บําเหน็จตกทอด แบ่ง อย่างไร

ี1. ข้าราชการได้รับอันตรายจนพิการ เสียแขน หรือขา หูหนวกทั้ง 2 ข้าง ตาบอด หรือได้รับการป่วยเจ็บซึ่งแพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจแล้ว และแสดงถึงทุพพลภาพไม่สามารถจะรับราชการต่อไปได้ ทั้งนี้ เพราะเหตุปฏิบัติราชการในหน้าที่ หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุการะทำการตามหน้าที่ ให้ได้รับบำนาญปกติและบำนาญพิเศษ เว้นแต่เหตุนั้นเกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือจากความผิดของตนเอง
2. ข้าราชการ ซึ่งออกจากราชการโดยได้รับบำเหน็จบำนาญปกติไปแล้ว ถ้าภายในกำำหนด 3 ปี นับแต่วันออกจากราชการ โดยปรากฎหลักฐานชัดเจนว่าเกิดป่วยเจ็บถึงทุพพลภาพอันเป็นผลมาจากการปฏฺบัติหน้าที่ราชการระหว่างที่ผู้นั้นรับราชการอยู่ ให้ได้รับบำนาญปกติและบำนาญพิเศษ
3. ข้าราชการได้รับอันตราหรือป่วยเจ็บจนพิการถึงสูญเสียอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งไปเพราะเหตุปฏิบัติราชการในหน้าที่ หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุการะทำการตามหน้าที่ แต่ยังสามารถรับราชการต่อไปได้ ให้ไ้ด้รับเงินทำขวัญเป็นก้อนในอัตราที่กำหนด
(ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทำขวัญข้าราชการและลูกจ้าง พ.ศ. 2516)

การนำระยะเวลาราชการทหารมานับรวมสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ

----1. ผู้เคยเป็นข้าราชการทหาร (ประจำการ) มาก่อนและขอลาออกจากราชการ โดยมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัด ต่อมาบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน สามารถนำระยะเวลาการเป็นทหารมานับรวมเป็นเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญได้ (ทั้งเกิดสิทธิและคำนวณเงิน)
----2. ข้าราชการพลเรืือน ที่ได้รับการตรวจเลือกให้เข้ารับราชการทหาร (กองประจำการ : ทหารเกณฑ์) ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร สามารถนำระยะเวลาการระหว่างเข้ารับราชการทหารมานับรวมเป็นเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญได้ (รวมทั้งขอนับเวลาเพื่อคำนวณเงินประเดิม ทั้งนี้ก่อน 27 มี.ค.2540)

ตัวอย่างหนังสือการขอเวลาราชการทหาร และแบบขอแก้ไขข้อมูลสมาชิก กบข. 005/2/2550

การขอรับเงินบำเเหน็จบำนาญ
การขอรับบำเหน็จตกทอด กรณีข้าราชการตาย
(ระเบียบ กระทรวงการคลังว่าด้วยการขอรับและการจ่ายบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2527)
เอกสาร ได้แก่

