การอ่านออกเสียงเป็นอย่างไร

            ๓.  การออกเสียงพยางค์หลังตามรูปที่เขียน  ระดับเสียงอาจไม่เท่าเดิม                 ถ้าต้องการจะให้เสียงเท่าเดิม  หรือเสียงสูงก็ให้ใช้  ห  นำได้  เช่น                                      แต่ง                 แผลงเป็น                     ตำแหน่ง                                                           จ่าย                  แผลงเป็น                     จำหน่าย                                                           เกิด                  แผลงเป็น                     กำเหนิด                                                           ติ                      แผลงเป็น                     ตำหนิ                                                         กฎ                   แผลงเป็น                     กำหนด           

              การอ่านออกเสียง คือ การอ่านให้มีเสียงดัง เป็นการอ่านเพื่อส่งสาร เช่น อ่านให้ผู้อื่นฟัง อ่านเพื่อฝึกการอ่านออกเสียง อ่านข่าวทางสถานีวิทยุกระจายเสียง เป็นต้น
เมื่ออ่านออกเสียงต้องคำนึงอยู่เสมอว่า ถ้าอ่านให้ผู้อื่นฟัง ก็ต้องคำนึงถึงผู้ฟังด้วย เช่น เมื่อเป็นการอ่านในห้องเรียน ผู้ฟังคือ ครู และเพื่อน ๆ เป็นการอ่านเพื่อความรู้ ต้องการความชัดเจน และถูกต้องมากที่สุด ถ้าเป็นการอ่านผ่านสื่อ เช่น อ่านนิทานเพื่อบันทึกลงแถบบันทึกเสียงให้เพื่อน ๆ ที่มีความพิการทางสายตาก็ต้องอ่านเป็นธรรมชาติเหมือนกำลังเล่าเรื่องให้เพื่อนฟังเสียงดังฟังชัด ใช้น้ำเสียงที่เหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน อ่านให้ได้อารมณ์ตามตัวละคร

การอ่านออกเสียงเป็นอย่างไร



การอ่านออกเสียงมีหลักการดังนี้

1. อ่านเนื้อเรื่องโดยอ่านสำรวจแบบคร่าว ๆ หนึ่งรอบในใจ

2. ทำความเข้าใจเรื่องที่อ่าน

3. พิจารณาประเภทของเรื่องที่อ่าน เพื่อให้อ่านได้ถูกต้องตามลักษณะของงานเขียน

4. ตรวจสอบคำศัพท์ที่ไม่แน่ใจว่าอ่านอย่างไร อาจค้นคว้าเสียงอ่านของคำได้จากพจนานุกรม

5. อ่านออกเสียงให้เสียงดังพอประมาณ ชัดเจน ถูกต้อง

6. อ่านออกเสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ คำ ให้ถูกต้องตามอักขรวิธี

7. เว้นวรรคตอนให้ถูกต้อง ใช้น้ำเสียงในการอ่านให้น่าฟัง

8. อ่านด้วยอัตราเร็วที่เหมาะสม คือ อ่านไม่ช้าหรือเร็วจนฟังไม่ทัน 


ข้อสังเกตบางประการในการอ่านออกเสียง

1. การออกเสียงพยัญชนะให้ถูกต้อง

ปัจจุบันการออกเสียงพยัญชนะบางตัว ได้รับอิทธิพลจากการออกเสียงคำในภาษาต่างประเทศ ทำให้ออกเสียงผิดไปจากหลักการออกเสียงในภาษาไทย มีข้อสังเกตการออกเสียงพยัญชนะบางตัว ดังนี้

เสียง /ช/

การออกเสียง /ช/ ต้องใช้ปลายลิ้นยกขึ้นจดเพดานแข็งส่วนหน้า แล้วลดลิ้นส่วนปลายลงเล็กน้อย กระแสลมระเบิดออกมาในลักษณะที่มีเสียงแทรกและมีกลุ่มลมตามออกมาด้วย ต้องออกเสียงให้ชัดเจน ตัวอย่างคำที่ใช้ /ช/ เช่น ชดช้อย ช้าง ชิน เป็นต้น

