แผนกแม่บ้านในโรงแรมมีความสำคัญอย่างไร

การทำงานด้านโรงแรมที่เราใช้บริการกันเป็นประจำนั้นจะมีการแบ่งออกเป็นแผนกต่างๆ มากมายเพื่อสามารถรองรับความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่เข้าไปใช้บริการได้ เพื่อให้ลูกค้าทุกๆ คนที่มาเข้าพักกับโรงแรมเกิดความประทับใจและต้องการกลับมาใช้บริการใหม่อีกครั้ง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเวลาที่เราเห็นพนักงานโรงแรมทำนั่นทำนี่จริงๆ พวกเขาก็จะมีแผนกเป็นของตัวเองอย่างชัดเจนซึ่งแต่ละตำแหน่งก็จะมีหน้าที่ในการให้บริการลูกค้าต่างกันออกไป

  1. แผนกต้อนรับ – เป็นแผนกแรกที่จะต้องพบเจอกับลูกค้าและเป็นแผนกสำคัญที่ทุกโรงแรมต้องมี เพราะแน่นอนว่าเพียงแค่ลูกค้าขับรถเข้ามาในโรงแรมก็ต้องพบเจอกับเจ้าหน้าที่ตอนเดินมาหน้าเคาน์เตอร์เพื่อติดต่อรายละเอียดและอื่นๆ แผนกต้อนรับจะมีหน้าที่ต้อนรับแขกที่เข้าพักเพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆ ให้กับแขกอย่างเต็มที่ เรียกว่าถ้าต้อนรับดีลูกค้าก็ประทับใจเกินครึ่งไปแล้ว ซึ่งโดยทั่วไปเราจะเห็นตำแหน่งแผนกนี้บ่อยๆ เช่น ผู้จัดการส่วนหน้า, พนักงานต้อนรับ, พนักงานขนสัมภาระ เป็นต้น
  2. แผนกครัว – จะเป็นหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอาหารทุกประเภทตั้งแต่การวางแผนซื้อวัตถุดิบ เมนูอาหาร ควบคุมงบประมาณด้านอาหาร และอื่นๆ ตามความเหมาะสม โดยตำแหน่งที่มักอยู่ในโรงแรม เช่น หัวหน้าแผนกครัวหรือกุ๊กใหญ่, รองหัวหน้าแผนกครัว, หัวหน้าครัว (หัวหน้าหน่วยผัก, ครัวอบ, ครัวย่าง, ครัวทอด, หน่วยเนื้อสัตว์, หน่วยของหวาน เป็นต้น). ผู้ช่วยกุ๊ก, กุ๊กฝึกหัด, คนทำความสะอาดครัว
  3. แผนกแม่บ้าน – เป็นแผนกที่จะคอยดูแลความสะอาดความเรียบร้อยต่างๆ ทุกซอกทุกมุมให้กับโรงแรม โดยสามารถแบ่งตำแหน่งคร่าวๆ คือ หัวหน้าแผนกแม่บ้าน, หัวหน้าแม่บ้าน, แม่บ้านประจำชั้นหรือผู้ช่วยแม่บ้าน, เจ้าหน้าที่ดูแลห้องพัก, พนักงานยกของหรือทำความสะอาดทั่วไป, เจ้าหน้าที่ห้องผ้า เป็นต้น
  4. แผนกบริการทั่วไป – หรือบางที่ก็เรียกว่า Guest Service ก็คือแผนกที่ให้บริการเบ็ดเตล็ดของโรงแรมแต่ก็ถือว่าเป็นตำแหน่งงานที่ค่อนข้างบริการแบบเป็นส่วนตัวกับแขกมากๆ เช่น Bell Attendant ยกกระเป๋าแขกจากล็อบบี้ไปที่ห้องพักและจากห้องพักกลับล็อบบี้ Door Attendant ยกกระเป๋าจากรถมาที่ล็อบบี้พร้อมกับอำนวยความสะดวกด้านการจราจร Valet Parking Attendant ดูแลเรื่องที่จอดรถ Transportation Attendant ดูแลเรื่องรถรับส่งแขก Cocierge ช่วยดูแลเรื่องการจองโต๊ะอาหาร การซื้อตั๋ว การจัดหาเรื่องรับส่งเดินทาง เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีแผนกอื่นๆ ทั่วไป เช่น แผนกบัญชี แผนกรักษาความปลอดภัย แผนกขายและการตลาด เพื่อให้โรงแรมต่างๆ นั้นสามารถให้บริการแขกผู้เข้าพักได้อย่างครบวงจรจนเกิดเป็นความประทับใจมากที่สุด ซึ่งแผนกต่างๆ เหล่านี้จริงๆ แล้วจุดประสงค์ทั้งหมดก็คือการให้บริการเป็นหัวใจสำคัญและลูกค้าก็คือคนที่ต้องให้บริการ

