การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของระบบนิเวศมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของระบบนิเวศ(ecological succession)

       การเปลี่ยนแปลงแทนที่ (ecological succession)หมายถึงการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มสิ่งมีชีวิต โดยกลุ่มสิ่งมีชีวิตเดิมที่เคยพบนั้นอาจสูญหายไปกลายเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหม่มาแทนที่เมื่อสภาพแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลงซึ่งการเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาทั้งจากกิจกรรมของมนุษย์และกระบวนการตามธรรมชาติการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในธรรมชาติเกิดอย่างช้าเช่น การที่แม่น้ำลำคลองตื้นเขินเพราะตะกอนดินถูกพัดพามาจากที่อื่นการเปลี่ยนแปลงบางอย่างเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นไฟป่าพายุน้ำท่วมดินถล่มการเปลี่ยนแปลงอาจส่งผลต่อขนาดของประชากรองค์ประกอบทางชีวภาพเปลี่ยนไป สิ่งมีชีวิตบางชนิดเจริญรวดเร็วขณะที่บางชนิดดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเป็นลำดับขั้นจนกลายเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกเรียกว่าสังคมสมบูรณ์ (climax community)                      การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบ่งได้เป็นสองประเภทคือ

Show

1.การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิ (Primary succession)

       เป็นการเปลี่ยนแปลงแทนที่ที่เริ่มจากพื้นที่ว่างเปล่าไม่เคยมีสิ่งมีชีวิตมาก่อนเช่นการเปลี่ยนแปลงแทนที่บนก้อนหิน หรือหน้าดินที่ถูกเปิดขึ้นใหม่ในการตัดช่องเขาทำถนนจนกระทั่งเกิดสิ่งมีชีวิตพวกมอสและไลเคนขึ้นมาเป็นกลุ่มแรกเมื่อสิ่งมีชีวิตกลุ่มแรกตายไปก็จะทับถมกลายเป็นชั้นบาง ของดินเกิดขึ้นจากนั้นก็เริ่มเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตกลุ่มที่ 2 เช่นหญ้าหรือพวกวัชพืชป่าเกิดขึ้นแทนที่ เมื่อกลุ่มสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ตายไปก็จะทับถมเป็นชั้นดินที่หนาขึ้นเรื่อยและความอุดมสมบูรณ์ของธาตุในดินก็เริ่มมีมากขึ้นจนทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตกลุ่มแล้วกลุ่มเล่าขึ้นมาแทนที่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงแบบปฐมภูมิใช้เวลานานมากอย่างน้อยหลายสิบปีการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบนี้อาจเกิดจากการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมหนึ่งไปเป็นอีกสภาพแวดล้อมหนึ่ง เช่นการเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบปฐมภูมิในสระน้ำจนกลายเป็นพื้นดิน

การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของระบบนิเวศมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

2.การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุติยภูมิ (Secondary succession)

       เป็นการเปลี่ยนแปลงแทนที่ที่เริ่มในบริเวณซึ่งเคยมีสิ่งมีชีวิตมาก่อนแต่ถูกทำลายไปไม่ว่าโดยมนุษย์ สัตว์หรือภัยธรรมชาติเช่นการเปลี่ยนแปลงแทนที่ในบริเวณที่ถูกไฟไหม้บริเวณที่ถูกหักล้างถางพงทำไร่เลื่อนลอยแล้วปล่อยให้รกร้างป่าที่ถูกตัดโค่นในขั้นต้นของการแทนที่จะเกิดสิ่งมีชีวิตกลุ่มอื่นเกิดขึ้นแทนที่ทั้งที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ และการปลูกโดยมนุษย์ในขั้นที่เกิดขึ้นเองนั้นมักจะเริ่มด้วยหญ้าและเป็นต้นไม้เล็กไปจนถึงต้นไม้ใหญ่ การเปลี่ยนแปลงแทนที่แบบทุติยภูมิใช้เวลาน้อยกว่าแบบปฐมภูมิเพราะในพื้นที่บริเวณนั้นมีดินและธาตุอาหารอยู่พร้อมแล้ว

การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของระบบนิเวศมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

มลภาวะ (pollution)

       มลภาวะ (pollution)หมายถึงภาวะของสภาพแวดล้อมที่มีองค์ประกอบไม่เหมาะต่อการนำมาใช้ประโยชน์ แต่กลับเป็นพิษหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือก่อให้เกิดความรำคาญแก่มนุษย์เช่นอากาศที่มีก๊าซต่างที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพสภาพแวดล้อมที่มีเสียงต่างรบกวนมากดินที่มีการสะสมของยาฆ่าแมลงศัตรูพืชสูงน้ำที่มีคราบน้ำมัน เป็นต้นสารที่เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดมลภาวะเรียกว่าสารมลภาวะ (pollutant)

