การปกครองแบบเผด็จการ แตก ต่าง จากการปกครองแบบประชาธิปไตย อย่างไร

การปกครองแบบเผด็จการ แตก ต่าง จากการปกครองแบบประชาธิปไตย อย่างไร

หลังจากที่เราได้พูดถึงรูปแบบการปกครองกันคร่าว ๆ ไปในบทความปัญหาการเมืองไทยแล้ว วันนี้เราจะมาพูดถึงรูปแบบการปกครองแบบละเอียด ๆ กันอีกที ซึ่งโดยทั่วไปรูปแบบการปกครองบนโลกใบนี้ จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ‘ประชาธิปไตย’ กับ ‘เผด็จการ’ แต่สองอย่างนี้จะแตกต่างกันยังไง และมีรูปแบบที่แยกย่อยแบบไหนได้อีกบ้าง ตามไปอ่านกันเลยดีกว่า

การปกครองแบบเผด็จการ แตก ต่าง จากการปกครองแบบประชาธิปไตย อย่างไร

ประชาธิปไตย คืออะไร ?

ระบอบประชาธิปไตย หมายถึง ระบอบการปกครองที่อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน ถือว่าประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย และมีพรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชน ให้เป็นตัวแทนมาบริหารประเทศตามนโยบายของพรรค 

หลักการสำคัญของประชาธิปไตย :

  • กลุ่มคนที่เข้ามาบริหารประเทศ หรือใช้อำนาจปกครองต้องได้รับการยินยอมจากประชาชนส่วนใหญ่ (มาจากการเลือกตั้ง) เพราะถือว่าประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ประชาชนจึงมีสิทธิ์เลือกผู้นำหรือตัวแทนเข้ามาบริหารประเทศ
  • พรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งให้เข้ามาบริหารประเทศ จะมีวาระการทำงาน (หมายถึง ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง) โดยทั่วไปจะมีวาระการทำงาน 4 ปี แต่บางประเทศอาจกำหนดไว้ 5 หรือ 6 ปี และเมื่อสิ้นสุดวาระก็ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ ทั้งนี้ แต่ละประเทศจะมีการกำหนดวิธีเลือกตั้งไว้อย่างชัดเจน 
  • รัฐบาลของประเทศ หรือผู้ใช้อำนาจปกครอง เช่น ประธานาธิบดี ต้องเคารพสิทธิและเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน 
    การปกครองแบบเผด็จการ แตก ต่าง จากการปกครองแบบประชาธิปไตย อย่างไร

  • ทุกคนในประเทศมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน ต้องได้รับบริการที่รัฐจัดให้อย่างเท่าเทียมและเสมอภาคกันภายใต้กฎหมาย

รูปแบบของประชาธิปไตย :

ประชาธิปไตยสามารถแบ่งได้ 2 รูปแบบ ได้แก่

1. ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 

  • ระบอบการปกครองนี้ ฐานะของพระมหากษัตริย์จะอยู่เหนือการเมือง และใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชนผ่านรัฐสภา คณะรัฐมนตรีและศาล อย่างเช่นประเทศไทยเรานั่นเอง
  • ประเทศที่มีการปกครองรูปแบบนี้ เช่น ไทย เดนมาร์ก สเปน เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ ญี่ปุ่น เป็นต้น
2. ระบอบประชาธิปไตยที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข 
  • ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งของประชาชน หรืออาจมีจากการเลือกตั้งของรัฐสภา ซึ่งบางประเทศประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขของรัฐ และมีอำนาจบริหารประเทศ แต่บางประเทศประธานาธิบดีมีสถานะเป็นประมุขของรัฐอย่างเดียว ไม่มีอำนาจด้านการบริหาร แต่ยังไงก็ขึ้นอยู่กับรัฐธรรมนูญของประเทศนั้น ๆ ว่าเป็นแบบไหนนะเพื่อน ๆ 
  • ประเทศที่มีการปกครองรูปแบบนี้ เช่น สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย บราซิล สิงคโปร์ เป็นต้น

การปกครองแบบเผด็จการ แตก ต่าง จากการปกครองแบบประชาธิปไตย อย่างไร

ประเทศสิงคโปร์ที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยมีประธานาธิบดี (คนกลาง) เป็นประมุขและนายกรัฐมนตรี 

(ซ้ายสุด) บริหารประเทศ (ขอบคุณภาพจาก The Prime Minister's Office Singapore)

เผด็จการ คืออะไร ?

