หลักการสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์ มีกี่ขั้นตอน

https://wordwall.net/th/resource/27510551          ละครไทย ในอดีตเป็นละครที่แสดงเพื่อความบันเทิงและแสดงความเป็นเลิศทางด้านศิลปะ เนื้อเรื่องมักจะ แสดงแนวคิดในอุดมคติ ผู้ชมจะชื่นชมกับตัวละครที่มีอิทธิปาฏิหาริย์ ถ้าเป็นละครรำจะเน้นลีลาท่ารำที่งดงาม เครื่องแต่งกาย และฉากที่วิจิตรตระการตา ผู้ชมจะเพลิดเพลินไปกับฉาก ระบำ รำ ฟ้อน และบทตลก ขบขัน

          ละครสากลจากตะวันตก เป็นการจำลองภาพชีวิตจริงและสังคม เพื่อให้ผู้ชมเกิดความคิดมีความรู้สึกร่วม และรับรู้ปัญหาของตัวละคร

          จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์จะพบว่าชาติที่มีอารยธรรมเก่าแก่ จะมีตำนานแสดงถึงผลงานการสร้างสรรค์ละคร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และเพื่อรับใช้สังคม ให้ความรู้ ให้บทเรียน ช่วยกระตุ้นจิตสำนึกของผู้ชมละครให้ตระหนักในภารกิจหน้าที่ของตน

          ปัจจุบันมีการนำละครมาเป็นสื่อรับใช้สังคมมากขึ้น เห็นได้จากการที่งานละครเข้าไปมีบทบาทในโครงการพัฒนาสังคม ละครจึงมีอิทธิพลที่จะเปลี่ยนแปลงแนวคิดและพฤติกรรมมนุษย์ในสังคมได้เป็นอย่างดี ด้วยการรับหน้าที่เป็นครูทางอ้อม โดยสอดแทรกบทเรียนต่างๆ ผ่านบทบาทของตัวละครแต่ละตัว

          ในประเทศไทย หลักสูตรการศึกษาได้บรรจุวิชาการละครไว้ในทุกระดับชั้น ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกฝนทักษะเบื้องต้นในการแสดงละคร เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้มีโอกาสสำรวจทัศนคติ ค่านิยม ประสบการณ์ค้นพบความถนัด ความสามารถในทางสร้างสรรค์ เน้นที่กระบวนการและผลผลิต โดยต้องเรียนรู้เกี่ยวกับหลักการกว้างๆ ในการสร้างสรรค์ ดังนี้

วัตถุประสงค์และเป้าหมาย เช่น จัดการแสดงขึ้นเพื่อสิ่งใด จัดให้ใครชม เป็นต้น ผู้สร้างสรรค์ละครควรคำนึงถึงอายุ เพศ พื้นฐานความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับละครของผู้ชม เพื่อจะได้สื่อสารทางด้านความคิด อารมณ์ และโสตสัมผัสได้ตรงกับความต้องการ

ขั้นตอนการปฏิบัติงานของทุกฝ่าย เพราะละครเป็นที่รวมของศิลปะแขนงต่างๆ ที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในด้านศิลปะเกือบทุกสาขา เพื่อให้ทีมงานทุกฝ่ายประสานสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน ผู้สร้างงานจึงจำเป็นต้องรู้ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติงานของทุกฝ่าย เช่น ผู้ออกแบบฝ่ายเครื่องแต่งกาย ฉาก แสง สี เครื่องประกอบฉาก เป็นต้น จะต้องมีความสามารถในการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ ที่เหมาะสมกลมกลืนกัน เพื่อช่วยทำให้ละครเรื่องนั้นมีบรรยากาศที่สมจริง

สุนทรียภาพด้านบทประพันธ์ ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง ต้องมีความงามทางด้านภาษา มีความไพเราะ สามารถสื่อความหมายได้ชัดเจนตรงกับจุดมุ่งหมายของการแสดง