               1. แบบขอรับบำนาญพิเศษและหรือบำเหน็จตกทอดกรณีถึงแก่กรรม (แบบ 5309) กรอกรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับประวัติของผู้ตายและทายาททั้งหมด โดยให้ทายาททุกคนลงชื่อในช่องผู้ขอ หากทายาทเป็นผู้เยาว์
(อายุยังไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์) ต้องให้ผู้ปกครอง(ผู้แทนโดยชอบธรรม)ลงชื่อแทน
                2. ใบรับรองสมุดประวัติและเวลาราชการทวีคูณระหว่างปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตายในเขตที่ได้ประกาศ
ใช้กฎอัยการศึก (แบบ 5302 ) โดยให้  อธิบดี  หัวหน้าส่วนราชการ หรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้รับรองความถูกต้อง
                3. รายการสอบสวนบำนาญพิเศษหรือบำเหน็จตกทอด (ตามแบบที่ทางราชการกำหนด)
ว่าผู้ตายเป็นข้าราชการประเภทใด ตายด้วยเหตุใด มีทายาทกี่คนใครบ้าง หัวหน้าส่วนราชการลงนามรับรองความถูกต้อง
                4. บันทึกการสอบสวนทายาทของผู้ตายทุกคน
                5. จัดส่งบัตรเงินเดือนของผู้ตาย (รายการบัตรตรวจจ่ายเงินเดือน) ต้นฉบับสีฟ้า และหรือสำเนา โดยให้
ลงนามรับรองการได้รับเงินเดือนด้วย (ส่งกลาง ผอ.กองคลัง/ภูมิภาคผอ.หน่วยงาน)
               6. ก.พ. 7
               7. บัตรตรวจจ่ายเงินเดือน
               8. หลักฐานการตรวจสอบและรับรองเวลาราชการกระทรวงกลาโหม (ถ้ามี)
               9. หลักฐานการมีสิทธิได้รับเวลาทวีคูณของกระทรวงกลาโหม / กองอำนวยการรักษาความมั่นคง (ถ้ามี)
               10. หลักฐานการไปปฏิบัติราชการตามมติคณะรัฐมนตรี (ถ้ามี)
                       10.1 คำสั่งให้ออกจากราชการ
                       10.2 คำสั่งบรรจุกลับเข้ารับราชการ
              11. หลักฐานเกี่ยวกับการตาย
                           11.1 ใบมรณบัตร / คำสั่งศาล (กรณีคนสาบสูญ)
                                                 - กรณีตายโดยผิดธรรมชาติ เพิ่มหลักฐานสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เช่น รายงานชันสูุตรพลิกศพ รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี รายงานการสอบสวน
                           11.2 หลักฐานการสอบสวนของคณะกรรมการที่หน่วยงานแต่งตั้ง
                           11.3 หลักฐานการกระทำผิดวินัยร้ายแรง (ถ้าไม่ตายเสียก่อนต้องถูกไล่ออก/ปลดออก)
              12. หลักฐานทายาท
                           12.1 สำเนาทะเบียนบ้านบิดามารดา (กรณีมีชีวิตอยู่) / ใบมรณบัตร (กรณีตาย)หรือหนังสือรับรองการตาย
                           12.2 หลักฐานการเป็นิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย
                                                 12.2.1 สำเนาทะเบียนสมรสหรือใบสำคัญการสมรสของบิดามารดาหรือสำเนาทะเบียนฐานะภริยา(มารดาของผู้ตาย)
                                                12.2.2 หนังสือรับรองของผู้ควรเชื่อถือได้ที่รับรองว่าบิดามารดาสมรสก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2578 หรือ
                                                 12.2.3 สำเนาทะเบียนบ้าน หรืือสูติบัตรของบุตรร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตายซึ่งเกิดภายในปี พ.ศ. 2478 หรือก่อนนั้น
                           12.3 หลักฐานเกี่ยวกับคู่สมรสของผู้ตาย
                                                 12.3.1 สำเนาทะเบียนสมรสหรือใบสำคัญการสมรส
                                                 12.3.2 สำเนาทะเบียนบ้าน
                                                 12.3.3 สำเนา ใบมรณบัตร (กรณีตาย)หรือหนังสือรับรองการตายของผู้ควรเชื่อถือได้กรณีที่คู่สมรสตายไปก่อน
                                                 12.3.4 สำเนาทะเบียนการหย่า หรือใบสำคัญการหย่า หรือคำสั่งศาลกรณีที่มีการหย่า
                                                 12.3.5 สำเนาคำพิพากษา หรือคำสั่งศาลที่แสดงว่าคู่สมรสคนใดเป็นคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีที่มีการสมรสซ้อน
                           12.4 หลักฐานเกี่ยวกับบุตรของผู้ตาย
                                                 10.4.1 สูติบัตร
                                                 10.4.2 สำเนาทะเบียนสมรสหรือใบสำคัญการสมรสของผู้ตาย กับมารดาของบุตร หรือสำเนาทะเบียนการรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษาว่าเป็นบุตร
                                                 12.4.3 บันทึกรับรองการมีบุตรชอบด้วยกฎหมายในครรภ์มารดา (ถ้ามี)
                                                 12.4.4 สำเนาใบมรณบัตร (กรณีตาย)หรือหนังสือรับรองการตายของผู้ควรเชื่อถือได้กรณีที่มีบุตรตาย
                                                 12.4.5 ใบรับรองการศึกษาตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนด (แบบ5311)
                                                 12.4.6 ใบรับรองแพทย์เกี่ยวกับการพิการหรือทุพพลภาพของบุตรที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์แล้วในวันที่ข้าราชการตาย
                                                 12.4.7 สำเนา ทะเบียนการรับรองบุตรบุณธรรม
              13. หลักฐานแสดงการเป็นผู้ปกครองโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือผู้พิทักษ์ หรือผู้อนุบาล แล้วแต่กรณี ซึ่งลงชื่อให้ความยินยอมในการขอรับ หรือขอรับบำเหน็จตกทอดแทนผู้มีสิทธิ
                           13.1 สำเนาทะเบียนการรับรองบุุตร
                           13.2 สำเนาทะเบียนรับบุตรธรรม หรือสำเนาคำสั่งศาลตั้งผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ หรือผู้อนุบาล แล้วแต่กรณี