มลภาวะทางอากาศ (air pollution)

       มลภาวะทางอากาศ (Air pollution) หมายถึงสภาวะที่อากาศเกิดฝุ่นละออง โมเลกุลชีวภาพวัตถุอันตรายชนิดอื่นในชั้นบรรยากาศของโลกหรือแก๊สต่างมีตัววัดความเป็นมลพิษหรือดัชนีสิ่งแวดล้อมที่สำคัญคือ CO CO2 CO4 CH4 SO2 NO2 CFCs ฝุ่นละอองหมอกควันความร้อนลมและความชื้น

แหล่งกำเนิดมลภาวะทางอากาศ

  • จากธรรมชาติเช่นการระเบิดของภูเขาไฟไฟป่าฝุ่นละออง
  • จากฝีมือมนุษย์ (Man-Made source) เช่นปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดจากยานพาหนะการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงชนิดต่างกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
    การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของระบบนิเวศมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

มลภาวะทางน้ำ (water pollution)

       มลภาวะทางน้ำ ( Water Pollution ) หมายถึงสภาวะที่น้ำมีคุณภาพเปลี่ยนไปจากธรรมชาติเดิมจนมีสภาพที่เลวลงและส่งผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตในน้ำซึ่งน้ำเสียได้แก่น้ำที่มีสารอินทรีย์ปนอยู่มากน้ำที่มีเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์น้ำที่มีคราบน้ำมันหรือไขมันเจือปนในปริมาณมากน้ำที่มีเกลือละลาย น้ำที่มีสารพิษเจือปนเช่นสารประกอบของปรอทตะกั่วแคดเมียมสารหนูน้ำที่มีสารกัมมันตภาพรังสีเจือปนน้ำที่มีสารแขวนลอยและน้ำที่มีอุณหภูมิสูง

แหล่งกำเนิดมลภาวะทางน้ำ

  • ชุมชน โดยมีน้ำเสียเกิดจากการชำระร่างกายการซักเสื้อผ้าการประกอบอาหาร
  • อุตสาหกรรมเช่นน้ำหล่อเย็นน้ำล้างรวมถึงการทำเหมืองแร่
  • เกษตรกรรมน้ำเสียมาจากการล้างภาชนะที่บรรจุหรืออุปกรณ์ฉีดพ่นและการระบายของเสียจากมูลสัตว์ลงแหล่งน้ำ เช่นฟาร์มสุกรนากุ้งบ่อเลี้ยงปลาการฉีดพ่นสารเคมีการชะล้างหน้าดินเป็นต้น
  • อื่นเช่นภาวะมลพิษจากน้ำมันที่ใช้กับเครื่องจักรกลของเรือการเกิดอุบัติเหตุของเรือขนส่งน้ำมัน และการขับถ่ายสิ่งปฏิกูลของผู้โดยสารบนเรือการก่อสร้างการล้างถนน น้ำเสียจากแพปลา
    การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของระบบนิเวศมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

มลภาวะทางดิน (soil pollution)

       มลภาวะทางดิน (Soil Pollution) หมายถึงภาวะที่ดินที่เสื่อมค่าไปจากเดิม และหรือมีสารมลพิษเกินขีดจำกัดจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพและพลานามัยตลอดจนการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม

แหล่งกำเนิดมลภาวะทางดิน

  • ดินเสียโดยธรรมชาติตัวอย่างเช่นปัญหาดินเปรี้ยวดินเค็มดินพรุหรือดินอินทรีย์ ดินที่มีสารกัมมันตรังสีและดินที่เจือปนด้วยโลหะหนักเป็นต้น
  • ดินเสียเพราะการกระทำของมนุษย์ดังเช่นการใช้ปุ๋ยเคมีทางวิทยาศาสตร์การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชการปล่อยให้น้ำเสียจากกระบวนการผลิตการใช้ดินเป็นแหล่งทิ้งวัสดุเหลือใช้ การรั่วไหลสารกัมมันตรังสีการทำเหมืองแร่
    การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของระบบนิเวศมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

มลภาวะทางกัมมันตภาพรังสี (radioactive pollution)

       มลภาวะทางกัมมันตภาพรังสี (Radioactive Pollution) หมายถึงการที่มีปริมาณรังสีในสภาพแวดล้อมมากจนทำให้บุคคลที่สัมผัสได้รับอันตรายทั้งในแง่ของการสะสมในร่างกายและผลที่เฉียบพลันทันที

