ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์มีความสําคัญอย่างไร

กล่าวโดยสรุป  การศึกษาภูมิศาสตร์เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการพื้นที่และสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์อาศัยวิธีการและเครื่องมือต่างๆ  ซึ่งเครื่องมือที่มีการใช้อย่างแพร่หลายมาก  คือ  แผนที่  และยังมีเครื่องมืออีกหลายชนิดที่มีการนำมาใช้รวบรวม  วิเคราะห์  และนำเสนอข้อมูลทางภูมิศาสตร์  เช่น  รูปถ่ายทางอากาศ  ภาพจากดาวเทียม  เป็นต้น  ซึ่งให้ข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็ว  นอกจากนี้ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ  ได้แก่  การรับรู้จากระยะไกล  ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์  และระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก  เพื่อบริหารจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่  ซึ่งหน่วยงานต่างๆ  ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้นำมาพัฒนา  และประยุกต์ใช้ในหลายด้าน  เช่น  การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ  การเตือนภัยธรรมชาติ  การวางผังเมืองและชุมชน  เป็นต้น  และนับวันเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศจะมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวัน  และการวางแผนในอนาคตมากขึ้น  ดังนั้น  เราจึงควรศึกษาเกี่ยวกับเครื่องมือทางภูมิศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ  เพื่อให้มีความรู้และเข้าใจวิชาภูมิศาสตร์มากขึ้น

�������¢ͧ����� "�к����ʹ��������ʵ�� ( Geographic Information System ) GIS"
�к����ʹ��������ʵ�� ���� Geographic Information System : GIS ��͡�кǹ��÷ӧҹ����ǡѺ��������ԧ��鹷������к����������� ������˹�������������ʹ�� ����դ�������ѹ��Ѻ���˹���ԧ��鹷�� �� ������� ��ҹ�Ţ��� ����ѹ��Ѻ���˹��Ἱ��� ���˹� ������ ����ǧ
ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์มีความสําคัญอย่างไร
���������Ἱ���� GIS ���к����������ʹ�ȷ��������ٻ�ͧ���ҧ������ ��аҹ�����ŷ������ǹ����ѹ��Ѻ�������ԧ��鹷�� (Spatial Data) ����ٻẺ��Ф�������ѹ��ͧ�������ԧ��鹷�������� ������ö��������������� GIS ��з�������ͤ������������ͧ�������¹�ŧ�������ѹ��Ѻ������ �� ��������¢ͧ�ä�кҴ �������͹���� ��蹰ҹ ��úء�ء����� �������¹�ŧ�ͧ������鹷�� ��� ����������ҹ�� ����ͻ�ҡ���Ἱ�����������ö��������ͤ������� ��ҹ�����
GIS ���к������Ţ�����÷�������㹤��������� ������ö�Ť�������������§�Ѻ��Ҿ������ʵ������ ��Ҿ��ͧ��� ��Ҿ��÷ӧҹ�ͧ�к�����ѹ��Ѻ�Ѵ��ǹ���зҧ��о�鹷���ԧ��Ἱ��� ���ᵡ��ҧ�����ҧ GIS �Ѻ MIS �������ö�Ԩ�ó���ҡ�ѡɳТͧ������ ��� �����ŷ��Ѵ��� GIS ���ѡɳ��繢������ԧ��鹷�� (Spatial Data) ����ʴ���ٻ�ͧ�Ҿ (graphic) Ἱ��� (map) ���������§�Ѻ�������ԧ������ (Attribute Data) ���Ͱҹ������ (Database)���������§�����ŷ���ͧ��������Ҵ��¡ѹ �з������������ö�����ʴ������ŷ���ͧ������������� �ѹ ������ö�Ф��ҵ��˹觢ͧ�ش��Ǩ�Ѵ��ѹ�� - ��ѹ������¡���кت��ͨش��Ǩ ����㹷ҧ�ç�ѹ���� ����ö�����ͺ�����������´�ͧ �ش��Ǩ�ҡ���˹觷�����͡����� ��觨е�ҧ�ҡ MIS ����ʴ� �Ҿ��§���ҧ���� �¨ТҴ���������§�Ѻ�ҹ�����ŷ��������§�Ѻ�ٻ�Ҿ��� ��� CAD (Computer Aid Design) �����Ҿ��§���ҧ���� ��Ἱ���� GIS ���դ�������ѹ��Ѻ���˹���ԧ��鹷��ҧ������ʵ�� ��ͤ�ҾԡѴ�����͹ ������� GIS ��駢������ԧ��鹷����Т������ԧ������ ����ö��ҧ�ԧ�֧���˹觷���������ԧ������š����������к��ԡѴ�ҧ������ʵ�� (Geocode) ��觨�����ö��ҧ�ԧ���駷ҧ�ç��зҧ���� ������� GIS �����ҧ�ԧ�Ѻ��鹼���š�µç ���¶֧ �����ŷ���դ�ҾԡѴ�����յ��˹觨�ԧ������š�����Ἱ��� �� ���˹��Ҥ�� ��� ��� ����Ѻ������ GIS ������ҧ�ԧ�Ѻ�����ź�����š���·ҧ�������� �����Ţͧ��ҹ(����֧��ҹ�Ţ��� ��� ࢵ �ǧ �ѧ��Ѵ ���������ɳ���) �¨ҡ�����ŷ������ �������ö��Һ����Һ�ҹ��ѧ����յ��˹����� � ���㴺�����š ���ͧ�ҡ��ҹ�ء��ѧ���շ����������ӡѹ
ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์มีความสําคัญอย่างไร