ขั้นตอนการขอรับบำเหน็จตกทอด กรณีข้าราชการตาย
สารประบคำบคขอ- หน่วยงานส่งหนังสือ/บันทึกพร้อมเอกสารข้่างต้น (ผอ.ลงนาม)
สารประกอบคำขอ- กองการเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร / ส่งตรวจวินัย / ลาศึกษา (เป็น กบข.หรือไม่)
สารประกอบคำขอ- กองการเจ้าหน้าที่จัดทำบันทึกเสนอผู้มีอำนาจลงนามในแบบ 5309 / แบบรับรองสมุดประวัติฯ และแบบ หนังสือรับรองการขอเบิกบำเหน็จตกทอด (แบบ ตท. 1) (ผอ.กอง จ. ลงนามแทนอธิบดี)
สารประกอบคำขอ- ส่งเอกสารต่างๆถึงกรมบัญชีกลาง
สารประกอบคำขอ- กรมบัญชีกลางแจ้งสั่งจ่าย
สารประกอบคำขอ- บันทึกส่งหนังสือสั่งจ่ายให้กองคลัง (ตัวจริง) ส่งสำเนาให้หน่วยงาน (ส่วนกลาง)
สารประกอบคำขอ- บันทึกส่งหนังสือสั่งจ่ายให้หน่วยงาน (ตัวจริง) (ส่วนภูมิภาค)

การขอรับบำเหน็จตกทอด กรณีผู้รับบำนาญตาย
สารประกอบคำขอ- เอกสารหลักฐานเช่นเดียวกับ ข้าราชการตาย ยกเ้ว้น             หลักฐานการสอบสวนของคณะกรรมการที่หน่วยงานแต่งตั้ง และหลักฐานการกระทำผิดวินัยร้ายแรง (ถ้าไม่ตายเสียก่อนต้องถูกไล่ออก/ปลดออก)

การขอรับบำนาญพิเศษกรณีข้าราชการตาย
              1. แบบขอรับบำนาญพิเศษและหรือบำเหน็จตกทอดกรณีถึงแก่กรรม (แบบ 5309) กรอกรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับประวัติของผู้ตายและทายาททั้งหมด โดยให้ทายาททุกคนลงชื่อในช่องผู้ขอ หากทายาทเป็นผู้เยาว์
(อายุยังไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์) ต้องให้ผู้ปกครอง(ผู้แทนโดยชอบธรรม)ลงชื่อแทน
              2. เอกสารหลักฐานเช่นเดียวกับการขอรับบำเหน็จตกทอดกรณีข้าราชการตาย
              3. คำสั่ง/หลักฐานเกี่ยวกับการไปปฏิบัติราชการ
              4. รายละเอียดหรือรายงานการปฏิบัติหน้าที่ราชการจนเป็นเหตุให้ถูกประทุษร้าย หรือได้รับอันตราย
              5. รายงานของผู้ร่วมงานหรือผู้รู้เห็นเหตุการณ์ใกล้ชิด (ถ้ามี)
              6. รายงานการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจในกรณีที่ถูกประทุษร้าย หรือได้รับอันตรายนั้นเกิดจาการกระทำผิดอาญาของผู้หนึ่งผู้ใด หรือสำเนาคำพิพากษาคดีนั้น
             7. หลักฐานการสอบสวนพร้อมทั้งสรุปความเห็นขิงคณะกรรมการซึ่งผู้บังคับบัญชาได้แต่งตั้งขึ้น
             8. ใบแสดงความเห็น หรือรายงานของแพทย์ที่ทางราชการรับรอง ซึ่งแสดงว่าการป่วยเจ็บถึงตายเกิดขึ้นเพราะเหตุปฏิบัติราชการในหน้าที่
             9. รายงานการปฏิบัติหน้าที่ราชการในระยะก่อนตายเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 สัปดาห์ สำหรับผู้ที่เจ้าสังกดัพิจารณาเห็นว่าถึงแก่ความตายเพราะปฏิบัติงานในลักษณะตรากตรำ เร่งรัด หรือเคร่งเคลียดเกินกว่าปกติธรรมดา
            10. หลักฐานรับรองการตายตามแบบที่กระทรวงกลาโหมได้ทำความตกลงกัลกระทรวงการคลัง
            11. หลักฐานการสอบสวนในกรณีสูญหายว่าสูญหายตั้งแต่เมื่อใด
            12. คำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีพิเศษ (ถ้ามี)

