ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม มีกี่ประเภท

ธุ รกิจอาหารและเครื่องดื่ม

hungryFood and Beverage

Kanlayarat Thongrod 007
Woranuch Nokkaew 014
Aithinan Kruekaew 016

ความหมาย

การประกอบกิจการให้การให้บริการอาหาร
และเครื่องดื่มแก่คนเดินทาง นักท่องเที่ยว
หรือประชาชนทั่วไป

โดยจัดเตรียมที่นั่งให้ผู้บริโภคได้รับ
ประทานภายในสถานที่ที่ให้บริการ หรือ
อาจให้บริการบรรจุอาหารเพื่อให้ผู้
บริโภคนำรับประทานที่อื่ นได้

ความเป็นมา
ในต่างประเทศ

ยุโรปและอเมริกา

ความเป็นมา Email Marketing
ในประเทศไทย Content Creation

ประเภทของ
แธลุระกเิคจรอื่อางหดาื่รม

ธุรกิจอาหารจานด่วน

( Fast-FoodRestaurants )

-เน้นความสะดวก รวดเร็ว ราคาต่ำไม่
บริการเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์
เปิดบริการทุกวัน

ธุรกิจอาหารสำเร็จรูป
(Deli Shops)

-เป็นการบริการอาหารสำเร็จรูปที่แช่แข็ง
เนย แซนวิช สลัด และอื่นๆ ที่นั่งในร้านมี
จำกัดและระยะเวลาเปิดไม่ยาวนัก มัก

ธุรกิจอาหารบุฟเฟต์
(Buffets)

-เป็นธุรกิจที่ให้ลูกค้าบริการตนเอง ลูกค้า
สามารถตักอาหารได้ทุกประเภท ใน
ปริมาณที่ไม่จำกัด

ธุรกิจประเภทคอฟฟี่ ช้อพ
(Coffee Shops)

-เน้นการบริการที่รวดเร็ว การให้บริการ
อาหารจะอยู่ที่เคาน์เตอร์บริการ

ธุรกิจคาเฟทีเรีย (Cafeterias)

- เป็นธุรกิจที่ลูกค้าต้องบริการตนเอง
รายการอาหารมีจำกัด เน้นความรวดเร็ว

ธุรกิจร้านอาหารกูร์เมต์
(Gourmet Restaurants)

-เป็นธุรกิจที่เน้นบริการในระดับสูงในทุก ๆ
ด้าน เน้นบริการลูกค้าระดับสูง เป็นธุรกิจที่
ใช้ทุนค่อนข้างมากเพื่อรักษาชื่อเสียง

ธุรกิจอาหารเฉพาะกลุ่มเชื้อชาติ
(Ethic Restaurants)

-เน้นการให้บริการอาหารประจำท้องถิ่น
หรือประจำชาติ การตกแต่งร้านก็มีลักษณะ
เน้นจุดเด่นลักษณะประจำชาติเช่นเดียวกัน

Thank you


ในการทำธุรกิจร้านอาหาร สิ่งแรกที่เจ้าของร้าน (ในอนาคต) ควรรู้ คือ เราจะเปิดร้านอาหารแบบไหนดีให้เหมาะสมกับเรามากที่สุด เพื่อให้ได้กำไรมากที่สุดเช่นกัน นั่นก็คือการเลือก "คอนเซ็ปต์ร้านอาหาร" นั่นเอง

วันนี้ ผมมีคำแนะนำเพื่อให้ผู้ที่สนใจจะทำธุรกิจร้านอาหารได้ทำความรู้จักกับ ประเภทของร้านอาหารในรูปแบบต่าง ๆ มาให้เจ้าของร้านลองเลือกดู ว่าแบบไหนจะเหมาะสมกับธุรกิจที่เราต้องการจะทำในเบื้องต้น

ก่อนจะไปดูประเภทต่าง ๆ ของร้านอาหาร เจ้าของร้านควรต้องรู้จักตัวเองก่อนว่า ร้านที่เราต้องการนั้น จะสร้างมาเพื่อตอบโจทย์อะไร ถ้าต้องการตอบโจทย์เรื่องการสร้างรายได้ ก็อย่าทิ้งเรื่องความชอบ หรือหากจะเน้นตอบโจทย์เรื่องความชอบ ก็ต้องให้ความใส่ใจเรื่องรายได้เข้ามาด้วย เพราะสุดท้ายทั้งเรื่องความชอบและรายได้ ถ้าเราสร้างสองสิ่งนี้ไปด้วยกันได้ ร้านอาหารของเราจะเติบโตได้ในระยะยาวอย่างแน่นอน โดย 8 ประเภทของร้านอาหารแบ่งได้ดังนี้