สุนทรียภาพด้านดนตรีและการขับร้อง ดนตรีเป็นปัจจัยหลักของการแสดงละคร ที่จะช่วยสร้างอารมณ์ตามบทบาทของตัวละคร เช่น อารมณ์เศร้าโศก เสียใจ อารมณ์ตื่นเต้น เร้าใจ เป็นต้น ทั้งการบรรเลงและการขับร้อง ถ้าผสมกลมกลืนกับบทบาทของตัวละคร จะทำให้เกิดสุนทรียภาพในการแสดง ผู้ชมก็จะเกิดความเข้าใจ ซาบซึ้งไปกับการแสดง

สุนทรียภาพจากตัวผู้แสดง ผู้แสดงต้องมีบุคลิกลักษณะผสมกลมกลืนไปกับบทบาทที่แสดง มีความสามารถในการสื่อความหมาย ทำให้ผู้ชมเกิดความเชื่อ และรู้สึกคล้อยตามบทบาท ทั้งนี้ ผู้แสดงที่ได้รับการยกย่องว่ามีความสามารถจะต้องเป็นผู้ที่สร้างความสะเทือนอารมณ์ให้แก่ผู้ชมได้

สุนทรียภาพจากเครื่องแต่งกาย เครื่องแต่งกายของผู้แสดงจะต้องเน้นบุคลิกของตัวละครให้เห็นฐานะทางสังคม รสนิยม มีความสง่างาม และต้องผสมกลมกลืนไปกับฉากละคร

สุนทรียภาพจากองค์ประกอบอื่นๆ เช่น ฉาก แสง สี เสียง เป็นต้น ต้องมีความประณีตในการตกแต่ง เพราะต้องกลมกลืนกับตัวละครและเครื่องแต่งกาย ต้องให้ถูกต้องตามขนบธรรมเนียม ประเพณี และยุคสมัย รวมทั้งต้องเป็นไปตามจุดมุ่งหมายของผู้ประพันธ์ด้วยสุนทรียภาพของการแสดงละครจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีผู้ชม โดยผู้ชมจะพิจารณาบทละคร ดนตรีบุคลิกลักษณะของตัวละคร บทบาท และองค์ประกอบอื่นๆ ต้องประสานกันอย่างกลมกลืน

การเข้าใช้งานระบบ SRRU e-Learning Platform Moodle
User/Password ชุดเดียวกันสำหรับเข้าระบบอินเทอร์เน็ต  

  • บุคลากร
    User (ชื่อผู้ใช้) คือ ชื่อภาษาอังกฤษ.นามสกุลตัวแรกหรือสองตัว เช่น kullaphut.th
    Password (รหัสผ่าน) คือ เลขบัตรประชาชน (13 หลัก)
  • นักศึกษา
    User (รหัสผู้ใช้)  คือ รหัสนักศึกษา (11 หลัก)
    Password (รหัสผ่าน) คือ เลขบัตรประชาชน (13 หลัก)

เว็บบราวเซอร์ที่คุณใช้ต้องอนุญาตให้รับ cookies

บุคคลทั่วไปสามารถเข้าชมได้เฉพาะรายวิชาที่มี สัญลักษณ์หน้าคนติดอยู่ นั่นคือ อนุญาตให้บุคคลทั่วไปเข้าศึกษาได้ นอกนั้น สำหรับท่านที่เป็นสมาชิกเท่านั้น

หลักการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทย

            สิ่งสำคัญในการสร้างสรรค์ท่ารำทางนาฏศิลป์ไทย คือ ผู้สร้างสรรค์จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของท่ารำพื้นฐาน และสามารถปฏิบัติท่ารำพื้นฐานได้ ซึ่งได้แก่ นาฏยศัพท์ที่หมายถึง คำศัพท์  ทางนาฏศิลป์ไทยที่ใช้เรียกลักษณะท่ารำต่างๆ เช่นตั้งวงบน จีบหงายก้าวหน้า เป็นต้น และภาษาท่าทางนาฏศิลป์ซึ่งเป็นท่ารำที่นำกิริยาท่าทางการแสดงอารมณ์ความรู้สึกตามธรรมชาติของมนุษย์และสัตว์หรือคำพูด  มาสร้างสรรค์เป็นท่ารำที่สวยงามและมีความหมาย

         

หลักการสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์ มีกี่ขั้นตอน
  
หลักการสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์ มีกี่ขั้นตอน
  

                       ศึกษาการรำขั้นพื้นฐาน                   การแสดงละครแบบราชสำนักไทย                การประดิษฐ์สร้างสรรค์ท่ารำ

