สหกรณ์มีความสำคัญต่อประเทศอย่างไร

หลักการสหกรณ์เป็นแนวทางสำหรับสหกรณ์ในการทำคุณค่าของสหกรณ์ไปสู่การปฏิบัติ

หลักการที่ 1 การเป็นสมาชิกโดยสมัครใจและเปิดกว้าง
      สหกรณ์เป็นองค์การโดยสมัครใจ เปิดรับบุคคลทุกคน่ซึ่งสามารถใช้บริการของสหกรณ์ และเต็มใจรับผิดชอบในฐานะสมาชิก เข้าเป็นสมาชิกโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติในเรื่องเพศ ฐานะทางสังคม เชื้อชาติ การเมือง หรือศาสนา

หลักการที่ 2 การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย
      สหกรณ์เป็นองค์การประชาธิปไตยที่ควบคุมโดยสมาชิก ซึ่งมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการกำหนดนโยบาย และการตัดสินใจของสหรณ์ผู้ปฏิบัติงานในฐานะผู้แทนจากการเลือกตั้งต้องรับผิดชอบต่อบรรดาสมาชิกในสหกรณ์ปฐมสมาชิกมีสิทธิ์ออกเสียงเท่ากัน (คนหนึ่งมีหนึ่งเสียง) และในสหกรณ์ระดับอื่นก็จัดให้ดำเนินการตามแนวทางประชาธิปไตย

หลักการที่ 3 การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยสมาชิก
      
สมาชิกพึงมีส่วนในทุนแก่สหกรณ์อย่างเป็นธรรมและควบคุมการใช้ทุนของสหกรณ์ตามแนวทางประชาธิปไตยตามปกติส่วนหนึ่งของทุนั้น อย่างน้อยที่สุดต้องเป็นทรัพย์สินส่วนรวมของสหกรณ์ และสมาชิกจะได้รับผลตอบแทนในอัตราจำกัด (ถ้ามี) จากการลงทุนในสหกรณ์ตามเงื่อนไขแห่งการเป็นสมาชิก บรรดาสมาชิกจะจัดสรรเงินส่วนเกินเพื่อความมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมดดังต่อไปนี้ก็ได้ คือ เพื่อพัฒนาสหกรณ์ของพวกเขา โดยอาจก่อตั้งเงินสำรองซึ่งอย่างน้อยที่สุด ส่วนหนึ่งของเงินสำรองนี้จะแบ่งแยกมิได้ เพื่อประโยชน์แก่สมาชิกตามส่วนของธุรกิจที่ได้ทำกับสหกรณ์ หรือเพื่อสนับสนุนกิจกรรมอื่น ๆ ที่บรรดาสมาชิกเห็นชอบ

หลักการที่ 4 การปกคลองตนเองและอิสรภาพ
      สหกรณ์เป็นองค์การช่วยตนเองและปกครองตนเอง ซึ่งควบคุมโดยสมาชิก ถ้าสหกรณ์เข้าทำข้อตกลงกับองค์การอื่นๆ รวมทั้งรัฐบาล หรือแสวงหาทุนจากแหล่งภายนอก สหกรณ์พึงทำข้อตกลงเช่นนั้นภายใต้เงื่อนไขอันมั่นใจได้ว่าบรรดาสมาชิกยังคงควบคุมสหกรณ์ตามแนวทางประชาธิปไตย และจะต้องธำรงไว้ซึ่งสภาพการปกครองตนเองของสหกรณ์

หลักการที่ 5 การให้การศึกษา การฝึกอบรม และสารสนเทศ
      สหกรณ์พึงให้การศึกษาและการฝึกอบรมแก่บรรดาสมาชิก ผู้แทนจากการเลือกตั้ง ผู้จัดการ และพนักงานเพื่อบุคคลเหล่านั้นสามารถมีส่วนช่วยพัฒนาสหกรณ์ของพวกเขาอย่างมีประสิทธิผล และพึงให้ข่าวสารความรู้ในเรื่องลักษณะและประโยชน์ของการสหกรณ์แก่ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนและผู้นำด้านความคิด

 หลักการที่ 6 การร่วมมือระหว่างสหกรณ์
      สหกรณ์พึงรับใช้สมาชิกอย่างมีประสิทธิผลสูงสุด และทำให้ขบวนการสหกรณ์เข้มแข็ง โดยการทำงานด้วยกันภายใต้โครงสร้างอันประกอบด้วยสหกรณ์ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศ

หลักการที่ 7 ความเอื้ออาทรต่อชุมชน
      สหกรณ์พึงทำงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนที่สหกรณ์ตั้งอยู่ ทั้งนี้ตามนโยบายที่ได้รับความเห็นชอบจากบรรดาสมาชิก

โดย นายกมลศักดิ์ นันตา

 วันที่ 13 ม.ค. 2564 เวลา 09:23 น.

