เครือข่ายยุค 5G เป็นอย่างไร

ก่อนจะมาทำความรู้จัก 5G เรามาทำความรู้จักพัฒนาการเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายกันเสียก่อน เราจะได้รู้ว่ากว่าจะมาเป็น 5G ในปัจจุบัน มีที่มาที่ไปอย่างไรกันบ้าง

เริ่มจากในยุคแรก 1G เราพูดคุยกันด้วยเสียงผ่านมือถือระบบแอนะล็อก ต่อมาในยุค 2G เราเริ่มส่งข้อความ MMS หากัน กระทั่งถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญเมื่อเข้าสู่ยุค 3G เราสามารถเชื่อมต่อและเล่นอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือได้ด้วยความเร็วที่สูงขึ้น (อยู่ระหว่าง 220 Kbps ถึง 42.2 Mbps) จนเข้ามาถึงยุค 4G เราสามารถดูภาพ และเสียงหรือหนังออนไลน์ได้เนื่องจากมีความเร็วหลากหลายระดับให้เลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็น 4G LTE (100 Mbps), LTE Advanced (1 Gbps) แล้วตอนนี้คุณพร้อมแล้วหรือยังที่จะเข้าสู่ยุค 5G

จุดเด่น

  • เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ที่จะช่วยให้การทำงานของอุปกรณ์สื่อสารเร็วขึ้น
  • 5G มีประโยชน์ในหลายส่วนธุรกิจทั่วโลก
  • เตรียมพร้อมการใช้งานมือถือเข้าสู่ยุค 5G ต้องทำอย่างไรบ้าง

5G คือ Generation ใหม่ของเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายที่จะมาแทนที่ระบบ 4G ที่เรากำลังใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมันจะไม่จำกัดแค่มือถือเท่านั้น แต่รวมถึงอุปกรณ์ทุกชนิดที่เชื่อมอินเทอร์เน็ตได้ (Internet of Things หรือ IoT) สำหรับยุคการสื่อสารในเจนเนอเรชันที่ 5 นี้ มีเป้าหมายพัฒนาเพื่อตอบโจทย์โลกที่หมุนเปลี่ยนไป รวมถึง Internet of Things อย่างเช่น Smart Home, Smart Infrastructure, Smart City, Smart Car เป็นต้น ตามคอนเซ็ปต์ “Anything that can be connected, will be connected.” หรืออะไรที่สามารถเชื่อมต่อได้ก็จะถูกเชื่อมต่อด้วยระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อให้มีประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด และอะไรที่ต้องการ แสดงผลแบบเรียลไทม์จึงจำเป็นต้องมีความรวดเร็วในการรับส่งข้อมูลเช่น การศึกษา, การขนส่ง, การแพทย์ เป็นต้น

5G มีประโยชน์อย่างไร

สำหรับคุณสมบัติหลักเด่นชัดของ 5G ที่เห็นได้ชัดเจนเลยคงเป็นเรื่องของคุณภาพการรับชมวิดีโอ หรือการเล่นเกมออนไลน์ ที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการได้สัมผัสกับคุณภาพความคมชัด และความรวดเร็วเทียบเท่ากับการใช้งานผ่านโครงข่ายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) หรือการที่สามารถทำงานและเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างที่อยู่บน Cloud ไม่ว่าจะรูปแบบภาพ หรือวิดีโอ ได้แบบทันทีที่ต้องการ รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีให้มีความเร็วในการดาวน์โหลดและอัปโหลดที่สูงกว่าเทคโนโลยี 4G อีกด้วย

นอกจากนี้ เทคโนโลยี 5G ยังถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการเชื่อมต่อจำนวนมากๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกกันว่า IoT อาทิ รถยนต์ไร้คนขับ การผ่าตัดได้จากระยะไกล หุ่นยนต์ในโรงงาน สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานซึ่งถือว่ามีความเร็วมากกว่าเทคโนโลยี 4G เกิน 10 เท่า รวมถึงช่วยให้เกิดการใช้งาน AR และ VR ในกิจกรรมต่างๆ อาทิ การสำรวจภาคสนาม การสาธารณสุขทางไกล ความบันเทิง และท่อส่งข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อใช้ในการเข้าถึงการใช้งาน Cloud Computing ซึ่ง5G ช่วยพัฒนาศักยภาพของระบบค้าปลีก การซื้อของออนไลน์ รวมถึงการใช้งานต่างๆ ของออฟฟิศอัจฉริยะ Smart Office และนำไปสู่ระบบเมืองอัจฉริยะ Smart Cities ในอนาคต