การประดิษฐ์ท่ารำประกอบเพลง   

       

หลักการสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์ มีกี่ขั้นตอน
 คัมภีร์สำหรับการฟ้อนรำ แต่งโดยพระภรตมุนี เรียกว่า คัมภีร์ภรตนาฏยศาสตร์ ถือเป็นอิทธิพลสำคัญต่อแบบแผนการสืบสาน และการถ่ายทอดนาฏศิลป์ของไทยจนเกิดขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง   ที่มีรูปแบบ แบบแผนการเรียน การฝึกหัด จารีต ขนบธรรมเนียม มาจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตามบรรดาผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ไทยได้สันนิษฐานว่า อารยธรรมทางศิลปะด้านนาฎศิลป์ของอินเดียได้เผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทย ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตามประวัติการสร้างเทวาลัยศิวะนาฎราชที่สร้างขึ้น ในปี พ.ศ. 1800 ซึ่งเป็นระยะที่ไทยเริ่มก่อตั้งกรุงสุโขทัย ดังนั้นท่ารำไทยที่ดัดแปลงมาจากอินเดียในครั้งแรกจึงเป็นความคิดของนัก ปราชญ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และมีการแก้ไข ปรับปรุงหรือประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จนนำมาสู่การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จนนำมาสู่การประดิษฐ์ ท่าทางการร่ายรำและละครไทยมาจนถึงปัจจุบัน(thaigoodview. ประวัติความเป็นมานาฎศิลป์ไทย. (ออนไลน์).  แหล่งที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/32461)

       

หลักการสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์ มีกี่ขั้นตอน
 ธีรวัฒน์  ช่างสาน (2554) นาฏยประดิษฐ์  หมายถึง  สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ  ที่สร้างสรรค์ขึ้นทางการแสดงการฟ้อนรำ  ที่สร้างสรรค์ความพึงพอใจความเพลิดเพลินอารมณ์  ทั้งนี้อาจเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างสรรค์ขึ้นตามอย่างธรรมชาติที่มีอยู่  เช่น  ศิลปวัฒนธรรมประเพณีหรือสิ่งรอบข้างอื่นๆ  และอาจเป็นชุดการแสดงที่สร้างสรรค์ขึ้นให้อยู่นอกเหนือกฎเกณฑ์ของธรรมชาติแต่ต้องไม่ขัดกับความเป็นจริงที่ปรากฎอยู่ในโลกมนุษย์

        การประดิษฐ์ท่ารำสร้างสรรค์ หมายถึง การตีท่ารำตามเนื้อร้องของบทเพลงต่างๆ เช่น บทเพลง      ที่แต่งขึ้นประกอบการแสดงละคร บทเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อใช้ในโอกาสงานสำคัญ ได้แก่ บทถวายพระพร บทอวยพรวันเกิด  บทเพลงประจำโรงเรียน เป็นต้น  การใช้ท่ารำจะต้องคำนึงถึงเพลงและดนตรีเป็นสำคัญ ดังนั้นท่าทางประกอบบทร้องจึงมีการปรับปรุงท่ารำมาจากท่ารำแบบแผนละครไทยมาเป็นแบบสามัญมากขึ้น เช่น ท่ารำประกอบเพลงปลุกใจรักชาติ ก็จะใช้ท่ารำที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยมีการเดินแปรแถว มีท่ารำที่อ่อนช้อยลดน้อยลง

1.กรอบความคิดในการออกแบบประดิษฐ์ท่ารำ

            พื้นฐานเบื้องต้นที่ใช้เป็นกรอบความคิดในการออกแบบประดิษฐ์ท่ารำหรือที่เรียกว่า“ นาฏยประดิษฐ์ ”  นั้นประกอบไปด้วยเรื่องต่อไปนี้

