วัตถุประสงค์ของคู่มือการปฏิบัติงานสำคัญอย่างไร

การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน ใช่เพียงแค่การเขียน Work Flow เท่านั้น แต่การเขียนคู่มือการปฏิบัติงาน ยังใช้เป็นหลักฐานแสดงวิธีการทำงานที่สามารถถ่ายทอดให้กับผู้เข้ามาปฏิบัติงานใหม่ พัฒนาการทำงานให้เป็นมืออาชีพ และใช้ประกอบการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรได้ รวมทั้งแสดงหรือเผยแพร่ให้กับบุคคลภายนอก หรือผู้ใช้บริการ สามารถเข้าใจและใช้ประโยชน์จากกระบวนการที่มีอยู่เพื่อขอรับการบริการที่ตรงกับความต้องการ

Show

          จากการที่ได้เข้าร่วมอบรม "การจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน" โดยอาจารย์พรภัทร อินทรวรพัฒน์ จากมหา่วิทยาลัยสวนดุสิต ได้รับความรู้ใหม่ที่ลบล้างความคิดเดิมๆ ที่คิดว่าการจัดทำคู่มือปฏิบัติงานมันเป็นเพียงการทำ Flow Chart เท่านั้นเอง ซึ่งไม่ได้บอกอะไรเลย และที่เคยเห็นผ่านๆ มา ทุกคนทำคู่มือจากวิธีเดิมๆ ก็ลอกๆ กันมา ซึ่งเป็นการบอกแค่ขั้นตอนการทำงานเท่านั้น แต่การได้เข้ารับการอบรมในครั้งนี้ ทำให้ได้แนวคิดใหม่และผู้เรียนรู้ได้เห็นประโยชน์จากการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานแบบใหม่นี้อีกเยอะ  สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการสอนงานได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน ใช่เพียงแค่การเขียน Work Flow หรือแค่การเขียน Flow Chart เท่านั้น  แต่การเขียนคู่มือการปฏิบัติงาน ยังใช้เป็นหลักฐานแสดงวิธีการทำงานที่สามารถถ่ายทอดให้กับผู้เข้ามาปฏิบัติงานใหม่ พัฒนาการทำงานให้เป็นมืออาชีพ และใช้ประกอบการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรได้ รวมทั้งแสดงหรือเผยแพร่ให้กับบุคคลภายนอก หรือผู้ใช้บริการ สามารถเข้าใจและใช้ประโยชน์จากกระบวนการที่มีอยู่เพื่อขอรับการบริการที่ตรงกับความต้องการ  

คู่มือปฏิบัติงานคืออะไร???  

1. แผนที่บอกเส้นทางการทำงานที่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของกระบวนการ  

2. ระบุถึงขั้นตอนและรายละเอียดต่าง ๆ ของกระบวนการ มักจัดทำขึ้นสำหรับงานที่มีความซับซ้อน มีหลายขั้นตอนและเกี่ยวข้องกับหลายคน  

3. สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงาน  

4. เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานไว้ใช้อ้างอิง ไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน

ประโยชน์การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual)

•ใช้ฝึกอบรมบุคลากรใหม่ (การจัดการความรู้)

•ประหยัดงบประมาณในการฝึกอบรม เนื่องจากหัวหน้างานใช้เป็นคู่มือในการสอนงาน

•ทำให้การกำหนดหน้าที่การงานชัดเจนไม่ซ้ำซ้อน

•ใช้ในการควบคุมงานและการติดตามผลการปฏิบัติงานให้มีความผิดพลาดในการทำงานลดน้อยลง

•เป็นคู่มือในการประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Review) ของบุคลากร

•ช่วยในการปรับปรุงงานและออกแบบกระบวนงานใหม่

•ใช้เป็นฐานในการประกาศเวลามาตรฐานการให้บริการ

•ได้รับทราบภาระหน้าที่ของตนเองชัดเจนยิ่งขึ้น

•ได้เรียนรู้งานเร็วขึ้นทั้งตอนที่เข้ามาทำงานใหม่ / หรือตอนที่จะย้ายงานใหม่

•มีขั้นตอนในการทำงานที่แน่นอน ทำให้การทำงานได้ง่ายขึ้น

•รู้จักวางแผนการทำงานเพื่อให้ผลงานออกมาตามเป้าหมาย

•สามารถใช้เป็นแนวทางเพื่อการวิเคราะห์งานให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

•สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะมีสิ่งที่อ้างอิง

•สร้างความเป็นมืออาชีพในการปฏิบัติงาน

ลักษณะที่ดีของคู่มือการปฏิบัติงาน

•กระชับ ชัดเจน เข้าใจได้ง่าย

•เป็นประโยชน์สำหรับการทำงานและฝึกอบรม

•เหมาะสมกับองค์กรและผู้ใช้งานแต่ละกลุ่ม

•มีความเป็นปัจจุบัน (Update) ไม่ล้าสมัย

•แสดงหน่วยงานที่จัดทำ วันที่บังคับใช้

วิจัยเชิงคุณภาพ ได้รับการนำไปใช้ในการดำเนินวิจัยอย่างหลากหลาย ที่เป็นเช่นนี้ เพราะกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพเข้าถึงกลุ่มผู้ให้ข้อมูลมากกว่า ซึ่งนักวิจัยที่ใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพนั้นจะต้องเข้าไปสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง ตามสภาพการณ์ แล้วจึงนำมาถ่ายทอดให้แก่ผู้ที่หยิบยกงานวิจัยขึ้นมาอ่าน ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ จะต้องได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี หากผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในเรื่องดังกล่าว นับว่าเป็นเรื่องที่ยากยิ่ง ดังนั้นในการหาทางลัดสำหรับผู้ที่มีประสบการณ์น้อยหรือไม่มีประสบการณ์ก็ควรที่จะศึกษา จากประสบการณ์ของนักวิจัยท่านอื่น ๆ ซึ่งจะต้องเลือกให้สอดคล้องกับบริบทที่ตนจะศึกษา

วัตถุประสงค์ของคู่มือการปฏิบัติงานสำคัญอย่างไร

วัตถุประสงค์ของคู่มือการปฏิบัติงานสำคัญอย่างไร

การวิจัยเชิงคุณภาพ

สั่งซื้อหนังสือ

“งานวิจัยมีหลายประเภท แต่ละประเภทมีขั้นตอน กระบวนการและการให้คำตอบที่แตกต่างกัน งานวิจัยที่เป็นเชิงคุณภาพ ก็เป็นประเภทหนึ่ง ที่มีขั้นตอน กระบวนการ และการให้คำตอบที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ในรูปแบบของการอธิบาย ให้รู้ถึงภูมิหลังที่มา สภาพปัจจุบัน และอนาคต ได้เป็นอย่างดี หนังสือเล่มนี้ ได้กล่าวถึง ขั้นตอน กระบวนการในการได้มาซึ่งคำตอบของงานวิจัย เชิงคุณภาพอย่างละเอียด ตามประสบการณ์ที่ผู้เขียนได้รวบรวมมา”

การวิจัยเชิงคุณภาพ

สารบัญ

  • บทที่ 1 ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ
  • บทที่ 2 การกำหนดชื่อเรื่องที่เหมาะสมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ
  • บทที่ 3 การเขียนความเป็นมาและปัญหา การวิจัยเชิงคุณภาพ
  • บทที่ 4 การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยเชิงคุณภาพ
  • บทที่ 5 การกำหนดขอบเขตการวิจัยเชิงคุณภาพ
  • บทที่ 6 การศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเชิงคุณภาพ
  • บทที่ 7 ขั้นตอนการวิจัยเชิงคุณภาพ
  • บทที่ 8 การสร้างเครื่องมือการวิจัยเชิงคุณภาพ
  • บทที่ 9 การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ
  • บรรณานุกรม

บทที่ 1 ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ

วิจัยเชิงคุณภาพ คือ ความสำคัญของระเบียบวิธีวิจัย เมื่อกล่าวถึงความหมายของคำว่าระเบียบวิธีวิจัยนั้นจำเป็นจะต้องศึกษาจากความหมาย ของผู้รู้อื่น ๆ ดังต่อไปนี้

นงลักษณ์ วิรัชชัย (2560 : ออนไลน์) กล่าวว่า คำว่าวิธีวิทยาตรงกับศัพท์ภาษา อังกฤษว่า methodology (meta + hodos = way) +logie ตามรากศัพท์วิธีวิทยา หมายถึง วิทยาการ หรือการศึกษาที่มีระบบเกี่ยวกับวิธีการหรือเทคนิควิธี คำว่า “วิธีวิทยาการวิจัย” จึงมีความหมายครอบคลุมระเบียบวิธีดำเนินการทุกขั้นตอนในการวิจัย ได้แก่ การกำหนดปัญหาวิจัย การศึกษาเอกสารและรายงานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย การกำหนดสมมติฐานการวิจัย การกำหนดกลุ่มประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือวิจัย การรวบรวม การนำเสนอ การวิเคราะห์และการแปลความหมายผลการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งรวมอยู่ในวิธีวิทยาทางสถิติ ตลอดจนเทคนิควิธีการวัดและการประเมินผล

