ต่อ พรบ รถจักรยานยนต์ กี่วันได้

ตามกฎหมายรถทุกคันที่อายุถึงปีที่กำหนด ต้องตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษีประจำปีทุกครั้ง หากไม่ได้ตรวจสภาพรถ ก็จะไม่สามารถต่อภาษีได้ โดยรถยนต์ที่มีอายุ 7 ปีขึ้นไป, รถจักรยานยนต์ที่มีอายุ 5 ปีขึ้นไป (รถมอเตอร์ไซค์) ต้องตรวจสภาพรถด้วยทุกปี และรถทุกชนิดที่ภาษีขาดเกิน 1 ปี ก็ต้องตรวจสภาพด้วย โดยไม่สนใจอายุรถ

ต่อ พรบ รถจักรยานยนต์ กี่วันได้

รถที่ต้องตรวจสภาพก่อนต่อภาษี

  1. รถยนต์ที่อายุการใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป
  2. รถจักรยานยนต์ (มอเตอร์ไซค์) ที่อายุการใช้งานครบ 5 ปีขึ้นไป
  3. รถยนต์ และรถจักรยานยนต์ ที่ภาษีขาดเกิน 1 ปี (โดยไม่สนใจอายุการใช้งาน)
ต่อ พรบ รถจักรยานยนต์ กี่วันได้
ต่อ พรบ รถจักรยานยนต์ กี่วันได้
ต่อ พรบ รถจักรยานยนต์ กี่วันได้
ต่อ พรบ รถจักรยานยนต์ กี่วันได้
ตำแหน่งวันจดทะเบียนรถ ในคู่มือรถ

เราสามารถนับปีที่ต้องตรวจสภาพรถเองได้ โดยดูปีที่จดทะเบียนรถ ได้จากคู่มือจดทะเบียนรถ รถยนต์เล่มสีฟ้า และมอเตอร์ไซค์เล่มสีเขียว หรือดูจากสำเนารถก็ได้ และนับปีให้ไปสิ้นสุด วันที่หมดอายุภาษีประจำปี (ดูการนับได้ที่ข้างล่าง)


โดย ใบรับรองการตรวจสภาพ จะ มีอายุ 90 วัน หรือ 3 เดือน จากวันที่ออกใบตรวจ และเราสามารถไปตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษีได้ที่ ตรอ. หรือสถานตรวจสภาพรถเอกชนทุกแห่งจ้า

ตัวอย่าง

รถกระบะ จดทะเบียน 1 ธันวาคม 2555 จะไปต่อภาษี วันที่ 15 พฤศจิกายน 2562 ซึ่งถ้านับปีรถจากวันจดทะเบียน ถือว่ารถยังไม่ครบ 7 ปี ( 6 ปี กับ 350 วัน) แต่เราต้องนับจากปีภาษีที่ต่อทะเบียน ดังนั้นจะเป็นแบบนี้

รถยนต์และจักรยานยนต์ทุกจังหวัดทะเบียนที่ไม่ใช้เชื้อเพลิงแก๊สทุกชนิด เเละมีสถานะรถ “ปกติ” หรือหมายถึงรถที่ค้างชำระภาษีรถไม่เกิน 1 ปี, รถที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี, รถที่ไม่ใช่รถของหน่วยงานราชการ หรือรถที่ไม่ถูกอายัดโดยระบบงานของกรมการขนส่งทางบก สามารถยื่นชำระภาษีประจำปีผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้โดยมีเงื่อนไขดังนี้

- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1) อายุรถไม่เกิน 7 ปี และน้ำหนักรถไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2) อายุรถไม่เกิน 7 ปี และน้ำหนักรถไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) อายุรถไม่เกิน 7 ปี และน้ำหนักรถไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม
- รถจักรยานยนต์ (รย.12) อายุรถไม่เกิน 5 ปี

ทั้งนี้ หากเป็นรถที่ค้างชำระภาษีเกิน 1 ปี อายุรถเกิน หรือน้ำหนักรถเกิน 2,200 กิโลกรัม ให้ดำเนินการตรวจสภาพรถที่สถานตรวจสภาพรถเอกชนหรือ ตรอ. และยื่นชำระที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขาเท่านั้น รวมถึงหากเป็นรถที่ติดตั้งแก๊สให้ดำเนินการตรวจสภาพถังแก๊สตามประกาศกรมฯ และยื่นชำระภาษีรถที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขาเท่านั้นเช่นกัน

