พระไตรปิฎกแบ่งออกเป็นกี่ส่วนอะไรบ้าง

พระไตรปิฎกเป็นหนังสือที่รวบรวมหลักธรรมวินัย และผ่านการสังคายนามาหลายครั้ง มีทั้งฉบับที่เริ่มทำตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์ชีพอยู่ และได้รวบรวมคำสอน สืบทอดกันต่อเนื่องมา เกร็ดความรู้เกี่ยวกับพระไตรปิฎก มีดังนี้

- สมัยก่อน ไม่มีอุปกรณ์สื่อสารจดบันทึก พระภิกษุสงฆ์เมื่อศึกษาพระธรรมก็มักจดจำไว้กับตนเรียกว่า “มุขปาฐะ” พระสงฆ์ผู้มีความจำดี หนึ่งในนั้นคือพระอุบาลี เป็นผู้ที่จดจำพระธรรมวินัยได้เป็นพิเศษ จึงได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบคำถาม “พระวินัยปิฎก” ในการทำสังคายนาครั้งแรก

หนังสือพระไตรปิฎกที่ประชาชนสามารถซื้อหาไว้ศึกษา มีทั้งหมด 45 เล่ม จัดทำโดย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และฉบับภาษาไทยของสำนักพิมพ์อื่นๆ ก็นิยมจัดทำ 45 เล่ม บรรจุหลักธรรม 84,000 ธรรมขันธ์ เพื่อรำลึกถึง 45 พรรษาแห่งพุทธกิจ มีเนื้อหาโดยย่อ ดังนี้

1. พระวินัยปิฎก ว่าด้วยศีลของภิกษุและ ภิกษุณี
2. พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระธรรม เทศนาทั่วๆ ไป
3. พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยธรรมะที่ เป็นสาระสำคัญ

เว็บไซต์สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ได้อธิบายส่วนต่างๆ ของแต่ละปิฎกไว้ดังนี้

1. ส่วนที่ว่าด้วยศีลของภิกษุ
2. ส่วนที่ว่าด้วยศีลของภิกษุณี
3. ส่วนที่ว่าด้วยเรื่องสำคัญ
4. ส่วนที่ว่าด้วยเรื่องที่สำคัญรองลงมา
5. ส่วนที่ว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ด

ชื่อในภาษาบาลีของ 5 ส่วนนั้น คือ
1. ภิกขุวิภังค์ หรือมหาวิภังค์
2. ภิกขุนีวิภังค์
3. มหาวรรค
4. จุลวรรค และ
5. บริวาร

กล่าวโดยลำดับ เล่มที่พิมพ์ในประเทศไทย วินัยปิฎกมี 8 เล่ม คือ ส่วนที่ 1 ได้แก่เล่ม 1-2 ส่วนที่ 2 ได้แก่เล่ม 3 ส่วนที่ 3 ได้แก่เล่ม 4 - 5 ส่วนที่ 4 ได้แก่เล่ม 6-7 และส่วนที่ 5 ได้แก่เล่ม 8

1. ส่วนที่ว่าด้วยพระสูตรขนาดยาว เรียกว่า ทีฆทิกาย มี 34 สูตร ได้แก่เล่ม 9 - 10 -11

2. ส่วนที่ว่าด้วยพระสูตรขนาดกลาง เรียกว่า มัชฌิมนิกาย มี 152 สูตร ได้แก่เล่ม 12 - 13 - 14

3. ส่วนที่ว่าด้วยพระสูตรซึ่งประมวล หรือรวมคำสอนประเภทเดียวกันไว้เป็นหมวดหมู่ เรียกว่า สังยุตตนิกาย มี 7,762 สูตร ได้แก่เล่ม 15 - 19

4. ส่วนที่ว่าด้วยธรรมะเป็นข้อๆ ตั้งแต่ 1 ข้อถึง 11 ข้อ และมากกว่านั้น เรียกว่า อังคุตตรนิกาย มี 9,557 สูตร ได้แก่เล่ม 20-24

5. ส่วนที่ว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ด หรือเล็กๆ น้อยๆ 15 หัวข้อ เรียกว่า ขุททกนิกาย จำนวนสูตรมีมาก จนไม่มีการนับจำนวนไว้ ได้แก่เล่ม 25-33 รวมเป็นพระสุตตันตปิฎก 25 เล่ม

1. ส่วนที่ว่าด้วยการรวมกลุ่มธรรมะ เรียกว่า ธัมมสังคณี ได้แก่เล่ม 34

2. ส่วนที่ว่าด้วยการแยกกลุ่มธรรมะ เรียกว่า วิภังค์ ได้แก่เล่ม 35

3. ส่วนที่ว่าด้วยธาตุ เรียกว่า ธาตุกถา ได้แก่ส่วนแรกของเล่ม 36

4. ส่วนที่ว่าด้วยบัญญัติคือ การนัดหมายรู้ทั่วไป เช่น การบัญญัติบุคคล เรียกว่า บุคคลบัญญัติ ได้แก่ส่วนหลังของเล่ม 36

