โรงไฟฟ้าในประเทศไทย มีกี่แห่ง อะไรบ้าง

โรงไฟฟ้าในโลกเรานี้ มีหลากหลายรูปแบบแตกต่างกันไปตามความต้องการ หรือความจำเป็นของแต่ละประเทศ ซึ่งอาจจะดูจากทรัพยากรพลังงาน หรือสภาพภูมิอากาศของประเทศนั้นๆ แต่เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจมากขึ้น เราอาจแยกโรงไฟฟ้าตามชนิดเชื้อเพลิงที่ใช้ ดังนี้

โรงไฟฟ้าพลังความร้อน (Thermal Power Plant)

เป็นโรง ไฟฟ้าที่ใช้น้ำมันเตา หรือถ่านหิน เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า อาศัยความร้อนจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงไปต้มน้ำให้เป็นไอน้ำที่มีแรงดันและมี อุณหภูมิสูง เพื่อไปขับดันกังหันไอน้ำ ซึ่งจะมีเพลาต่อเชื่อมกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จากนั้นไอน้ำจะผ่านไปกลั่นตัวเป็นน้ำที่เครื่องควบแน่น และถูกส่งกลับมารับความร้อนในหม้อน้ำ (Boiler) อีกครั้ง

โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Combined-Cycle Power Plant)

เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งมีการทำงาน 2 ระบบร่วมกัน คือ ระบบของโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ ทำงานร่วมกับระบบของโรงไฟฟ้ากังหันไอน้ำ โดยนำเชื้อเพลิงมาจุดระเบิดเพื่อให้เกิดพลังงานความร้อนไปขับเคลื่อนกังหัน ก๊าซในการผลิตไฟฟ้า จากนั้นไอเสียที่เกิดจากการจุดระเบิดในเครื่องกังหันก๊าซ จะไปผ่านหม้อน้ำ เพี่อต้มน้ำให้กลายเป็นไอมาขับเคลื่อนกังหันไอน้ำ เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าอีกครั้งหนึ่ง

โรงไฟฟ้ากังหันแก๊ส (Gas Turbine Power Plant)

ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง โดยทำการอัดอากาศให้มีความดันสูง 8-10 เท่า และส่งอากาศเข้าไปในห้องเผาไหม้ ทำให้เกิดการขยายตัว เกิดแรงดัน และอุณหภูมิสูง ส่งอากาศเข้าไปในหมุนเครื่องกันหันแก๊ส เพลาของเครื่องกังหันแก๊สจะต่อกับเพลาของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำและได้กระแสไฟฟ้า

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (Nuclear Power Plant) 

เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนประเภทหนึ่ง อาศัยพลังความร้อนที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาการแตกตัวของธาตุยูเรเนียม แล้วนำไปใช้ในกระบวนการผลิตไอน้ำที่ใช้ในการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงชีวมวล (ฺBiomass Power Plant) 

เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้เศษวัสดุจากเชื้อเพลิงชีวมวล ได้แก่ กากหรือเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร กากจากผลผลิตทางการเกษตรที่ผ่านการแปรรูปแล้ว เช่น แกลบ ชานอ้อย เศษไม้ กากปาล์ม กากมันสำปะหลัง ซังข้าวโพด กากและกะลามะพร้าว ส่าเหล้า เป็นต้น นำมาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า และพลังไอน้ำ ซึ่งอาจเป็นเศษวัสดุชนิดเดียว หรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ โดยชีวมวลแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป สำหรับโรงไฟฟ้าที่เลือกใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง เนื่องจากแกลบมีความชื้นต่ำ จึงให้ค่าความร้อนสูง และมีหลักการทำงานคล้ายกับโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน

โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ (Incinery Power Plant) 

ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า โดยขยะส่วนใหญ่เป็นมวลชีวภาพ เช่น กระดาษ เศษอาหาร และไม้ ฯลฯ โรงไฟฟ้าพลังงานขยะมีวิธีการทำงานเหมือนกับโรงไฟฟ้าอื่นๆ โดยจะนำขยะมาเผาบนตะแกรง แล้วนำความร้อนที่เกิดขึ้นมาใช้ต้มน้ำในหม้อน้ำจนกลายเป็นไอน้ำเดือด ซึ่งจะไปหมุนกังหันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

โรงไฟฟ้าพลังน้ำ (Hydro Power Plant) 

ใช้แรงดันของน้ำจากเขื่อน และอ่างเก็บน้ำ ซึ่งอยู่ในระดับสูงกว่าโรงไฟฟ้าไปหมุนเพลาของกังหันน้ำ ซึ่งจะขุดให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าผลิตไฟฟ้าตลอดเวลาที่มีการเปิดน้ำให้ไหลผ่าน 

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Power Plant)

เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ความร้อนของแสงอาทิตย์ไปต้มน้ำ หรือทำให้ก๊าซร้อน แล้วใช้ไอน้ำร้อน หรือก๊าซร้อน ไปทำให้เทอร์ไบน์หรือกังหันใบพัดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหมุนอีกต่อหนึ่ง หรืออาจใช้เซลล์สุริยะ หรือโซล่าร์เซลล์ (Solar Cell) ในปริมาณมาก เป็นตัวนำความร้อน ซึ่งการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีค่อนข้างสูง มีความสลับซับซ้อน และราคาลงทุนขั้นแรกสูงมาก