คว้างานที่ใช่ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

 

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

การจัดแบ่งแผนกงานต่างๆ ในโรงแรม ตอนแผนกครัว

การจัดแบ่งแผนกงานต่างๆ ในโรงแรม ตอนแผนกต้อนรับ

การจัดแบ่งแผนกงานต่างๆ ในโรงแรม ตอนแผนกบริการทั่วไป

การจัดแบ่งแผนกงานในโรงแรม  งานโรงแรม  งานในโรงแรม  ทำงานโรงแรม  แผนกแม่บ้าน  แผนกแม่บ้านในโรงแรม  แผนกโรงแรม  แผนกในโรงแรม

บทความยอดนิยม

แผนกแม่บ้านในโรงแรมมีความสำคัญอย่างไร

ช้อปดีมีคืน 2566 รวมทุกเรื่องต้องรู้! ช้อปแบบไหนถึงมี (เงิน) คืน

มาตรการลดหย่อนภาษีประจำปี “ช้อปดีมีคืน” ของทางภาครัฐกลับมาอีกครั้ง ชาวไทยผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีจึงพากันให้ความสนใจโครง...

การเป็นแม่บ้านที่ดีไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ว่าจะเป็นแม่บ้านในการทำงานกับโรงแรม รีสอร์ท เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ หรือพนักงานทำความสะอาดของบริษัทและองค์กรทั่วไป หากต้องการให้มีผลงานที่ดี ทำงานแบบมืออาชีพ ได้รับคำชม และมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อทราบและมีโอกาสฝึกปฏิบัติวิธีการและขั้นตอนต่างๆ อย่างถูกวิธี

งานแม่บ้านโรงแรม หมายถึง งานดุแลทุกส่วนของโรงแรม ทั้งห้องพักและบริเวณสาธารณะที่ให้บริการแขก (ยกเว้ย บริเวณครัว เป็นหน้าที่ของ Steward) ตำแหน่งแม่บ้านโรงแรมในหลายๆโรงแรม โดยเฉพาะโรงแรม 4-5 ดาว จะเรียนตำแหน่งนี้ว่า ผู้ช่วยผู้จัดการ หรือ  Assistant Manager คือ เป็นผู้บริหารระดับสูง เป็นหน่วยงานที่เข้าทำงานในทุกเนื้อที่ของโรงแรมเป็น หน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานกับแผนกต่างๆได้ดี ทำให้สามารถมองเห็นการทำงานของทุกฝ่ายได้

แผนกแม่บ้าน (Housekeeping Department) มีหน้าที่รับผิดชอบความสะอาดเรียบร้อยของที่พัก มีลักษณะเป็นงานหลังฉาก (Behind the scenes operation) เหมือนกับงานของแผนกครัว แต่แขกหรือผู้มาใช้บริการจะได้รับผลโดยตรงจากคุณภาพของงานทำนองเดียวกับแผนครัว

แผนกแม่บ้านในโรงแรมมีความสำคัญอย่างไร

แม้ว่างานของแผนกแม่บ้านส่วนใหญ่จะเป็นงานหลังฉาก การติดต่อกับแขกก็มีส่วนสำคัญไม่น้อย ยกตัวอย่างเช่น แขกมาถามว่าที่โรงแรมมีอาหารเจขายหรือไม่ คุณอาจจะคิดว่า มาถามคำถามที่ไม่เห็นเกี่ยวกับงานแม่บ้านซักหน่อย แต่ในฐานะพนักงานคนหนึ่งก็ควรจะรู้เรื่องเกี่ยวกับบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่โรงแรมจัดไว้ให้แขกมากพอที่จะตอบคำถามพื้น ๆ ของแขกได้ ซึ่งในทางหนึ่งก็เป็นการให้ความช่วยเหลือแก่แขกด้วย ถ้าแม่บ้านสามารถตอบคำถามของแขกได้ และตอบอย่างชัดเจนละด้วยความเต็มอกเต็มใจก็จะมีส่วนช่วยให้แขกเกิดความรู้สึกที่ดีและอยากกลับมาพักหรือใช้บริการที่โรงแรมอีก ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์ต่อโรงแรมและต่อพนักงานทุกคนที่ทำงานในโรงแรมนั้นด้วย ตำแหน่งงานในแผนกแม่บ้าน(House-Keeping หรือ Accommodation Service)  โดยทั่วไปจะมีดังนี้