1. ร้านอาหารประเภท Fast food

ยกตัวอย่างง่ายๆก็คือ ร้านแมคโดนัลด์ นั่นเอง ร้านอาหารประเภทนี้จะเน้นความสะดวกรวดเร็ว ไม่เน้นการบริการ หากเจ้าของร้านไม่เก่งเรื่องการบริการสักเท่าไร เพราะว่าต้องใช้ความรู้และพนักงานที่รักการบริการมาก ๆ ร้านอาหารประเภทนี้จึงเหมาะกับคนที่คิดว่ามีระบบที่เสิร์ฟอาหารได้ออกมาเร็ว และน่ากิน ส่วนรสชาติคงไม่ต้องอร่อยมากแค่กินได้ เน้นการเสิร์ฟด่วน เช่นการเปิดร้านข้าวแกง ก็เป็นร้านอาหารประเภท Fast food ในแบบไทยนั่นเอง


2. ร้านอาหารประเภท Fast casual

จะเป็นร้านอาหารที่มีมากในปัจจุบัน โดยเป็นส่วนผสมระหว่าง Fast food กับร้านประเภท casual จะเน้นไปที่อาหารที่มีคุณภาพ และการบริการที่ดีในระดับกลางๆ เพิ่มเติมความสะดวกรวดเร็วให้มากขึ้น เช่นร้านอาหารที่อยู่ตามห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ที่ต้องการขายทั้งรสชาติอาหารและความรวดเร็ว ยกตัวอย่างเช่นร้าน ฮะจิบังราเมน เป็นต้น

3. ร้านอาหารประเภท Casual

คือร้านอาหารนั่งสบายๆ มีอาหารให้เลือกมากมาย มีบริการและบรรยากาศที่ดี มีเอกลักษณ์เฉพาะเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ ร้านแนวนี้ส่วนใหญ่จะเป็นร้านขนาดกลาง เพราะไม่ต้องห่วงเรื่องความรวดเร็ว ลูกค้าสามารถรอได้ในเวลาที่ไม่นานนัก เจ้าของร้านที่มีความชอบของบางส่วนตัว มักจะนิยมเปิดร้านประเภทนี้ เช่น เจ้าของร้านที่ชอบเก็บของเก่า ก็จะนำของเก่ามาตกแต่งร้าน สร้างบรรยากาศด้วยการเปิดเพลงเก่า เพื่อดึงลูกค้าที่มีความชอบเหมือนๆ กันมาใช้บริการ


4. ร้านอาหารประเภท Fine Dining

Fine Dining เป็นประเภทของร้านอาหารระดับหรู เหมาะสำหรับการเลี้ยงรับรองแขก และกลุ่มลูกค้าที่มีความสามารถในการซื้อสูง การเลือกร้านอาหารประเภทนี้ เจ้าของร้านอาจอยู่ในสังคมที่มีกำลังซื้ออยู่แล้ว หรือเป็นที่รู้จัก เป็นเชฟชื่อดังมาก่อน จะยิ่งสร้างฐานลูกค้าได้ไม่ยากนัก

5. ร้านอาหารประเภท Catering

เป็นประเภทที่เน้นการจัดเลี้ยงนอกสถานที่แบบไม่ต้องมีหน้าร้าน แต่ต้องมีครัวกลางเอาไว้เก็บอุปกรณ์ เน้นอาหาร การจัดเลี้ยง และการบริการแบบเข้าถึง ส่งถึงที่ เจ้าของร้านจะต้องมีความแอคทีฟอย่างหนัก แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เก่ง และบริหารคนให้เป็น ถึงจะเอาอยู่ ส่วนใหญ่การลงทุนของธุรกิจประเภทนี้จะหมดไปกับอุปกรณ์การตกแต่งเป็นส่วนใหญ่ 

6. ร้านอาหารประเภท Delivery

เป็นการส่งอาหารตามออร์เดอร์โดยเฉพาะ อาจไม่มีหน้าร้าน เน้นรสชาติอาหาร และเป็นอาหารที่หากินที่ไหนไม่ได้ หรือเป็นอาหารที่เฉพาะกลุ่ม เช่นอาหารทะเลราคาสูง อาหารคลีน อาหารมังสวิรัติ เป็นต้น เจ้าของร้านที่เก่งในการทำการตลาดจะได้เปรียบ เพราะยุคนี้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ชอบซื้อของออนไลน์ จนเกิดค่านิยมชอบสั่งอาหารแบบ Delivery ตามไปด้วย การสร้างคอนเทนต์ดี ๆ จะสามารถเรียกลูกค้าทางออนไลน์ได้เยอะเลยทีเดียว