เสียง /ซ/

การออกเสียง /ซ/ ฟันบนและฟันล่างกับลิ้นส่วนปลายทำช่องแคบให้ลมผ่านออกมาเป็นเสียงเสียดแทรก การอ่านคำที่มีเสียง /ซ/ ไม่ต้องมีลมพ่นออกมาด้วย ตัวอย่างคำที่ใช้เสียง /ซ/ เช่น ศรี สงสาร ทรัพย์สิน ซอกแซก เป็นต้น

เสียง /ร/

การออกเสียง /ร/ ปลายลิ้นจะสะบัดผ่านปุ่มเหงือกอย่างรวดเร็วเพียงครั้งเดียวขณะที่ออกเสียง จึงจะถูกต้อง ไม่ออกเสียงแบบใช้ปลายลิ้นสะบัดรัวหลาย ๆ ครั้ง ทำให้เสียง /ร/ เพี้ยนไปไม่น่าฟัง ตัวอย่างคำที่ใช้เสียง /ร/ เช่น รวดเร็ว รุ่งเรือง รักเรียน เป็นต้น

เสียง /ล/

การออกเสียง /ล/ ลิ้นส่วนหน้าและส่วนปลายจะกักลมตรงช่องกลางปากไว้ตรงบริเวณฟันและปุ่มเหงือกแต่ปล่อยช่องข้าง ๆ ลิ้นให้ลมผ่านออกมาได้ เป็นเสียงที่ส่วนใหญ่ออกเสียงได้ถูกต้อง ข้อควรระวัง คือ ต้องไม่ปะปน สับสนกับคำที่ออกเสียงด้วย /ร/ ไม่เช่นนั้นก็อาจทำให้ความหมายของคำผิดไปได้ ตัวอย่างคำที่ใช้เสียง /ล/ เช่น ลิ้น ลอย ลม โอฬาร เป็นต้น

2. การอ่านคำควบกล้ำ ร ล ว

คำควบกล้ำ คือ คำที่ต้องออกเสียงพยัญชนะต้น 2 เสียงเรียงชิดติดกัน โดยไม่มีเสียงสระคั่น ถ้าอ่านผิด ความหมายของคำก็อาจผิดไปได้ เช่น

เกร็ด   หมายถึง

1. ลำน้ำเล็กที่เป็นทางลัดเชื่อมลำน้ำใหญ่สายเดียวกันทั้ง 2 ข้าง, ใช้เป็น เตร็ด ก็มี.

2. ส่วนย่อย, ส่วนเบ็ดเตล็ด, เช่น เกร็ดพงศาวดาร ตำรายาเกร็ด.

เกล็ด   หมายถึง

1. ส่วนที่เป็นแผ่น ๆ ซ้อนเหลื่อมกันห่อหุ้มตัวปลาและสัตว์เลื้อยคลานบางชนิด, สิ่งที่แข็งแรงเป็นแผ่นบาง ๆ คล้ายเกล็ดปลา เช่น เกล็ดพิมเสน น้ำตาลขึ้นเกล็ด , โดยปริยายหมายความถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น บานเกล็ด ฝาเกล็ด เกล็ดเสื้อ

2. ขบให้เมล็ดแตกเพื่อกินเนื้อใน (ใช้แก่สิ่งที่เป็นเม็ดเล็ก ๆ ) เช่น เกล็ดเมล็ดแตงโม นกเกล็ดข้าว, โดยปริยาย หมายความว่า ตัดเอาแต่สิ่งที่ดี ๆ เช่น เกล็ดไฟ.

คำควบกล้ำบางคำอาจมีรูปพ้องกับสระ เช่น คำว่า ขวนขวาย ต้องอ่านเป็นคำควบกล้ำว่า ขฺวนขฺวาย ไม่อ่าน ขวน เป็นคำที่ประสมด้วยสระอัว

3. เสียงวรรณยุกต์

เสียงวรรณยุกต์ เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึง เพราะถ้าอ่านผิด ความหมายก็ผิดไปเช่นกัน เช่น