1. หัวหน้าแผนกแม่บ้าน (Executive Housekeeper)

ในบางโรงแรมแผนกแม่บ้านทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับผู้จัดการใหญ่ (general Manager) แต่ในบางโรงแรมแผนกแม่บ้านก็ขึ้นอยู่กับผู้จัดการส่วนหน้า ( Font of House Manager) โดยงานหลักๆ ของหัวหน้าแผนกแม่บ้าน ได้แก่ การตรวจสอบงานส่วนต่างๆของแผนกว่าได้มาตรฐานที่วางไว้หรือไม่ ควบคุมงบประมาณค่าใช้จ่าย จัดตางเวลาการทำงานของพนักงาน และการฝึกอบรม อีกทั้งต้องรับผิดชอบเรื่องกุญแจต่างๆ ที่จะแจกจ่ายให้พนักงานโรงแรม และคอยดูและควบคุมห้องเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาดเอง

2. หัวหน้าแม่บ้าน (Head Housekeeper)

หัวหน้าแม่บ้านจะคอยดูแลตรวจตราการทำงานองผู้ช่วยแม่บ้าน หรือแม่บ้านประจำฟลอร์ 3 คนขึ้นไป ในกรณีเป็นโรงแรมขนาดเล็ก หัวหน้าแม่บ้านก็จะดูแลรับผิดชอบงานแผนกแม่บ้านทั้งหมด

3. แม่บ้านประจำฟลอร์หรือผู้ช่วยแม่บ้าน (Floor Housekeeper หรือ Assistant Housekeeper)

แม่บ้านประจำฟลอร์จะเป็นผู้ตรวจตราการทำงานของพนักงานทำความสะอาด หรือพนักงานดูแลห้องพัก เฉพาะที่ทำงานอยู่ที่ฟลอร์ใดฟลอร์หนึ่งของโรงแรม

4. พนักงานดูแลห้องพัก (Room Attendant)

พนักงานดูแลห้องพัก มีหน้าที่ทำความสะอาดและให้บริการต่างๆที่เกี่ยวกับห้องพัก เช่น ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องอาบน้ำ และห้องส้วม รวมถึงทางเดินหน้าห้องพักด้วย

5. พนักงานยกของ/ทำความสะอาด (Housekeeper)

มีหน้าที่ยกของหรือย้ายพวกเฟอร์นิเจอร์หนักๆ หรือนำขยะไปทิ้ง บางครั้งก็ทำความสะอาดบริเวณที่ใช้ร่วมกันในโรงแรมในเมืองไทยชื่อตำแหน่งนี้จะไม่ค่อยได้พบ ชื่อตำแหน่งที่นิยมใช้กันคือ Cleaner

6. หัวหน้าห้องผ้า (Line Room Supervisor)

หัวหน้าห้องผ้าจะรับผิดชอบผ้าทุกชนิดที่ใช้ในห้องรับแขก (เช่น ผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่ม เป็นต้น) ผ้าของห้องอาหารและแผนกจัดเลี้ยง (ได้แก่ ผ้าปูโต๊ะ ผ้าเช็ดปาก ผ้ารองถาด) และเครื่องแบบพนักงาน โดยการจ่ายผ้าที่ซักสะอาดแล้ว เก็บรวบรวมผ้าที่ใช้แล้ว ปะชุนผ้าที่ขาดและดูแลควบคุมการส่งผ้าไปซักที่แผนที่แผนกซักรีดและการรับคืน ผ้าที่ซักแล้ว