7. ร้านอาหารประเภท Food Truck

เป็นประเภทที่ไม่ต้องใส่ใจเรื่องทำเล เพราะอยู่ไม่เป็นที่ ที่ไหนคนเยอะค่อยไปที่นั่น และก็ไม่เน้นการบริการเท่าไร ใส่ใจในความแปลกใหม่ของอาหารและรสชาติมากกว่า เจ้าของร้านที่มีงบไม่สูงและเป็นขาลุย ตัวเลือกนี้ก็น่าสนใจอยู่เหมือนกัน

8. ร้านอาหารประเภท Buffet 

ร้านอาหารที่เน้นการขายอาหารให้กับผู้ที่ต้องการความคุ้มค่า มีการกำหนดราคาเป็นรายบุคคล เช่นร้านชาบู ร้านหมูกระทะ จะไม่เน้นที่บริการเท่าไร แต่เจ้าของร้านจำเป็น ที่จะต้องเก่งในเรื่องการตลาดและการคิดคำนวณต้นทุนให้แม่นยำเพื่อที่จะเรียกคนมากินร้านอาหารเราเยอะๆ และต้นทุนไม่สูงมาก

เรื่องราวของการเปิดร้านอาหารยังไม่จบเพียงเท่านี้ สำหรับเจ้าของร้านอาหารในอนาคตที่เข้าใจถึงประเภทของร้านอาหารรูปแบบต่างๆ แล้ว ครั้งหน้าเราก็มาเจาะจงเลือกประเภทอาหารที่จะเป็นตัวดึงดูดลูกค้าอีกหนึ่งขั้นตอน จนท้ายสุดเราจะได้มาซึ่ง “คอนเซ็ปต์ร้าน” เพื่อนำไปต่อยอดให้สมบูรณ์เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น 

พบกันใหม่ตอนหน้า : เชฟต่อ 

ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม มีกี่ประเภท

ต่อลาภ สมัครัตน์ เชฟ นักปรุง และวิทยากรฝึกอบรมในธุรกิจร้านอาหาร ผู้พัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ มีความมุ่งมั่น เพื่อสร้างคุณค่าและความประทับใจ ต่อลูกค้าด้วยความยินดี

ร้านอาหารและเครื่องดื่มมีกี่ประเภท

11 ประเภทร้านอาหารที่พบบ่อยที่สุดในปัจจุบัน.
1. ร้านอาหารแบบสบายๆ (Casual Dining) ... .
2. ร้าน Fine Dining. ... .
3. ร้านอาหารแบบครอบครัว (Family-style Restaurant) ... .
4. ร้าน Fast-casual. ... .
5. ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด ... .
6. รถขายอาหาร (Food Truck) ... .
7. ร้านอาหารแบบป็อปอัพ ... .
8. บาร์และผับ.

ธุรกิจเครื่องดื่ม คืออะไร

ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage) การประกอบกิจการให้การให้บริการอาหารและเครื่องดื่มแก่คนเดินทาง นักท่องเที่ยวหรือ ประชาชนทั่วไป โดยจัดเตรียมที่นั่งให้ผู้บริโภคได้รับประทานภายในสถานที่ที่ให้บริการ หรืออาจ ให้บริการบรรจุอาหารเพื่อให้ผู้บริโภคนารับประทานที่อื่นได้

ธุรกิจร้านอาหารเป็นธุรกิจประเภทใด

เมื่อพูดถึง ธุรกิจบริการ เรามักจะนึกถึงธุรกิจที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการขายสินค้าที่เป็นตัวตนหรือสินค้าที่จับต้องได้โดยเฉพาะ แต่เมื่อจะลงรายละเอียดต่อไปว่า ธุรกิจไหนที่ถือได้ว่าเป็น ธุรกิจบริการ เราก็มักเกิดความสับสนขึ้นมาได้เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น ร้านอาหาร ส่วนใหญ่เราจะถือว่าธุรกิจร้านอาหารเป็นธุรกิจบริการ แต่ในอีกมุม ...

ประเภทของร้านอาหาร มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

กระทรวงพาณิชย์ได้แบ่งประเภทร้านอาหารออกเป็น 4 แบบ โดยใช้หลักเกณฑ์จำแนกตามการออกแบบตกแต่งเป็นหลัก ได้แก่.
ร้านอาหารระดับหรู (Fine Dining).
ร้านอาหารระดับกลาง (Casual Dining).
ร้านอาหารทั่วไป (Fast Dining).
ร้านริมบาทวิถี (Kiosk).