รูปแบบของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์มีกี่ข้อ

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์หมายถึง การกระทำผิดทางอาญาในระบบคอมพิวเตอร์หรือการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อกระทำผิดทางอาญา เช่น ทำลาย เปลี่ยนแปลง หรือขโมยข้อมูลต่าง ๆ เป็นต้น ระบบคอมพิวเตอร์ในทีนี้หมายรวมถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เชื่อมกับระบบดังกล่าวด้วยสำหรับอาชญากรรมในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์อาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่งคืออาชญากรรมไซเบอร์ (อังกฤษ: Cybercrime) อาชญากรที่ก่ออาชญากรรมประเภทนี้ มักถูกเรียกว่า แครกเกอร์

1.การกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ อันทำให้เหยื่อได้รับความเสียหาย และผู้กระทำได้รับผลประโยชน์ตอบแทน 2.การกระทำผิดกฎหมายใด ๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือและในการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่เพื่อนำผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีต้องใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีเช่นเดียวกันการประกอบอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศจำนวนมหาศาลอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ จึงจัดเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ หรือ อาชญากรรมทางธุรกิจรูปแบบ หนึ่งที่มีความสำคัญ

1.พวกเด็กหัดใหม่ (Novice)

2.พวกวิกลจริต (Deranged persons)

3. อาชญากรที่รวมกลุ่มกระทำผิด (Organized crime)

4.อาชญากรอาชีพ (Career)

5.พวกหัวพัฒนา มีความก้าวหน้า (Con artists)

6.พวกคลั่งลัทธิ (Dremer) / พวกช่างคิดช่างฝัน (Ideologues)

7. ผู้ที่มีความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์อย่างดี (Hacker/Cracker)

Hacker หมายถึง บุคคลผู้ที่เป็นอัจฉริยะ มีความรู้ในระบบคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี สามารถเข้าไปถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์โดยเจาะผ่านระบบรักษาความปลอดภัยของ คอมพิวเตอร์ได้แต่อาจไม่แสวงหาผลประโยชน์ Cracker หมายถึง ผู้ที่มีความรู้และทักษะทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี จนสามารถเข้าสู่ระบบได้ เพื่อเข้าไปทำลายหรือลบแฟ้มข้อมูลหรือทำให้ เครื่องคอมพิวเตอร์เสียหายรวมทั้งการทำลายระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์

รูปแบบของการก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

1.การขโมยข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตซึ่งรวมถึงการขโมยประโยชน์ในการลักลอบใช้บริการ 2. อาชญากรนำเอาระบบการสื่อสารมาปกปิดความผิดของตนเอง 3. การละเมิดสิทธิ์ปลอมแปลงรูปแบบเลียนแบบระบบซอฟต์แวร์โดยมิชอบ 4. ใช้คอมพิวเตอร์แพร่ภาพเสียงลามกอนาจารและข้อมูลที่ไม่เหมาะสม 5. ใช้คอมพิวเตอร์ฟอกเงิน 6. อันธพาลทางคอมพิวเตอร์ที่เช้าไปก่อกวน ทำลายระบบสาธารณูปโภค เช่น ระบบจ่ายน้ำ จ่ายไป

ระบบการจราจร

7. หลอกลวงให้ร่วมค้าขายหรือลงทุนปลอม 8. แทรกแซงข้อมูลแล้วนำข้อมูลนั้นมาเป็นประโยชน์ต่อตนโดยมิชอบ 9. ใช้คอมพิวเตอร์แอบโอนเงินบัญชีผู้อื่นเข้าบัญชีตัวเอง

ตัวอย่างการถูกโจมตีบนอินเทอร์เน็ต

Denial of Service คือ การโจมตีเครื่อง หรือเครือข่าย เพื่อให้มีภาระหนัก จนไม่สามารถให้บริการได้หรือทำงานได้ช้าลง Scan คือ วิธีการเข้าสู่ระบบโดยใช้เครื่องมืออัตโนมัติ หรือเป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อ scan สู่ระบบหรือ หาช่องจากการติดตั้งหรือการกำหนดระบบผิดพลาด

alicious Code คือการหลอกส่งโปรแกรมให้ โดยจริง ๆ แล้วอาจเป็นไวรัส เวิร์ม และม้าโทรจัน และถ้าเรียกโปรแกรมนั้น โปรแกรมที่แอบซ่อนไว้ก็จะทำงานตามที่กำหนด เช่น ทำลายข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ หรือเป็นจุดที่คอยส่งไวรัสเพื่อแพร่ไปยังที่อื่นต่อไป เป็นต้น