สถานะของห้องพัก Room Status ที่แผนกแม่บ้านใช้กัน มีดังนี้

  • หมวดห้องว่าง จะเป็น สเตตัสที่ขึ้นต้นด้วยตัว ‘V’ = Vacant
    • VC = Vacant Clean หมายถึง ห้องว่างสะอาด แม่บ้านทำความสะอาดแล้ว ฟร้อนสามารถให้แขก C/I ได้
    • VD = Vacant Dirty หมายถึง ห้องว่างสกปรก แขก C/O แล้ว แม่บ้านจะต้องทำความสะอาดห้อง เพื่อให้แขกเข้าพักต่อ
    • VCI = Vacant Clean Inspected หมายถึง ห้องว่างสะอาด Supervisor ตรวจแล้ว
    • VCP = Vacant Clean Pick Up หมายถึง ห้องว่างสะอาด แต่ของภายในห้องยังไม่ครบ เช่น ยังไม่เติมมินิบาร์ เป็นต้น
  • หมวดห้องไม่ว่าง จะเป็น สเตตัสที่ขึ้นต้นด้วยตัว ‘O’ = Occupied
    • OC = Occupied Clean ห้องมีแขกทำความสะอาดแล้ว หรือก็คือ ห้องที่แขก C/I หรือเข้าพักแล้ว
    • OD = Occupied Dirty ห้องมีแขกยังไม่ได้ทำความสะอาด หรือก็คือ มีแขกพักข้ามวันไปแล้ว
    • OCI = Occupied Clean Inspected ห้องมีแขกทำความสะอาดแล้ว Supervisor ตรวจแล้ว
  • หมวดห้องเสีย จะเป็น สเตตัสสำหรับห้องที่ใช้งานไม่ได้
    • OOO = Out of Order ห้องเสียชั่วคราว ไม่สามารถขายได้ (มีการตัดจำนวนห้องว่าง)
    • OOS = Out of Service ห้องที่เสียเล็กน้อย สามารถเปิดขายได้หรือเป็นห้องโชว์รูม เปิดให้เข้าพักได้ (ไม่มีการตัดจำนวนห้องว่าง)
    • OOI = Out of Inventory ห้องที่ไม่มีการขายเลย อาจจะเสียถาวร หรือเป็นห้องพักของเจ้าของ หรือเป็นออฟฟิศ
  • หมวดห้องที่จองแล้ว จะเป็น สเตตัสที่ขึ้นต้นด้วย ‘A’ = Assign
    • Assign Clean ห้องสะอาด และมีคนจองแล้ว รอแขกเข้าพัก (C/I)
    • Assign Dirty แม่บ้านยังไม่ทำความสะอาด แต่มีคนจองแล้ว

ระบบ Hotel Management Software ที่ดีจะสามารถเชื่อมต่อกับระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักได้อย่างราบรื่น (SEAMLESS INTEGRATION) เช่น ระบบ ERP ดังต่อไปนี้

แผนกแม่บ้านมีหน้าที่อะไรบ้าง

แผนกแม่บ้าน – เป็นแผนกที่จะคอยดูแลความสะอาดความเรียบร้อยต่างๆ ทุกซอกทุกมุมให้กับโรงแรม โดยสามารถแบ่งตำแหน่งคร่าวๆ คือ หัวหน้าแผนกแม่บ้าน, หัวหน้าแม่บ้าน, แม่บ้านประจำชั้นหรือผู้ช่วยแม่บ้าน, เจ้าหน้าที่ดูแลห้องพัก, พนักงานยกของหรือทำความสะอาดทั่วไป, เจ้าหน้าที่ห้องผ้า เป็นต้น

แม่บ้าน มีความสําคัญอย่างไร

แผนกแม่บ้าน (Housekeeping Department) มีหน้าที่รับผิดชอบความสะอาดเรียบร้อยของที่พัก มีลักษณะเป็นงานหลังฉาก (Behind the scenes operation) เหมือนกับงานของแผนกครัว แต่แขกหรือผู้มาใช้บริการจะได้รับผลโดยตรงจากคุณภาพของงานทำนองเดียวกับแผนครัว

งานแม่บ้านโรงแรมมีอะไรบ้าง

หน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานตำแหน่งแม่บ้านโรงแรม.
งานทำความสะอาดห้องพัก (Room Cleaning).
งานทำความสะอาดบริเวณสาธารณะ (Public Area Cleaning).
งานห้องผ้า (Linen Room).
งานห้องเครื่องแบบพนักงาน (Uniform Room).
งานห้องซักรีด (Laundry Room).
งานห้องดอกไม้ (Decoration / Flower Room).
งานบริการต้นห้อง (Butler Service).

เหตุใดแผนกแม่บ้านโรงแรมจึงต้องประสานงานกับทุกแผนกในโรงแรม

2. แผนกแม่บ้านมีการประสานงานและความสัมพันธ์กับส่วนต่างๆ ของโรงแรม เพื่อให้แขกมีความประทับใจ และให้การบริการที่มีคุณภาพ