 

            ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นระบบสารสนเทศที่นำเอาข้อมูลมารวบรวม จัดเก็บ และวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ สามารถทำการสืบค้นข้อมูลและปรับปรุงข้อมูล รวมไปถึงการนำเอาข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์เพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจในเรื่องต่างๆได้ ข้อมูลที่นำมารวบรวมและจัดเก็บในระบบที่สามารถนำไปจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial data) โดยข้อมูลเชิงพื้นที่ยังมีการเชื่อมโยงเข้ากับข้อมูลลักษณะประจำ (Attribute data) ที่ใช้อธิบายรายละเอียดของปรากฏการณ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่นั้นๆ ซึ่งจะทำให้การนำข้อมูลไปใช้มีความถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้น (กัลยา โสภณพนิช, 2552 : 4)

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มค่าให้กับข้อมูลเชิงพื้นที่โดยดำเนินการจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการบูรณาการกับข้อมูลอื่นๆหรือวิเคราะห์และสร้างข้อมูลใหม่ที่สามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้ ดังนั้นจึงถือว่าจีไอเอสได้สร้างข้อสนเทศที่มีประโยชน์เพื่อช่วยในกระบวนการตัดสินใจ (สรรค์ใจ กลิ่นดาว, 2555 : 1)

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ หรือจะกล่าวอย่างง่ายๆได้ว่าเป็นการจัดการฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ (อุเทน ทองทิพย์, 2555 : 11)

สรุปได้ว่า ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการนำเข้า จัดเก็บ จัดเตรียม ดัดแปลง แก้ไข จัดการ และวิเคราะห์ข้อมูล พร้อมทั้งแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่ ตามวัตถุประสงค์ต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้

            รีโมทเซนซิงหรือการสำรวจระยะไกล ประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ “remote” หมายถึง “ระยะไกล” และ “sensing” หมายถึง “การสัมผัสหรือการรับรู้” ถ้าตีความตามศัพท์ หมายถึง การรับรู้ข้อมูลในระยะไกลโดยผ่านเครื่องมือซึ่งผู้รับรู้ไม่ได้สัมผัสกับวัตถุนั้น ๆ โดยตรง

จากความหมายกว้าง ๆ นี้ การถ่ายภาพทิวทัศน์โดยกล้องถ่ายรูป การส่องกล้องจุลทรรศน์ตรวจดูเชื้อโรค การถ่ายภาพถ่ายทางอากาศจากเครื่องบิน การฉายรังสี X-ray เพื่อตรวจสอบสุขภาพของร่างกาย ฯลฯ จึงจัดเป็นงานทางรีโมทเซนซิงทั้งหมด

