การเรียนรู้ด้วยตนเองสามารถจําแนกออกได้เป็นกี่ลักษณะ อะไรบ้าง

เรื่องที่ 1 ความหมาย ความสําคัญ และกระบวนการของการเรียนรู้ด้วยตนเอง

การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นมิได้เกิดจากการฟังคำบรรยายหรือทำตามที่ครูผู้สอนบอกเสมอไป แต่อาจเกิดจากสถานการณ์ต่าง ๆ ต่อไปนี้ (สมคิด อิสระวัฒน์, 2532, หน้า 74)

  1. การเรียนรู้ด้วยตนเอง (self-directed learning) เป็นการเรียนที่เกิดจากความอยากรู้ อยากเห็น ผู้เรียนจะมีการวางแผนด้วยตนเอง
  2. การเรียนรู้ที่จัดโดยสถาบันศึกษา (provide sponsored) โดยมีกลุ่มบุคคล จัดกำกับดูแล มีการให้คะแนน ให้ปริญญา หรือประกาศนียบัตร
  3. การเรียนรู้จากกลุ่มเป็นการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการ คือ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (collaborative learning)
  4. การเรียนรู้โดยบังเอิญ (random or incidental learning) อาจเป็นผลพลอยได้จากเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่ผู้เรียนมิได้เจตนา

จะเห็นได้ว่า การเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นวิธีการเรียนรู้วิธีหนึ่งที่นักการศึกษาให้ความสำคัญและเป็นสิ่งที่ควรส่งเสริมให้มีขึ้นในตัวผู้เรียน เพราะเมื่อใดก็ตามที่ผู้เรียนมีใจรักที่จะศึกษาค้นคว้าตามความต้องการ ก็จะเกิดการศึกษาต่อเนื่องโดยไม่ต้องบอก และมีแรงกระตุ้นให้เกิดความอยากรู้อยากเห็นไม่สิ้นสุด ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต (life long learner) หรือบุคคลแห่งการเรียนรู้ที่หยั่งยืน (learning person) อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของการศึกษา

Knowles (1975, pp. 40-47) ได้อธิบายถึง องค์ประกอบที่สำคัญใน การเรียนรู้ด้วยตนเองไว้ดังนี้

