การคํานวณสินค้าคงเหลือ มีกี่วิธี

เมื่อสํารวจตรวจสินค้าคงเหลือของกิจการได้จํานวนสินค้าแต่ละชนิดแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือการกําหนดราคาสินค้าคงเหลือแต่ละชนิดจะเป็นราคาเท่าไร ถ้ากิจการมีสินค้าไม่มากชนิด การกําหนดราคาคงไม่ยุ่งยาก คงหาราคาที่แท้จริงของสินค้าแต่ละชนิดได้ โดยไม่ต้องใช้เวลาค้นหานาน

ในทางปฏิบัติกิจการใหญ่มีสินค้าเป็นพัน ๆ ชนิด แต่ละชนิดราคาที่ซื้อไม่เท่ากัน สินค้าบางชนิด ราคามีแนวโน้มสูงขึ้น บางชนิดราคาเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยเฉพาะสินค้าที่สั่งซื้อจากต่างประเทศ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเปลี่ยนแปลงไป มีผลทําให้ราคาสินค้าที่ซื้อมาแต่ละครั้งเปลี่ยนไป จึงมีปัญหาว่าจะใช้ราคาไหนในการกําหนดเป็นราคาสินค้าคงเหลือแต่ละชนิด

มาตรฐานการบัญชี

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง สินค้าคงเหลือ ใช้แทนมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 (ฉบับที่ 31 เดิม) เรื่อง สินค้าคงเหลือ โดยให้ถือปฏิบัติสําหรับรอบระยะเวลาบัญชี ที่เริ่มใน หรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป ทั้งนี้ สนับสนุนให้นําไปใช้ก่อนวันถือปฏิบัติ

ร้อน

การวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือ

สินค้าคงเหลือต้องวัดมูลค่าด้วยราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ แล้วแต่มูลค่าใดจะต่ํากว่า

การคํานวณและการตีราคาสินค้าค9เหลือตามราคาทุน (Cost Basis Approach)

การคํานวณต้นทุนสินค้าคงเหลือของแต่ละกิจการ มีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะ การดําเนินงานของแต่ละกิจการ และสินค้าคงเหลือแต่ละหน่วยของกิจการ อาจจะมีมูลค่าไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของรายการที่เกิดขึ้น ดังนั้น ถ้าสามารถระบุชี้ชัดได้ว่าสินค้าคงเหลือมีมูลค่า เท่าใด เป็นสินค้าอะไรจํานวนไหน ก็จะส่งผลให้งบการเงินของกิจการ แสดงผลการดําเนินงานและ ฐานะทางการเงินของกิจการได้ชัดเจนหรือใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริง

ส่วนวิธีการคํานวณต้นทุนสินค้าคงเหลือที่ใช้โดยทั่วไป คือ การตีราคาสินค้าคงเหลือตาม ราคาทน วิธีการนี้เหมาะสําหรับกิจการที่มีชนิดสินค้าไม่มากนัก และสามารถตรวจนับได้โดยสะดวก สินค้าคงเหลือของกิจการมาจากสินค้าที่ผลิตเสร็จมีปริมาณแตกต่างกันและราคาทุนมักจะไม่เท่ากัน จึงเป็นการยากที่จะระบุว่าสินค้าที่จําหน่ายออกไป และสินค้าคงเหลือมีราคาทุนเท่าใด

การตีราคาสินค้าคงเหลือตามราคาทุน

1. วิธีราคาเจาะจง (Specific Identification)

2. วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ําหนัก (Weighted Average (Method)

3. วิธีเข้าก่อน - ออกก่อน (First – in, First - Out Method)

1. วิธีราคาเจาะจง (Specific Identifcation)

เป็นวธีการคํานวณต้นทุนสินค้าคงเหลือที่สามารถระบุได้แน่นอนว่า เป็นสินค้าที่ผลิตครั้งใด อมาเมื่อใด และมีราคาทุนเท่าใด ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าราคาสูงชิ้นใหญ่ จํานวนสินค้าน้อยชิ้น มเหมาะกับกิจการที่จําหน่ายสินค้ามากชนิด กิจการที่นิยมใช้วิธีเจาะจง เช่น จําหน่ายเครื่องจักร จําหน่ายรถยนต์ เป็นต้น