  • แนวความคิดหลักหรือความคิดรวบยอด หมายถึง การที่ผู้ประดิษฐ์จะสื่อความหมายโดยการแสดงออก  หรือชี้นำให้ผู้ชมได้เห็นหรือรับทราบ  เช่น  ระบำนักรบ  จะต้องถ่ายทอดท่าทางการรำออกมาให้เห็นถึงความเสียสละ รักชาติ เป็นผู้ที่กล้าหาญ เสียสละชีวิตเพื่อรักษาแผ่นดิน เมื่อผู้ชมได้ชมการแสดงก็จะมีจิตสำนึกในบุญคุณของวีรบุรุษในอดีตที่ผ่านมา  ดังนั้น  การสร้างแนวความคิดควรมีความชัดเจน และตรงประเด็น ไม่ควรมีความหลากหลายในกรอบเดียวกัน เพราะจะทำให้หาจุดสำคัญ ของการสร้างสรรค์ผงงานไม่ได้
  • รูปแบบวิธีการนำเสนอ ผู้สร้างสรรค์งานจะต้องวิเคราะห์เลือกรูปแบบการนำเสนอให้ได้ข้อสรุปว่างานที่ได้นั้นมีแนวคิดอย่างไร เมื่อนำกรอบมาสร้างการแสดงควรจะนำเสนอเป็นชุดอะไรเช่น  การฟ้อน การรำแบบรำเดี่ยว การรำคู่ หรือเป็นไปในลักษณะของระบำ
  • องค์ประกอบของเนื้อหา เป็นส่วนที่สำคัญเพราะผู้สร้างสรรค์จะต้องมาศึกษา  วิเคราะห์ วิจารณ์ในด้านต่างๆ ได้แก่ ประวัติความเป็นมา ข้อมูลทางสังคมวิทยา วิถีชีวิตความเป็นอยู่  ตำนาน เรื่องเล่า วัฒนธรรม การแต่งกาย ประเพณีของคนกลุ่มนั้นๆ ผู้สร้างสรรค์จะต้องเก็บข้อมูลมาเป็นพื้นฐานที่จะสร้างสรรค์งาน
  • ออกแบบประดิษฐ์สร้างสรรค์ เป็นขั้นที่ผู้ผลิตได้ผ่านกระบวนการขั้นต้นมาแล้ว จึงดำเนินการสร้างสรรค์ท่ารำ การเคลื่อนไหวร่างกายและการแปรแถว หากเป็นชุดที่มีบทขับร้อง ก็ต้องประพันธ์บทร้องด้วยการบรรจุบทเพลง ดนตรีประกอบการแสดง อุปกรณ์ประกอบการแสดงทุกอย่างต้องมีความกลมกลืนกัน

2.การประดิษฐ์ท่ารำ  การประดิษฐ์ท่ารำควรยึดเนื้อร้องหรือเนื้อหาของบทเพลง  ซึ่งมีหลักสำคัญดังนี้

  • ตัดท่าย่อยๆ ออก แสดงเฉพาะท่ารำที่สำคัญของวรรคนั้นๆ ของเพลง
  • ท่ารำจะต้องสื่อความหมายชัดเจน
  • ยึดหลังความถูกต้องของท่ารำ ความอ่อนช้อย สวยงามตามแบบนาฏศิลป์
  • หลีกเลี่ยงท่ารำที่ซ้ำๆ และการสลับแถวซ้าย ขวาบ่อยๆ

การประดิษฐ์ท่ารำแบ่งออกเป็น 2 ประเภท  คือ

            2.1  การประดิษฐ์ท่ารำที่เป็นคู่

หลักการสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์ มีกี่ขั้นตอน
การประดิษฐ์ท่ารำที่เป็นคู่  ผู้ประดิษฐ์จะต้องคำนึงถึงส่วนประกอบที่สำคัญ คือ จังหวะ  ทำนองเพลง บทร้อง และเครื่องแต่งกาย มาหลอมรวมให้มีความเป็นเอกภาพ เพื่อให้เกิดความกลมกลืนไม่ควรมีความแตกต่างกันในองค์ประกอบมากเกินไป จนทำให้การประดิษฐ์ท่ารำเพลงนั้นขาดความ เป็นเอกภาพ การประดิษฐ์ท่ารำเพลงคู่ มีแนวดังนี้  

1)   การประดิษฐ์ท่ารำแนวอนุรักษ์ ส่วนมากจะใช้ท่ารำเป็นแบบแผนมาตั้งแต่ดั้งเดิม คือ เพลงช้า–เพลงเร็ว เป็นท่ารำในกลอนตำรานั้นเป็นการตีความหมายตามบทร้อง และทำนองเพลง