วัตถุประสงค์ของคู่มือการปฏิบัติงานสำคัญอย่างไร

วัตถุประสงค์ของคู่มือการปฏิบัติงานสำคัญอย่างไร

ในขณะที่รัตนะ บัวสนธ์ (2551 : น.8) ได้อธิบายว่าระเบียบวิธีวิจัย หมายถึง โลกทัศน์ (World view) หรือบางทีก็เรียกว่า กระบวนทัศน์ (Paradigm) ทฤษฎี หลักการ และการดำเนินงาน ที่ครอบคลุมทุกขั้นตอนตั้งแต่การกำหนดกรอบปัญหาการวิจัยจนกระทั่งการนำผลการวิจัยไปเผยแพร่ และใช้ประโยชน์ สำหรับพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2555 : น.548) ได้ใช้คำว่าวิธีวิทยาการวิจัย (research methodology) ซึ่งให้ความหมายว่า ศาสตร์ว่าด้วยวิธีการวิจัย (research methods) ซึ่งใช้ในการศึกษา ค้นคว้า แสวงหาความรู้ความจริงและการประดิษฐ์นวัตกรรม ในด้านต่าง ๆ ระเบียบวิธีวิจัยแบ่งได้หลายประเภทขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง เช่น ถ้าใช้การควบคุมตัวแปรเป็นการแบ่งประเภทสามารถจำแนกวิธีวิจัยเป็นวิธีทดลอง (experimental methods) และวิธี ไม่ทดลอง (non-experimental methods) ถ้าใช้ลักษณะข้อมูลและการออกแบบวิจัยเป็นเกณฑ์ แบ่งประเภท สามารถจำแนกระเบียบวิธีวิจัยเป็นระเบียบวิธีเชิงปริมาณ (quantitative methods) ระเบียบวิธีเชิงคุณภาพ (qualitative methods) และระเบียบวิธีเชิงผสม (mix methods) ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า ระเบียบวิธีวิจัยนั้นหมายถึง กระบวนการที่นักวิจัยใช้ในการดำเนินการวิจัยตั้งแต่ต้นจนเสร็จสิ้นกระบวนการวิจัยในครั้งนั้น ๆ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่การกำหนดปัญหา การกำหนดแนวทางในการศึกษาเอกสาร การกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย การกำหนดวัตถุประสงค์และสมมติฐาน การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย การกำหนดเครื่องมือที่ใช้ การเก็บและรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุปผลการวิจัย ตลอดจนการเผยแพร่ผลการวิจัยนั้น ๆ

วัตถุประสงค์ของคู่มือการปฏิบัติงานสำคัญอย่างไร

วัตถุประสงค์ของคู่มือการปฏิบัติงานสำคัญอย่างไร

บทที่ 2 การกำหนดชื่อเรื่องที่เหมาะสมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ

ชื่อเรื่องของงานวิจัยจะบอกความเป็นตัวตนของงานวิจัยเล่มนั้นว่างานเล่มนั้นมีลักษณะ เป็นอย่างไร ทำการศึกษาอะไร กับใคร ซึ่งหากผู้อ่านคุ้นชินกับงานวิจัยเชิงปริมาณแล้วจะพบว่า ในการตั้งชื่อเรื่องของงานวิจัยเชิงปริมาณนั้นจะมีรูปแบบ (pattern) ค่อนข้างตายตัว โดยปกติในชื่อเรื่องนั้นมักจะตั้งโดยอาศัยคำถาม 3 ข้อ เป็นเบื้องต้น ได้แก่ ทำอะไร ทำกับใคร และทำอย่างไร ซึ่งหากอธิบาย โดยใช้ศัพท์ในเชิงวิจัยแล้วจะพบว่า