น้ำนองท่วมน่องน้อง

ป้าปาของเข้าป่า

ฉันหอบเสื้อหอบเสื่อหนีเสือ

4. คำพ้องรูป

คำพ้องรูป คือ คำที่เขียนเหมือนกันแต่อ่านต่างกัน ความหมายของคำก็ต่างกันไปด้วย การจะอ่านคำพ้องรูปให้ถูกต้องก็ต้องเข้าใจความหมายของคำที่อ่านและต้องอาศัยการตีความจากความหมายในประโยคด้วย เช่น

เพลาเกวียนหักเมื่อเพลาเช้า

เขาหวงแหนจอกแหนในบ่อน้ำ

เรือโคลงเพราะโคลงเรือ

5. ตัวการันต์

เมื่ออ่านคำที่มีตัวการันต์ไม่ต้องอ่านออกเสียงตัวการันต์นั้น เช่น

สิทธิ์ อ่านว่า สิด

กาญจน์ อ่านว่า กาน

พินทุ์อิ อ่านว่า พินอิ

พระลักษมณ์ อ่านว่า พระลัก

6. การออกเสียงพยางค์หนัก พยางค์เบา

การอ่านคำในภาษาไทย มีการลงเสียงหนักเบาในคำ เวลาอ่านเราจะไม่อ่านลงเสียงหนักทุกพยางค์ เช่น เวลาพูดเราจะไม่ลงเสียงหนังในคำที่ทำหน้าที่ช่วยเสริมความหมายในประโยค ในพยางค์เชื่อม และในคำประสมด้วยเสียงสั้นไม่มีตัวสะกด เช่น วิทยา

การอ่านออกเสียงมีลักษณะอย่างไร

การอ่านออกเสียง คือ การเปล่งเสียงตามตัวอักษร ถ้อยค า และเครื่องหมายต่าง ๆ ที่ก าหนดไว้ให้ ถูกต้อง ชัดเจน แก่ผู้ฟัง การอ่านออกเสียงถือเป็นการสื่อความหมายที่ก่อให้เกิด “ทักษะ” (วาสนา บุญสม, ๒๕๔๑ : ๒๒) ดังต่อไปนี้ ๑.๑ เกิดทักษะการเปล่งเสียงให้ชัดเจน ๑.๒ เกิดทักษะการใช้อวัยวะที่ออกเสียงได้ถูกต้อง ๑.๓ เกิดทักษะการออกเสียง ...

องค์ประกอบพื้นฐานของการอ่านออกเสียงมีอะไรบ้าง

หลักในการอ่านออกเสียง - อ่านด้วยความดังที่เหมาะสมไม่ดังหรือเบาเกินไป - อ่านถูกต้องตามอักขระวิธี - แบ่งวรรคตอนในการอ่านให้ถูกต้อง - อ่านให้ชัดเจน

การอ่านคืออะไร มีความสําคัญอย่างไร

3.4 ประโยชน์ของการอ่านออกเสียง บันลือ พฤกษะวัน(2530:125) กล่าวว่าประโยชน์ของการอ่านออกเสียงคือ 1.เป็นการฝึกทักษะการอ่านเบื้องต้น 2.ช่วยให้ครูสามารถตรวจสอบความก้าวหน้าในการอ่าน 3.ช่วยให้นักเรียนได้ฝึกทักษะในการฟังและทักษะในการอ่าน 4.ช่วยพัฒนาในการพูดของเด็กในการใช้ถ้อยคา 5.ช่วยให้นักเรียนมีความมั่นใจในการอ่านมากขึ้น 6. ...

การอ่านบทร้อยกรองที่ถูกต้องควรอ่านอย่างไร

3.2.1 หลักเกณฑ์ในการอ่านออกเสียงร้อยกรอง.
1. ศึกษาลักษณะบังคับของคำประพันธ์ เช่น การเเบ่งจังหวะจำนวนคำสัมผัสเสียง วรรณยุกต์ เสียงหนักเบา เป็นต้น.
2. อ่านให้ถูกต้องตามลักษณะบังคับของคำประพันธ์.
3. อ่านออกเสียง ร ล คำควบกล้ำให้ชัดเจน.
4. อ่านออกเสียงดังให้ผู้ฟังได้ยินทั่วถึง ไม่ดังหรือค่อยจนเกินไป.