2)   การประดิษฐ์ท่ารำแนวความคิดสร้างสรรค์ จะเป็นการประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่โดยได้แนวคิดมาจากการรับอิทธิพลของต่างประเทศทางตะวันออก และตะวันตก 

การประดิษฐ์ท่ารำให้กับผู้รำที่เป็นคู่  ผู้ประดิษฐ์ท่ารำจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

              1.   รูปแบบการรำที่เป็นคู่ หมายถึง การรำเพียง 2 คน แต่งโบราณมักนิยมรำในการเบิกโรง คือ การแสดงชุดสั้นๆ ก่อนการแสดงละครใน เช่น รำประเลง รำกิ่งไม้เงินทอง หรือการรำตัดตอนมาจากละครเรื่องใหญ่  เช่น พระรามตามกวาง รจนาเสี่ยงพวงมาลัย  เป็นต้น จะต้องมีการกำหมดรูปแบบการรำให้ชัดเจน เช่น คู่ชาย -หญิง คู่พระ-นาง  ชายคู่–หญิงคู่     การประดิษฐ์ท่ารำก็จะต้องมีความสอดคล้องกันไม่ใช่ต่างคนต่างรำ

              2.   จังหวะ ทำนองเพลง บทร้อง มีความสำคัญต่อการรำดังนี้

                     (1) การประดิษฐ์ท่ารำให้ตรงกับจังหวะ ทำนองเพลง บทร้อง อย่างกลมกลืน

                     (2) สำเนียงเพลงต่างชาติ เช่น จีน พม่า ลาว มอญ เป็นต้น การประดิษฐ์ท่ารำ จะต้องนำท่ารำของชาตินั้นมาใส่ให้กลมกลืนกับท่ารำของนาฏศิลป์ไทย

                     (3) เครื่องแต่งกาย  เป็นองค์ประกอบสำคัญในการประดิษฐ์ท่ารำ ดังคำกล่าวที่ว่า “ เพลงดี เครื่องแต่งกายงาม จะส่งผลให้ท่ารำงามตามไปด้วย ”

            การรำเป็นนอกจากจะเป็นการรำเพื่ออวดฝีมือรำแล้ว เครื่องแต่งกายก็จะส่งผลทำให้การแสดง นั้นสวยงามด้วย การประดิษฐ์เครื่องแต่งกายจะยึดท่ารำเป็นหลัก และแต่งกายตามลักษณะรูปชุดแบบการแสดง เช่น ท่ารำแนวอนุรักษ์ส่วนมากจะยึดเครื่องแต่งกายพระ-นาง แต่ถ้าการรำเป็นนางทั้งคู่จะต้องแต่งแบบนางใน เป็นต้น

            เรื่องของสีจะต้องเลือกให้เหมาะสม เช่น สีเขียวคู่กับสีแดง หรือแต่งสีเดียวกัน และต้องให้สอดคล้องการการแสดง บุคลิกของผู้รำ

            2.2  การประดิษฐ์ท่ารำที่เป็นหมู่

                   

หลักการสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์ มีกี่ขั้นตอน
การประดิษฐ์ท่ารำที่เป็นหมู่ ได้แก่ ระบำ รำ ฟ้อน ที่มีผู้รำตั้งแต่จำนวน 2 คน ขึ้นไปโดยไม่จำกัดจำนวนผู้รำ เอกลักษณ์และความโดดเด่นอยู่ที่ความพร้อมเพียง และความงดงามในการแปรแถว

            ข้อคำนึงในการประดิษฐ์ท่ารำเป็นหมู่ คือ

            (1)   การแปรแถว  การแสดงนาฏศิลป์โบราณไม่นิยมแปรแถวที่หลากหลายเหมือนในปัจจุบัน  มักจะนิยมแถวตรง แถวเรียงเดี่ยวหน้ากระดาน หรือแถวตอนคู่ หรือลักษณะวงกลมโดยจะประดิษฐ์ท่ารำให้เหมือนกัน ปัจจุบันได้รับอิทธิพลการแสดงจากต่างประเทศจึงนำมาประดิษฐ์ท่ารำนาฏศิลป์ไทยให้มีการแปรแถว ตั้งซุ้ม ซึ่งผู้ประดิษฐ์จะต้องคำนึงถึงความกลมกลืนเป็นหลักด้วย

