หลักสูตรแกนกลางมีความสำคัญอย่างไร

     

           หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ . ศ .2551 จัดทําขึ้นเพื่อให้เขตพื้นที่การศึกษา หน่วยงานระดับท้องถิ่นและสถานศึกษานําไปเป็นกรอบและทิศทางพัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน จากข้อค้นพบในการศึกษาวิจัยและติดตามผล การใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ที่กล่าวถึง ประกอบกับข้อมูลจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคนในสังคมไทย และจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนาเยาวชนสู่ศตวรรษที่ 1 จึงเกิดการทบทวนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 เพื่อนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่มีความเหมาะสม ชัดเจน ทั้งเป้าหมายของหลักสูตรในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมพัฒนาประเทศพื้นฐานในการดำรงชีวิต การพัฒนาสมรรถนะและทักและกระบวนการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา โดยได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดหมาย สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่ชัดเจน เพื่อใช้เป็นทิศทางในการจัดทำหลักสูตร การเรียนการสอนใน แต่ละระดับ

จุดเด่นของหลักสูตรมีอะไรบ้าง

               1. เพิ่มวิสัยทัศน์หลักสูตร เพื่อให้เป็นเป้าหมายที่ชัดเจน ตรงกันในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาเยาวชนของชาติ

2. เพิ่มสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ได้แก่ ความสามารถในการสื่อสาร การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

3. ปรับปรุงคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ได้แก่ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เป็นอยู่พอเพียง รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ รักความเป็นไทย และมีจิตสาธารณะ

4. กำหนดตัวชี้วัดชั้นปี ได้มีการกำหนดตัวชี้วัดชั้นปีสำหรับการศึกษาภาคบังคับ (ป.1-ม.3) ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเป็นเอกภาพและมีความชัดเจนในการจัดการเรียนการสอนและประเมินผลในแต่ละระดับชั้น รวมทั้งช่วยแก้ปัญหาการเทียบโอนผลการเรียนระหว่างสถานศึกษา

5. กำหนดสาระการเรียนรู้แกนกลาง ได้มีการกำหนดสาระการเรียนรู้แกนกลางเพื่อเป็นจุดร่วมที่ให้ผู้เรียนทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องเรียนรู้ ช่วยให้เกิดความเป็นเอกภาพในการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาเยาวชนในชาติมากขึ้น

6. ปรับโครงสร้างเวลาเรียน ได้มีการปรับโครงสร้างเวลาเรียนใหม่ โดยกำหนดเวลาเรียนขั้นตำในแต่ละปีไว้และเปิดช่องให้สถานศึกษาสามารถกำหนดปรับเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้การจัดหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับผู้เรียนในระดับชั้นต่างๆและในกลุ่มสาระต่างๆมีความเหมาะสม สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาผู้เรียนมากขึ้น

7. ปรับเกณฑ์การวัดผลประเมินผล ได้มีการปรับการวัดผลประเมินผล โดยระดับประถมศึกษา (ป.1-ป.6) ยังคงตัดสินผลการเรียนเป็นรายปีเช่นเดิม แต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นได้เปลี่ยนเป็นการตัดสินผลการเรียนเป็นรายภาค ให้สอดคล้องกับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อรองรับระบบหน่วยกิต

8. กำหนดให้ผู้เรียนให้การบริการสังคม (Community Service) ได้มีการกำหนดให้สถานศึกษาจัดให้ผู้เรียนได้ให้การบริการแก่สังคม โดยให้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และต้องได้รับการประเมินผลอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม

หลักสูตรแกนกลาง from sawitreesantawee

     ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำคัญ ของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานการเรียนรู้ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ และ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อย่างไร เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนั้นมาตรฐานการเรียนรู้ยังเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ เพราะมาตรฐานการเรียนรู้จะสะท้อนให้ทราบว่าต้องการอะไร จะสอนอย่างไร และประเมินอย่างไร รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาโดยใช้ระบบการประเมิน คุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก ซึ่งรวมถึงการทดสอบระดับเขตพื้นที่ การศึกษา และการทดสอบระดับชาติ ระบบการตรวจสอบเพื่อประกันคุณภาพดังกล่าว เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสะท้อนภาพการจัดการศึกษาว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ ตามที่มาตรฐานการเรียนรู้กำหนดเพียงใด

ผศ.ดร.ชัยฤทธิ์ ศลาเดช ได้กล่าวถึง "ข้อดีของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒๕๕๑" ไว้ดังนี้
๑. ตัวชี้วัด
    ๑.๑ ช่วยให้เป้าหมายการเรียนการสอนและการวัดผลในแต่ละระดับชั้นชัดเจนสะดวกต่อการวางแผนการจัดการเรียนรู้
    ๑.๒ ช่วยให้คุณภาพระหว่างสถานศึกษาไม่แตกต่างกัน
    ๑.๓ ควบคุมมาตรฐานคุณภาพการจัดการศึกษาภาคบังคับให้ทัดเทียมกันได้
๒. การจัดทำสาระการเรียนรู้
    ๒.๑ การที่โรงเรียนแต่ละแห่งยึดสาระแกนกลางทำให้เกิดเอกภาพในการจัดการศึกษาและง่ายต่อการนำไปปฏิบัติ
    ๒.๒ การให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีมบทบาทในการกำหนดสารระการเรียนรู้ท้องถิ่นทำให่เยาวชนได้มีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับสภาพท้องถิ่น ชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น
๓. โครงสร่างหลักสูตร/เวลาเรียน
     ๓.๑ ช่วยให้ผู้เรียนได้มีเวลาเรียนร้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับธรรมชาติและจุดเน้นของโรงเรียน
๔. การวัดผลประเมินผลและการจบหลักสูตร
    ๔.๑ ช่วยให้การตรวจสอบตุณภาพผู้เรียนทุกระดับมีความชัดเจนและสามารถแก้ไขพัฒนาผู้เรียนได้รงจุด
    ๔.๒ กำหนดเกณฑ์การจบการศึกษาในทุกระดับช่วยประกันคุณภาพผู้เรียนที่จบการศึกษาแต่ละระดับ
    ๔.๓ รายงานผลการเรียนตามมาตรฐานและตัวชี้วัด ช่วยให้การส่งต่อผู้เรียนและการเทียบโอนระหว่างสถานศึกษาถูกต้องและสะดวก
๕. กระบวนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
     ๕.๑ ช่วยให้สถานศึกษาพัฒนาหลักสูตรไปสู่ความเป็นหลักสูตรอิงมาตรฐานอย่างแท้จริง
     ๕.๒ ทุกฝ่ายเข้าใจบทบาทหน้าที่และสามารถทำงานเชื่อมโยงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ         

หลักสูตรแกนกลางมีประโยชน์อย่างไร

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็น พลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การ ...

เพราะเหตุใดจึงต้องมีหลักสูตร

หลักสูตรเป็นสิ่งสำคัญของการจัดการศึกษา หลักสูตรที่ดีต้องมีการพัฒนาอยู่เสมอ เพื่อให้มีเนื้อหาสาระทันกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี และการเมือง หลักสูตรมีความสำคัญ เพราะหลักสูตรเป็นส่วนกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ โดยมีรายละเอียดที่บ่งชี้ว่า ผู้เรียนควรเรียน ...

หลักสูตรแกนกลางมีความหมายว่าอย่างไร

หลักสูตรแกนกลางเป็นหลักสูตรในส่วนที่สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดเพื่อใช้ในการพัฒนาผู้เรียน ทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรแกนกลางมี องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง โครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐาน ซึ่งระบุการจัดเวลาเรียนของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ กิจกรรม ...

เป้าหมายของหลักสูตรแกนกลางสร้างขึ้นมาเพื่ออะไร

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การ ...