บุคลากรคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ระดับ

บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ Peopleware from Kanyawee Sriphongpraphai

โดยทั่วไปภายในหน่วยงานหรือองค์การที่มีระบบคอมพิวเตอร์จะแบ่งบุคลากร เป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบ ฝ่ายโปรแกรม และฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ

ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบ

เป็นผู้ที่ทำหน้าที่วางระบบงานคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับหน่วยงาน ซึ่งพิจารณาจากความต้องการของผู้ใช้คอมพิวเตอร์(User) บุคลากรในฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบมีดังนี้

1.นักวิเคราะห์ระบบ(System Analyst)

เป็นผู้ที่ทำหน้าที่วิเคราะห์ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ โดยศึกษาปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในระบบ ตลอดจนหาแนวทางแก้ไขและปรับปรุงระบบงานเดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สาขาวิชาที่สนับสนุนการประกอบอาชีพนักวิเคราะห์ระบบ ได้แก่ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ นักวิเคราะห์ระบบแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1.1 นักวิเคราะห์ระบบที่เป็นบุคลากรภายในองค์การ(Staff employee within the organization)

1.2นักวิเคราะห์ที่เป็นที่ปรึกษาภายนอก(Outside or external consultant)

นักวิเคราะห์ระบบจะต้องประสานงานกับโปรแกรมเมอร์ เพื่อให้โปรแกรมเมอร์สร้างงานได้ตรงกับที่นักวิเคราะห์ระบบออกแบบไว้มากที่ สุด นักวิเคราะห์ระบบควรมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์(Hardware)

โปรแกรมคำสั่งงาน(Software)

ระบบข้อมูลสารสนเทศ(Information System)

2.ผู้จัดการโครงการ(Project Manager)

เป็นผู้ที่ทำหน้าที่บริหารโครงการให้ดำเนินไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ ในขณะที่โครงการดำเนินการอยู่นั้น ผู้จัดการโครงการจะต้องคอยควบคุมให้ระบบงานดำเนินไปอย่างปกติไม่ให้เกิดข้อ ผิดพลาดใดๆ

3.ผู้บริหารฐานข้อมูล(DBA: Database Administrators)

เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลและจัดการเกี่ยวกับฐานข้อมูลที่เก็บรวบรวมข้อมูล ไว้ที่ศูนย์กลางให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสะดวกต่อการเรียกใช้ข้อมูล

4.ผู้จัดการฝ่ายสารสนเทศ(IT/IS Manager)

เป็นผู้ที่มีความรู้และความเข้าใจในระบบบริหารขององค์กรเป็นอย่างดี เพื่อให้สามารถจัดวางบุคลากรให้เหมาะสมกับตำแหน่งงาน

5.ผู้จัดการระบบเครือข่าย(System or Network Manager) ผู้บริหารระบบ(System Administrators) หรือผู้บริหารเครือข่าย(Network Administrators)

เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลและบำรุงรักษาระบบเครือข่ายให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยแก้ปัญหาในกรณีที่ระบบเกิดขัดข้อง

ฝ่ายโปรแกรม

ฝ่ายโปรแกรม(Programing) เป็นผู้ที่ทำหน้าที่รับระบบงานจากฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบจัดทำไว้มา เขียนโปรแกรม เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ออกแบบไว้ บุคลากรที่อยู่ในฝ่ายนี้ ได้แก่ โปรแกรมเมอร์(Programmer) เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาจาวา(JAVA) ภาษาซี(C) ภาษาวิชวลเบสิก(VISUAL BASIC) ภาษาเอสคิลแอล(SQL) และภาษาคอมพิวเตอร์อื่นๆที่สามารถสร้างโปรแกรมและมอดูลการทำงานเพื่อสั่งให้ คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โปรแกรมเมอร์แบ่งออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ โปรแกรมเมอร์ระดับต้น(Junior Programmer) และโปรแกรมเมอร์ระดับอาวุโส(Senior Programmer) ในหน่วยงานที่มีขนาดใหญ่บางแห่งอาจแบ่งโปรแกรมเมอร์เป็นกลุ่มๆดังนี้

1.โปรแกรมเมอร์ด้านโปรแกรมระบบ(System Programmer)