การป้องกันอาชญากรรมคอมพิวเตอร์

1. การว่าจ้างอย่างรอบคอบ และระมัดระวัง (Hire carefully)

2. ระวังพวกที่ไม่พอใจ (Beware of malcontents)

3. การแยกหน้าที่รับผิดชอบของพนักงาน (Separate employee functions)

4. การจำกัดการใช้งานในระบบ (Restrict system use)

5. การป้องกันทรัพยากรข้อมูลด้วยรหัสผ่านหรือการตรวจสอบการมีสิทธิใช้งานของผู้ใช้(Protect resources with passwords or other user authorization checks a pass)

6. การเข้ารหัสข้อมูล และโปรแกรม (Encrypt data and programs)

7. การเฝ้าดูการเคลื่อนไหวของระบบข้อมูล (Monitor system transactions)

8. การตรวจสอบระบบอย่างสม่ำเสมอ (Conduct frequent audits)

9. การให้ความรู้ผู้ร่วมงานในเรื่องระบบความปลอดภัยของข้อมูล (Educate people in security measures)

https://www.dek-d.com/board/view/3111798/

จริยธรรมและพระราชบัญญัติ คอมพิวเตอร์

จริยธรรม(Ethics) ในความหมายทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง หลักศีลธรรมจรรยาที่กำหนดขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติหรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ หรือหลักเกณฑ์และมาตรฐานที่ประชาชนใช้ในการตัดสินใจ เพื่อการกระทำในสิ่งที่ถูกต้องและหลีกเลี่ยงการกระทำความผิดต่อผู้อื่น ตัวอย่างการกระทำความผิดในด้านจริยธรรมคอมพิวเตอร์ เช่น

-การใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพ

-การโฆษณาชวนเชื่อเกินจริง

-การกระทำที่ก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้อื่น

-การกล่าวพาดพิงถึงผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต

-การใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยผู้อื่นไม่เต็มใจ

การกระทำความผิดในด้านจริยธรรมนั้นเป็นความผิดที่ไม่มีข้อกำหนดทางกฎหมาย แต่เกิดจากจิตสำนึกหรือความรู้ผิดชอบชั่วดีของผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ซึ่งการกระทำความผิดดังกล่าวมักจะนำไปสู่ความผิดทางกฎหมาย ปัจจุบันจึงได้มีการใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโดยเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยสามารถสรุปลักษณะการกระทำความผิดและบทลงโทษได้ดังนี้

มาตรา 1-4 กล่าวถึง ข้อกำหนดการใช้และความหมายของคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติ คอมพิวเตอร์

มาตรา 5-17 อยู่ในหมวด 1 ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นมาตราที่เกี่ยวข้องกับบุคคลทั่วไป ซึ่งสามารถสรุปการกระทำความผิดและบทลงโทษไว้ดังนี้

มาตรา 5 ห้ามไม่ให้เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่มีมาตรการป้องกัน หากกระทำความผิดต้องจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 6 ห้ามไม่ให้นำข้อมูลของผู้อื่นไปเผยแพร่จนเกิดความเสียหาย หากกระทำความผิดต้องจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 7 ห้ามไม่ให้เข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นที่มีมาตรการป้องกัน หากกระทำความผิดต้องจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 8 ห้ามไม่ให้ดักรับข้อมูลของผู้อื่นที่อยู่ในระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลนั้นไม่ได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือสำหรับบุคคลทั่วไป หากกระทำความผิดต้องจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 9 ห้ามทำให้ข้อมูลของผู้อื่นเสียหาย ห้ามทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง และเพิ่มเติม บางส่วนหรือทั้งหมด หากกระทำความผิดต้องจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 10 ห้ามทำให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ หากกระทำความผิดต้องจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 11 ห้ามส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้อื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของข้อมูล ที่เป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นหากกระทำความผิดต้องปรับไม่เกิน 100000 บาท