เทคโนโลยี 5G หรือ 5th Generation คือ ระบบการสื่อสารแบบไร้สายในยุคที่ 5 ซึ่งมีความสามารถในการส่งข้อมูลในปริมาณที่มากกว่าระบบ 4G ถึง 1,000 เท่า โดยผิวเผินระบบ 5G ถูกมองว่า เป็นเพียงระบบใหม่ที่ถูกนำมาใช้ทดแทนระบบเดิมด้วยประสิทธิภาพที่สูงกว่า ดังเช่นที่ระบบ 4G มาทดแทนระบบ 3G แต่ในความจริงแล้ว 5G เป็นเทคโนโลยีที่มีความเร็วสูง และมีความสามารถในการส่งข้อมูลปริมาณมาก จึงทำให้อุปกรณ์ที่รองรับระบบนี้ จะไม่จำกัดเพียงแค่โทรศัพท์สมาร์ทโฟนอีกต่อไป แต่จะรวมไปถึงเครื่องมือ เครื่องใช้ และระบบสาธารณูปโภคทั้งหมด

Advertisment

โดยระบบ 5G เป็นพื้นฐานของแนวคิด Internet of Thing และ Machine to Machine ซึ่งเป็นการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องมือ ยานพาหนะ หรือ อาคารสิ่งก่อสร้างที่มีการติดตั้งวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์ เซ็นเซอร์ และเครือข่ายการเชื่อมต่อต่างๆ ที่ทำให้อุปกรณ์เหล่านี้สามารถส่งผ่านข้อมูลถึงกัน โดยมีความล่าช้าของเวลา (time lag) น้อยมาก ทำให้สามารถใช้เพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ที่เคยทำไม่ได้ในอดีต เช่น การผ่าตัดทางไกลที่แพทย์สามารถทำการผ่าตัดให้คนไข้ที่อยู่ในอีกซีกโลกได้ ดังนั้น หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนจึงต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยีให้รองรับกับระบบนี้ ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้จะเปลี่ยนวิถีชีวิตในอนาคตของผู้คนโดยสิ้นเชิง

ประโยชน์ของ 5G
แน่นอนว่าต้องมีความเร็วเพิ่มขึ้น เพื่อตรงกับคอนเซ็ปต์ในการใช้งาน แต่ยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะมีอัตราดาวน์โหลดและอัพโหลดแรงเท่าใด ทว่ามีแต่การคาดการณ์กันว่าเร็วแรงมากกว่ายุค 4G ถึง 10-1,000 เท่า ซึ่งจะทำให้เปลี่ยนวิถีชีวิตของเราได้หลายอย่างในอนาคต และช่วยผลักดันเศรษฐกิจ ทั้งส่งผลให้เกิดผลิตภัณฑ์หรือบริบทใหม่ของการบริการเช่นกัน

Advertisement

ข้อด้อยของ 5G
เนื่องจากต้องใช้คลื่นความถี่ที่สูงมากหรือคลื่นเทคโนโลยีความถี่ระดับมิลลิเมตร โดยถือว่าเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนา สามารถดำเนินการได้ด้วยข้อมูลจำนวนมาก และมีสัญญาณการถ่ายโอนข้อมูลที่มีค่า latency ต่ำ (ความล่าช้าน้อยที่สุด)และด้วยประโยชน์ดังกล่าว จึงต้องแลกมาด้วยปัญหาต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เพราะว่าสัญญาณที่ส่งผ่านคลื่นความถี่สูงจะส่งผ่านในระยะสั้นเท่านั้น และก็ไม่สามารถเจาะอาคารได้ดี ทำให้ต้องอาศัยเสาสัญญาณกับเทคนิคอื่นๆ เข้าช่วย ดังนั้น จึงน่าสนใจว่าค่าใช้บริการจะเป็นอย่างไร

สมาร์ทโฟน 4G
สามารถใช้งาน 5G ได้หรือไม่
ขึ้นอยู่กับฮาร์ดแวร์ ว่าภายในสมาร์ทโฟนรองรับการใช้งานหรือไม่ หากไม่รองรับ ก็จะต้องเปลี่ยนสมาร์ทโฟน ซึ่งในต่างประเทศ กว่าจะใช้งานได้จริงน่าจะอีกหลายปี ส่วนประเทศไทยเองคงต้องติดตามกันต่อไป

ความก้าวหน้าของ 5G
ERICSSON เริ่มทดลองให้บริการ 5G แล้ว 2 ย่านความถี่ โดย ERICSSON ระบุว่า เวลานี้ ITU ยังไม่กำหนดคลื่นความถี่สำหรับเทคโนโลยี 5G อย่างเป็นทางการ แต่ผู้ผลิตทั่วโลกต่างเห็นตรงกันว่า จำเป็นต้องใช้คลื่นความถี่ย่าน 3-6GHz ซึ่งมีขนาดแบนด์วิธใหญ่มากพอที่จะรองรับข้อมูลปริมาณมากๆ ได้ อีกย่านคือ 28GHz และทำให้ต้องใช้เทคโนโลยีในการส่งคลื่นแบบใหม่ แต่ก็เป็นระยะทางไม่เกิน 1 กิโลเมตร