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 เรื่อง สินค้าคงเหลือ กล่าวว่า “ต้นทุนตามวิธีราคาเจาะจงเป็น วิธีการบันทึกต้นทุนที่เจาะจงได้ในสินค้าคงเหลือเฉพาะตัวแต่ละราย วิธีนี้จึงเหมาะที่จะใช้กับ การผลิตเพื่อโครงการหนึ่งโครงการใดโดยเฉพาะ โดยไม่ต้องคํานึงว่าสินค้าคงเหลือดังกล่าวจะ ซื้อมาหรือผลิตขึ้นเอง อย่างใดก็ดี การบันทึกต้นทุนตามวิธีราคาเจาะจงไม่เหมาะสมกับกรณีนี้ สินค้าคงเหลือมีจํานวนรายการมาก และมีลักษณะสับเปลี่ยนกันได้โดยปกติ ดังเช่นธุรกิจทั่ว ๆ ไป ซึ่งมีสินค้าคงเหลือชนิดเดียวกัน หรือหลายชนิดเป็นจํานวนมาก และแต่ละชิ้นมีลักษณะเหมือนกัน จึงเป็นการยากที่จะกําหนดราคาเฉพาะของสินค้าคงเหลือนั้น หากใช้วิธีราคาเจาะจงในการตีราคา สินค้าคงเหลือในกรณีดังกล่าว อาจจะเป็นช่องทางในการกําหนดผลกําไรหรือขาดทุนได้ล่วงหน้า สําหรับงวดบัญชีนั้น ๆ”

วิธีการตราคาสินค้าแบบเจาะจงเป็นวันที่ง่ายต่อการนําไปใช้ปฏิบัติกันเมื่อกิจการค้า มีสินค้าอยู่เพียง 2 - 3 รายเท่านั้น และถ้าสินค้าที่คงเหลืออยู่ในมือของกิจการค้าสามารถชี้ให้เห็นว่า

เอเคก็สามารถทําการตีราคาสินค้าคงเหลือจํานวนนั้นได้ในราคาทุนตามที่ ปรากฏในใบกํากับสินค้า (Invoice) โดยการนําเอาราคาทนของสินค้าคงเหลือแต่ละรายการมารวมกัน เป็นราคาทุนทั้งหมดของสินค้าคงเหลือในมือของกิจการนั้น ๆ สมมติว่าใช้ตัวเลขข้อมูลดังกล่าวข้างต้น และเราทราบว่าสินค้าคงเหลือ 2 หน่วยนั้น เป็นสินค้าที่ซื้อมาครั้งที่ 2 และครั้งที่ 4 แล้ว ก็สามารถ คํานวณหาราคาต้นทุนของสินค้าคงเหลือได้ โดยการนําเอาราคาทุนของสินค้าที่ยังไม่ได้ขายมารวมกัน

ในทางปฏิบัติวิธีการตีราคาสินค้าคงเหลือแบบเจาะจงนั้นไม่นิยมใช้กับสินค้าที่เรา ไม่สามารถแยกให้เห็นถึงความแตกต่างของสินค้าแต่ละหน่วย แต่ละกลุ่มได้โดยชัดแจ้ง และเนื่องด้วย วิธีนี้ต้องเสียต้นทุนในการบันทึกบัญชีมาก ดังนั้นวิธีนี้จึงมีผลเสียต่อการคิดทําการกะประมาณ แผนรายได้ และอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้โดยอาจเกิดเป็นช่องทางให้ผู้บริหารมีอิทธิพลในการ กําหนดยอดรายได้และทรัพย์สิน โดยการเลือกเอาสินค้าที่มีลักษณะคล้าย ๆ กันในกลุ่มออกขาย โดยอาศัยข้อมูลฐานที่ว่าเป็นราคาทุนของสินค้านั้นโดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังเป็นช่องทางให้เกิด การคอร์รัปชั่นสําหรับผู้จัดการที่ไม่ซื่อสัตย์อาจจะใช้วิธีการคัดเลือกเอาสินค้าที่มีราคาต้นทุนต่ํา รวมเป็นราคาต้นทุนของสินค้าที่ขาย หรือแสดงว่ากิจการค้าได้ขายสินค้าที่มีราคาทุนต่ําไป ถึงแม้ว่า ตามข้อเท็จจริงแล้วสินค้ารายการที่มีราคาทุนสูงกว่าได้ถูกขายไปก็ตาม การที่ทําเช่นนี้ก็เพื่อเป็น การเพิ่มยอดรายได้สุทธิในรายงาน

2. วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ําหนัก (Weighted - Average Method)

การตีราคาสินค้าคงเหลือในราคาทุนตามวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ําหนัก ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 เรื่อง สินค้าคงเหลือ ได้กําหนดแนวทางให้ถือปฏิบัติ ดังนี้ “จะพิจารณาด้วยการถัวเฉลี่ย ต้นทุนของสินค้าที่เหมือนกัน ณ วันต้นงวดกับต้นทุนที่ซื้อมา หรือผลิตขึ้นในระหว่างงวด วิธีการ คํานวณถัวเฉลี่ยอาจคํานวณเป็นระยะ ๆ ไป หรือคํานวณทุกครั้งที่ได้รับสินค้า ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพ ของกิจการ”

3. วิธีเข้าก่อน - ออกก่อน (First - In, First - Out Method)

หรืออาจจะเรียกย่อ ๆ ว่า FIFO เป็นวิธีการตีราคาสินค้าคงเหลือในราคาทุน ซึ่งวิธีการนี้ มีข้อสมมติเกี่ยวกับการไหลเวียนของสินค้า และการไหลเวียนของต้นทุนสินค้า คือ สินค้ารายการ ที่ซื้อมาหรือผลิตขึ้นก่อนจะขายออกไปก่อน จึงเป็นผลให้รายการสินค้าคงเหลือปลายงวดเป็นสินค้า ที่ซื้อมาหรือผลิตขึ้นในครั้งหลัง (จากสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2552)

การตีราคาสินค้าคงเหลือตามวิธีนี้ สามารถใช้กับระบบบันทึกบัญชีสินค้าแบบต่อเนื่อง และแบบสิ้นงวดได้วิธีเข้าก่อน - ออกก่อนนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปมากที่สุด และเราสามารถจะ นําเอาวิธี FIFO มาใช้กับการคํานวณหาราคาต้นทุนของสินค้าคงเหลือปลายงวดจํานวน 2 หน่วยนี้ได้ ซึ่งเป็นยอดซื้อสินค้า 2 ครั้งสุดท้าย

มูลค่าสุทธิที่จะได้รับ

มูลค่าสุทธิที่จะได้รับ หมายถึง ราคาโดยประมาณที่คาดว่าจะขายได้ตามปกติของธุรกิจ หักด้วยประมาณการต้นทุนในการผลิตสินค้านั้นให้เสร็จ และต้นทุนที่จําเป็นต้องจ่ายไปเพื่อให้ขาย สินค้านั้นได้ ต้นทุนของสินค้าคงเหลืออาจจะไม่ได้รับคืน ถ้าสินค้าคงเหลือเหล่านั้นเกิดความเสียหาย หรือเกิดความล้าสมัยบางส่วนหรือทั้งหมด หรือราคาขายลดลง ต้นทุนของสินค้าคงเหลืออาจจะไม่ได้ รับคืนหากประมาณการต้นทุนในการทําต่อให้เสร็จ หรือประมาณการต้นทุนที่เกิดขึ้น เพื่อทําให้สินค้า ขายได้เพิ่มขึ้น การตีราคาสินค้าคงเหลือลดลงจากราคาทุน ให้เท่ากับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับสอดคล้อง กับแนวความคิดที่ว่า สินทรัพย์ไม่ควรแสดงมูลค่าตามบัญชีที่สูงกว่ามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับจากการขาย หรือประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้ประมาณการมูลค่าสุทธิที่จะได้รับให้อ้างอิงกับหลักฐานเกี่ยวกับจํานวนเงินที่คาดว่าจะได้รับจากสินค้าคงเหลือซึ่งเชื่อถือได้มากที่สุด ในขณะที่ประมาณมูลค่าประมาณการ ดังกล่าวให้พิจารณาการเปลี่ยนแปลงของราคาหรือต้นทุนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ภายหลังวันสิ้นงวดซึ่งยืนยันว่าสถานการณ์นั้นได้ปรากฏอยู่แล้ว ณ วันสิ้นงวด