5. ส่วนที่ว่าด้วยคำถามคำตอบทางพระพุทธศาสนา เพื่อชี้ให้เป็นความเข้าใจผิดพลาดต่างๆ เรียกว่า กถาวัตถุ ได้แก่เล่ม 37

6. ส่วนที่ว่าด้วยธรรมะเข้าคู่กันเป็นคู่ๆ เรียกว่า ยมก ได้แก่ เล่ม 38-39

7. ส่วนที่ว่าด้วยปัจจัย คือ สิ่งเกื้อกูลให้เกิดผลต่างๆ รวม 24 ปัจจัย เรียกว่า ปัฏฐาน ได้แก่เล่ม 40 ถึงเล่ม 45 รวม 6 เล่ม และรวมพระอภิธรรมปิฎกแล้วเป็นหนังสือ 12 เล่ม

กล่าวโดยจำนวนเล่ม เล่ม 1-8 เป็น พระวินัยปิฎก เล่ม 9 - 33 รวม 25 เล่มเป็น พระสุตตันตปิฎก เล่ม 34 - 45 รวม 12 เล่มเป็นพระอภิธรรมปิฎก รวมเป็นพระไตรปิฎก 45 เล่ม ซึ่งประเทศไทยจัดพิมพ์ขึ้น

พระไตรปิฎกแบ่งออกเป็นกี่ส่วนอะไรบ้าง
พระไตรปิฎกของจริง ที่ได้มาจากประเทศจีน เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2534 ภาพจาก https://www.royaloffice.th

พุทธศาสนิกชนที่สนใจต้องการชมพระไตรปิฎกของจริง ก็สามารถติดต่อเยี่ยมชมได้ที่วัดอารามใหญ่ๆ ในแต่ละจังหวัด บางแห่งให้เยี่ยมชมหอไตร แต่หากต้องการเปิดอ่านพระไตรปิฎกของจริงอาจต้องสอบถามกับทางวัดว่าอนุญาตหรือไม่ เนื่องจากบางฉบับมีอายุยาวนานจนกลายเป็นของเก็บสะสม แต่หากอยากได้พระไตรปิฎกของจริงเก็บไว้ศึกษาเป็นสิริมงคลให้แก่ตน ก็สามารถซื้อหาฉบับที่ตีพิมพ์ใหม่ ของทางสำนักพิมพ์ต่างๆ

พระไตรปิฎกฉบับที่มีความสำคัญอีกเล่มนึ่ง คือ พระไตรปิฎกแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ฉบับกระดาษสา พับเป็นสมุดไทย พิมพ์ด้วยอักษรจีน เป็นภาษาบาลีโบราณ เขียนด้วยหมึกจีนมีจำนวนทั้งหมด 7,300 เล่ม พร้อมด้วยคัมภีร์สารบัญพระไตรปิฎกอีก 1 ผูก ขนาดเล่มหนึ่ง 5.5 x 19.5 x 0.5 นิ้ว ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต 

พระไตรปิฎกมีความสําคัญอย่างไร

พระไตรปิฎกแบ่งออกเป็นกี่ส่วนอะไรบ้าง

พระไตรปิฎกมีความสำคัญต่อการสืบสานหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ให้คนรุ่นต่อไปได้ศึกษาและสืบทอดต่อ โดยวิธีการเก็บรักษาพระไตรปิฎกนั้น นิยมเก็บไว้ในตู้ไม้ทรงสูง และสร้าง “หอไตร” หรือเรียกว่า “หอพระธรรม” ไว้กลางสระน้ำในบริเวณวัด เพื่อเก็บรักษาพระไตรปิฎกให้ปลอดภัยจากมด ปลวก แมลงและสัตว์ต่างๆ รวมถึงป้องกันความเสียหายจากเพลิงไหม้อีกด้วย การอัญเชิญพระไตรปิฎกและสร้างหอไตรให้กับวัดที่ยังไม่มีหอไตร ตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนาถือเป็นการสร้างบุญ สร้างกุศล เพื่อรักษาสืบทอดหลักธรรมให้คงอยู่

พระไตรปิฎก คือ ตำราหรือคัมภีร์ที่บันทึกหรือจารึกคำสอนขององค์พระสัมมาพระพุทธเจ้าที่ถูกนำมาจัดไว้เป็นหมวดหมู่ต่างๆ โดยประกอบด้วยเนื้อหาใจความหลักๆ อยู่ 3 หมวดใหญ่ๆ ได้แก่ พระวินัยปิฎก, พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก โดยเป็นธรรมะที่พระองค์ได้ทรงแสดงไว้ตลอด 45 พรรษา ที่ทรงได้แสดงพระธรรมเทศนาให้แก่ทุกคนโดยไม่เกี่ยงว่าคนนั้นคือผู้ใดอยู่วรรณไหน หรือยากดีมีจนเช่นไร และสืบทอดมายังพระสาวกตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจวบจนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งเราคนไทยต่างคุ้นเคยหรือเคยได้ยินชื่อพระไตรปิฎกกันมาแล้วตั้งแต่ตอนเรียนวิชาพระพุทธศาสนาในชั้นประถมฯ หรือมัธยมฯ โดยพระไตรปิฎกนี้เรียกว่ามีความสำคัญแก่คนไทยและชาวพุทธอย่างยิ่งเลยทีเดียว