  1. การวิเคราะห์ความต้องการของตนเอง จะเริ่มต้นจากการให้ผู้เรียนแต่ละคนบอกความต้องการและความสนใจพิเศษของตนเองในการเรียน ให้เพื่อนอีกคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำ และเพื่อนอีกคนหนึ่งทำหน้าที่จดบันทึก กระทำเช่นนี้หมุนเวียนไปจนครบทั้ง 3 คน ได้แสดงบทบาทครบ 3 ด้าน คือ ผู้เสนอความต้องการผู้ให้คำปรึกษา และผู้คอยจดบันทึกสังเกตการณ์ การเรียนรู้บทบาทดังกล่าวให้ประโยชน์อย่างยิ่งในการเรียนร่วมกัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทุก ๆ ด้าน
  2. กำหนดจุดมุ่งหมายในการเรียน โดยเริ่มต้นจากบทบาทของผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนี้
    2.1 ผู้เรียนควรศึกษาจุดมุ่งหมายของวิชา แล้วจึงเริ่มเขียนจุดมุ่งหมายในการเรียน
    2.2 ผู้เรียนควรเขียนจุดมุ่งหมายให้แจ่มชัด เข้าใจได้ ไม่คลุมเครือ คนอื่นอ่านแล้วเข้าใจ
    2.3 ผู้เรียนควรเน้นถึงพฤติกรรมที่ผู้เรียนคาดหวัง
    2.4 ผู้เรียนควรกำหนดจุดมุ่งหมายที่สามารถวัดได้
    2.5 การกำหนดจุดมุ่งหมายของผู้เรียนในแต่ละระดับ ควรมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
  3. การวางแผนการเรียน โดยผู้เรียนกำหนดวัตถุประสงค์ของวิชา ผู้เรียนควรวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนตามลำดับ ดังนี้
    3.1 ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้กำหนดเกี่ยวกับการวางแผนการเรียนของตนเอง
    3.2 การวางแผนการเรียนของผู้เรียน ควรเริ่มต้นจากผู้เรียนกำหนดจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
    3.3 ผู้เรียนเป็นผู้จัดเนื้อหาให้เหมาะสมกับสภาพความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
    3.4 ผู้เรียนเป็นผู้ระบุวิธีการเรียน เพื่อให้เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด
  4. การแสวงหาแหล่งวิทยาการ เป็นกระบวนการศึกษาค้นคว้าที่มีความสำคัญต่อ
    การศึกษาในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ดังนี้
    4.1 ประสบการณ์การเรียนแต่ละด้านที่จัดให้ผู้เรียนสามารถแสดงให้เห็นถึงความมุ่งหมาย ความหมาย และความสำเร็จของประสบการณ์นั้น ๆ
    4.2 แหล่งวิทยาการ เช่น ห้องสมุด วัด สถานีอนามัย สามารถนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม
    4.3 เลือกแหล่งวิทยาการให้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคน
    4.4 มีการจัดสรรอย่างดี เหมาะสม กิจกรรมบางส่วนผู้เรียนจะเป็นผู้จัดการเองตามลำพัง และบางส่วนเป็นกิจกรรมที่จัดร่วมกันระหว่างครูกับผู้เรียน
  5. การประเมินผล เป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวน การเรียนรู้ด้วยตนเอง ช่วยให้ผู้เรียนทราบถึงความก้าวหน้าในการเรียนของตนเองเป็นอย่างดี การประเมินผลจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ทั้งนี้จะเกี่ยวข้องกับสิ่งต่อไปนี้ ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ ทัศนคติ และค่านิยม ซึ่งขั้นตอนในการประเมินผล มีดังนี้
    5.1 กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ให้แน่ชัด
    5.2 ดำเนินการทุกอย่าง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ขั้นตอนนี้สำคัญในการใช้ประเมินผลการเรียนการสอน
    5.3 รวบรวมหลักฐาน การตัดสินใจจากการประเมินผลจะต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่สมบูรณ์และเชื่อถือได้
    5.4 รวบรวมข้อมูลก่อนเรียน เพื่อเปรียบเทียบหลังเรียนว่าผู้เรียนก้าวหน้าไปเพียงใด
    5.5 แหล่งของข้อมูล จะหาข้อมูลจากครูและผู้เรียนเป็นหลักในการประเมิน

ในยุคสมัยที่ข้อมูลมีอยู่ทุกหนแห่งและเราสามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา ทักษะการเรียนรู้ด้วยตัวเองก็เป็นทักษะที่อาจจะสร้างความแตกต่างระหว่างคนที่ประสบความสำเร็จกับคนที่ไม่ประสบความสำเร็จ หากเราไม่รู้อะไรเราก็สามารถหาหนังสือศึกษาเพิ่มเติม หาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต หรือดูวีดีโอสอนใน YouTube ก็ได้ 

ยิ่งเราเข้าใจว่าโอกาสในการเรียนรู้มีอยู่ทุกหนแห่ง เราก็ต้องยืนให้ความสำคัญกับทักษะการเรียนรู้ด้วยตัวเองมากขึ้น … แต่ทักษะการเรียนรู้ด้วยตัวเองก็ต้องเป็นสิ่งที่เราต้องฝึกฝนเช่นกัน

การเรียนรู้ด้วยตนเองคืออะไร

การเรียนรู้ด้วยตัวเอง คือการเรียนรู้โดยไม่ต้องผ่านผู้สอนหรือสถาบัน ส่วนมากคนที่เรียนรู้ด้วยตัวเองคือคนที่สามารถเลือกหัวข้อเรื่องที่ตัวเองสนใจ เลือกวิธีที่จะเรียนรู้ เลือกสื่อและวัสดุในการเรียนรู้ และเลือกเวลาที่จะเรียนรู้ด้วยตัวเอง 

หลักการเรียนรู้ด้วยตัวเองก็เป็นสิ่งที่มีการปลูกฝังให้กับทุกคนมานานแล้ว ตั้งแต่อยู่ในโรงเรียน เราก็มีการบ้านที่นักเรียนต้องไปหาข้อมูลไปศึกษาเพิ่มเติมเอาเอง หากเป็นเมื่อก่อนเราก็ต้องไปหาข้อมูลในห้องสมุด แต่ในสมัยนี้หลายๆคนก็เลือกที่จะหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตกัน และทักษะนี้ก็กลายเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมากขึ้นเมื่อเราโตขึ้นเรื่อยๆ