การเปิดเพยข้อมูล

กิจการต้องเปิดเผยข้อมูลทุกข้อต่อไปนี้ในงบการเงิน

1. นโยบายการบัญชีที่ใช้ในการวัดมลค่าสินค้าคงเหลือ และวิธีที่ใช้คํานวณราคาทุน

2.มูลค่าตามบัญชีรวมของสินค้าคงเหลือและมลค่าตามบัญชีของสินค้าคงเหลือแต่ละ ประเภทจําแนกตามความเหมาะสมของแต่ละกิจการ

3.มูลค่าตามบัญชีรวมของสินค้าคงเหลือที่แสดงด้วยมลค่ายติธรรมหักต้นทุนในการขาย

4. มูลค่าตามบัญชีรวมของสินค้าคงเหลือและมูลค่าตามบัญชีของสินค้าคงเหลือแต่ละ ประเภทจําแนกตามความเหมาะสมของแต่ละกิจการ

5. มูลค่าตามบัญชีของสินค้าคงเหลือที่แสดงด้วยมูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขาย

6. มูลค่าของสินค้าคงเหลือที่รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีนั้น มูลค่าของสินค้าคงเหลือที่ปรับลดลงที่รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีนั้นตามข้อกําหนด

7. มูลค่าการกลับรายการปรับลดมูลค่าสินค้าคงเหลือ ซึ่งกิจการรับรู้โดยนําไปหักจากมูลค่า ของสินค้าคงเหลือที่รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีตามข้อกําหนด

8. เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ทํา ให้มีการกลับรายการปรับลดมูลค่าสินค้าตามกําหนด มูลค่าตามบัญชีของสินค้าคงเหลือที่ใช้เป็นหลักประกันหนี้สิน 1. ข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่าตามบัญชีของสินค้าคงเหลือที่จําแนกตามประเภทของสินค้าตลอดจน

2. การเปลี่ยนแปลงสินค้าคงเหลือประเภทดังกล่าวที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงิน โดยทั่วไปสินค้าคงเหลือจะถูกจัดประเภทเป็นสินค้าที่มีไว้เพื่อขาย สินค้าสําเร็จรูป สินค้าระหว่างทํา วัตถุดิบและวัสดการผลิตสําหรับสินค้าคงเหลือของผู้ให้บริการ อาจแสดงเป็นงานระหว่างทํา

3. มูลค่าสินค้าคงเหลือที่รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในระหว่างงวด ซึ่งโดยส่วนใหญ่หมายถึงต้นทุนขาย

4. ประกอบด้วยต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการวัดมูลค่าของสินค้าที่ขายไป และค่าใช้จ่าย ในการผลิตที่ไม่จัดสรรและต้นทุนการผลิต ส่วนที่สูญเสียเกินปกติในบางสถานการณ์กิจการอาจมี เหตุผลในการรวมต้นทุนอื่นๆเข้าไปด้วย เช่น ต้นทุนในการจัดจําหน่ายสินค้า

- กิจการรายงานกําไรหรือขาดทุนในรูปแบบที่มีผลให้จํานวนที่เปิดเผยแตกต่างไปจาก ต้นทุนของสินค้าที่รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในระหว่างงวด ภายใต้รูปแบบนี้กิจการจะนําเสนอการวิเคราะห์