Advertisement

สำหรับประเทศที่มีการทดลองใช้งานแล้ว เช่น เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น และจีน โดยทั้งญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ระบุว่าจะเริ่มต้นใช้งาน 5G อย่างเป็นทางการในปี 2020 หรืออีกไม่ถึง 3 ปีข้างหน้า

เทคโนโลยี 5G ในประเทศไทย
จากงานสัมมนา “ผ่าทางตัน 5G คลื่นความถี่นำไทยสู่ 4.0 อย่างยั่งยืน” ที่จัดไปเมื่อต้นปี 2560 ได้มีการกล่าวถึงเทคโนโลยี 5G กำลังจะเกิดขึ้นทั่วโลกในเร็วๆ นี้ ว่าประเทศไทยจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมอย่างมากสำหรับเทคโนโลยี 5G โดยคาดการณ์กันว่าประเทศไทยจะสามารถเริ่มใช้เทคโนโลยี 5G อย่างเป็นทางการได้ในช่วงปี 2020

โดย นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) หนึ่งในวิทยากรผู้ร่วมเสวนาบนเวทีชี้ว่า 5G คือเทคโนโลยีที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาของ 3G และ 4G คุณสมบัติอย่างหนึ่งของของ 5G จะต้องรองรับการใช้งานกว่า 1,500 ล้านยูสเซอร์ให้ได้

นอกจากนี้ ยังมี 3 สิ่งสำคัญที่เทคโนโลยี 5G ต้องทำได้ในระดับมาตรฐานทั่วไป คือ ต้องสามารถรองรับการใช้งานอุปกรณ์ถึง 1 ล้านชิ้นต่อ 1 ตารางกิโลเมตร ช่วยให้สามารถครอบคลุมการใช้งานได้อย่างครบถ้วนทุกอุปกรณ์ ที่สำคัญต้องสามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วระดับ 1Ms หรือน้อยกว่า เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้กับเทคโนโลยี 5G จะไม่ได้มีแค่สมาร์ทโฟนเพียงอย่างเดียว เช่น รถยนต์ไร้คนขับหรือระบบรักษานอกโรงพยาบาล ซึ่งการรับส่งข้อมูลที่ช้าไปเพียงเสี้ยววินาทีอาจเกิดผลกระทบต่อความชีวิตได้ ไม่เพียงเท่านี้เทคโนโลยียังต้องรองรับปริมาณการรับส่งข้อมูลที่มหาศาล เช่น การรับชมคอนเทนต์วิดีโอที่มีความละเอียดสูง โดยในอนาคตคาดการณ์กันว่า ความละเอียดมาตรฐานของคอนเทนต์วิดีโอจะอยู่ในระดับ 4K ซึ่งจำเป็นต้องมีการรับส่งที่มีปริมาณมาก

ในส่วนของการเตรียมตัวนั้น ผู้ประกอบการต่างชาติมองว่าประเทศไทยควรจะต้องมีการเตรียมตัวอย่างมาก เนื่องจากความต้องการใช้ข้อมูลของประเทศไทยมีสูง หากไม่มีการเตรียมรับมือก็อาจเกิดวิกฤตข้อมูลขึ้นได้ สอดรับกับ นพ.ประวิทย์ที่มองว่า ทั้ง 3 ส่วนจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในการจัดเตรียมคลื่นความถี่เพื่อให้พร้อมสำหรับการประมูล 5G ในอนาคต และมีแนวโน้มว่าจำนวน MHz ที่จะเปิดให้มีการประมูลอาจจะมากกว่า 100MHz ต่อราย

เอกชนผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตจำเป็นต้องเตรียมแพคเกจสำหรับการใช้งานข้อมูลให้เหมาะสมกับความต้องการใช้ของผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเตรียมแพคเกจที่ราคาไม่สูงเกินไป เพื่อไม่ให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายของผู้บริโภค ขณะที่ภาครัฐเองก็ต้องให้ความสำคัญและเข้าใจเทคโนโลยี 5G รวมถึงการให้ความรู้กับประชาชนถึงประโยชน์ของเทคโนโลยี 5G ในด้านอื่นๆ นอกเหนือจากการชมคอนเทนต์วิดีโอด้วยความละเอียดสูง

ยิ่งไปกว่านั้นเทคโนโลยี 5G จะไม่ได้จำกัดเพียงการใช้งานระหว่างบุคลต่อบุคคลเท่านั้น แต่อนาคตเทคโนโลยีจะเป็นการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างเครื่องจักรกับเครื่องจักร และจะเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของคนมากขึ้น ดังนั้น 5 สิ่งที่ต้องเตรียมตัวนับจากนี้คือ เรื่องการเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรโดยเฉพาะคลื่นความถี่,การแผนงานในการรองรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นหลังเทคโนโลยี 5G ถูกใช้งานอย่างจริงจัง,กฎ กติกาและมารยาทต่างๆ ในการใช้งาน 5G, เทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในอนาคตรองรับเทคโนโลยี 5G และการเตรียมเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งในด้านโทรคมนาคมและด้านอื่นๆ