การขอรับบำนาญพิเศษกรณีข้าราชการซึ่งออกจากราชการโดยได้รับบำเหน็จบำนาญปกติไปแล้วฯ ป่วยเจ็บถึงตายอันเป็นผลมาจากการปฏิบัติหน้าที่ระหว่างที่ผู้นั้นรับราชการหรือทำหน้าที่ทหาร 3 ปี นับแต่วันที่ออกจากราชการหรือพ้นจากหน้าที่ทหาร ให้ใช้หลักฐานเช่นเดียวกับการขอรับบำเหน็จตกทอดกรณีข้าราชการตาย และเพิ่มเติม
            1. หลักฐานการสอบสวนของส่วนราชการที่เคยสังกัดว่าการป่วยเจ็บถึงตายเกิดขึ้นเพราะเหตุปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือไม่
            2. หลักฐานซึ่งแสดงว่าการป่วยเจ็บถึงตายได้เกิดขึ้นภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ออกจากราชการ
            3 .หลักฐานซึี่งแสดงวันเดือนปีที่ทายาทได้ยื่นขอรับบำนาญพิเศษ

บําเหน็จตกทอด มีกี่ส่วน

1. บุตร ให้ได้รับ 2 ส่วน ถ้าผู้ตายมีบุตรตั้งแต่3 คนขึ้นไป ให้ได้รับ 3 ส่วน 2. สามีหรือภริยา ให้ได้รับ 1 ส่วน 3. บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ที่มีชีวิตอยู่ได้รับ 1 ส่วน 4. กรณีไม่มีทายาทตามข้อ 1-3 ให้พิจารณาจ่ายให้แก่บุคคลซึ่งผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้ตามแบบและ วิธีการที่กระทรวงการคลังกาหนด และได้ยื่นต่อส่วนราชการเจ้าสังกัด ...

บําเหน็จตกทอดมีอายุความกี่ปี

2. สำหรับบำเหน็จตกทอด พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 มิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องนำอายุความสิบปีตามมาตรา 193/30 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์มาใช้บังคับ VELU. lee Le ེན་

หลังเสียชีวิตของครูบำนาญจะได้รับเงินอะไรบ้าง

สิทธิประโยชน์ของข้าราชการบำนาญ (กรณีเสียชีวิต) (ข้อมูลนี้สำหรับผู้รับบำนาญสังกัดกรมสรรพากรเท่านั้น) เงินที่ภาครัฐจ่ายให้ (ผู้รับนํานาญทุกท่านมีสิทธิได้รับ) เงินบำเหน็จตกทอด ๓๐ เท่า (เงินบำนาญ+ช.ค.บ.(ถ้ามี)) หัก เงินบำเหน็จดำรงชีพที่ขอรับแล้ว หัก บำเหน็จค้ำประกัน(ถ้ามี))

บําเหน็จดํารงชีพคิดอย่างไร

บำเหน็จดำรงชีพคือ เงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับบำนาญเพื่อช่วยเหลือการดำรงชีพ โดยให้มีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ตามวิธีการ ดังต่อไปนี้ การคำนวณบำเหน็จดำรงชีพ = 15 เท่า x เงินบำนาญที่คำนวณได้ ณ วันที่ออก