ยกตัวอย่างเช่นในมหาลัย ที่เนื้อหาที่อาจารย์สอนหลายๆอย่างไม่สามารถควบคุมได้ภายในเวลาเรียนไม่กี่ชั่วโมง ผลลัพธ์ก็คือนักเรียนก็ต้องไปศึกษาเพิ่มเติมนอกเวลาเรียน หรือในกรณีที่เราทำงาน หลายครั้งที่ทำงานไม่ได้มีการฝึกสอนอย่างเป็นทางการ ทำให้หนึ่งในหน้าที่ของพนักงานก็คือการหาวิธีเรียนรู้ด้วยตัวเอง

ลักษณะและองค์ประกอบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง

การเรียนรู้ด้วยตัวเองเป็นทักษะที่สำคัญ อย่างไรก็ตามทักษะนี้ก็จะมีความแตกต่างจากทักษะการเรียนรู้แบบกลุ่ม หรือทักษะการเรียนรู้แบบมีคนสอนเรามาดูกันว่าองค์ประกอบของการเรียนรู้ด้วยตัวเองมีอะไรบ้าง

เป้าหมายของการเรียนรู้ด้วยตัวเอง – องค์ประกอบหลักของการเรียนรู้ด้วยตัวเองก็คือการตั้งเป้าหมายของการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ในกรณีที่เราอยู่ในโรงเรียนมีอาจารย์สอน เป้าหมายหลักของการเรียนรู้อาจจะเป็นการทำคะแนนให้ดี หรืออาจจะเป็นการเน้นท่องจําเป็นส่วนมาก แต่ในกรณีที่เราเลือกที่จะเรียนรู้ด้วยตัวเอง เราก็สามารถตั้งเป้าหมายและวิธีการในการเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ 

สถานการณ์และสภาพแวดล้อมที่จะเรียนรู้ – อีกหนึ่งองค์ประกอบก็คือการเลือกสถานการณ์และสภาพแวดล้อมที่เราอยากจะเรียนรู้ หมายความว่าเราไม่จำเป็นต้องจำกัดเวลาเรียนรู้อยู่ที่ 8:00 นถึง 17:00 น แต่เราสามารถเลือกเวลาที่เรารู้สึกว่าเรามีสมาธิมากที่สุดและพร้อมที่จะเรียนรู้มากที่สุด สำหรับบางคนเวลานี้อาจจะเป็นเวลาตอนเช้า สำหรับบางคนเวลานี้อาจจะเป็นเวลาตอนกลางคืน 

วิทยาศาสตร์สมัยนี้ไปไกลขนาดที่สามารถอธิบายได้ว่า ทำไมคนถึงมีสมาธิดีกว่าตอนกลางคืนเทียบกับตอนกลางวัน ซึ่งก็แปลว่าคนกลุ่มนี้สามารถเรียนรู้ได้ดีกว่าในตอนกลางคืนมาก ปัญหาก็คือคนกลุ่มนี้มีประสิทธิภาพในการเรียนน้อยในตอนกลางวัน ทำให้การเรียนในโรงเรียนหรือเรียนจากมีคนสอนไม่ได้ประสิทธิภาพอย่างที่ควร 

ตั้งแต่โบราณแล้ว ‘การศึกษา’ โดยเฉพาะโรงเรียน ถูกสร้างมาเพื่อให้ ‘มีประสิทธิภาพในการสอน’ มากที่สุด หมายความว่าจากนักเรียนร้อยคน เป้าหมายของโรงเรียนก็คือการทำให้ ‘นักเรียนส่วนมาก’ มีคะแนนที่ดี สอบวัดระดับได้ดี อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ ก็คือนักเรียนบางส่วนอาจจะไม่ได้รับผลดีตามที่คนออกแบบวางระบบไว้

สำหรับคนที่มีสมาธิในการเรียนมากกว่าตอนกลางคืน คนที่มีสมาธิในการเรียนมากกว่าในกลุ่มเล็ก ระบบการสอนแบบมาตรฐานอาจจะใช้ไม่ได้ผลเท่าไร