            (2)   ท่ารำจะต้องสัมพันธ์กับเพลง การคิดท่ารำจะต้องฟังบทเพลงก่อนแล้วจึงคิดท่ารำให้สอดคล้องกลมกลืนกับบทเพลง ส่วนเครื่องแต่งกายจะยึดท่ารำเป็นหลักในการออกแบบ การเลือกสี  ส่วนมากการแสดงเป็นหมู่จะแต่งกายแบบเดียวกัน

            (3)   ท่ารำเป็นหมู่คณะ ลักษณะการรำเป็นหมู่คณะจะใช้ผู้แสดงเป็นจำนวนมาก จะต้องคำนึงถึงความพร้อมเพียงเป็นหลัก ไม่ให้ความสำคัญกับท่ารำมากนัก

            (4)   ท่ารำที่มีบทร้อง จะต้องยึดความหมายของบทร้องเป็นหลักจะต้องประดิษฐ์ท่ารำให้ถูกต้องตามหมายหมายของบทร้อง

            (5)   ท่ารำที่มีการแต่งทำนองเพลง การประดิษฐ์ท่ารำที่ไม่มีบทร้องมีแต่ทำนองเพลง ให้ยึดท่วงทำนองของเพลงที่บรรเลง เช่น อารมณ์เพลงที่แสดงถึงความรัก ความโกรธ ความตื่นเต้น คึกคักสนุกสนาน เป็นต้น

องค์ประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย

            นาฏศิลป์ หมายถึง การฟ้อนรำที่อาศัยการเคลื่อนไหวตามจังหวะและทำนองโดยมีหลักการแสดงการแสดงนาฏศิลป์ที่สมบูรณ์จะมีองค์ประกอบทางนาฏศิลป์ที่สำคัญ ดังต่อไปนี้

  1. การฟ้อนรำ  เป็นการทำท่ารำประกอบกับลีลา ซึ่งมนุษย์เป็นผู้คิดประดิษฐ์ให้ถูกต้องตามแบบแผนบทบาท ลักษณะของตัวละคร และประเภทของการฟ้อนรำ
  2. เนื้อร้อง  เป็นคำประพันธ์ที่ใช้ประกอบท่าร่ายรำ สามารถสื่อความหมาย อารมณ์ ความรู้สึก ในการแสดงสื่อให้ผู้รับชมเข้าใจ เช่น การแสดงความรักใคร่เสน่ห์หา ผู้รำท่าภาษานาฏศิลป์ คือ ท่ารัก โดยมือมือทั้งสองมาทาบไขว้กันระดับอก ผู้รำใส่อารมณ์โดยการมองหลบตา เป็นต้น
  3. ทำนองและจังหวะ  เป็นตัวกำหนดของลีลาท่ารำ เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อร้องและท่ารำ ผู้รำจะต้องมีการฝึกหัดฟังจังหวะของเครื่องดนตรี เพื่อเป็นการฝึกทักษะเบื้องต้นของการรำให้ถูกจังหวะและสวยงาม
  4. การแต่งกาย  มีส่วนสำคัญในการแสดงนาฏศิลป์ บ่งบอกถึงฐานะ ยศ และบรรดาศักดิ์ของผู้แสดงโขนของไทย สีที่ใช้ในการแต่งกายจะใช้แทนสีกายของตัวละครนั้นๆ เช่น พระ นาง ยักษ์ ลิง เป็นต้น
  5. การแต่งกาย  มีส่วนสำคัญในการแสดงนาฏศิลป์ บ่งบอกถึงฐานะ ยศ และบรรดาศักดิ์ของผู้แสดงโขนของไทย สีที่ใช้ในการแต่งกายจะใช้แทนสีกายของตัวละครนั้นๆ เช่น พระ นาง ยักษ์ ลิง เป็นต้น
  6. การแต่งหน้า เป็นส่วนสำคัญสำหรับผู้แสดง ทำให้เกิดความสวยงามอีกประการหนึ่งเพื่อปกปิดส่วนที่พร่องบนใบหน้าผู้แสดง การแต่งหน้าสามารถบอกถึงวัย ลักษณะของตัวละคร เช่น แต่หน้าคนแก่ หน้าผู้ชาย หน้าผู้หญิง หน้าตลก หน้ายักษ์  เป็นต้น
  7. เครื่องดนตรีบรรเลงประกอบการแสดง นาฏศิลป์ต้องใช้เครื่องดนตรีบรรเลงประกอบ  เพื่อส่งเสริมให้การแสดงสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่นวงปีพาทย์เครื่องห้า ใช้สำหรับการแสดงโขน ละคร  เป็นต้น
  8. อุปกรณ์การแสดงละคร การแสดงนาฏศิลป์ไทย อาจต้องมีอุปกรณ์การแสดง เช่น พัด เทียน ฉิ่ง  ซึ่งอุปกรณ์แต่ละชนิด นำมาเป็นอุปกรณ์การแสดง เช่น ระบำพัด ฟ้อนเทียน ระบำฉิ่ง เป็นต้น

เพลงไทยสำหรับประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย

  • เพลงไทยประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย ประกอบการแสดงโขน ละคร รำ และระบำมาตรฐาน เพลงไทยที่ใช้บรรเลงและขับร้องประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทย นั้นแบ่งได้เป็น 2 ประเภท  ดังนี้

  

หลักการสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์ มีกี่ขั้นตอน
  1) เพลงหน้าพาทย์ เพลงที่ใช้บรรเลงหรือขับร้องประกอบอากัปกิริยาของตัวโขน ละคร เช่น การเดินทาง ยกทัพ  สู้รบ แปลงกาย และนำเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้ในการรำและระบำ เช่น รัว โคมเวียน ชำนาญ  เป็นต้น

    2) เพลงขับร้องรับส่ง เพลงไทยทีนำมาบรรจุไว้ในบทโขน–ละคร อาจนำมาจากเพลงตับ เถา หรือเพลงเกร็ด เพื่อบรรเลงขับร้องประกอบการรำบทหรือใช้บทของตัวโขน ละครหรือเป็นบทขับร้องในเพลงสำหรับการรำและระบำ เช่น เพลงช้าปี่ เพลงขึ้นพลับพลา เพลงนกกระจอกทอง เพลงลมพัดชายเขา เพลงเวสสุกรรม เพลงแขกตะเขิ่ง เพลงแขกเจ้าเซ็น เป็นต้น

  • เพลงไทยประกอบการแสดงพื้นเมือง เพลงไทยที่ใช้ประกอบการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองเป็นบทเพลงพื้นบ้านที่ใช้บรรเลงและขับร้องประกอบการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง โดยแบ่งออกตามภูมิภาคดังนี้

            1) เพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ

                -    เพลงประกอบการฟ้อนเล็บได้แก่ เพลงแหย่งหลวง

                -    ฟ้อนเทียน ได้แก่ เพลงลาวเสี่ยงเทียน

                  -    ฟ้อนสาวไหม ได้แก่ เพลงปราสาทไหวและสาวสมเด็จ

                -    ระบำซอ ได้แก่ ทำนองซอยิ๊ และซอจ๊อยเชียงแสน บรเลง เพลงลาวจ้อย ต้อยตลิ่ง

            2) เพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคกลาง

                 -    เพลงประกอบการเต้นรำกำเคียว ได้แก่ เพลงระบำชาวนา เป็นต้น

            3) เพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคอีสาน

                  -    เพลงประกอบการแสดงเซิ้งโปงลาง บรรเลงเพลงลายโปงลาง เซิ้งภูไทย บรรเลงลายลำภูไทย เป็นต้น

            4) เพลงบรรเลงและขับร้องประกอบนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคใต้

                 -    เพลงประกอบการแสดงลิเกป่า นิยมใช้เพลงตะลุ่มโปง เพลงสร้อยสน เพลงดอกดิน

                 -     การแสดงชุดรองเง็งบรรเลงเพลงลาฆูดูวอ เพลงมะอีนังลามา  เพลงลานัง  เป็นต้น