โรงไฟฟ้าพลังงานลม (Wind Power Plant)

เป็นพลังงานธรรมชาติที่เกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ 2 ที่ โดยใช้กังหันลมเป็นอุปกรณ์นำพลังงานลมมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการผลิตกระแส ไฟฟ้า และในการสูบน้ำ จึงต้องติดตั้งกังหันลมไว้ในสถานที่ที่ลมพัดแรงตลอดเวลาจึงจะทำงานได้อย่าง มีประสิทธิภาพ เมื่อกังหันลมหมุนแกนของกังหันลมที่ต่อมายังเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะผลิตไฟฟ้า ออกมาใช้งานได้

            ที่มา : http://phattarapon-04.blogspot.com/2014/11/blog-post_29.html

โรงไฟฟ้าในประเทศไทย มีกี่แห่ง อะไรบ้าง

Advertisement

ไฟฟ้าไทยมาจากไหน ?

โรงไฟฟ้าในประเทศไทย มีกี่แห่ง อะไรบ้าง

ปัจจุบันไทยมีกำลังผลิตไฟฟ้ารวมทั้งประเทศอยู่ที่ประมาณ 42,000 เมกะวัตต์ ซึ่งมากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ หรือ 28,129 เมกะวัตต์ ผลิตจากก๊าซธรรมชาติ อีกประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ ผลิตจากถ่านหิน ที่เหลือเป็นไฟฟ้าที่ได้จากเขื่อน พลังงานหมุนเวียน เช่น ชีวมวล แสงอาทิตย์ ลม และรับซื้อจากต่างประเทศ ได้แก่ ลาวและมาเลเซีย อีก 10 เปอร์เซ็นต์

ดังนั้นจะเห็นว่าไทยใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้าเป็นหลัก โดยโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ทั้งของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และของเอกชน ส่วนมากเป็นโรงไฟฟ้าก๊าซ

แต่ปริมาณก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยกำลังลดลงเรื่อยๆ ทำให้ในอนาคตไทยจะพึ่งพาก๊าซธรรมชาติได้น้อยลง หรืออาจต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากต่างประเทศเพื่อผลิตไฟฟ้า ซึ่งอาจส่งผลต่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ

ขณะที่การใช้พลังหมุนเวียนในประเทศไทยยังมีน้อยอยู่ เมื่อเทียบกับต่างประเทศที่หันมาให้ความสำคัญกับพลังงานหมุนเวียนเพราะต้องการแก้ปัญหาโลกร้อน หลายประเทศ เช่น แคนาดา สวีเดน เดนมาร์ก นิวซีแลนด์ ผลิตไฟฟ้าจากลมและแสงอาทิตย์ได้มากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของกำลังผลิตทั้งประเทศแล้ว

ย้อนกลับมาที่ไทย หากไม่นับเขื่อนขนาดใหญ่ ทุกวันนี้โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในไทยที่ กฟผ.รับซื้อไฟฟ้ามีอยู่ 58 แห่ง และมีกำลังผลิตรวมอยู่ที่ประมาณ 1,300 เมกะวัตต์เท่านั้น หรือเท่ากับ 3 เปอร์เซ็นต์ (ข้อมูลเดือนมิถุนายน 2561) และทั้งหมดเป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กที่มีกำลังผลิตต่ำกว่า 100 เมกะวัตต์

โรงไฟฟ้าในประเทศไทยมีอะไรบ้าง

ข้อมูลโรงไฟฟ้าและเขื่อน.
โรงไฟฟ้าแม่เมาะ (จ.ลำปาง).
โรงไฟฟ้าบางปะกง (จ.ฉะเชิงเทรา).
โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ (จ.นนทบุรี).
โรงไฟฟ้าพระนครใต้ (จ.สมุทรปราการ).
โรงไฟฟ้ากระบี่ (จ.กระบี่).
โรงไฟฟ้าจะนะ (จ.สงขลา).
โรงไฟฟ้าวังน้อย (จ.พระนครศรีอยุธยา).
โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา (จ.นครราชสีมา).

ประเทศไทยมีโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติกี่แห่ง

สำหรับก๊าซธรรมชาติ ประเทศไทยมีแหล่งผลิตราว 13 แห่งกระจายอยู่ทั่วภูมิภาค โดยมีแหล่งใหญ่คือ แหล่งบงกช และ แหล่งเอราวัณ ซึ่งทั้งสองแหล่งนี้ตั้งอยู่ในอ่าวไทย และล่าสุดมีแหล่งบงกชใต้เพิ่มเข้ามา ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน 2. น้ำมันดิบ แหล่งพลังงานน้ำมันของไทยแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ

โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศไทยมีกี่แห่ง

การเติบโตของพลังงานนิวเคลียร์ในเอเชีย.

การผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยส่วนใหญ่ใช้โรงไฟฟ้าประเภทใด

ดังนั้นจะเห็นว่าไทยใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้าเป็นหลัก โดยโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ทั้งของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และของเอกชน ส่วนมากเป็นโรงไฟฟ้าก๊าซ