ปัญหาของการเรียนรู้ด้วยตนเอง 

ถึงแม้ว่าการเรียนรู้ด้วยตัวเองจะฟังดูสวยหรูมากแค่ไหน ทุกอย่างก็ย่อมมีจุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเอง &lt;/p&gt; &lt;p&gt;ปัญหาแรกของการเรียนรู้ด้วยตัวเองก็คือการที่เรา &lt;strong&gt;‘ไม่รู้ในสิ่งที่เราไม่รู้’ &lt;/strong&gt;หมายความว่า การเรียนรู้ด้วยตัวเองเหมาะสำหรับการเรียนรู้แนวที่มีโจทย์หรือปัญหาให้เราศึกษาอย่างแน่นอน และยิ่งคุณช่างสังเกตช่างถามมากแค่ไหน คุณก็จะยิ่งได้ประโยชน์จากการเรียนรู้ด้วยตัวเองมากเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่นถ้ามีคนบอกให้คุณไปสร้างรถมา 1 คัน หากคนไม่รู้ว่าขั้นตอนการสร้างรถควรจะเริ่มยังไง มันก็ยากที่จะเรียนรู้ด้วยตัวเอง&lt;/p&gt; &lt;p&gt;ปัญหาของการที่เราไม่รู้ในสิ่งที่เราไม่รู้ยิ่งมีผลมากในกรณีที่โจทก์หรือปัญหามีคำตอบที่ตายตัว เช่นในกรณีโจทย์เลขหรือโจทย์วิทยาศาสตร์ ในสมัยหลายร้อยปีที่แล้ว ถ้าคุณสงสัยว่า ‘แรงโน้มถ่วงโลกเท่ากับเท่าไร’ คุณก็คงไม่สามารถหาคำตอบหรือเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ขนาดนั้น ยิ่งคำถามมีความลึก มีความยากมากเท่าไร การเรียนรู้ ‘สิ่งที่มนุษยชาติใช้เวลาหลายร้อยปีเพื่อบันทึกไว้’ ก็อาจจะไม่ใช่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากนัก&lt;/p&gt; &lt;p&gt;&lt;strong&gt;ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ &lt;/strong&gt;สำคัญมากในกรณีที่ ‘ผลลัพธ์ของการเรียนรู้’ มีความสำคัญ หากคุณต้องหาข้อมูลเพื่อไปทำงานและถ้าคุณไม่สามารถหาข้อมูลนี้ได้บริษัทก็จะเกิดความเสียหาย ในกรณีนี้คุณก็อาจจะต้องพึ่งพาความสามารถทั้งการเรียนรู้ด้วยตัวเองและทั้งการหาข้อมูลจากเพื่อนร่วมงาน ในกรณีเดียวกันหากคุณเป็นนักเรียนต้องทำคะแนนสอบเพื่อไปสมัครงานหรือว่าไปสมัครเรียนต่อ ผลลัพธ์ของการเรียนรู้ก็สำคัญมาก&lt;/p&gt; &lt;p&gt;&lt;span id="ezoic-pub-ad-placeholder-142" class="ezoic-adpicker-ad"&gt;&lt;/span&gt;&lt;span class="ezoic-ad ezoic-at-0 leader-1 leader-1142 adtester-container adtester-container-142" data-ez-name="faithandbacon_com-leader-1"&gt;&lt;span id="div-gpt-ad-faithandbacon_com-leader-1-0" ezaw="300" ezah="250" style="position:relative;z-index:0;display:inline-block;padding:0;min-height:250px;min-width:300px" class="ezoic-ad"&gt;&lt;script data-ezscrex="false" data-cfasync="false" type="text/javascript" style="display:none"&gt;if(typeof ez_ad_units != 'undefined'){ez_ad_units.push([[300,250],'faithandbacon_com-leader-1','ezslot_3',142,'0','0'])};__ez_fad_position('div-gpt-ad-faithandbacon_com-leader-1-0');ไม่ใช่ว่าเราจะไม่สามารถหาคำตอบด้วยตัวเองได้เวลามีผลลัพธ์ที่สำคัญ แต่สิ่งที่เราต้องคำนึงถึงก็คือเวลาและความพยายามที่เราต้องทุ่มเทกับคำตอบนั้นๆ ส่วนมากแล้วในกรณีที่ผลลัพธ์มีความสําคัญ&nbsp; </p><div class="wp-block-image"><figure class="aligncenter size-large"><a target="_blank" href="https://faithandbacon.com/finding-happiness-ebook/"><img loading="lazy" width="600" height="400" src="https://faithandbacon.com/wp-content/uploads/2021/01/12-min-2.jpg" alt="" class="wp-image-857" srcset="https://faithandbacon.com/wp-content/uploads/2021/01/12-min-2.jpg 600w, https://faithandbacon.com/wp-content/uploads/2021/01/12-min-2-300x200.jpg 300w" sizes="(max-width: 600px) 100vw, 600px"></a></figure></div> <p></p> <h2><strong>ลักษณะของผู้ที่มีการเรียนรู้ด้วยตนเอง&nbsp;</strong></h2> <p>เราจะเห็นได้ว่าทักษะการเรียนรู้ด้วยตัวเองนั้นจะมีประโยชน์มากสำหรับคนบางประเภทและสำหรับบางสถานการณ์เท่านั้น ในส่วนนี้เรามาดูกันว่าลักษณะของผู้ที่มีการเรียนรู้ด้วยตัวเองและสามารถรับประโยชน์จากการเรียนรู้ด้วยตัวเองมากที่สุดนั้นต้องเป็นยังไง</p> <p><span id="ezoic-pub-ad-placeholder-143" class="ezoic-adpicker-ad"></span><span class="ezoic-ad ezoic-at-0 large-mobile-banner-1 large-mobile-banner-1143 adtester-container adtester-container-143" data-ez-name="faithandbacon_com-large-mobile-banner-1"><span id="div-gpt-ad-faithandbacon_com-large-mobile-banner-1-0" ezaw="300" ezah="250" style="position:relative;z-index:0;display:inline-block;padding:0;min-height:250px;min-width:300px" class="ezoic-ad"><script data-ezscrex="false" data-cfasync="false" type="text/javascript" style="display:none">if(typeof ez_ad_units != 'undefined'){ez_ad_units.push([[300,250],'faithandbacon_com-large-mobile-banner-1','ezslot_4',143,'0','0'])};__ez_fad_position('div-gpt-ad-faithandbacon_com-large-mobile-banner-1-0');ลักษณะของผู้ที่มีการเรียนรู้ด้วยตนเองก็คือผู้ที่มีแรงจูงใจและสามารถผลักดันตัวเองให้ศึกษาเรื่องต่างๆได้ บุคคลประเภทนี้อาจจะมีวินัยในการศึกษามากเป็นพิเศษ หรืออาจจะเก่งเรื่องการตั้งเป้าหมายให้ตัวเอง และแจ้งเรื่องการนำเป้าหมายที่ตั้งมาเพื่อจูงใจตัวเอง ไม่ว่าวิธีจูงใจจะมาจากเป้าหมายหรือวินัย จุดสำคัญก็คือบุคคลประเภทนี้สามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้