ทำอะไร หมายถึง นักวิจัยต้องการศึกษาตัวแปรอะไร

ทำกับใคร หมายถึง นักวิจัยต้องการศึกษากับกลุ่มเป้าหมายใด

ทำอย่างไร หมายถึง นักวิจัยต้องการศึกษาในลักษณะใด

บทที่ 3 การเขียนความเป็นมาและปัญหา การวิจัยเชิงคุณภาพ

การเขียนความเป็นมา ในการเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ภูมิหลัง สุดแท้แต่หน่วยงาน หรือสถาบันแต่ละแห่งจะกำหนด ซึ่งก็ให้ความหมายเดียวกัน คือ การแสดงให้เห็นว่าทำไมผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษา ปัญหานี้ สอดคล้องกับจิตราภา กุณฑลบุตร (2560 : ออนไลน์) ได้กล่าวว่า การเขียนความสำคัญ และความเป็นมาของการวิจัย เป็นการเขียนเพื่อตอบคำถามว่าเหตุใดจึงต้องวิจัยเรื่องนี้ ข้อค้นพบ จากการวิจัยจะนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร มีความคุ้มค่าหรือไม่ในการวิจัยเรื่องดังกล่าว นิยมเขียน เป็นความเรียงที่เน้นความเป็นเหตุเป็นผล มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของเนื้อหาสาระ โดยให้มีความกระชับเข้าใจง่าย การเขียนนำเข้าสู่ปัญหาวิจัยควรเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวปัญหา โดยเขียนให้ข้อมูลที่ชัดเจนว่า ณ เวลาปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยในอดีตที่สามารถตอบปัญหาดังกล่าวได้ และปัญหาดังกล่าวสมควรได้รับการแก้ไขด้วยการหาคำตอบ โดยกระบวนการวิจัย ในการเขียนความเป็นมาของปัญหาในงานวิจัย เชิงคุณภาพนั้นก็มีจุดเริ่มต้นไม่ต่างจากงานวิจัยเชิงปริมาณซึ่งงานวิจัยทั้งสองลักษณะนี้ก็จะแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาด้วยกันทั้งคู่

โดยทั่วไปแล้วการเขียนส่วนนี้จะมีหลักการเขียนโดยใช้การเชื่อมโยงให้เหตุผลแบบสามเหลี่ยมหัวกลับ ดังนี้

วัตถุประสงค์ของคู่มือการปฏิบัติงานสำคัญอย่างไร

วัตถุประสงค์ของคู่มือการปฏิบัติงานสำคัญอย่างไร
ภาพที่ 1 การเขียนความเป็นมาของปัญหา

บทที่ 4 การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยเชิงคุณภาพ

การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย

ก่อนที่ผู้เขียนจะแนะนำการกำหนดวัตถุประสงค์รวมไปถึงวิธีการเขียนนั้น ผู้เขียนใคร่ขออธิบายถึงคำว่าวัตถุประสงค์พอเป็นสังเขปดังนี้

ตามพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2555 : น.379) ได้กล่าวว่า วัตถุประสงค์ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า objective ซึ่งให้ความหมายไว้ 3 ลักษณะดังนี้

ลักษณะที่ 1 ในการเรียนการสอน หมายถึง ข้อความที่แสดงเจตจำนงของผู้สอนและผู้เรียน ซึ่งต้องการให้ผู้เรียนบรรลุผลสำเร็จ เช่น ความรู้ ความคิด ความสามารถและความดี หรืออย่างใด อย่างหนึ่งซึ่งต้องสามารถวัดและประเมินผลได้ ส่วนในระดับการวางแผนการสอนใช้คำว่า จุดประสงค์

ลักษณะที่ 2 ในการบริหาร หมายถึง เจตจำนงหรือข้อความที่ระบุผลสำเร็จของนโยบาย มาตรการ แผน โครงการ การปฏิบัติงานทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ มีลักษณะสำคัญ คือ วัตถุประสงค์นั้นสามารถปฏิบัติได้ วัดและประเมินได้ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาต่อไป

ลักษณะที่ 3 ในการวิจัย หมายถึง ข้อความที่ต้องการจะหาคำตอบและสามารถทดสอบ หรือพิสูจน์ได้

