การปกครองสมัยอยุธยามีกี่สมัย

                รูปแบบการปกครองสมัยอยุธยานั้นแบ่งได้ 3 ระยะ คือ การปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น  อยุธยาตอนกลาง  อยุธยาตอนปลาย

การปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น   

          สมัยพระเจ้าอู่ทองถึงสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2  แบ่งการปกครองได้ 2 ส่วน

           ส่วนที่ 1   การปกครองในเขตราชธานีและบริเวณโดยรอบราชธานีโดย จัดการปกครองแบบจตุสดมภ์ คือ  กรมเวียง-ดูแลในเขตเมืองหลวง กรมวัง-ดูแลพระราชสำนักและพิจารณาคดี  กรมคลัง-ดูแลพระราชทรัพย์ กรมนา-จัดเก็บภาษีและจัดหาเสบียง

          ส่วนที่ 2   การปกครองส่วนหัวเมือง  

                1. เมืองลูกหลวง   หรือเมืองหน้าด่าน  ให้โอรสหรือพระราชวงศ์ชั้นสูงไปปกครอง

                2. หัวเมืองชั้นใน  อยู่ถัดจากเมืองลูกหลวงออกไป ให้ขุนนางที่กษัตริย์แต่งตั้งไปปกครอง

                3. หัวเมืองชั้นนอก   หรือหัวเมืองพระยามหานครคือหัวเมืองขนาดใหญ่ห่างจากราชธานีผู้ปกครองสืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองเดิม

                4. เมืองประเทศราช   อยู่ไกลที่สุด   มีความเป็นอิสระเหมือนเดิมแต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการตามกำหนด และส่งกองทัพมาช่วยเวลาสงคราม

การปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง 

          สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถถึงสมัยพระเพทราชา ได้มีการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ ทางการเมือง โดยมีสถาบันกษัตริย์เป็นหลักในการปกครองแบ่งได้ 2 ช่วง

          ช่วงที่ 1  เป็นช่วงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ   ทรงปรับปรุงการปกครองใหม่เนื่องจากปัจจัยหลายๆอย่างเช่น เศรษฐกิจ ควบคุมหัวเมืองได้ไม่ทั่วถึง    และเมืองลูกหลวงมีอำนาจมากขึ้น และมักแย่งชิงบัลลังก์อยู่เนืองๆ ทรงแยกทหารและพลเรือนออกจากกัน และรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ทำให้ราชธานีมีอำนาจมากขึ้น มีการควบคุมเข้มงวดมากขึ้น  มีการปฏิรูปการปกครองโดยให้ สมุหนายก ดูแล ข้าราชการฝ่ายพลเรือนทั้งในราชธานี สมุหกลาโหม ดูแลฝ่ายทหาร ทั้งในราชานีและหัวเมือง   

          การปฏิรูปส่วนหัวเมือง  แยกเป็น 3 ส่วน

          1. หัวเมืองชั้นใน   ยกเลิกหัวเมืองลูกหลวง จัดตั้งเป็นเมืองชั้นใน  ส่งขุนนางไปครอง

          2. หัวเมืองชั้นนอก หัวเมืองประเทศราชเดิม ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาเรียกว่า  เมืองพระยามหานคร  ปกครองแบบใกล้ชิด เช่น พิษณุโลก นครศรีธรรมราช เป็นเมืองชั้นเอก โท และตรี

          3. เมืองประเทศราช เช่น ตะนาวศรี เขมร ให้เจ้านายพื้นเมืองเดิมปกครอง ส่งบรรณาการและกองทัพมาช่วยเวลาเกิดสงคราม

          ช่วงที่ 2  ตรงกับสมัยพระเพทราชา  ถ่วงดุลอำนาจทางทหารโดย        หัวเมืองฝ่ายเหนือให้สมุหนายกดูแลทหารและพลเรือน หัวเมืองใต้ให้สมุหกลาโหมดูแลทั้งทหารและพลเรือน 

ปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย

          สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงปรับเปลี่ยนอำนาจทางทหาร เพื่อถ่วงดุลมากขึ้นโดย ให้พระคลังดูแลทหารและพลเรือนทางใต้แทนสมุหกลา-โหม  ส่วนสมุหนายกยังคงเหมือนเดิม 

          สรุปการปกครองสมัยอยุธยามีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางการเมืองโดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือพยายามรวมอำนาจการปกครองสู่ส่วนกลาง และควบคุมการปกครองหัวเมืองต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น พร้อมกับพยายามจัดรูปแบบการปกครอง เพื่อถ่วงดุลอำนาจกับกลุ่มเจ้านายและขุนนาง ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการปกครอง

วาทิน ศานต์ สันติ : เรียบเรียง

หนังสือประกอบการเขียน

ประภัสสร บุญประเสริฐ.ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย = Economic history of Thailand : HI 322. พิมพ์ครั้งที่ 5.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2552.

วิไลเลขา ถาวรธนสาร และคณะ. พื้นฐานวัฒนธรรมไทย = Foundations of Thai culture : HI 121. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2536.

ผู้บังคับบัญชาควบคุมไพร่  หรือเจ้าสังกัดของไพร่  ไพร่ในสมัยอยุธยาเป็นกลุ่มคนที่เป็นกำลังของบ้านเมือง   เป็นชนชั้นที่อยู่ใต้อำนาจการปกครองหรือถูกปกครอง  มีอิสรเสรีภาพตามข้อกำหนดของกฎหมาย  มีหน้าที่รับผิดชอบต่อบ้านเมือง    คือ  ต้องเป็นทหารออกสู้รบในยามสงคราม  ในยามปกติจะต้องถูกเกณฑ์มาเข้าเวรช่วยราชการ   สร้างสิ่งสาธารณะประโยชน์พัฒนาบ้านเมืองโดยไม่มีค่าตอบแทนหรือค่าแรง  เมื่อพ้นกำหนดการเข้าเวรแล้วจะกลับไปอยู่กับครอบครัว  ประเกอบอาชีพของตนโดยอิสระ

ต่อมาในสมัยพระบรมไตรโลกนาถทรงปรับปรุงการปกครองเพื่อเพิ่มอำนาจให้กับราชธานี จึงจัดระเบียบการปกครองใหม่เพื่อรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยแบ่งเป็น

- ราชธานี
- หัวเมืองชั้นใน ผู้ปกครองเรียกว่า “ผู้รั้ง”
- หัวเมืองชั้นนอก แบ่งเป็นเอก โท ตรี โดยแบ่งภายในเมืองเป็นการปกครองท้องถิ่น ได้แก่ เมือง(จังหวัด) , แขวง(อำเภอ) , ตำบล , บ้าน

การปกครองราชธานี

การปกครองสมัยพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงแบ่งการปกครองเป็น 4 ส่วน เรียกว่า จตุสดมภ์ ได้แก่

- กรมเมือง ดูแลความสงบเรียบร้อยภายในราชธานี
- กรมวัง ดูแลเกี่ยวกับกิจการต่าง ๆ ในราชสำนัก และพระราชพิธีต่าง ๆ
- กรมคลัง ดูแลเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้รายจ่ายของพระคลัง
- กรมนา ดูแลเกี่ยวกับนาหลวง การเก็บภาษี และการจัดเก็บข้าวเข้าท้องพระคลัง การปกครองประเทศจะรวมทหารและพลเรือนเข้าด้วยกันโดยแบ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายเหนือ และฝ่ายใต้

การปกครองสมัยพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิรูป ใหม่เป็น

- กรมเมือง เปลี่ยนเป็น นครบาล
- กรมวัง เปลี่ยนเป็น ธรรมาธิกรณ์
- กรมคลัง เปลี่ยนเป็น โกษาธิบดี
- กรมนา เปลี่ยนเป็น เกษตราธิบดี

สมัยพระบรมไตรโลกนาถทรงแยกฝ่ายทหารและพลเรือนออกจากกัน โดยตั้งตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ

- สมุหกลาโหม ดูแลเกี่ยวกับการทหาร
- สมุหนายก ดูแลเกี่ยวกับข้าราชการพลเรือน และยังได้กำหนดกำหมายขึ้น คือ
- กฎหมายศักดินาทหารและพลเรือน
- กฎมนเทียรบาล เป็นกฎหมายเกี่ยวกับประเพณีใน ราชสำนัก