ควรมี 5G หรือไม่
เนื่องจากว่า 5G นั้นไม่ใช่การแข่งขันของเหล่าโอเปอเรเตอร์แล้ว แต่ว่าจะเป็นการร่วมมือกันพัฒนาของภาครัฐและภาคเอกชนมากกว่า เพราะประโยชน์ของ 5G มีมากกว่าถูกจำกัดการใช้งานแค่บนสมาร์ทโฟนกับอุปกรณ์เล็กๆ ทั่วไป หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ 5G คือการที่สามารถเชื่อมต่อทั่วทั้งโลกในทุกอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อกันได้

สำหรับ ทรูมูฟ เอช ปัจจุบันเป็นผู้นำด้าน 4G ของประเทศไทยอย่างเต็มตัว ไม่ว่าจะเป็นจำนวนคลื่นความถี่ที่มากที่สุด ครบที่สุด และครอบคลุมมากที่สุด ทรูมูฟ เอชจึงพร้อมที่จะเป็นผู้นำทางด้าน 5G โดยในปัจจุบัน ทรูมูฟ เอช ได้มีการพัฒนา technology 5G ร่วมกับ partner ระดับโลกอยู่หลายบริษัท รวมถึงพาร์ตเนอร์อย่าง China mobile ที่เป็น mobile operator ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ทั้งนี้ก็เพื่อให้แน่ใจว่า ทรูมูฟ เอช พร้อมที่จะเป็นผู้นำและจะสามารถเปิดให้บริการ 5G ได้จริงในประเทศไทยด้วยคุณภาพที่ดีที่สุดในอนาคตอันใกล้นี้

ความหมายของเครือข่ายไร้สายยุคที่ 5 คืออะไร

5G (เครือข่ายโทรศัพท์มือถือรุ่นหรือระบบไร้สายรุ่นที่ 5) เป็นเครือข่ายไร้สายที่ถูกพัฒนาและเริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา เทคโนโลยีพื้นฐานได้แก่คลื่นความถี่ (Millimeter wave bands 26, 28, 38, และ 60 GHz) มีประสิทธิภาพสูงสุดถึง 20 จิกะบิตต่อวินาที MIMO(Multiple Input Multiple Output - 64-256 antennas)ประสิทธิภาพสูงซึ่ง ...

ลักษณะสำคัญที่เด่นชัดในยุคการสื่อสารเครือข่ายไร้สาย ยุคที่ 5 (5G) คือข้อใด

เราจะเห็นว่าระบบ 5G จะมีอัตราการส่งข้อมูลสูงสุด (Peak data rate) เพิ่มขึ้น 20 เท่า, อัตราการส่งข้อมูล ที่ผู้ใช้ได้รับ (User experienced data rate) เพิ่มขึ้น 10 เท่า, ความหน่วงของระบบ (Latency) ลดลง 10 เท่า , ความสามารถในการรับข้อมูลในขณะเคลื่อนที่ (Mobility) โดยสามารถรองรับการเคลื่อนที่มีความเร็วเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า, ...

การสื่อสารแบบไร้สายในยุค 5G มีลักษณะหรือคุณสมบัติที่แตกต่างจากยุค 4G อย่างไรบ้าง

ในยุคของ 5G ได้เริ่มเกิดขึ้นและใช้งานกันแล้วในหลายประเทศทั่วโลก ตั้งแต่ปี 2561 โดยมีเทคโนโลยีพื้นฐาน คือ MIMO (Multiple Input Multiple Output – 64-256 antennas) ซึ่งทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงกว่า 4G มีความแรงและเร็วกว่า ถึง 20เท่า รองรับผู้ใช้งานได้มากขึ้น 10เท่า การตอบสนองไวขึ้น ความไวระดับ 1ใน1000วินาที เรียกได้ว่าแทบจะ ...

เครือข่ายไร้สายยุคที่ 5 หรือ 5G มีลักษณะเป็นอย่างไร *

5G เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายเจเนเรชั่นที่ 5 ที่มีการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในเรื่องของความเร็ว Upload และ Download บนเครือข่ายไร้สายให้เสถียร และเร็วขึ้น โดยหากเปรียบเทียบกับเทคโนโลยี 4G ที่ใช้กันอยู่ตอนนี้ 5G จะสามารถทำความเร็วได้เร็วกว่าถึง 10 เท่า ซึ่ง 5G ทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 20 Gbps ในขณะที่ 4G นั้นสามารถ ...