วัตถุประสงค์ของคู่มือการปฏิบัติงานสำคัญอย่างไร

วัตถุประสงค์ของคู่มือการปฏิบัติงานสำคัญอย่างไร

บทที่ 5 การกำหนดขอบเขตการวิจัยเชิงคุณภาพ

การกำหนดขอบเขตของการวิจัย ในการดำเนินการวิจัยนั้น จำเป็นจะต้องกำหนดขอบเขตของการวิจัยไว้ เพื่อให้ผู้ทำวิจัยได้ ดำเนินการภายใต้สิ่งที่ตนได้วางกรอบไว้ มิเช่นนั้นแล้วนักวิจัยจะไม่มีทิศทางในการดำเนินงาน ทำให้เกิดอาการสะเปะสะปะ ทำไปเรื่อย ซึ่งสิ่งที่นักวิจัยต้องกำหนดไว้ในขอบเขต ได้แก่ ขอบเขตด้านเนื้อหา หรือประเด็นที่ศึกษา ขอบเขตด้านระเบียบวิธีวิจัย ขอบเขตด้านพื้นที่ และ/หรือขอบเขตด้านระยะเวลา เช่นเดียวกับ ทิวัตถ์ มณีโชติ (2560 ออนไลน์) ซึ่งได้กล่าวว่าขอบเขตการวิจัย หมายถึง การจำกัด หรือกำหนดขอบเขตให้แก่การวิจัยไม่ควรนำไปปนกับข้อจำกัดของการวิจัยซึ่งมักจะกล่าวถึงในตอนท้าย การกำหนดขอบเขตการวิจัยนั้น อาจกำหนดได้หลายอย่าง  เช่น

  1. ขอบเขตที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่ศึกษา
  2. ขอบเขตที่เกี่ยวกับกลุ่มตัวอย่าง
  3. ขอบเขตที่เกี่ยวกับเวลา
  4. ขอบเขตที่เกี่ยวกับวิธีการรวบรวมข้อมูล
  5. ขอบเขตที่เกี่ยวกับตัวแปรที่ต้องศึกษา

การเขียนขอบเขตของการวิจัย จะต้องระบุให้ชัดเจน และถ้าเป็นไปได้ควรให้เหตุผลไว้ด้วยว่าทำไมจึงกำหนดขอบเขตไว้เช่นนั้น

บทที่ 6 การศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเชิงคุณภาพ

“การทบทวนไม่ใช่แค่การรวบรวม แต่ต้องประเมินด้วย” (โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, 2553 : น.38) ผู้เขียนมีความเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับวลีดังกล่าว ทั้งนี้เพราะการศึกษาทฤษฏี แนวคิด เอกสาร วรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนั้น นักวิจัยต้องใช้วิจารณญาณที่ค่อนข้างสูงในการเลือกเอกสารต่าง ๆ มาศึกษา และทำการประเมินว่าเอกสารที่หยิบมานั้นมีความน่าเชื่อถือ และเกี่ยวข้องกับงานวิจัยของตนมากน้อยเพียงใด มิใช่เป็นเพียงแค่การรวบรวมงานที่เกี่ยวข้องแล้วนำมาจัดพิมพ์ลงในเล่มรายงานวิจัยเท่านั้น

ความหมายและความสำคัญของการทบทวนวรรณกรรม ใครจะทำวิจัยเรื่องใด ต้องไปศึกษาวรรณกรรมหรือทบทวนวรรณกรรมให้มาก ๆ (สิน พันธ์พินิจ, 2551 : น.71) ทั้งนี้เพราะวรรณกรรมนั้น เป็นปัจจัยป้อนสู่กระบวนการวิจัยที่สำคัญ เพราะการศึกษาวรรณกรรมนั้นจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการสร้างแนวคิด ทฤษฎี และข้อมูลเชิงประจักษ์สำหรับ การกำหนดเรื่องวิจัย อีกทั้งยังเป็นกรอบสำหรับกำหนดสิ่งที่จะศึกษาและเป็นเสมือนเกณฑ์ฐาน เพื่อเอาไว้เปรียบเทียบกับผลการวิจัย (Punch, 1998 : p.44, Creswell, 1994 : p.21) ทั้งนี้นักวิจัยควรศึกษาวรรณกรรมก่อนที่จะกำหนดแนวคิด วัตถุประสงค์ หรือขอบเขตของการวิจัย จนกระทั่งรวมไปถึงนิยามศัพท์ในงานวิจัยเสียด้วยซ้ำไป