 675

สหกรณ์มีความสำคัญต่อประเทศอย่างไร

ความสำคัญของหลักการสหกรณ์ข้อที่ 7 : การเอื้ออาทรต่อชุมชน (Concern for Community)

 
หลักการสหกรณ์ เป็นแนวทางที่สหกรณ์ต่างๆ ต้องยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามความมุ่งหมายและเป็นหลักสำคัญที่จะพิจารณาว่าธุรกิจนั้นๆเป็นสหกรณ์หรือไม่
แนวทางต่างๆนี้เป็นผลมาจากการค้นคว้าทดสอบความสำเร็จและความล้มเหลวของ
นักสหกรณ์รุ่นเก่าๆ ซึ่งได้มุมานะเสียสละในการกำหนดแนวทางให้คนรุ่นหลังได้ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของบรรดาสมาชิกสหกรณ์

แต่เนื่องจากสหกรณ์เป็นองค์การทางเศรษฐกิจและสังคม และเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่สหกรณ์ตั้งอยู่ สมาชิกสหกรณ์ก็เป็นสมาชิกของชุมชนนั้นเอง เพราะฉะนั้นการดำเนินงานของสหกรณ์ตามนโยบายที่มวลสมาชิกให้ความเห็นชอบต้องเป็นไปเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนนั้นๆ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความเป็นองค์กรของประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งหมายความว่าต้องเป็นการพัฒนาที่ไม่ทำลายทรัพยากร ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ หรือเป็นการพัฒนาที่สนองความต้องการและความใฝ่ฝันของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ทำลายโอกาส ความสามารถ และอนาคตของคนรุ่นหลัง สหกรณ์ต้องดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อการพัฒนาชุมชนให้มีความเจริญอย่างยั่งยืน

การดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวเห็นได้ชัดเป็นรูปธรรมจากการที่สหกรณ์มีการจัดสรรกำไรสุทธิเป็นทุนสาธารณประโยชน์เพื่อทำประโยชน์ให้กับชุมชน สิ่งแวดล้อม พัฒนาคุณภาพชีวิตของคน
ในชุมชนที่สหกรณ์ตั้งอยู่ให้ดีขึ้น

สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เป็นที่มาของการกำหนดหลักการสหกรณ์ ข้อที่ 7 การเอื้ออาทรต่อชุมชน(Concern for Community) หากเป็นบุคคลทั่วไปลักษณะการเอื้ออาทร เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ย่อมเกิดจากจิตใจที่มีความรัก ความเมตตา และความโอบอ้อมอารี แล้วปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างเกื้อกูล ซึ่งในการดำเนินชีวิตของเรานั้น ควรมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่คนรอบข้างไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว โรงเรียน หรือชุมชนก็ตามเป็นคนมีน้ำใจ คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม แต่ในการเป็นสหกรณ์ซึ่งเป็นนิติบุคคล การแสดงออกด้วยการดำเนินงานเพื่อเป็นการเอื้ออาทรต่อชุมชนย่อมเกิดจากการเข้าใจในหลักการสหกรณ์อย่างลึกซึ้ง

วิธีที่จะแสดงให้เห็นว่าสหกรณ์แต่ละแห่งได้ให้ความสำคัญกับหลักการสหกรณ์ข้อที่ 7 ได้แก่ การที่สหกรณ์สนับสนุนด้านการศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการสหกรณ์แก่นักเรียนในชุมชนนั้น ๆ เพื่อปลูกฝังอุดมการณ์สหกรณ์ให้กับเยาวชน สอดแทรกวิธีการสหกรณ์ไว้ในกิจกรรมต่างๆ ในโรงเรียน เช่น การเชื่อมโยงกับกิจกรรมการปลูกผัก เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ เข้ากับร้านสหกรณ์นักเรียน เพื่อให้กิจกรรมอาหารกลางวันซื้อวัตถุดิบจากร้านสหกรณ์ไปประกอบอาหารสำหรับนักเรียนในโรงเรียน รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุนให้คนในชุมชนได้นำหลักการและวิธีการสหกรณ์ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

การให้นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการรวมกันผลิต รวมกันซื้อ รวมกันขาย เมื่อนักเรียนโตขึ้นจะได้นำประสบการณ์นี้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นการช่วยให้คนในชุมชนรู้วิธีแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจมีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

  นายวสิษฐ์พล พุทธพงษ์
นักวิชการสหกรณ์ชำนาญการพิเศษ
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญ

กิจกรรมล่าล่าสุด