การเขียนเพื่อการสื่อสารมีความสำคัญอย่างไร

การเขียนให้ดี และมีประสิทธิภาพ

การเขียนเพื่อการสื่อสารมีความสำคัญอย่างไร

ความสำคัญของการเขียนเพื่อการสื่อสาร

     การเขียนเป็นการสื่อสารที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต การเขียนให้ดีมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้ การสื่อสารสัมฤทธิผลตามที่ต้องการ
     การเขียนมีความสำคัญเพราะการเขียนเป็นการแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึก และความต้องการ ของผู้เขียน  นอกจากนี้การเขียนยังเป็นการถ่ายทอดความรู้ ความคิด และประสบการณ์ให้แก่บุคคลรุ่นหลังๆ ได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์
     ลักษณะเฉพาะของการเขียนเพื่อการสื่อสาร เป็นการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน จึงต้องฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ สามารถเขียนติดต่อสื่อสารได้ถูกต้องทั้งรูปแบบถ้อยคำ สำนวน เพื่อให้การสื่อสารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

การเขียนให้มีประสิทธิภาพ

ประสิทธิภาพในการเขียนจะเกิดจากคุณสมบัติต่อไปนี้

          1. ผู้เขียนต้องมีความรู้ดีพอในเรื่องที่จะเขียนและมีวัตถุประสงค์ในการเขียนอย่างชัดเจน สามารถใช้ภาษาแสดงสารของตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

          2. ผู้เขียนต้องรู้จักเลือกรูปแบบให้เหมาะสมกับเนื้อหา เช่น การสั่งซื้อสินค้าต้องเขียนเป็นรูปจดหมายกิจธุระ ที่สั้นและชัดเจน

คำอวยพรอาจเขียนเป็นบทร้อยกรองก็ได้

          3. ผู้เขียนต้องรู้จักใช้ถ้อยคำสำนวน ทั้งนี้ถ้อยคำสำนวนที่ใช้นั้นจะต้องเหมาะสมกับเนื้อหา โดยคำนึงถึง วัย เพศ ความรู้ และประสบการณ์ต่างๆ

ของผู้รับสาร นอกจากนี้ถ้อยคำสำนวนที่ใช้ในการเขียนต้องมีความหมายชัดเจน เพื่อให้สื่อสารได้ตรงตามวัตถุประสงค์ ควรใช้ถ้อยคำ สำนวน

ที่นิยมเขียนทั่วไปและแสดงรสนิยมการใช้ภาษาสุภาพ

รูปแบบการเขียนเพื่อการสื่อสาร

    การเขียนเพื่อการสื่อสารมีรูปแบบต่างๆ ตามความเหมาะสมของเนื้อหาที่จะเขียน โดยมากจะเขียนเป็น ร้อยแก้ว ในรูปแบบของ จดหมาย บันทึก รายงาน เรียงความ ย่อความ ร้อยกรอง ฯลฯ

สื่อสารด้วยการเขียนจดหมาย

         แบ่งเป็น 2 แบบ คือ

         1. จดหมายส่วนตัว นิยมใช้ถ้อยคำเช่นเดียวกับที่ใช้พูดคุยกันในชีวิตประจำวัน ที่สำคัญคือต้องเขียนให้เรียบร้อย อ่านง่าย ใช้หมึก

สีน้ำเงินเข้ม หรือสีดำ

         2. จดหมายทางการ เขียนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่เป็นการงาน ต้องเขียนให้แจ่มแจ้งเป็นจดหมาย ที่บุคคลเขียนเพื่อติดต่อกับบุคคลอื่น

บุคคลเขียนเพื่อติดต่อกับหน่วยงาน ราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานหนึ่งเขียนถึงอีกหน่วยงานหนึ่ง

สื่อสารด้วยการเขียนบันทึก

    การเขียนบันทึกเป็นการเขียนสำหรับส่งสารภายในหน่วยงานหนึ่งๆ เป็นการเขียนเกี่ยวกับเรื่องราวที่เป็นกิจธุระของหน่วยงาน ใช้สำหรับส่งสารอย่างรวบรัดให้ได้ความมาก ใช้เวลาและหน้ากระดาษน้อย มักใช้เป็นเอกสารที่เปิดเผยส่งจากผู้เริ่มส่งสารผ่านสายงาน ไปตามลำดับจนถึงผู้ที่อยู่ในฐานะเป็นผู้รับสาร การเขียนบันทึกไม่ใช่งานเขียนเฉพาะบุคคล ฉะนั้นถ้อยคำใช้จึงต้องเป็นไปตามแบบแผน

สื่อสารด้วยการเขียนรายงาน

    รายงาน เป็นการเขียนเพื่อแถลงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นให้ผู้ใดผู้หนึ่งหรือบุคคลคณะใดคณะหนึ่งทราบ รายงานเขียนได้หลายแบบ อาจเขียนเป็นรายงานโดยตรง เขียนเป็นบันทึกหรือจดหมายก็ได้ จะเขียนด้วยถ้อยคำที่แสดงความหมายตรงๆ หรือเขียนเป็นสำนวนการประพันธ์ ก็ได้ จะทำเป็นรูปเล่มหรือเอกสารก็ได้ การเขียนควรใช้ถ้อยคำที่ผู้รับสารเข้าใจได้ชัดแจ้งและตรงกับความจริง โดยไม่ใช้ความรู้สึกของผู้เขียน เป็นเกณฑ์ ส่วนการเขียนรายงานเป็นบทความ จดหมาย หรือรายงานโดยใช้ศิลปะการประพันธ์นั้น ก็เป็นการเขียนที่มีลักษณะพิเศษ