ต่อ พรบ รถจักรยานยนต์ กี่วันได้

2. ต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ ทำอย่างไร

ผู้ยื่นชำระภาษีรถประจำปีผ่านระบบอินเตอร์เน็ตสามารถเลือกซื้อกรมธรรม์ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ได้จาก 2 ช่องทาง ได้แก่ 1) ซื้อจากในระบบ หรือ 2) ซื้อผ่านผู้ให้บริการภายนอก เช่น บริษัทประกันภัย ตัวแทน หรือนายหน้าโดยต้องกรอกข้อมูลบริษัทประกันภัย เลขที่กรมธรรม์ และวันสิ้นสุดอายุความคุ้มครองให้ถูกต้องตรงตามความจริง โดยข้อมูล พ.ร.บ. ที่ระบุจะถูกตรวจสอบ และบันทึกเป็นหลักฐานทางกฎหมาย หากระบุข้อมูลอันเป็นเท็จ ไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นความจริง จะมีผลต่อความคุ้มครองของกรมธรรม์ ทั้งนี้ วันสิ้นอายุความคุ้มครองต้องไม่น้อยกว่า 90 วัน นับจากวันที่ยื่นชำระภาษีถึงวันสิ้นอายุคุ้มครองของ พ.ร.บ.

3. ต่อภาษีรถออนไลน์ราคาเท่าไร

อัตราค่าใช้จ่ายในการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ของรถเเต่ละคันจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับประเภทของรถ ปีใช้งาน ความจุ เเละปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถเเบ่งการจัดเก็บภาษีรถได้ 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) การจัดเก็บภาษีรถตามความจุกระบอกสูบ (ซีซี), 2) การจัดเก็บภาษีรถเป็นรายคัน, 3) การจัดเก็บภาษีรถตามน้ำหนัก และ 4) การจัดเก็บภาษีรถตามประเภทของรถที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังไฟฟ้า ตลอดจนมีค่าธรรมเนียมการบริการต่อภาษีรถออนไลน์ที่เกี่ยวข้อง มีรายละเอียดดังนี้

1) การจัดเก็บภาษีรถตามความจุกระบอกสูบ (ซีซี) *รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน
- 600 ซีซีแรก ซีซีละ 0.50 บาท
- 601 - 1,800 ซีซี ๆ ละ 1.50 บาท
- เกิน 1,800 ซีซี ๆ ละ 4.00 บาท

ทั้งนี้ หากเป็นรถที่จดทะเบียนมาแล้ว 5 ปี ให้ได้รับการลดหย่อนภาษีประจำปีในปีต่อ ๆ ไป ดังนี้
- ปีที่ 6 ร้อยละ 10
- ปีที่ 7 ร้อยละ 20
- ปีที่ 8 ร้อยละ 30
- ปีที่ 9 ร้อยละ 40
- ปีที่ 10 และปีต่อ ๆ ไป ร้อยละ 50

2) การจัดเก็บภาษีรถเป็นรายคัน
- รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 100 บาท
- รถจักรยานยนต์สาธารณะ คันละ 100 บาท
- รถพ่วงของรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 50 บาท
- รถพ่วงนอกจากรถพ่วงของรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 100 บาท
- รถบดถนน คันละ 200 บาท
- รถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร คันละ 50 บาท

3) การจัดเก็บภาษีรถตามน้ำหนัก *รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน
- ไม่เกิน 500 กิโลกรัม  อัตราจัดเก็บภาษีรถอยู่ที่ 150 บาท
- 501 - 750 กิโลกรัม อัตราจัดเก็บภาษีรถอยู่ที่ 300 บาท
- 751 - 1,000 กิโลกรัม อัตราจัดเก็บภาษีรถอยู่ที่ 450 บาท
- 1,001 - 1,250 กิโลกรัม อัตราจัดเก็บภาษีรถอยู่ที่ 800 บาท
- 1,251 - 1,500 กิโลกรัม อัตราจัดเก็บภาษีรถอยู่ที่ 1,000 บาท
- 1,501 - 1,750 กิโลกรัม อัตราจัดเก็บภาษีรถอยู่ที่ 1,300 บาท
- 1,751 - 2,000 กิโลกรัม อัตราจัดเก็บภาษีรถอยู่ที่ 1,600 บาท
- 2,001 - 2,500     กิโลกรัม อัตราจัดเก็บภาษีรถอยู่ที่ 1,900 บาท

ทั้งนี้ รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด, รถยนต์บริการ, รถยนต์รับจ้าง และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลรถลากจูงรถแทรกเตอร์ที่มิได้ใช้ในการเกษตร จะมีรูปแบบการคำนวณอัตราจัดเก็บภาษีรถที่แตกต่างกันออกไป

4) การจัดเก็บภาษีรถตามประเภทของรถที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังไฟฟ้า
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ให้เก็บภาษีตามน้ำหนักของรถในอัตรารถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน
- รถอื่นนอกจากรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ให้เก็บภาษีในอัตรากึ่งหนึ่งของรถตามข้อ 2) และ 3)