            สำหรับรีโมทเซนซิงในวิชาภูมิศาสตร์มีความหมายเฉพาะมากขึ้น โดยมีความหมายถึงการหาข้อมูลหรือข่าวสารเกี่ยวกับวัตถุ สิ่งของ หรือพื้นที่เป้าหมาย ซึ่งอยู่ไกลจากเครื่องมือที่ใช้วัดหรือใช้บันทึก โดยที่เครื่องมือเหล่านั้นไม่ได้สัมผัสกับสิ่งของ หรือเป้าหมายดังกล่าว เครื่องมือที่ใช้วัดบันทึกข้อมูล เช่น กล้องถ่ายรูป เครื่องวัดรังสีค่าสะท้อน เครื่องวัดคลื่นความร้อน เครื่องกวาดภาพ เลเซอร์ เครื่องคลื่นวิทยุ ฯลฯ โดยติดตั้งไปกับเครื่องบิน ยานอากาศ ยานอวกาศ หรือดาวเทียมที่ถูกส่งไปอยู่เหนือพื้นผิวโลกในระยะทางไกลมาก จนสามารถมองเห็นบริเวณที่ต้องการศึกษาได้ในบริเวณกว้าง แล้วทำการรับและบันทึกข้อมูลในรูปของสัญญาณของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic wave) ซึ่งเป็นพลังงานที่สะท้อนจากวัตถุต่าง ๆ ที่พื้นผิวโลกที่แพร่กระจายออกไป (emission) สู่อวกาศ แล้วนำเอาสัญญาณนั้นมาแปลงเป็นข้อมูลในเชิงตัวเลข (digital data) ที่มีการปรับแก้ค่าความผิดพลาดต่าง ๆ แล้วสามารถนำมาวิเคราะห์ศึกษาวัตถุต่าง ๆ ในบริเวณที่ศึกษา ทั้งในการจำแนกประเภท การศึกษาลักษณะทั้งทางกายภาพและคุณลักษณะ และแสดงผลได้ทั้งในรูปภาพพิมพ์ (hard copy) หรือข้อมูลเชิงตัวเลข รีโมทเซนซิงจึงจัดเป็นทั้งศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์และทางศิลปะของการได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุต่าง ๆ บนพื้นผิวโลก โดยไม่มีการสัมผัสกับสิ่งเหล่านั้นโดยตรง (ศุทธินี ดนตรี, 2549 : 2)

 หลักการของรีโมตเซนซิงประกอบด้วยกระบวนการ 2 กระบวนการ ดังต่อไปนี้คือ

  1. การได้รับข้อมูล (Data Acquisition) เริ่มตั้งแต่พลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดพลังงาน เช่น ดวงอาทิตย์ เคลื่อนที่ผ่านชั้นบรรยากาศ, เกิดปฏิสัมพันธ์กับวัตถุบนพื้นผิวโลก และเดินทางเข้าสู่เครื่องวัด/อุปกรณ์บันทึกที่ติดอยู่กับยานสำรวจ (Platform) ซึ่งโคจรผ่าน ข้อมูลวัตถุหรือปรากฏการณ์บนพื้นผิวโลกที่ถูกบันทึกถูกแปลงเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ส่งลงสู่สถานีรับภาคพื้นดิน (Receiving Station) และผลิตออกมาเป็นข้อมูลในรูปแบบของข้อมูลเชิงอนุมาน (Analog Data) และข้อมูลเชิงตัวเลข(DigitalData)เพื่อนำไปนำวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป
  2. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) ประกอบด้วยวิธีการหลัก 2 วิธี คือ

2.1 การวิเคราะห์ด้วยสายตา หรือ การแปลข้อมูลด้วยสายตา (Visual Analysis)  เป็นการแปลตีความจากลักษณะองค์ประกอบของข้อมูลภาพ โดยอาศัยการพิจารณาปัจจัยด้านต่างๆ ได้แก่  สี เงา รูปทรง ขนาดของวัตถุ รูปแบบ ความหยาบละเอียด และองค์ประกอบทางพื้นที่ ซึ่งจัดเป็นหลักการตีความภาพถ่ายเดียวกับการแปลภาพถ่ายทางอากาศ

2.2 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงตัวเลขและการประมวลผลด้วยข้อมูลภาพ (Digital Analysis) เป็นการวิเคราะห์และจำแนกประเภทข้อมูล โดยอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์และสถิติ เนื่องจากข้อมูลจากระยะไกลมีการจัดเก็บในรูปของข้อมูลเชิงตัวเลขจำนวนมาก จึงไม่สะดวกที่จะทำการคำนวณด้วยมือได้ ดังนั้นจึงมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ช่วยให้รวดเร็วในการประมวลผล มีวิธีการแปลหรือการจำแนกประเภทข้อมูลได้เป็น 2 วิธี คือ

2.2.1 การจำแนกประเภทแบบกำกับดูแล (Supervised classification) หมายถึง การจำแนกข้อมูลที่ผู้แปลเป็นผู้กำหนดตัวอย่างของประเภทข้อมูลให้แก่คอมพิวเตอร์ โดยใช้การเลือกพื้นที่ตัวอย่าง จากความรู้ต่างๆเกี่ยวกับพื้นที่ศึกษา เช่น แผนที่ภูมิประเทศ แผนที่การใช้ที่ดิน แผนที่เฉพาะเรื่องที่ศึกษา ปฏิทินการเกษตร เป็นต้น รวมทั้งจากการสำรวจตัวอย่างประเภทการใช้ที่ดินจากภาคสนาม