บทที่ 7 ขั้นตอนการวิจัยเชิงคุณภาพ

การออกแบบการวิจัย หมายถึง แผนงานหรือแนวทางในการศึกษาการดำเนินการวิจัยเพื่อให้ผู้วิจัยใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการวิจัยตั้งแต่กระบวนการขั้นต้น ได้แก่ การกำหนดปัญหา การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล จนกระทั่งการสรุปผลการวิจัย เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่ากระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพนั้นสามารถปรับเปลี่ยนได้ ยืดหยุ่นได้ หากแต่การปรับเปลี่ยนจะมีผลกระทบต่อการดำเนินการในขั้นถัดไปดังแนวคิดของทฤษฎีความโกลาหล (The Butterfly Effect) “ว่ากันว่าแม้เพียงปีกผีเสื้อกระพือ ก็อาจจะก่อให้เกิดพายุกระหน่ำแรงถึงครึ่งโลก” นั่นคือ หากมีการปรับเปลี่ยนปัญหาการวิจัย กระบวนการต่อไปก็ต้องได้รับการปรับเปลี่ยนไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมาย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล จนกระทั่งถึงผลการวิจัย ดังเช่นการขยับปีกของผีเสื้อเพียงหนึ่งครั้ง หากมีช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม การกระพือปีกนั้น ก็จะส่งผลต่อ ๆ กันไปจนทำให้เกิดพายุที่ยิ่งใหญ่ต่อไปได้นั่นเอง

วัตถุประสงค์ของคู่มือการปฏิบัติงานสำคัญอย่างไร

วัตถุประสงค์ของคู่มือการปฏิบัติงานสำคัญอย่างไร
ภาพที่ 2 กรอบแนวคิดที่สร้างจากข้อมูล

บทที่ 8 การสร้างเครื่องมือการวิจัยเชิงคุณภาพ

แม้ว่าตัวผู้วิจัยจะเป็นเครื่องมือหลักของการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ หากแต่นักวิจัยเมื่อลงไปทำการเก็บข้อมูลโดยที่ไม่มีการเตรียมความพร้อมหรือวัสดุอุปกรณ์ เครื่องช่วยต่าง ๆ ย่อมได้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนหรือได้ข้อมูลที่ไม่ดีพอ ดังนั้นเมื่อนักวิจัยจะลงไปในสนามเพื่อทำการเก็บรวบรวมข้อมูลนั้นจำเป็นจะต้องมีอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้สำหรับช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อให้สะดวกสำหรับนักวิจัยและเก็บข้อมูลได้ครบถ้วนตามประเด็นที่ต้องการ

สำหรับเครื่องมือหรือวิธีการที่นิยมใช้เป็นหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูลในงานวิจัยเชิงคุณภาพนั้น ได้แก่ การสังเกต การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม ซึ่งในบทนี้จะกล่าวถึงประเภท และวิธีการสร้าง เครื่องมือแต่ละชนิด

บทที่ 9 การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ

หลังจากที่ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างเครื่องมือเพื่อเป็นตัวช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้ว จากนั้นนักวิจัยก็ต้องนำเครื่องมือวิจัยที่สร้างขึ้นไปทำการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งข้อมูลแต่ละชนิด แต่ละประเภทล้วนมีเทคนิค วิธีการ ความยากง่ายในการเก็บที่แตกต่างกัน ซึ่งในบทนี้ผู้เขียนจะได้นำเสนอวิธีการเก็บข้อมูลตามลักษณะของเครื่องมือในแต่ละประเภทที่สืบเนื่องมาจากบทที่ผ่านมา และยกตัวอย่างของข้อมูลในแต่ละประเภทเพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

การบันทึกภาคสนาม “บันทึกภาคสนาม” (อานันท์ กาญจนพันธุ์, 2557) ในทางมานุษยวิทยาถือเป็นงาน ที่มีความสำคัญ ในความเป็นจริง การบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ไม่ได้เป็นเรื่องเฉพาะนักมานุษยวิทยาเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของใครก็ตามที่สนใจและต้องการที่จะเข้าใจคนอื่น ในปี ค.ศ. 1296-1297 นักเดินทางชาวจีน ชื่อ Chou Ta Kuan ได้บักทึกการเดินทางไปนครวัดในหนังสือชื่อ “Reporting Angkor” โดยเป็นมุมมองของคนในยุคนั้น งานดังกล่าวมีการแปลหลายภาษา

บรรณานุกรม

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. (2553). 10 ขั้นตอนง่าย ๆ วิจัยเชิงคุณภาพ เคล็ดวิชาจากสามัญสู่ขั้นเทพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขศาลา.