มาตรา 12 ถ้ากระทำความผิดในมาตรา 9 หรือ 10 แล้วก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ต้องจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 200000 บาท แต่หากก่อให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงของประเทศความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือ การบริการสาธารณะจะต้องจำคุกตั้งแต่ 3-15 ปี และปรับตั้งแต่ 60000-300000 บาท แต่หากการกระทำความผิดดังกล่าวมีผลทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จะต้องจำคุกตั้งแต่ 10-20 ปี

มาตรา 13 ห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อนำไปเป็นเครื่องมือในการกระทำผิดตามมาตรา 5-11 หากกระทำความผิดต้องจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 14 ห้ามเข้าใช้หรือนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีข้อมูลปลอมหรือเป็นเท็จที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น ประเทศชาติ ประชาชน หรือเกี่ยวกับการก่อการร้าย หรือ ข้อมูลที่มีลักษณะลามก หรือ เผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว หากกระทำความผิดต้องจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 15 ห้ามให้บริการ สนับสนุน หรือยินยอมให้ผู้อื่นปฏิบัติตามความผิดในมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน หากกระทำความผิดต้องมีโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดนั้น

มาตรา 16 ห้ามเข้าถึงข้อมูลภาพที่สร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือ ดัดแปลง โดยทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย หากกระทำความผิดต้องจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 17 ถ้าผู้ใดกระทำความผิดนอกประเทศไทย แต่ผู้กระทำผิดเป็นคนไทย ให้รัฐบาลแห่งประเทศที่ผู้กระทำผิดได้ก่อเหตุหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษในประเทศนั้น ๆ หรือ ถ้าผู้กระทำความผิดเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายจะต้องรับโทษภายในประเทศไทย

มาตรา 18-30 อยู่ในหมวด 2 พนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นมาตราที่กำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการสืบสวน สอบสวน และข้อกำหนดของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการต่อผู้กระทำความผิด

รูปแบบอาชญากรรมคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภท

การโจรกรรมหรือการขโมยข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต.
การปกปิดความผิดของตัวเอง เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ปกปิดความผิดตนเองโดยตั้งรหัสไม่ให้คนอื่นรู้.
การละเมิดลิขสิทธ์.
ใช้คอมพิวเตอร์แพร่ภาพหรือเสียงลามกอนาจาร.
การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อฟอกเงิน.
อันตพาลทางคอมพิวเตอร์ที่เข้าไปก่อกวน.
การหลอกลวงให้ร่วมค้าขายหรือลงทุนปลอม.

ข้อใดเป็นรูปแบบของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer crime หรือ cyber crime) เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ เช่น การโจรกรรมข้อมูลหรือความลับของบริษัท การบิดเบือนข้อมูล การฉ้อโกง การฟอกเงิน การถอดรหัสโปรแกรมคอมพิวเตอร์ รวมถึงการก่อกวนโดยกลุ่มแฮกเกอร์ (Hacker) เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์ การทำลายข้อมูลและอุปกรณ์ เป็นต้น

อาชญากรรมออนไลน์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง

1. การหลอกลวงผ่านอีเมล (Email scam) ... .
2. การหลอกลวงขายสินค้า (Sales scam) ... .
3. การหลอกรักออนไลน์ (Romance Scam) ... .
4. การหลอกลวงลงทุน (Hybrid Scam) ... .
5. การหลอกลวงด้วยการโทรศัพท์โดยแก๊งคอลเซ็นเตอร์ (Vishing Phishing) ... .
6. การหลอกให้ลงทุนแชร์ลูกโซ่ (Ponzi scheme).

อาชญากรรมแบ่งได้กี่ประเภท มีอะไรบ้าง

เนื้อหา.
2.1 อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์.
2.2 การเสพและค้ายาเสพติด.
2.3 การทารุณกรรมสัตว์.
2.4 การข่มขืนกระทำชำเรา.
2.5 การหลอกลวง.
2.6 การค้ามนุษย์และการค้าประเวณี.
2.7 ความรุนแรงในครอบครัว.