5) ค่าธรรมเนียมการบริการต่อภาษีรถออนไลน์
- ค่าจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์ รายการละ 32 บาท (ตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค. 61 เป็นต้นไป)
- ค่าธรรมเนียมธนาคาร (กรณีชำระผ่านเคาน์เตอร์บริการ หรือหักบัญชีเงินฝาก)
    รายการละ 20 บาท
- ค่าธรรมเนียมการใช้บัตร (กรณีชำระด้วยบัตรเครดิต) 2% และ VAT 7%
    ของผลรวมยอดเงินทั้งหมด
- สามารถยื่นชำระภาษีรถล่วงหน้าก่อนสิ้นอายุภาษีได้ไม่เกิน 90 วัน    


ดูตารางอัตราภาษีรถตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 ได้ที่ https://www.dlt.go.th/th/yearly-tax/view.php?_did=75

ดูวิธีการคำนวณอัตราภาษีรถยนต์ ได้ที่ https://www.smk.co.th/newsdetail/1588

ต่อ พรบ รถจักรยานยนต์ กี่วันได้

4. ขั้นตอนการต่อภาษีรถออนไลน์ มีอะไรบ้าง

1) เข้าเว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th
2) ลงทะเบียนเพื่อขอรับรหัสผ่าน (สำหรับสมาชิกใหม่)  
3) Log-in เข้าสู่ระบบ
4) ยื่นชำระภาษีรถประจำปี ที่เมนู “ยื่นชำระภาษีรถยนต์ประจำปี”
5) กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถ เพื่อลงทะเบียนรถ แล้วยื่นชำระภาษี 
6) กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับหลักฐานการเอาประกัน ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
พ.ศ.2535 (กรณี พ.ร.บ. ที่มีความคุ้มครองมากกว่า 3 เดือน) หรือสามารถซื้อ พ.ร.บ. ได้จากระบบ
7) เลือกช่องทางการชำระเงินเพียง 1 ช่องทาง 

• ชำระเงินโดยหักบัญชีเงินฝาก (ต้องมีบัญชีเงินฝากและเป็นสมาชิกใช้บริการโอนเงินผ่านระบบ
อินเตอร์เน็ตกับธนาคาร/สถาบันการเงิน)

• ชำระเงินโดยบัตรเครดิต/บัตรเดบิต (เป็นผู้ถือบัตรเครดิต/บัตรเดบิต ที่มีสัญลักษณ์ VISA , Master Card) โดยธนาคารกรุงศรีอยุธยาและธนาคารกรุงเทพ เป็นผู้ให้บริการรับตัดบัตร    

• ชำระเงินโดยพิมพ์ใบแจ้งชำระภาษีรถยนต์แล้วนำไปชำระเงิน ณ เคาน์เตอร์ ตู้ ATM หรือ Application ของธนาคาร/สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ    

8) กรณีชำระเงินยังไม่สำเร็จ/ยังไม่ได้ชำระเงิน สามารถเปลี่ยนช่องทางการชำระเงิน ได้ที่เมนู “ตรวจสอบผลการชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน” 

5. ต่อภาษีรถออนไลน์กี่วันได้

ผู้ยื่นต่อภาษีรถออนไลน์ประจำปีผ่านระบบอินเตอร์เน็ต สามารถตรวจสอบสถานะการดำเนินการยื่นชำระภาษี สถานะการจัดส่งเอกสาร หมายเลข EMS เลขกรมธรรม์ หรือปัญหาจากการยื่นชำระ ได้ที่เมนู “ตรวจสอบผลการชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน” ในหน้าเว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th

กรณีที่ยื่นต่อภาษีรถออนไลน์ตามขั้นตอนปกติ ไม่พบกรณีผิดพลาดหรือต้องตรวจสอบเพิ่มเติม กรมการขนส่งทางบกจะจัดส่งใบเสร็จรับเงินเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และสมุดกรมธรรม์ พ.ร.บ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถให้ผู้ชำระเงินทางไปรษณีย์ตามที่อยู่จัดส่งเอกสารที่กรอกผ่านหน้าเว็บไซต์ ซึ่งจะใช้ระยะเวลาดำเนินตั้งแต่ชำระเงินค่าภาษีสำเร็จถึงวันที่ได้รับเอกสารจากไปรษณีย์ไม่เกิน 5 วันทำการ โดยมีรายละเอียดดังนี้    