จิตรภา กุณฑลบุตร. (2560). การเขียนความสำคัญและความเป็นมาของการวิจัย. สืบค้น 9 ตุลาคม 2560,
จาก https://www.gotoknow.org/posts/261202

ทิวัตถ์ มณีโชติ. (2560). เทคนิคการเขียนรายงานการวิจัย. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2560, จาก
http://rlc.nrct.go.th/ewt_dl.php?nid=1454

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2560). วิธีวิทยาการวิจัยขั้นสูงด้านการวิจัยและสถิติ. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2560,
จาก https://witclub.wordpress.com

ราชบัณฑิตยสถาน. (2555). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

รัตนะ บัวสนธ์. (2551). ปรัชญาวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตนะ บัวสนธ์. (2552). วิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: คำสมัย.

สิน พันธุ์พินิจ. (2551). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2557). สรุปปาฐกถาเรื่อง “พัฒนาการและคุณค่าของบันทึกภาคสนาม” โดย ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์. ในงานเสวนาวิชาการ บันทึกภาคสนาม : ความรู้ ความลับ และความทรงจำ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ร่วมกับภาควิชาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และสมาคมนักสังคมวิทยา และมานุษยวิทยาสยาม (SASA). จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2557.

Punch, K. F. (1998). Introduction to Social Science Research : Quantitative and Qualitative
Approaches. London: SAGE Publication.

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Summary

วัตถุประสงค์ของคู่มือการปฏิบัติงานสำคัญอย่างไร

วัตถุประสงค์ของคู่มือการปฏิบัติงานสำคัญอย่างไร

Article Name

วิจัยเชิงคุณภาพ

Description

วิจัยเชิงคุณภาพ คือ ความสำคัญของระเบียบวิธีวิจัย เมื่อกล่าวถึงความหมายของคำว่าระเบียบวิธีวิจัยนั้นจำเป็นจะต้องศึกษาจากความหมาย

Author

สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร

Publisher Name

สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร

Publisher Logo

วัตถุประสงค์ของคู่มือการปฏิบัติงานสำคัญอย่างไร

Qualitative research การวิจัยเชิงคุณภาพ วิจัยเชิงคุณภาพ

Soraya S.

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงไหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน

เหตุใดจึงต้องใช้สัญลักษณ์ในคู่มือการปฏิบัติงาน

การใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ในการเขียนแผนผังการทํางาน เพื่อให้เห็นถึง ลักษณะ และความสัมพันธ์ก่อนหลังของแต่ละขั้นตอนในกระบวนการทํางาน ประโยชน์ของ Flowchart. oทําให้ เข้าใจกระบวนการงาน และแยกแยะปัญหาในแต่ละขั้นตอนได้ง่าย oแสดงลําดับการทํางาน oหาข้อผิดพลาดได้ ง่าย

เหตุใดผู้อ่านจึงต้องอ่านคู่มือการปฏิบัติงาน หรือวิธีการใช้เครื่องอุปกรณ์ช้า ๆ

การอ่านคู่มือการปฏิบัติงาน หรือคู่มือการใช้อุปกรณ์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เข้าใจขั้นตอนการปฏิบัติงาน การใช้อุปกรณ์ต่างๆ ผู้อ่านต้องอ่านคู่มืออย่างช้าๆ เพื่อทำความเข้าใจ การปฏิบัติงาน วิธีการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ อย่างละเอียด และอาจทดลองปฏิบัติตาม

คู่มือการใช้งานมีประโยชน์อย่างไร

ประโยชน์การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน (Work Manual) ใช้ฝึกอบรมบุคลากรใหม่ (การจัดการความรู้) ประหยัดงบประมาณในการฝึกอบรม เนื่องจากหัวหน้างานใช้เป็นคู่มือในการสอนงาน ทำให้การกำหนดหน้าที่การงานชัดเจนไม่ซ้ำซ้อน

คู่มือปฏิบัติงานมีอะไรบ้าง

คู่มือการปฏิบัติงานแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ 1. Manual Book เป็นคู่มือที่น าเอา กฎ พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หนังสือเวียน มติ หนังสือตอบข้อหารือที่เกี่ยวข้อง มารวบรวมไว้เป็น หมวดหมู่ แล้วท าเป็นรูปเล่ม 2. Cook Book เป็นคู่มือที่มีลักษณะเหมือน ระดับ Manual Book แต่ต้องเพิ่มเติม ขั้นตอน วิธีการ ...