สื่อสารด้วยการเขียนเรียงความ

    เรียงความ เป็นศิลปะอย่างหนึ่งของการใช้ภาษาเรียบเรียงให้เป็นเนื้อเรื่อง โดยแสดงความคิด ความรู้สึก จินตนาการ และความเข้าใจ ด้วยภาษาที่ถูกต้อง สละสลวย ดังนั้น ผู้เขียนจึงจำเป็นต้องศึกษากฎเกณฑ์และฝึกเขียนอยู่เสมอ
    เรียงความมีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ คำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป เรียงความที่ดีต้องมีเอกภาพ สัมพันธภาพ และสารัตถภาพ

         เอกภาพ คือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หมายความว่าไม่ให้เขียนนอกเรื่อง

        สัมพันธภาพ คือ ความสัมพันธ์กัน หมายถึง ข้อความแต่ละข้อความหรือแต่ละย่อหน้าจะต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน

        สารัตถภาพ คือ การเน้นสาระสำคัญของย่อหน้าแต่ละย่อหน้า และของเรื่องทั้งหมด โดยใช้ประโยคสั้นๆ สรุปกินความทั้งหมด

สำหรับโวหารที่ใช้ในการเขียนเรียงความ ได้แก่ บรรยายโวหาร พรรณาโวหาร เทศนาโวหาร อุปมาโวหาร สาธกโวหาร

สื่อสารด้วยการเขียนย่อความ

   การย่อความเป็นการเก็บใจความสำคัญของเรื่องต่างๆ แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่แต่เพียงย่อๆ เพื่อให้อ่าน เข้าใจเรื่องได้ครบบริบูรณ์ รวดเร็วและนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป การเขียนจะใช้รูปแบบการย่อตามเนื้อเรื่องที่จะย่อ และใช้สำนวนภาษาของผู้ย่อเอง

สื่อสารด้วยการเขียนร้อยกรอง

   การเขียนเพื่อการสื่อสารนอกจากจะเขียนแบบร้อยแก้วแล้ว เราสามารถสื่อสารด้วยการเขียนร้อยกรองด้วย
   ร้อยกรองเป็นข้อความที่ประดิษฐ์ประดอยตกแต่งถ้อยคำภาษาอย่างมีแบบแผนและมีเงื่อนไขพิเศษบังคับไว้ เช่น บังคับจำนวนคำ บังคับวรรค บังคับสัมผัส เรียกว่า “ฉันทลักษณ์”
   คำประพันธ์หรือร้อยกรองมีหลายประเภท เช่น โคลง กลอน กาพย์ ฉันท์ และร่าย
 
   การเขียนจะเกิดประสิทธิภาพอย่างแท้จริง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในงาน เขียนทุกประเภท ทั้งงานเขียนที่เป็น ร้อยแก้วและร้อยกรอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานเขียนที่เป็นร้อยกรองนั้น ต้องพยายามจดจำฉันทลักษณ์ของร้อยกรองแต่ละชนิดให้ถูกต้องแม่นยำ จึงจะสามารถสื่อสารกับผู้อ่านได้อย่างสมบูรณ์

การเขียนสือสารมีประโยชน์อย่างไร

1. เป็นสื่อกลางใน การติดต่อระหว่าง บุคคล 2. เป็นเครื่องมือ ติดตามควบคุมการ ปฏิบัติงาน 3. ช่วยในการ ตัดสินใจและแก้ไข ปัญหา 4. ช่วยให้ทราบ ปัญหาและอุปสรรค ในการทางาน 5. เป็นหลักฐานที่ ถาวร

การเขียนเพื่อการสื่อสารมีวัตถุประสงค์อะไร *

เพื่อให้ข้อมูล ข่าวสาร คือ การถ่ายทอดเรื่องราว เหตุการณ์ต่างๆ ไปยังผู้รับสาร มุ่งชี้แจงข้อเท็จจริง สร้างความรู้ ความเข้าใจ เพื่อโน้มน้าวจิตใจ คือ การส่งสารที่มุ่งให้ผู้รับคล้อยตาม เปลี่ยนความคิด พฤติกรรม ตามที่ผู้ส่งสารเสนอ

การเขียนเพื่อการสื่อสารมีความหมายว่าอย่างไร

1. ความหมายของการเขียนเพื่อการสื่อสาร การเขียนเพื่อการสื่อสาร คือ การถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความต้องการ อารมณ์ ความ รู้สึก และประสบการณ์ของผู้เขียนไปยังผู้อ่านเพื่อให้เข้าใจตรงตามจุดประสงค์ของผู้เขียนโดยใช้ตัว อักษรในภาษาเป็นเครื่องมือ ซึ่งการเขียนเพื่อการสื่อสารมีความสำคัญอย่างยิ่งดังต่อไปนี้

การเขียนมีความสำคัญต่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันของมนุษย์อย่างไร

1) เป็นเครื่องมือสื่อสารอย่างหนึ่งของมนุษย์ ที่ต้องการถ่ายทอดความคิดความเข้าใจ และประสบการณ์ของตนเองออกเสนอผู้อ่าน 2) เป็นการเก็บบันทึกรวบรวมข้อมูล ที่ตนได้มีประสบการณ์มาก่อน 3) เป็นการระบายอารมณ์อย่างหนึ่ง ในเรื่องที่ผู้เขียนเกิดความรู้สึกประทับใจหรือมีประสบการณ์