิบัติงานก็ไม่สามารถจะพิจารณาในเรื่องเหล่านี้ได้
           3. ความสำคัญต่อองค์กร เนื่องจากผลสำเร็จขององค์กรมาจากผลการปฏิบัติงานของพนักงานแต่ละคน ดังนั้นการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานจะทำให้รู้ว่าพนักงานแต่ละคนปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายจากองค์กรอยู่ในระดับใด มีจุดเด่นหรือจุดด้อยอะไรบ้าง เพื่อองค์กรจะได้หาทางปรับปรุงหรือจัดสรรพนักงานให้เหมาะสมกับความสามารถ  ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ           
เนื่องจากการประเมินผลการปฏิบัติงานมีความสำคัญ  และมีประโยชน์ต่อการบริหารงานดังที่กล่าวมา  หน่วยงานต่าง ๆ จึงกำหนดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานขึ้นภายในหน่วยงานของตน  การวางระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานจึงมีความสำคัญจำเป็นต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ  เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ติดตามมาในภายหลังจากที่นำระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานมาใช้  เช่น  การต่อต้านจากผู้บังคับบัญชาที่ทำหน้าที่ประเมิน  การไม่ยอมรับของพนักงานผู้รับการประเมิน  การไม่สามารถสรุปผลการประเมินได้หลังจากที่ทำการประเมินแล้ว  เป็นต้น

การประเมินผลการปฏิบัติงาน มีกี่แบบ
ประโยชน์ของการประเมินผลการปฏิบัติงาน

ในการบริหารงาน การประเมินผลการปฏิบัติงานมีวัตถุประสงค์มากกว่าเพื่อจ่ายค่าตอบแทนแก่พนักงาน  เพราะผลที่ได้จากแบบประเมินผลการปฏิบัติงานมีคุณค่าต่อการพัฒนางานและมีคุณค่าต่อการบริหาร            1.  ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากรของหน่วยงานอย่างเป็นธรรม
           2.  สร้างแรงจูงใจและให้รางวัลตอบแทนพนักงานที่มีผลงานได้มาตรฐานหรือสูงกว่ามาตรฐาน
           3. รักษาความเป็นธรรมภายในทั้งในด้านการบริหารเงินเดือนค่าตอบแทน และการบริหารงานบุคคลกล่าวคือสามารถพิจารณาประสิทธิภาพการบริหารงาน ขององค์กรจากการประเมินผลการปฏิบัติงานว่าให้ความสำคัญกับผลงานหรือให้ความสำคัญกับพฤติกรรม
           4.ใช้เป็นเครื่องมือสอนงานและพัฒนาพนักงาน กล่าวคือการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นกระบวนการหนึ่งในการพัฒนาพนักงาน ได้แก่  
           5.  ใช้เป็นเครื่องมือให้พนักงานยึดถือระเบียบ ข้อบังคับร่วมกันอย่างเท่าเทียม
           6.  ให้พนักงานได้ทราบถึงความรู้ความสามารถของตนเองในสายตาของผู้บังคับบัญชา และ/หรือเพื่อนร่วมงาน ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้อง
           7.  เป็นการทดสอบความยุติธรรมของผู้บังคับบัญชา หากไม่ยุติธรรมแล้ว คนที่มีความสามารถก็จะหนีจากผู้บังคับบัญชา  ในที่สุดผู้บังคับบัญชาต้องทำงาน
นั้นด้วยตนเองและทำงานหนักมากขึ้น
           8. ช่วยวิเคราะห์ปัญหาขององค์กรในด้านต่าง ๆ เช่น ปัญหาในการกำหนดความต้องการฝึกอบรมความรอบรู้ (Knowledge) ความสามารถ (ability) ทักษะ (skills) ของพนักงานและลักษณะการว่าจ้างเป็นต้น
           9.ใช้เป็นข้อมูลในการป้องกันปัญหาทางการบริหารกล่าวคือ  ฝ่ายบริหารงานบุคคลสามารถจะวิเคราะห์การประเมินผลการปฏิบัติงานของแต่ละฝ่ายงานว่ายุติธรรมหรือไม่

การประเมินผลการปฏิบัติงาน มีกี่แบบ
หลักการประเมินผลการปฏิบัติงาน
หลักการสำคัญ ๆ ที่ใช้เป็นแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงาน   เพื่อให้การประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นไปอย่างถูกต้องและบรรลุตามวัตถุประสงค์มีดังนี้

  1. การประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นกระบวนการประเมินค่าผลการปฏิบัติงาน มิใช่ประเมินบุคคล
  2. การประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชาทุกคน
  3. การประเมินผลการปฏิบัติงานจะต้องมีความแม่นยำในการประเมิน
  4. การประเมินผลการปฏิบัติงานจะต้องมีเครื่องมือหลักช่วยในการประเมิน
  5. การประเมินผลการปฏิบัติงานจะต้องมีการแจ้งผลการประเมินและหารือผลการประเมินผลการปฏิบัติงาน ภายหลังจากเสร็จสิ้นการประเมินแล้ว
  6. การประเมินผลการปฏิบัติงานจะต้องมีการดำเนินการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

การประเมินผลการปฏิบัติงาน มีกี่แบบ

ที่มาของภาพ : http://www.opdc.go.th/content.php?menu_id=5&content_id=1484

การประเมินผลการปฏิบัติงาน มีกี่แบบ

การประเมินผลการปฏิบัติงาน มีกี่แบบ