ทำหน้าที่ดูแล ปรับปรุง และแก้ไขเกี่ยวกับโปรแกรมระบบ รวมไปถึงการจัดการ การดูแล และการตรวจสอบให้โปรแกรมระบบและโปรแกรมประยุกต์สามารถใช้งานร่วมกันได้

2.โปรแกรมเมอร์ด้านโปรแกรมประยุกต์(Application Programmer)

ทำหน้าที่เขียนโปรแกรมเฉพาะงาน โดยมุ่งเน้นให้โปรแกรมนั้นเหมาะสมและตรงกับความต้องการของหน่วยงานมากที่สุด

3.โปรแกรมเมอร์ด้านการดูแลโปรแกรม(Maintenance Programmer)

ทำหน้าที่ดูแลและเก็บรักษาเอกสารเกี่ยวกับโปรแกรม และโปรแกรมที่ผ่านการทดสอบหรือโปรแกรมที่ใช้งานได้แล้ว

ฝ่ายปฏิบัติงานด้านเครื่องและบริการ

ฝ่ายปฏิบัติงานด้านเครื่องและบริการ(Operation and Service) ทำหน้าที่ติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการจะต้องให้บริการด้านการใช้คอมพิวเตอร์ ควบคุมการทำงานและดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ให้ทำงานตามระบบที่ฝ่ายโปรแกรมผลิต ขึ้นมา

1.เว็บมาสเตอร์(Web Master)

เป็นผู้ที่ทำหน้าที่สร้างเว็บไซต์สำหรับเผยแพร่ข้อมูลของหน่วยงานหรือ งอค์กรทางอินเทอร์เน็ต มีความรู้ความสามารถทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต สามารถใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ที่เขียนหรือสร้างงานเกี่ยวกับโฮมเพจ เช่น ภาษาจาวา(JAVA) ภาษาเอเอสพี(ASP) และภาษาเอชทีเอ็มแอล(HTML)

2.ผู้ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์(Computer Trainer) หรือเทรนเนอร์(Trainer)

เป็นผู้ที่ทำหน้าที่เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้ที่เข้ารับ การอบรม ผู้ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ที่ดีจะต้องมีความรู้ใหม่ๆเกี่ยวกับเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์และแสวงหาความรู้ให้ทันเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลา

3.ช่างเทคนิคซ่อมบำรุงฮาร์ดแวร์(Hardware Maintenance Technician)

เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลรักษาและซ่อมแซมคอมพิวเตอร์ เนื่องจากปัจจุบันคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่จำเป็นของหน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน จึงมีปัญหาในเรื่องความเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ ส่งผลให้เกิดความผิดพลาดไปยังระบบการทำงานได้

          ผู้เชี่ยวชาญการทำงานคอมพิวเตอร์เฉพาะงาน เป็นผู้ใช้ที่คุ้มเคยระบบคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศเฉพาะงานด้านต่างๆ เช่น ระบบสารสนเทศเพื่อการบัญชี การตลาดการสิ้นค้าคงคลัง ขึงต้องมีความรู้เกี่ยวกับงานธุรกิจด้านนั้นๆ และรู้จักระบบสารสนเทศเพื่องานนั้นๆ เป็นอย่าง

บุคลากรทางคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่กลุ่ม

บุคลากร (Peopleware).
ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ (User).
ผู้ดูแลและซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์ (Supporter).
ผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Programmer).
ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ (System Analysis).
ผู้บริหารระบบคอมพิวเตอร์ (System Manager).

การใช้งานคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ระดับ

การแบ่งระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์นั้นอาจแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักแบ่งเป็น 3 ระดับด้วยกัน ตามรูปแบบการใช้งานทั่วไปของผู้ใช้ คือ ระดับผู้ใช้ทั่วไป (Basic User) ระดับผู้ใช้งานด้านกราฟิกส์ (Graphic User) และผู้ใช้งานในระดับสูง (Advanced User) เราเองต้องรู้ระดับการใช้งานของเรา เพื่อสามารถกำหนดสเป็ค ...

Peopjewareแบ่งออกเป็นกี่ประเภท

peopleware หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ แบ่งออกได้ 4 ระดับ ดังนี้ 1. ผู้จัดการระบบ (System Manager) 2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) 3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)