ลักษณะที่สองของผู้ที่มีการเรียนรู้ด้วยตัวเองก็คือลักษณะของความสามารถในการหาข้อมูล ถึงแม้ในยุคสมัยนี้ข้อมูลจะสามารถหาได้ง่ายๆไม่ว่าจะเป็นผ่านอินเทอร์เน็ตหรือหนังสือต่างๆ แต่ก็มีเพียงไม่กี่คนที่สามารถใช้แหล่งข้อมูลพวกนี้ได้อย่างเต็มคุณค่า คนที่สามารถเก็บเกี่ยวความรู้จากสื่อที่ตัวเองมีอยู่ใกล้ตัวได้ ทั้งๆที่คนอื่นไม่เห็นวิธีการ ก็คือคนที่มีลักษณะของการเรียนรู้ด้วยตัวเอง

นอกจากนั้นแล้ว เราก็จำเป็นต้องดูลักษณะส่วนวิธีการเรียนรู้ของคนด้วย ยกตัวอย่างเช่นบุคคลบางประเภทสามารถเรียนรู้และซึมซับข้อมูลจากหนังสือได้ดีและเร็วกว่าบุคคลประเภทอื่น อาจจะแปลว่าบุคคลนี้มีสมาธิในการเรียนรู้มากกว่า หรือถ้าอาจจะมีทักษะในการจดโน้ตในการตีความจากสื่อที่ตัวเองเรียนรู้มากกว่าคนปกติ

กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองมีขั้นตอนอย่างไร

กระบวนการเรียนรู้ด้วยตัวเองนั้นมีขั้นตอนง่ายๆแค่ 4 ขั้นตอนเท่านั้น แน่นอนว่าสำหรับบางคนที่เรียนรู้ด้วยตัวเองเป็นอยู่แล้ว ขั้นตอนพวกนี้ก็อาจจะฟังดูตรงไปตรงมา แต่สำหรับบางคนที่ยังเรียนรู้ด้วยตัวเองไม่เป็น ให้ลองศึกษาและทำตามขั้นตอนข้างล่าง

ขั้นที่ 1 ประเมินความสามารถในการเรียนรู้

ก่อนที่เราจะเริ่มเรียนรู้ด้วยตัวเอง เราก็ต้องประเมินทักษะของตัวเองก่อนว่าเราสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองมากกว่าหรือเปล่า ทักษะหลายอย่างที่คุณอยากจะเรียนรู้สามารถถูกสร้างหรือถูกเสริมเพิ่มขึ้นมาจากทักษะที่คุณมีอยู่แล้วได้ เพราะฉะนั้นหากเรามั่นใจหรือมีทิศทางพื้นฐานอยู่แล้วว่าอยากจะเรียนรู้ด้วยตัวเองอย่างไร เราก็สามารถนำทักษะพื้นฐานพวกนี้ไปใช้ต่อในขั้นตอนต่อไปได้

ความสามารถในการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมของคุณด้วย หากคุณเป็นคนที่ต้องเรียนรู้ด้วยการอ่านหนังสือเงียบๆคนเดียวตอนกลางคืน คุณก็ควรมั่นใจก่อนว่าคนมีทั้งทรัพยากรมากกว่าสำหรับการเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเรียนรู้ด้วยตัวเองในรูปแบบของคุณ

ขั้นที่ 2 เป้าหมายในการเรียนรู้ 

ขั้นตอนต่อไปก็คือการตั้งเป้าหมายในการเรียนรู้ หากคุณอยากจะฝึกทักษะดนตรีศิลปะ คุณก็ควรตั้งเป้าหมายในใจไว้ว่าภายในระยะเวลาเท่าไหร่เราควรจะได้ผลงานประมาณเท่าไหน เป้าหมายที่ดีต้องมีทั้งผลลัพธ์และก็ระยะเวลา

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนตั้งเป้าหมายก็คือการเรียนรู้ด้วยตัวเองนั้นอาจจะไม่ใช่วิธีการเรียนรู้ที่รวดเร็วที่สุด เพราะฉะนั้นเราก็ควรปรับเป้าหมายทั้งระยะสั้นและระยะยาว ให้เหมาะสมกับเป้าหมายและทักษะที่เรามีอยู่ณ ปัจจุบัน ซึ่งเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาวจะเป็นตัวบอกเราอีกทีว่าเราสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองเก่งแค่ไหน และถ้าเรามีปัญหาเราควรจะทำอย่างไรเพื่อหาทางแก้

ขั้นที่ 3 กระบวนการเรียนรู้ 

ขั้นตอนที่ 3 คือขั้นตอนการเรียนรู้ ในขั้นตอนนี้คุณก็ต้องเลือกวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตัวคุณและเหมาะสมกับเป้าหมายที่คุณอยากจะได้มา กระบวนการเรียนรู้ของแต่ละทักษะ แต่ละความรู้ ของแต่ละคนอาจจะมีขั้นตอนไม่เหมือนกัน หากคุณยังไม่เคยเรียนรู้ด้วยตัวเองมาก่อนก็ให้ลองคิดกลับไปทบทวนดูว่าในอดีตเวลาที่คุณเรียนรู้หรือมีคนสอนทักษะอะไรให้คุณ คุณรู้สึกถนัดกับวิธีการสอนแบบไหนมากที่สุด 

ให้ลองถามตัวเองว่าในอดีตครูคนไหนคือครูที่คุณชอบมากที่สุด ทำไมคุณถึงชอบวิธีการสอนครูคนนี้ วิธีการสอนของครูแบบไหนที่คุณไม่ชอบและรู้สึกว่าทำให้คุณไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขั้นที่ 4 ประเมินผลและพัฒนา

ขั้นตอนสุดท้ายก็คือขั้นตอนการประเมินผลและหาวิธีมาพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้วยตัวเองอย่างต่อเนื่อง ให้กลับไปดูเป้าหมายในระยะสั้นและระยะยาวของคนที่ตั้งไว้ขั้นที่ 2 และ และกลับมาพิจารณาดูว่าเป้าหมายแบบไหนพิจารณาดูว่ากระบวนการที่ทำในขั้นที่ 3 นั้นสามารถทำให้คุณก้าวไปสู่เป้าหมายระยะสั้นและระยะยาวได้หรือเปล่า