2.2.2 การจำแนกประเภทแบบไม่กำกับดูแล (Unsupervised classification) เป็นวิธีการจำแนกข้อมูลที่ผู้แปลกำหนดให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลข้อมูลเอง เพียงแต่ผู้แปลกำหนดจำนวนประเภทข้อมูล ให้แก่เครื่องแล้วคอมพิวเตอร์จะทำการสุ่มตัวอย่างและจำแนกข้อมูลเองโดยใช้หลักการทางสถิติ

ผลลัพธ์จากการแปลข้อมูลภาพไม่ว่าเป็นวิธีการใดก็ตาม จะต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ ก่อนนำไปใช้งาน โดยการเปรียบเทียบกับสภาพจริงหรือข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ด้วยวิธีการทางสถิติ (ศุทธินี ดนตรี, 2549 : 14)

 การวิเคราะห์หรือการจำแนกประเภทข้อมูลต้องคำนึงถึงหลักการ ดังต่อไปนี้

  1. Multispectral Approach คือข้อมูลพื้นที่และเวลาเดียวกันที่ถูกบันทึกในหลายช่วงคลื่นซึ่งในแต่ละช่วงความยาวคลื่น(Band)ที่แตกต่างกันจะให้ค่าการสะท้อนพลังงานของวัตถุหรือพื้นผิวโลกที่แตกต่างกัน
  2. Multitemporal Approach คือ การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา จำเป็นต้องใช้ข้อมูลหลายช่วงเวลาเพื่อนำมาเปรียบเทียบหาความแตกต่าง
  3. Multilevel Approach คือ ระดับความละเอียดของข้อมูลในการจำแนกหรือวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้งาน เช่น การวิเคราะห์ในระดับภูมิภาคก็อาจใช้ข้อมูลจากดาวเทียม LANDSAT ที่มีรายละเอียดภาพปานกลาง (Medium Resolution) แต่ถ้าต้องการศึกษาวิเคราะห์ในระดับจุลภาค เช่น ผังเมือง ก็ต้องใช้ข้อมูลดาวเทียมที่ให้รายละเอียดภาพสูง (High Resolution) เช่น ข้อมูลจากดาวเทียม SPOT, IKONOS, หรือรูปถ่ายทางอากาศเป็นต้น (อุไรวรรณ คีรีทอง, 2012)

 การนำข้อมูลระยะไกลไปวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์

เป็นการนำเอาข้อมูลทั้งสองชนิดนี้มาวิเคราะห์ร่วมกันจะเกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้มาก กล่าวคือ ข้อมูลจากระยะไกลเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดทำฐานข้อมูลให้กับระบบสารสนศาสตร์ และช่วยให้ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์มีความทันสมัยขึ้น ในขณะเดียวกันข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์สามารถใช้เป็นข้อมูลเสริมในการปรับปรุงคุณภาพข้อมูลจากระยะไกลให้ดียิ่งขึ้น (Ekasingh et al.,1995) และนอกจากนี้ยังสามารถใช้ในการแบ่งพื้นที่ที่มีความแตกต่างกันด้านธรณีวิทยา อากาศวิทยา และภูมิสัณฐานออกจากกัน (GDTA and GISTDA, 2000) มีผลทำให้แปลภาพมีความถูกต้องสูงขึ้น ข้อมูลที่สามารถนำมารวมเข้าด้วยกัน อาจจะมาจากหลายแหล่งแหละไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของวิธีการรวมเข้าด้วยกัน ข้อมูลเสริมอื่นๆสามารถนำมาช่วยในการจำแนกประเภทข้อมูลได้ทุกตอน ตั้งแต่เริ่มต้นจำแนก ในระหว่างการจำแนก และหลังการจำแนก  (สมพร สง่าวงศ์, 2552 : 167)

การแปลตีความภาพถ่ายด้วยสายตา

การแปลตีความภาพจากดาวเทียมด้วยสายตาต้องอาศัยประสบการณ์และความรู้ ความเข้าใจในลักษณะของพื้นที่ศึกษา และกิจกรรมที่เกิดขึ้น ณ พื้นที่นั้นๆ ในช่วงเวลาต่างๆ องค์ประกอบของการแปลตีความภาพ ได้แก่ ความเข้มของสีและสี (Tone and color) ขนาด (Size) รูปร่าง (Shape) เนื้อภาพ (Texture) ความสูง และเงา (Height and shadow) เป็นต้น (กัลยา โสภณพนิช,2552 : 78)