ระบอบเผด็จการ หมายถึง ระบอบที่อำนาจสูงสุดเป็นของผู้นำ โดยอาจเป็นคนคนเดียว คณะบุคคลกลุ่มเดียว หรือพรรคเดียว ซึ่งคนเหล่านี้สามารถควบคุมและบังคับประชาชนได้อย่างเด็ดขาด 

หลักการสำคัญของเผด็จการ :

  • ผู้นำจะมีอำนาจสูงสุด และสามารถใช้อำนาจนั้นได้อย่างเต็มที่ โดยไม่จำเป็นต้องฟังเสียงของประชาชน ขณะเดียวกันประชาชนก็ไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์ผู้นำได้อย่างเปิดเผย อีกทั้งผู้นำสามารถละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เพื่อรักษาความมั่นคงของผู้นำเอง (ให้ความสำคัญกับความมั่นคงของผู้นำเป็นหลัก)
  • ไม่มีระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง และวิธีการเข้ามาทำหน้าที่ที่ชัดเจน ทำให้ผู้นำหรือคณะผู้นำสามารถอยู่ในอำนาจนานแค่ไหนก็ได้ (อาจจะตลอดชีวิต หรือสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นก็ได้) โดยที่ประชาชนไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลง
  • ในระบอบเผด็จการของบางประเทศอาจมีรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้ง แต่รัฐธรรมนูญนั้นจะมีจุดหมายเพื่อรองรับอำนาจของผู้นำ ส่วนการเลือกตั้งก็จะเป็นเพียงการเลือกผู้สมัคร ที่ผู้นำได้คัดเลือกมาแล้วเท่านั้น

รูปแบบการปกครองแบบเผด็จการ

การปกครองแบบเผด็จการ แตก ต่าง จากการปกครองแบบประชาธิปไตย อย่างไร
:

สำหรับระบอบการปกครองแบบเผด็จการแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่

  1. ระบอบเผด็จการทหารที่ผู้นำสูงสุดจะเป็นผู้นำฝ่ายทหาร  เช่น ประเทศญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยในช่วงรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นต้น
  2. เผด็จการฟาสซิสต์หรือเผด็จการชาตินิยม ที่เชื่อว่าเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ของตนเองมีความสูงส่งกว่าชนชาติอื่น โดยผู้นำทหารจะเข้ามากุมอำนาจทางการเมือง เหมือนกับระบอบเผด็จการทหาร ซึ่งพบการปกครองรูปแบบนี้มีเฉพาะในอดีต เช่น ระบอบฟาสซิสต์ของประเทศอิตาลี โดยผู้นำเผด็จการที่ชื่อว่า เบนิโต มุโสลินี (Benito Mussolini) และระบอบฟาสซิสต์ของประเทศเยอรมนี โดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler)
  3. เผด็จการคอมมิวนิสต์ ที่ปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์เพียงพรรคเดียว และมีอำนาจควบคุมกิจกรรมการดำเนินชีวิตของประชาชนในทุก ๆ ด้าน ทั้งการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม ทำให้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ‘เผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ’ เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เป็นต้น

การปกครองแบบเผด็จการ แตก ต่าง จากการปกครองแบบประชาธิปไตย อย่างไร

พรรคคอมมิวนิสต์ที่ประเทศจีน (ขอบคุณภาพจาก DW)

อ่านจบแล้ว ถ้าเพื่อน ๆ อยากอัปเดตสถานการณ์การเมืองไทย คลิกอ่านที่มาที่ไปของการชูสามนิ้ว, ปัญหาการเมืองไทย และการตรวจสอบอำนาจรัฐ หรือ #วิ่งกันนะแฮมทาโร่ กันต่อเลย แต่ถ้าอยากอัปเกรดความรู้สังคมศึกษาและวิชาอื่น ๆ ก็โหลด แอปพลิเคชัน StartDee มาเรียนกับคุณครูที่น่ารักของเรากันได้เลย หรือจะแอบเข้าไปดูใน Youtube ของเราก็ได้นะ

ขอบคุณข้อมูลจาก ครูสุรรังสรรค์ ผาสุขวงษ์ (ครูกอล์ฟ)

และ ครูอิทธิพล จึงวัฒนาวงค์ (ครูจั๊มป์)

Did you know ?

การปกครองในระบอบประชาธิปไตย หากประมุขของรัฐคือประธานาธิบดี จะสามารถแยกย่อยลงไปอีก 3 รูปแบบ ได้แก่

  1. ประธานาธิบดีที่เป็นประมุขของรัฐและฝ่ายบริหาร
  2. ประธานาธิบดีที่เป็นประมุขของรัฐ แต่ไม่ได้เป็นประมุขของฝ่ายบริหาร
  3. ประธานาธิบดีที่เป็นประมุขของรัฐ และร่วมกันบริหารราชการแผ่นดินกับนายกรัฐมนตรี

ส่วนประมุขของรัฐแบบพระมหากษัตริย์ สามารถแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบเช่นกัน ได้แก่

  1. พระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute monarchy) โดยพระมหากษัตริย์สามารถใช้อำนาจ ทั้งนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการได้โดยตรง
  2. พระมหากษัตริย์ในระบอบปรมิตตาญาสิทธิราชย์ (Limited monarchy) โดยพระมหากษัตริย์สามารถใช้อำนาจบริหารได้ แต่อำนาจการพิจารณาคดีต่าง ๆ ยังเป็นของผู้พิพากษา
  3. พระมหากษัตริย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional monarchy) โดยพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ แต่ไม่ได้เป็นประมุข และไม่ได้มีอำนาจในฝ่ายบริหาร อย่างเช่นประเทศไทยเรานั่นเอง

Reference : 

รูปของรัฐและรูปแบบของประมุขของรัฐ. (n.d.). Retrieved August 20, 2020, from https://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/public_law/21.html