————– advertisements ————–

โดยคำว่า พระไตรปิฎก มีความหมายว่า 3 คัมภีร์ ซึ่งคำว่า พระ เป็นคำที่ยกย่องหรือแสดงความเคารพ ส่วนคำว่า ไตรี แปลตรงตัวว่า สาม และคำว่า ปิฎก แปลว่า ตำรา, คัมภีร์, กระจาด หรือตะกร้า โดยรวมๆ ก็หมายถึงเป็นการรวมคำสอนขององค์พระพุทธเจ้าเอาไว้เป็นหมวดหมู่เพื่อไม่ให้กระจัดกระจาย เหมือนการนำตะกร้าหรือกระจาดมารองไว้เป็นภาชนะนั่นเอง

หมวดหมู่โครงสร้างพระไตรปิฎกมี 3 หมวด ได้แก่
1. พระวินัยปิฎก เป็นพระวินัยสิกขาบทต่างๆ ของทั้งพระภิกษุและภิกษุณี
2. พระสุตตันตปิฎก เป็นพระสูตรซึ่งเป็นพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก ที่ประมวลออกมาเป็นเรื่องๆ โดยมีเรื่องราวประกอบ ตลอดจนภาษิต และชาดก ที่ทรงได้แสดงธรรมแก่บุคคลต่างๆ ทุกชนชั้น โดยไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะใดๆ ซึ่งมีทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง
3. พระอภิธรรมปิฎก เป็นพระธรรมขั้นสูงที่ประกอบด้วยหลักวิชาธรรมะล้วนๆ โดยไม่มีการอ้างอิงถึงเหตุการณ์และบุคคลใดๆ โดยแบ่งออกเป็นหมวดๆ ข้อๆ

ซึ่งพระไตรปิฎกนี้นอกจากจะมีความสำคัญต่อคนไทยและชาวพุทธทั้งหลายแล้ว ยังมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการมีอยู่ของพระพุทธศาสนาอีกด้วย เรียกว่าเป็นสิ่งที่เราทุกคนควรสงวนและรักษาไว้เพื่อสืบต่อให้ลูกหลานเราได้เห็นและศึกษาถึงแก่นแท้ของพระธรรมคำสอนอย่างแท้จริง และเพื่อให้พุทธศาสนาคงอยู่ต่อไปได้อีกตราบนานเท่านาน และการนำธรรมะของพุทธองค์มาปฏิบัติย่อมทำให้เราได้รับทั้งพระธรรมคำสอนและคุณธรรมอย่างเต็มเปี่ยมในการดำเนินชีวิตต่อไปจวบจนถึงวันสิ้นลมหายใจนั่นเอง

พระไตรปิฎกกำหนดไว้กี่หมวด

พระไตรปิฎก (บาลี: Tipitaka; สันสกฤต: त्रित्रिटक) เป็นคัมภีร์ที่บันทึก ค าสอนของพระโคตมพุทธเจ้า ไตรปิฎก แปลว่า ตะกร้า 3 ใบ เพราะเนื้อหา แบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ คือ พระวินัยปิฎก ว่าด้วยพระวินัยสิกขาบทต่าง ๆ ของ ภิกษุและภิกษุณี พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระสูตรซึ่งเป็นพระธรรมเทศนาของ พระโคตมพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก ที่แสดงแก ...

พระสุตตันตปิฎกแบ่งเป็น 3 หมวด อะไรบ้าง

พระสุตตันตปิฎก เป็นชื่อของปิฎกฉบับหนึ่งในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ซึ่งประกอบด้วย พระวินัยปิฎก พระสุตตตันปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก เรียกย่อว่า พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม

พระธรรมคำสั่งสอนในศาสนาพุทธประกอบด้วย 3 หมวดหมู่อะไรบ้าง

พระไตรปิฎก ประกอบด้วยคัมภีร์สำคัญ ๓ ปิฎก คือ พระวินัยปิฎก ว่าด้วยวินัย หรือข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียม และการดำเนินการต่าง ๆ ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระสูตร หรือเทศนาที่ตรัสแก่บุคคลต่าง ๆ ในเวลาและสถานที่ต่างกัน เป็นรูปคำสนทนาโต้ตอบบ้าง เป็นรูปร้อยกรองบ้าง ร้อยแก้ว ...

พระไตรปิฎกมีทั้งหมดกี่เล่ม

พระไตรปิฎกมีเนื้อหารวมทั้งสิ้น 84,000 ธรรมขันธ์ ฉบับพิมพ์ภาษาไทยนิยมจัดแยกเป็น 45 เล่ม เพื่อหมายถึงระยะเวลา 45 พรรษาแห่งพุทธกิจ