การใช้ภาพข้อมูลเป็นฉากในการสร้างข้อมูลเวกเตอร์ (Background for Vector Data)

เป็นวิธีการที่นิยมใช้มากในการดึงเอารายละเอียดใหม่ออกมาจากภาพข้อมูลเพื่อทำการสร้างข้อมูลเวกเตอร์สำหรับนำไปใช้กับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และมีความเหมาะสมมากสำหรับประเทศที่ไม่มีแผนที่ภูมิประเทศเพียงพอ เช่น Sangawongse et al. (2007) ได้นำเอาภาพสีผสมเท็จข้อมูลดาวเทียม SPOT-5 บันทึกภาพที่เป็นข้อมูลปัจจุบัน ที่ผ่านการแก้ไขทางเรขาคณิตมาดิจิไทส์ เพื่อสร้างข้อมูลเวกเตอร์ใหม่และปรับแก้ฐานข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เดิม (สมพร สง่าวงศ์, 2552 : 167)

ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (GPS)

GPS ย่อมาจาก Global Positioning System ซึ่งถ้าแปลให้ตรงตัวแล้วคือ ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกโดยอาศัยดาวเทียมทั้งหมดถึง 24 ดวง โคจรอยู่เหนือพื้นโลก การที่เครื่องรับสัญญาณจะสามารถที่จะกำหนดค่าพิกัด (X,Y) ได้จะต้องรับสัญญาณดาวเทียมได้อย่างน้อย 3 ดวงขึ้นไป แต่ถ้ารับได้ 4 ดวงก็จะสามารถกำหนดค่าพิกัด(X,Y) พร้อมทั้งค่าความสูง (Z) ของตำแหน่งนั้นได้ด้วย ระบบ GPS สามารถที่จะทำงานได้ทุกสภาวะและตลอด24 ชั่วโมง

ลักษณะการทำงานในการกำหนดค่าพิกัดของระบบ GPS ทำได้ด้วยการนำเครื่องรับไปยังตำแหน่งที่ต้อง การจะทราบค่าพิกัดจากนั้น เครื่องรับจะรอสัญญาณจากดาวเทียมเมื่อเรื่องรับได้สัญญาณจากจำนวนดาวเทียมที่เพียงพอก็จะประมวลสัญญาณจากดาวเทียม เมื่อเครื่องรับได้สัญญาณจากจำนวนดาวเทียมที่เพียงพอก็จะประมวลผลสัญญาณข้อมูลที่ได้จากดาวเทียม และแสดงผลออกมาเป็นค่าพิกัดของตำแหน่งเครื่องรับ การนำระบบ GPS ไปใช้ในงานด้านต่างๆ อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับงานทางด้านแผนที่และงานทางด้านการสำรวจและทำให้ระบบGPSมีความสำคัญมากขึ้น

ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์มีความสำคัญอย่างไร

การใช้งานระบบ GIS ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ในหลากหลายองค์กร อนุรักษ์และจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น การควบคุมมลภาวะ ฝุ่น PM2.5, การจำลองนิเวศวิทยา จัดการทรัพยากร การเกษตร เช่น การจัดการระบบชลประทาน, การอนุรักษ์ดินและน้ำ

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) มีประโยชน์อย่างไร

ประโยชน์ของ GIS 1. ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การกำหนดพื้นที่ป่าไม้ แหล่งน้ำ ทั้งบนผิวดินและใต้ดิน ธรณีวิทยาหินและแร่ ชายฝั่งทะเลและภูมิอากาศ 2. ด้านการจัดการทรัพยากรเกษตร เช่น การแบ่งชั้นคุณภาพพื้นที่เกษตร ดินเค็มและดินปัญหาอื่น ความเหมาะสมของพืชในแต่ละพื้นที่ การจัดระบบน้ำชลประทาน การจัดการด้านธาตุอาหารพืช

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์หมายถึงอะไรและมีความสำคัญต่อการพัฒนาพื้นที่อย่างไร

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System : GIS คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศ ...

องค์ประกอบใดของระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์มีความสําคัญมากที่สุด

ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญมากในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยข้อมูลเหล่านี้ได้รับการรวบรวม จัดเก็บ ปรับปรุง แก้ไข และจัดการไว้ในฐานข้อมูล เพื่อให้พร้อมที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ หรือทำแบบจำลองต่างๆ โดยจัดเก็บอย่างเป็นระบบตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