Iot มีประโยชน์ในชีวิตประจําวันอย่างไรบ้าง

      Internet of Thing หรือ IoT เป็นคำยอดฮิตที่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกอย่างรวดเร็วและเข้ามาเป็นเทคโนโลยีหลักในปัจจุบัน พวกมันเป็นที่รู้จักกันในนามเครือข่ายของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ต จึงทำให้มนุษย์อย่างเราสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ร่วมถึงติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายยิ่งขึ้น

การเข้าถึงข้อมูล ทำได้ง่ายยิ่งขึ้น

      Internet of Thing ช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลและการนำข้อมูลมาใช้ได้แบบเรียลไทม์ ไม่ว่าข้อมูลดังกล่าวจะอยู่ใกล้หรือไกลจากตำแหน่งของเรา เนื่องจากอุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อเครือข่ายสามารถเข้าถึงข้อมูลใด ๆ จากส่วนใดก็ได้จากทุกมุมโลก สิ่งนี้ทำให้เราสะดวกมากขึ้น แม้ว่าอุปกรณ์เหล่านั้นไม่ได้อยู่ติดกับตัวของเรา

การติดต่อสื่อสารที่ดียิ่งขึ้น

      การสื่อสารจะสามารถทำได้ดีผ่านอุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อเครือข่าย ซึ่งจะทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะกระบวนการที่มี IoT เข้าไปเกี่ยวข้องจะทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพและมีผลลัพธ์ที่ดีขึ้น

ใช้ต้นทุนได้อย่างคุ้มค่า

      ตามที่ได้กล่าวไปด้านบนว่าการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำได้ง่ายขึ้น อย่างการถ่ายโอนข้อมูลผ่านเครือข่ายที่เชื่อมต่อช่วยประหยัดเวลาและเงิน นอกจากนี้เทคโนโลยียังช่วยทำให้ระยะเวลาในการถ่ายโอนข้อมูลสั้นลงอีกด้วย

หลายสิ่งดำเนินโดยอัตโนมัติ

      ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่ชื่นชอบระบบอัตโนมัติมากกว่าการลงมือทำอะไรด้วยตนเองเสียอีก อีกทั้งระบบอัตโนมัติยังเป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมอีกด้วย เพราะระบบอัตโนมัติสามารถช่วยจัดการงานประจำวันได้โดยไม่ต้องมีมนุษย์เข้ามาเกี่ยวข้อง ด้วยเหตุนี้ IoT จึงเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องการเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายและเพิ่มคุณภาพของการบริการ

Iot มีประโยชน์ในชีวิตประจําวันอย่างไรบ้าง

Internet of Things (IoT) หมายถึง “สิ่ง” จำนวนมากมายที่เชื่อมต่อกับ อินเทอร์เน็ต หรือหมายถึงการเชื่อมโยงของอุปกรณ์อัจฉริยะทั้งหลายผ่านอินเทอร์เน็ตเพื่อให้สามารถแบ่งปันข้อมูลกับสิ่งต่าง ๆ และนำเทคโนโลยีนี้เข้ามาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกมากยิ่งขึ้น ในบทความนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับอุปกรณ์ IoT ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

1. ระบบการสั่งงานสมาร์ตโฟนด้วยเสียงเป็นระบบ IoT ที่ถูกนำมาใช้กับการควบคุมสมาร์ตโฟนจะเห็นได้ในมือถือแทบทุกยี่ห้อ เช่น ระบบ Voice Access ของระบบปฏิบัติการ Android ที่บริษัท Google พัฒนาขึ้นมาแทนการสั่งการสัมผัสหน้าจอ

2. ระบบไฟอัจฉริยะเป็นระบบ IoT ที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถดูแลสั่งการ การทำงานของระบบไฟส่องสว่างภายในบ้าน การปรับระดับแสงหรือสีไฟ รวมทั้งการตั้งเวลาเปิดปิด ทั้งจากการสั่งการด้วยเสียงและระบบตรวจจับการเคลื่อนไหว รวมทั้งการสั่งงานผ่านสมาร์ตโฟน

3. ระบบควบคุมเครื่องปรับอุณหภูมิภายในบ้านเป็นระบบ IoT ที่สามารถสั่งงานเครื่องปรับอุณหภูมิได้ล่วงหน้าก่อนเดินทางกลับถึงบ้าน เหมาะสำหรับเมืองไทยซึ่งเป็นเมืองร้อน และทำให้เย็นได้ทันทีที่กลับบ้าน                                                                                     

4. ระบบสวิตช์ไฟอัจฉริยะภายในบ้านเป็นระบบ IoT ซึ่งติดตั้งระบบเซนเซอร์แต่ละตัวลงไปยังระบบไฟส่องสว่างตามจุดที่สำคัญของบ้าน เช่น ประตู หน้าต่าง ห้องเก็บตู้เซฟ เป็นต้น เมื่อเซนเซอร์ตรวจพบการทำงานที่ผิดปกติก็จะแจ้งไปยังผู้ใช้งาน ผ่านทางแอปพลิเคชันในสมาร์ตโฟนทันที                                                                              

5. ระบบการเตือนภัยอัจฉริยะเป็นระบบ IoT ที่จะทำการตรวจจับการทำงานต่าง ๆ ของเครื่องใช้ภายในบ้าน และจะทำการเตือนภัยต่าง ๆ ผ่านไปยังสมาร์ตโฟนของผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็น การลืมปิดน้ำ ปิดไฟ การพบควันและประกายไฟติดในบ้าน แก๊สรั่วซึม หรือน้ำล้นท่วมบ้าน

6. ระบบสตาร์ตรถและควบคุมรถแบบไร้สายเป็นระบบ IoT แบบใหม่ในธุรกิจยานยนต์ที่เริ่มมีการจำหน่ายรถยนต์ที่รองรับระบบดังกล่าวออกมาใช้จริงแล้ว เริ่มจากเปิด ปิด ล็อก รถยนต์ จากระยะไกลผ่านแอปพลิเคชันในสมาร์ตโฟน

7. ระบบรักษาความปลอดภัยเป็นระบบ IoT รักษาความปลอดภัยและทรัพย์สิน เช่น กล้องวงจรปิดแบบไร้สายที่สามารถดูภาพได้ทุกที่ผ่านสมาร์ตโฟน และระบบเปิดปิดประตูบ้าน รวมทั้งในรูปแบบอุปกรณ์กระดิ่งหน้าประตูบ้าน ที่สั่งเปิดปิดผ่านสมาร์ตโฟน และการตรวจสอบด้วยเสียงและเตือนภัยผ่านสมาร์ตโฟน

อ้างอิง

  • IoT ในชีวิตประจําวัน
  • Internet of Things (IoT)
  • รวมอุปกรณ์ iot เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบครบวงจร ประจำปี 2020