1) เริ่มนับจากวันที่ชำระเงินภาษีรถยนต์ยนต์ผ่านธนาคาร/สถาบันการเงินสำเร็จ
2) ธนาคาร/สถาบันการเงิน จัดส่งข้อมูลการชำระภาษีและจำนวนเงินให้กรมฯ 1 วันทำการถัดไป
3) กระบวนการตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องของข้อมูลและยอดเงินที่ชำระจากธนาคาร/สถาบันการเงิน 1-2 วันทำการ
4) กระบวนการพิมพ์ใบเสร็จรับเงิน (ป้ายวงกลม) พร้อมจัดเตรียมเอกสารเพื่อนำส่งไปรษณีย์ หลังจากยืนยันความถูกต้องของข้อมูลและจำนวนเงินแล้ว 1-2 วันทำการ    5) จัดส่งเอกสารให้กับผู้ชำระภาษีรถยนต์ตามที่กรอกในเว็บไซต์ทางไปรษณีย์ ประมาณ 2-5 วันทำการ

ทั้งนี้ เจ้าของรถสามารถนำใบคู่มือจดทะเบียนรถไปปรับบันทึกรายการชำระภาษีได้ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขาทั่วประเทศ

6. รถขาดต่อภาษีประจำปี โดนปรับเท่าไร

รถที่ไม่ต่อภาษีหรือต่อภาษีรถล่าช้าจะมีค่าปรับร้อยละหนึ่งต่อเดือน และหากไม่ดำเนินการชำระภาษีรถประจำปีติดต่อกันเกิน 3 ปี จะส่งผลให้ทะเบียนรถถูกระงับ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการทางทะเบียนรถต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการโอนเปลี่ยนชื่อ การแจ้งเปลี่ยนสี การแก้ไขรายการคู่มือรถ เป็นต้น ทำให้เกิดปัญหาและความยุ่งยากในภายหลัง เจ้าของรถจึงควรดำเนินการชำระภาษีรถประจำปีให้เรียบร้อยเป็นปัจจุบัน

กรณีที่หยุดใช้รถ เลิกใช้รถ หรือรถชำรุดสูญหาย เป็นเหตุให้รถใช้งานไม่ได้ในทุกกรณี ต้องแจ้งการไม่ใช้รถ ณ สำนักงานขนส่งที่รถนั้นจดทะเบียนอยู่ หรือสำนักงานขนส่งทุกแห่งทั่วประเทศ โดยใช้แบบคำขอแจ้งการไม่ใช้ พร้อมนำแผ่นป้ายทะเบียนรถคืน โดยเอกสารที่ต้องเตรียมมาด้วย ได้แก่ คู่มือจดทะเบียนรถ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และหนังสือมอบอำนาจ (กรณีเจ้าของรถไม่มาดำเนินการเอง) เพื่อไม่ให้มีภาระต้องชำระภาษีประจำปี โดยค่าปรับและระวางโทษของรถที่ไม่ต่อภาษีหรือต่อภาษีรถล่าช้าจะมีค่าปรับแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

ต่อพรบรถจักรยานยนต์ได้กี่ปี

พ.ร.. รถจักรยานยนต์ หรือก็คือ พ.ร.. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เป็นสิ่งที่ผู้ใช้รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ หรือยานยนต์ต่าง ๆ ทุกประเภทจำเป็นต้องซื้อหรือต่อทุกปี เพราะพ.ร.. ตัวนี้มีอายุความคุ้มครองเพียง 1 ปีเท่านั้น แต่ทราบไหมคะว่าในตอนนี้ เราไม่จำเป็นต้องเดินทางและเสียเวลาครึ่งวัน เพื่อออกไปต่อพรบรถจักรยานยนต์กันอีกต่อไปแล้ว ...

ต่อ พรบภาษีกี่วันได้

- สามารถยื่นชำระภาษีรถล่วงหน้าก่อนสิ้นอายุภาษีได้ไม่เกิน 90 วัน ดูตารางอัตราภาษีรถตาม พ.ร..รถยนต์ พ.ศ. 2522 ได้ที่ https://www.dlt.go.th/th/yearly-tax/view.php?_did=75.

ต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์กี่บาท

ค่าใช้จ่ายในการต่อพ.ร.. เครื่องยนต์ไม่เกิน 75 ซีซี 161.57 บาท เครื่องยนต์ 75-125 ซีซี 323.14 บาท เครื่องยนต์ 125-150 ซีซี 430.14 บาท เครื่องยนต์ 150 ซีซีขึ้นไป 645.12 บาท

พรบ มอไซค์ ขาดได้กี่เดือน

กฎหมายกำหนดไว้ว่ารถยนต์ทุกคันต้องทำ พ.ร.. หากฝ่าฝืนมีความผิดตามกฎหมาย โดยมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท นอกจากนี้สามารถต่อ พ.ร..ล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน ในทางตรงกันข้ามไม่สามารถขาดต่อพ.ร..ได้เลยแม้แต่วันเดียว นั่นหมายความว่าหากรถของคุณ พ.ร.. ขาดอายุเมื่อวาน วันนี้นำรถไปใช้เท่ากับทำผิดกฎหมายทันที