แหล่งกำเนิดมลภาวะทางกัมมันตภาพรังสี

  • สารกัมมันตรังสีที่มีอยู่ในธรรมชาติเป็นสารในธรรมชาติที่มีนิวเคลียสในอะตอมไม่เสถียรจนเกิดการเปลี่ยนแปลงและสลายตัว จนเป็นสารที่มีนิวเคลียสที่ไม่สลายต่อไป
  • สารกัมมันตรังสีที่มนุษย์สร้างขึ้นซึ่งอาจสร้างด้วยเครื่องมือต่างเช่นเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูเครื่องเร่งอนุภาค หรือสร้างจากเครื่องทดลอง
    การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของระบบนิเวศมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

มลภาวะทางเสียง (noise pollution)

       มลภาวะทางเสียง ( Noise Pollution ) หมายถึงสภาวะเสียงที่ดังเกินไปจนก่อให้เกิดความรำคาญ หรือก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบการได้ยินของมนุษย์และสัตว์

แหล่งกำเนิดมลภาวะทางเสียง

  • การจราจรมาจากยานพาหนะประเภทต่างเช่นรถไฟรถยนต์เรือหางยาวเครื่องบิน
  • สถานประกอบการต่างได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรมการก่อสร้างอู่ซ่อมรถเป็นต้น
  • ชุมชนและสถานบริการได้แก่เสียงจากคนหรือเครื่องใช้ภายในบ้านเช่นวิทยุโทรทัศน์และเสียงในย่านธุรกิจการค้า สถานบันเทิงเริงรมย์
    การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของระบบนิเวศมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

มลภาวะทางทัศนียภาพ (visual pollution)

       มลภาวะทางทัศนียภาพ (Visual Pollution) หมายถึงสภาพที่ไม่น่าดูก่อให้เกิดความรําคาญส่งผลกระทบต่ออารมณ์และสุขภาพของผู้พบเห็น

แหล่งกำเนิดมลภาวะทางทัศนียภาพ

  • เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติเช่นอุทกภัยความแห้งแล้ง
  • จากการกระทําของมนุษย์เช่น การทําลายป่าปัญหาขยะนํ้าเน่าเสียสลัมในเมืองป้ายโฆษณาความระเกะระกะของอาคารสงครามเพลิงไหม้อุบัติเหตุ

การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของระบบนิเวศมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

มลภาวะทางความร้อน (thermal pollution)

       มลภาวะทางความร้อน (Thermal Pollution) หมายถึง ภาวะที่มีความร้อนมากเกินไปจนทำให้มนุษย์และสิ่งมีชีวิตอยู่อย่างไม่ปกติสุข

แหล่งกำเนิดมลภาวะทางความร้อน

  • กลุ่มแก๊สหรือชั้นของแก๊สสามารถสกัดกั้นความร้อนไว้ได้
  • การใช้สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Chlorofluoro carbon หรือ CFC )
  • ความร้อนจากดินและสิ่งก่อสร้างได้จากแสงดวงอาทิตย์ในตอนกลางวันความร้อนที่ คายออกมาเป็นไปในอัตราต่ำเมื่อไม่มีแสงอาทิตย์ความร้อนในอากาศลดลงความร้อนจากดินและสิ่งก่อสร้างจึงคายออกมาในอัตราที่สูง
  • ความร้อนจากเครื่องทําความเย็นตู้เย็นเครื่องทําน้ำแข็งเครื่องปรับอากาศและโรงงานอุตสาหกรรม
  • ความร้อนจากความร้อนแฝงเกิดเนื่องจากความร้อนที่คายออก มาขณะที่ไอน้ำกลั่นตัวเป็นของเหลวก่อนที่จะรวมตัวเป็นหยดน้ำตกลงเป็นฝน
    การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของระบบนิเวศมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

มลภาวะทางแสง (light pollution)

       มลภาวะทางแสง (Light Pollution) หมายถึงแสงประดิษฐ์ที่เกิดจากการกระทำกิจวัตรของมนุษย์ในเวลากลางคืน รวมถึงมลภาวะของแสงที่สว่างจ่าจนเกินความจำเป็นหรือแสงประดิษฐ์ที่ใช้ผิดวัตถุประสงค์ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตอื่นเช่นสุนัขแมวนกสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์อื่นอีกมากมาย โดยที่สำคัญยังส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมและต่อกิจกรรมดาราศาสตร์ของนักดาราศาสตร์ด้วย

แหล่งกำเนิดมลภาวะทางแสง

  • การติดตั้งอุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสมกับการใช้งาน
  • การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • การขาดการควบคุมและจัดการระบบไฟฟ้าที่ไม่ดีพอ
  • การใช้งานแสงสว่างเกินความจำเป็น
    การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของระบบนิเวศมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

เมนูนำทาง เรื่อง