ปัญหาในการประเมินผลของการเรียนรู้ด้วยตัวเองก็คือ คุณจะไม่ค่อยมีบรรทัดฐานในการเปรียบเทียบ ซึ่งสิ่งที่ดีที่สุดก็คือการออกไปคุยกับคนอื่นหรือศึกษาข้อมูลด้วยตัวเองหรือว่า การเรียนรู้แบบไหนถือว่าเพียงพอแล้วสำหรับเป้าหมายของเรา

ในส่วนนี้ ผมแนะนำให้อ่านบทความเรื่องความสำคัญและแผนการพัฒนาตัวเองเพิ่มได้ที่บทความนี้ของผมนะครับ แผนการพัฒนาตัวเองที่ได้ผล

บทความเกี่ยวข้องที่เราแนะนำ

  • Critical Thinking คืออะไร – กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
  • ความสมดุลของชีวิตกับการทำงาน สร้างได้ยังไง Work-Life Balance
  • 15 วิธีทำงานอย่างมีความสุข ที่ไม่ยากอย่างที่คิด

กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองมีอะไรบ้าง

การเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือ Self-Learning เป็นการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ (Knowledge) จากแหล่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง แล้วนำความรู้มาทดลองใช้ ฝึกฝน ปรับปรุง พัฒนา จนเกิดความชำนาญ สามารถนำความรู้ที่ได้เรียนรู้นั้นไปใช้จนเกิดประโยชน์กับตัวเอง และส่วนรวม

ลักษณะสําคัญของการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีอะไรบ้าง

สรุป การเรียนรู้ด้วยตนเอง คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนริเริ่มการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตาม ความสนใจ ความต้องการ และความถนัดมีเป้าหมาย รู้จักแสวงหาแหล่งทรัพยากรของการเรียนรู้ เลือกวิธีการเรียนรู้ จนถึงการประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเอง โดยจะดำเนินการด้วยตนเองหรือร่วมมือช่วยเหลือกับผู้อื่นหรือไม่ก็ได้

ข้อใดเป็นลักษณะของผู้ที่มีการเรียนรู้ด้วยตนเอง

การเรียนรู้ด้วยตนเอง (self-directed learning) เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนมีความตระหนักและรับผิดชอบต่อแผนการเรียนของตนเอง ผู้เรียนจะทำการวางแผนและกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ เลือกแหล่งข้อมูลเลือกวิธีการเรียนรู้ และการประเมินผลด้วยตนเอง โดยจะมีผู้ช่วยเหลือหรือไม่มีผู้ช่วยเหลือก็ได้

การเรียนรู้ด้วยตนเองสามารถจําแนกออกเป็น 2 ลักษณะสําคัญได้แก่อะไรบ้าง

1. มีความสมัครใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง (Voluntarily to Learn) มิได้เกิดจากการบังคับ แต่มีเจตนาที่จะเรียนด้วยความอยากรู้ 2. ใช้ตนเองเป็นแหล่งข้อมูลของตนเอง (Self Resourceful) นั่นคือผู้เรียนสามารถบอกได้ว่าสิ่งที่ตนจะเรียนคืออะไร รู้ว่าทักษะและข้อมูลที่ต้องการหรือจำเป็นต้องใช้มีอะไรบ้าง

กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองมีอะไรบ้าง ลักษณะสําคัญของการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีอะไรบ้าง ข้อใดเป็นลักษณะของผู้ที่มีการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเองสามารถจําแนกออกเป็น 2 ลักษณะสําคัญได้แก่อะไรบ้าง ลักษณะความพร้อมของการเรียนรู้ด้วยตนเองมีกี่ประการ อะไรบ้าง ลักษณะความพร้อมของการเรียนรู้ด้วยตนเอง 8 ประการ ให้ผู้เรียนสรุปบทบาทของผู้เรียนในการเรียนรู้ด้วยตนเอง มาพอสังเขป การเรียนรู้ด้วยตนเองมีความสําคัญอย่างไร กศน องค์ประกอบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง กศน สรุปลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเอง การวางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเองคืออะไร